ข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าว
เครื่องโม่แป้งจมูกข้าวขนาดเล็ก
ผู้พัฒนา รศ.สำรวจ อินแบน
ผู้ใช้ วิสาหกิจชุมชนผลิตข้าวกาบาปลอดสารพิษ
เอกสารประกอบ
เครื่องบดข้าวแบบร่อนคัดแยกขนาดอัตโนมัติ
ผู้พัฒนา นายวิรุณ โมนะตระกูล
ผู้ใช้ วิสาหกิจชุมชนข้าวอินทรีย์ลาดพัฒนา
เอกสารประกอบ
เครื่องคัดแยกและทำความสะอาดเมล็ดพันธ์ข้าว
ผู้พัฒนา
นายเชิดพงษ์ เชี่ยวชาญวัฒนา
ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
เอกสารประกอบ
เครื่องขึ้นรูปขนมข้าวอัดแผ่น
ผู้พัฒนา
คุณสุนทรี รินทร์คำ
เลขที่ 84/2 ถนนสุริยวงค์ ตำบลหายยา
อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50100
เอกสารประกอบ
เครื่องสีข้าวขาวรุ่น NANO 3
รางวัลเทคโนโลยีและเครื่องจักรกลยอดเยี่ยม ประจำปี 2558
เอกสารประกอบ
โรงสีข้าวแบบครบวงจร ขนาดชุมชนโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมาคมเครื่องจักรกลไทย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และบริษัทไทยเอเย่นซี เอ็นยีเนียริ่ง จำกัด ด้วยเห็นถึงประโยชน์จากการใช้พลังงานทดแทนในกระบวนการผลิตข้าวของเกษตรไทย ซึ่งทุกภาคส่วนกำลังให้ความสนใจเนื่องจากเป็นพลังงานทางเลือกที่สามารถนำมาใช้งานได้อย่างไม่จำกัด โรงสีข้าวพลังงานแสงอาทิตย์แบบครบวงจรขนาดชุมชนโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้พัฒนาขึ้น มีขนาด 6,720 วัตต์ สามารถนำพลังงานมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ โดยเฉลี่ย 5 ชั่วโมงต่อวัน ประกอบด้วย โรงสีข้าว โรงอบแห้ง (อบข้าวเปลือก) ไซโลเก็บข้าว เครื่องสีข้าว และเครื่องบรรจุข้าวใส่ถุงพลังงานแสงอาทิตย์ เกษตรกรสามารถตากข้าวให้แห้ง สีข้าว และบรรจุข้าวใส่ถุงแบบสุญญากาศ ป้องกันแมลงและมอดข้าวที่สวยงามแบบเบ็ดเสร็จ สามารถผลิตได้วันละ 8 ชั่วโมง พร้อมที่จะนำผลผลิตออกจำหน่าย หรือบริโภคในครัวเรือนได้ทันที
ทั้งนี้ บริษัทไทยเอเย่นซี เอ็นยีเนียริ่ง จำกัด มีแผนที่จะผลิตและจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ในราคาชุดละประมาณ 933,000 บาท (เก้าแสนสามหมื่นสามพันบาท ไม่รวมค่าโรงเรือนและที่ดิน) หรือเฉพาะโรงอบข้าวพลังงานแสงอาทิตย์ ราคาประมาณ 195,000 บาท (หนึ่งแสนเก้าหมื่นห้าพันบาท ) ซึ่งหากหน่วยงานหรือเกษตรชุมชนใดสนใจ สามารถเข้าชมเครื่องต้นแบบได้ที่วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
ผู้พัฒนา : สมาคมเครื่องจักรกลไทย
ผู้พัฒนา : บริษัท ไทยเอเย่น ซีเอ็นยีเนียริ่ง จำกัด
เครื่องคัดแยกเมล็ดข้าวสารขนาดเล็ก
เจ้าของผลงาน
นายสนธยา สุนทรารักษ์
๒๐๑ หมู่ ๑ ถ.สุรินทร์-สังขะ ต.สลักได
อ.เมือง จ.สุรินทร์
ประโยชน์
-ใช้แยกขนาดเมล็ดข้าวสารระหว่างเมล็ดเต็มและเมล็ดหักออกจากกันได้ ๓ ขนาดคือชั้นที่ ๑,๒ และ ๓
-เพิ่มมูลค่าให้กับข้าวสาร ที่สีมาจากโรงสีขนาดเล็กหรือโรงสีชุมชนทั่วไปที่ไม่สามารถคัดแยกขนาดได้
-ประหยัดเวลากว่าการคัดแยกแบบภูมิปัญญาดั้งเดิมของเกษตรกร
-ช่วยประหยัดพลังงาน ไม่ใช้ไฟฟ้า
จุจุดเด่น
-ไม่ใช้พลังงานไฟฟ้า แต่ใช้แรงคน เป็นการออกกำลังกายไปด้วย
-คัวเครื่องมีน้ำหนักเบา ๑๘ กก. เคลื่อนย้ายได้ง่าย
-การหมุนปั่นตัวเครื่องเพื่อคัดแยก สามารถหมุนได้ทั้งซ้ายและขวา ตามความถนัดของผู้ใช้
-สามารถคัดแยกได้ประมาณ ๙๐-๑๐๐ กก./ชม.
เอกสารประกอบ
CRB MPI(Crumble Roller Blade Multipurpose Implement)
เจ้าของผลงาน
บมจ.เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ซูการ์ คอร์ปอเรชั่น
๑/๑ หมู่ ๑๔ ถ.หางน้ำสาคร-หนองโพ ต.หนองโพ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์
ประโยชน์
-เป็นเครื่องมือทำการระเบิดดาน
-เป็นการปรับโครงสร้างดินให้เกิดการร่วนซุยของดิน
-เป็นประโยชน์ด้านการเกษตร และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
จุดเด่น
-มีขาริปเปอร์ พร้อมใบมีดติดที่บริเวณขาริปเปอร์ กว้าง ๗๐ ซม. ลงทำงานลึกที่ ๒๗-๓๐ ซม. ทำให้ดิน มีรอยแตกร้าวลึกที่ ๒๐ ซม. ซึ่จะห่างจากอ้อย ๑๐-๑๕ ซม.
-มีการใส่ปุ๋ยพร้อมการทำงาน และปีกยังสามารถกระจายปุ๋ยไปทั่วบริเวณแตกร้าว ทำให้รากหาธาตุอาหารได้ง่าย
เอกสารประกอบ
เครื่องหย่อนกล้าข้าวนาโยนแบบประณีต
เจ้าของผลงาน
นายธนัตถ์ ศรีสุขสันต์
๓๔/๓๕ ซ.ลาดพร้าว ๒๓ แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กทม.
ประโยชน์
-เพื่อส่งเสริมวิธีการปลูกแบบเพาะกล้านาโยนที่ช่วยเพิ่มผลผลิต ลดระยะเวลาเพาะปลูก(เพิ่มวงรอบการผลิต) ลดการใช้ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช ช่วยลดต้นทุนโดยรวมช่วยเพิ่มรายได้และคุณภาพชีวิต
-เพื่อส่งเสริมการใช้เครื่องจักรการเกษตรที่พัฒนาขึ้นมาให้เหมาะสมกับการเพาะปลูกข้าวในประเทศไทย ซึ่งประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานและต้นทุนค่าแรงสูง
จุดเด่น
-เป็นวิธ๊การปลูกข้าวที่ได้คุณภาพดีที่สุด เนืองจากไม่มีการขาดของราก ทำให้ต้นกล้าสามารถตั้งตรงขึ้นได้ภายใน ๑-๒ วัน และเจริญเติบโตได้เร็วกว่าการใช้เครื่องปักดำนาแบบเดิมถึง ๑๐ วัน
-รากต้นกล้าอยู่ใกล้ระดับผิวดิน จึงสามารถดูดซึมปุ๋ยและดึงออกซิเจนจากอากาศได้ดี
-ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง
เอกสารประกอบ
- « แรก
- ‹ หน้าก่อน
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- ถัดไป ›
- หน้าสุดท้าย »