ข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าว

ข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าว

เครื่องสีข้าวกล้องสดระดับครัวเรือน

ศ, 19/06/2015 - 13:50 — admin5
รายละเอียด: 

..

งบปี พ.ศ.: 
2558
    แคตตาล็อกเทคโนโลยี
    ภาพหน้าปก: 

    เครื่องบรรจุข้าวสารระบบอัตโนมัติ

    ศ, 19/06/2015 - 13:47 — admin5
    รายละเอียด: 

    เครื่องบรรจุข้าวสารระบบอัตโนมัติ

    บริษัทผู้ผลิต   บริษัท วรกุลชัย อินโนเวชั่น จำกัด

    บริษัทผู้ใช้     บริษัท เอเชีย อินเตอร์ ไรซ์ จำกัด

    คุณลักษณะของเครื่อง

              เครื่องบรรจุข้าวสารอัตโนมัติแนวตั้ง มีระบบความร้อนในการปิดผนึกถุงพลาสติก โครงสร้างทำจากเหล็กทาสีและกรอบอลูมิเนียม มีอุปกรณ์มาตรฐานและคุณสมบัติดังนี้

       อุปกรณ์ Unwinding ประกอบไปด้วย:

    -          เพลาถือ Reel

    -          เซนเซอร์ตรวจการปิดผนึก

    -          ระบบนิวแมติกส์ช่วยหนีบสำหรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วรีล

    -          ระบบการช่วยคลี่แผ่นม้วนฟิล์มที่ต่อเนื่องและเรียบเนียน

       ระบบขับเคลื่อนมอเตอร์ประกอบไปด้วย:

    -          ระบบการเคลื่อนด้วยมอเตอร์เกียร์ไดรฟ์โดยอินเวอร์เตอร์

    -          การเคลื่อนไหวจะถูกส่งโดยอุปกรณ์สากลร่วมที่ช่วยให้สายพานไดรฟ์เพื่อให้สอดคล้องอยู่บนท่อขึ้นรูป

    -          ความดันที่ใช้โดยสายพานท่อขึ้นรูปจะทำได้โดยกระบอกสูบนิวเมติก

    -          การควบคุมโดยการลดความดันวาล์วเป็นสายพานดังกล่าวจะถูกปรับในลักษณะที่ถูกต้องมาก

    และง่าย

    -          เข็มขัดมีความปลอดภัยในคู่มือการเชิงเส้นและตลับลูกปืนที่ให้ความแม่นยำเคลื่อนไหวสูงสุด

       ท่อขึ้นรูปประกอบด้วยไหล่และท่อกำหนดค่าที่ทำจากสแตนเลส

    รายละเอียดข้อกำหนด ( Specification )

    ค่า/หน่วย

    1.มิติ  (ขนาด / น้ำหนัก)

    15x20 เมตร

    2.กำลังงานด้าน Input

    6 KW

    3.ความสามารถในการทำงานของเครื่องที่สามารถชี้วัดเชิงปริมาณ

        3.1 กำลังการบรรจุ

        3.2 ระบบลม

        3.3 Air consumtion

        3.4 ชนิดฟิล์ม Polyethylene, OR polypropylene, laminated and coupled film

       

     

    20-25 ถุง/นาที

    6-8 Bar

    350 L/min

     

     

    หลักการทำงานของเครื่อง

    เครื่องจักรทำหน้าที่บรรจุข้าวสารลงถุงพลาสติกที่น้ำหนัก 5 กก. โดยทำการปล่อยข้าวพร้อมกันสองช่อง ๆ ละ 2.5 กก. รวมกันได้ 5 กิโลกรัม โครงสร้างทำจากวัสดุสแตนเลส 304 ที่มีความแข็งแรง  การเคลื่อนที่ของถุงที่บรรจุสามารถตั้งเวลาการทำงานได้ตามประเภทของสินค้า การควบคุมปริมาณโดยการกดปุ่มไฟฟ้าสำหรับขึ้น-ลง ขับเคลื่อนด้วยระบบสกรูมอเตอร์  ซึ่งการทำงานลักษณะนี้จะสามารถทำให้การบรรจุทำได้ต่อเนื่องโดยที่เครื่องไม่ต้องหยุดการทำงานและมีการติดตั้งอุปกรณ์การควบคุมระดับในถังพักข้าวสารด้วย

     

    สรุปผลการดำเนินงาน

              บริษัทได้ผลิตและประกอบชิ้นส่วนของเครื่องเรียบร้อยแล้ว สำเร็จ 100 เปอร์เซ็นต์ และได้ทำการทดสอบการใช้งานส่วนต่างๆของเครื่อง ดังนี้

    การทดสอบสมรรถนะการรับน้ำหนักของชุดจับถุงและแขนยก

    ทดสอบการรับน้ำหนัก Maximum Weight = 50 กิโลกรัม

    น้ำหนักทำงานปกติรับน้ำหนักข้าวสารถุงละ 5 กิโลกรัม จำนวนครั้ง 4 ถุง = 20 กิโลกรัม

    หุ่นยนต์รับน้ำหนักสูงสุด 165 กิโลกรัม

     

    สมรรถนะการทำงานของเครื่องบรรจุข้าวสารและการลำเลียงลงถุงจัมโบ้แบ็ก

    ขนาดบรรจุข้าวสารถุงเล็กขนาด 5 กิโลกรัมจำนวน 60 ถุง ต่อ 1 ถุงใหญ่

    การจัดเรียง 4 ถุง x 3 แถว จำนวน 5 ชั้น รวม 300 กิโลกรัม

    สมรรถนะด้านความเร็วในการบรรจุข้าวสารลงถุงจัมโบ้แบ็กเฉลี่ย 25 ถุงต่อนาที

    ขนาดพื้นที่ในการติดตั้งกว้าง x ยาว = 14 x 8 เมตร

    กำลังงานไฟฟ้ารวมในระบบลำเลียง = 6 KW

     

    ระบบความปลอดภัยมีการติดตั้งเซนเซอร์ป้องกันบุคคลเข้าถึงชุดลำเลียง เพื่อสั่งการหยุดทำงานทันที

                                                                              

    ข้อเสนอแนะ

    จากการพัฒนาชุดบรรจุและลำเลียงข้าวสารขนาด 5 กิโลกรัม ลงถุงจัมโบ้แบ็กขนาดบรรจุ 300 กิโลกรัม พบว่าการออกแบบเครื่องได้ผลตามข้อกำหนดที่นำเสนอต่อลูกค้า การทดสอบการทำงานเป็นไปตามเงื่อนไข โดยผู้พัฒนาได้องค์ความรู้เพิ่มขึ้นในส่วนของการออกแบบและวิเคราะห์ชิ้นส่วนที่ใช้ในการจับถุงและแขนยก ซึ่งประสบการณ์ที่ผ่านมาในการผลิตมักจะเป็นจุดที่มีปัญหามากที่สุดส่วนอีกจุดหนึ่งที่ผู้พัฒนาได้ออกแบบรองรับขึ้นมาใหม่คือส่วนของปลายชุดจับยึดบริเวณแขนหุ่นยนต์ ซึ่งมีขนาดยาวเป็นพิเศษ แต่ต้องรองรับน้ำหนักได้สูง ซึ่งในการออกแบบดังกล่าวทำให้สามารถรับน้ำหนักได้ถึง 165 กิโลกรัม

    สำหรับข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการพัฒนาเครื่องบรรจุและลำเลียงในโครงการนี้ ผู้พัฒนาต้องการพัฒนาเครื่องจักรในส่วนอื่นๆ เช่น เครื่องบรรจุตามพิกัดขนาดที่กำหนด หรือรวมไปถึงชุดหุ่นยนต์ ซึ่งทั้งสองส่วนที่กล่าวมาต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศอิตาลีและประเทศญี่ปุ่นตามลำดับ และยังมีราคาต้นทุนสูงทำให้เครื่องจักรทั้งระบบมีราคาสูงตามไปด้วย ดังนั้นหากบริษัทสามารถนำความรู้ที่มีอยู่สามารถพัฒนาเครื่องจักรขึ้นได้เองก็จะสามารถทำให้ต้นทุนลดลง ผู้ประกอบการรายเล็กก็สามารถใช้เครื่องจักรที่มีระบบเทคโนโลยีชั้นสูงได้ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยพัฒนาระบบการผลิตของประเทศ

    งบปี พ.ศ.: 
    2558
      แคตตาล็อกเทคโนโลยี
      ภาพหน้าปก: 

      เครื่องกะเทาะข้าวเปลือกระบบอัตโนมัติ

      ศ, 16/01/2015 - 16:25 — admin5
      รายละเอียด: 

      เครื่องกะเทาะข้าวเปลือกระบบอัตโนมัติ

                  เครื่องกะเทาะข้าวเปลือกเป็นเครื่องจักรที่ทำหน้าที่กะเทาะเปลือกของข้าวเปลือกออกให้เป็นข้าวกล้อง และแกลบ มีการใช้งานในโรงสีข้าวทั่วประเทศ ถ้าคำนวณจากผลผลิตข้าวเปลือกของประเทศไทย 36 ล้านตัน
      ในระยะเวลา 1 ปี การจะสีข้าวเปลือกให้เสร็จสิ้นโดยใช้เวลา 365 วันนั้น ประเทศไทยจะต้องการเครื่องกะเทาะข้าวจำนวนประมาณ 1,650 เครื่อง เพื่อทำหน้าที่กะเทาะเปลือกตลอดทั้งปี แต่ในทางปฏิบัติการสีข้าวเกิดขึ้นไม่นานกว่า
      3 เดือนตลอดทั้งปี เนื่องจากกำลังผลิตของโรงสีที่มากกว่าผลผลิตของข้าวเปลือก ดังนั้นจำนวนเครื่องกะเทาะข้าวเปลือกที่ประจำการอยู่ในโรงสีน่าจะมีอยู่ไม่ต่ำกว่า 6,600 เครื่องทั่วประเทศไทย เนื่องจากเครื่องกะเทาะข้าวเปลือกเป็นเครื่องจักรที่มีอายุการใช้งานยาวนาน ทำให้มีอัตราการซื้อทดแทนต่ำ แต่ทว่าโรงสีก็ยังซื้อทดแทนด้วยเหตุผลอื่นๆ เช่น เทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้น ทำให้คุณภาพการกะเทาะเปลือกที่ดีขึ้น กำลังผลิตที่มากขึ้น และความสะดวกสบายในการใช้งาน

       

      คุณลักษณะและสมรรถนะของเครื่อง

      1. มีอัตรากำลังการผลิตอยู่ที่ 3-4 ตันต่อชั่วโมง

      2. มีระบบ PLC ประมวลผลการทำงานและหน้าจอสัมผัส (Touch Screen)

      3. สามารถนับชั่วโมงการใช้งานเครื่องจักรและตั้งเวลานับชั่วโมงการทำงานของลูกยาง

      4. สามารถวัดอุณหภูมิเพื่อสั่งการให้ให้เครื่องหยุดกะเทาะ

      5. มีระบบการเตือนผู้ใช้เมื่อถึงเวลาการเปลี่ยนลูกยางสีข้าว

       

      พัฒนาโดย                      สถาบันไทย-เยอรมัน

                                          700/1 หมู่ 1 นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ถนนบางนาตราด กม. 57

                                          ตำบลคลองตำหรุ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20000                             

                                          โทรศัพท์ : 038-215088-44

                                          โทรสาร : 038-743464

                                          ลูกค้าสัมพันธ์ : 02-784464

                                   Email: Marketing@tgi.or.th

       บริษัทที่ร่วมโครงการ     บริษัท ยนต์ผลดี จำกัด

                                          25/6 ถนนพหลโยธิน กม.351 อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 60240 

                                          โทรศัพท์ 056-334000-2

                                          โทรสาร 056-334004

                                   Email:  karn.ck@gmail.com

       

      ราคาเริ่มต้นที่  ………………….   บาท/เครื่อง

      พัฒนาภายใต้ โครงการพัฒนาสินค้าเทคโนโลยีเพื่อผลักดันสู่ตลาด AEC ประจำปีงบประมาณ 2

      งบปี พ.ศ.: 
      2557
        แคตตาล็อกเทคโนโลยี
        ภาพหน้าปก: 

        กระเช้าเกี่ยวข้าวด้วยเครื่องตัดจานโรตารี่

        อ, 14/01/2014 - 13:30 — admin5
        รายละเอียด: 

        เจ้าของผลงาน
        ว่าที่ร้อยตรีพลกฤต ชิ้นทอง
        วิทยาลัยการอาชีพนางรอง เลขที่1 ถนนบ้านเก่า-แพงพวย
        ตำบลนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ 31110

        งบปี พ.ศ.: 
        2554
          แคตตาล็อกเทคโนโลยี
          ภาพหน้าปก: 

          เครื่องหว่านข้าวแห้งพ่วงรถแทรกเตอร์

          ศ, 27/12/2013 - 09:48 — admin5
          รายละเอียด: 

          เจ้าของสิ่งประดิษฐ์
          นายสุรเวทย์ กฤษณะเศรณี
          ที่อยู่ ๑๑๗๘/๒๖๘ ซอยเสนานิคม ๑
          ถนนพหลโยธิน ๓๒ แขวงจันทรเกษม
          เขตจตุจักร กทม. ๑๐๙๐๐

          งบปี พ.ศ.: 
          2553
            แคตตาล็อกเทคโนโลยี
            ภาพหน้าปก: 

            เครื่องกำจัดมอดในข้าวขนาดเล็กด้วยคลื่นไมโครเวฟสำหรับชุมชน

            ศ, 25/10/2013 - 16:07 — admin5
            รายละเอียด: 

            ผู้พัฒนา

            งบปี พ.ศ.: 
            2556

            เอกสารประกอบ

            เอกสารเผยแพร่: 
            แคตตาล็อกเทคโนโลยี
            ภาพหน้าปก: 

            เครื่องยิงคัดแยกสีเมล็ดข้าวสาร

            ศ, 25/10/2013 - 16:04 — admin5
            รายละเอียด: 

            ผู้พัฒนา  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

             

            งบปี พ.ศ.: 
            2556
              แคตตาล็อกเทคโนโลยี
              ภาพหน้าปก: 

              เครื่องจักรและถังหมักเพื่อผลิตข้าวแดงให้เป็นสีธรรมชาติ

              ศ, 25/10/2013 - 15:13 — admin5
              รายละเอียด: 

              ผู้พัฒนา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

              หัวหน้าโครงการ  ดร.วรนันต์ นาคบรรพต 

              งบปี พ.ศ.: 
              2556
                แคตตาล็อกเทคโนโลยี
                ภาพหน้าปก: 

                เครื่องกำจัดความชื้นในการเก็บรักษาสินค้าเกษตร

                จ, 05/08/2013 - 12:40 — admin5
                รายละเอียด: 

                ผู้พัฒนา นายไพศาล ดวงจักร์ ณ อยุธยา
                ผู้ใช้ สหกรณ์การเกษตร ต.ดงเจน จ.พะเยา

                งบปี พ.ศ.: 
                2556
                  แคตตาล็อกเทคโนโลยี
                  ภาพหน้าปก: 

                  เครื่องอัดฟางฟ่อน

                  ศ, 14/06/2013 - 10:53 — admin5
                  รายละเอียด: 

                  เจ้าของสิ่งประดิษฐ์
                  นายจำนอง มากเทพพงษ์
                  165 หมู่ 7 ต.มดแดง อ.ศรีประจันต์
                  จ.สุพรรณบุรี 72140

                  งบปี พ.ศ.: 
                  2536
                    แคตตาล็อกเทคโนโลยี
                    ภาพหน้าปก: 
                    เนื้อหาแหล่งข่าว