เครื่องจักรกลระบบอัตโนมัติ
พัฒนาระบบหุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบอัตโนมัติ AUS 63
เทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน เครื่องจักรหรือระบบที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยย่อมสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ทั้งในด้านการช่วยเพิ่มผลผลิตในกระบวนการผลิตสินค้า ช่วยดูแลในเรื่องคุณภาพชีวิต ไปจนถึงการสร้างความสะดวกสบายต่างๆหนึ่งในเทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีผลลัพธ์ที่น่าสนใจ คือ หุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบอัตโนมัติ (Autonomous Mobile Robot)
หุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบอัตโนมัติ มีความสามารถในการเคลื่อนที่สู่จุดหมายได้อย่างแม่นยำ สามารถหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้ มีสมรรถนะในการบรรทุกของหนัก จึงสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานในกระบวนการผลิต เพื่อทำการขนถ่ายวัสดุไปยังสถานีการผลิตต่างๆ หรือนำไปทำการจัดเก็บในคลังจัดเก็บสินค้า
สำหรับการใช้งานหุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบอัตโนมัติในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่สำคัญของการใช้งานระบบหุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบอัตโนมัติ คือ แต่ละพื้นที่ แต่ละความต้องการของผู้ใช้งาน มีความต้องการไม่เหมือนกัน จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบให้เข้ากันได้ และเหมาะสมกับพื้นที่ สภาพแวดล้อม ความต้องการของผู้ใช้งานนั้นๆ ซึ่ง หุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบอัตโนมัติที่ใช้งานในประเทศส่วนใหญ่นั้นนำเข้าจากต่างประเทศ และไม่สามารถเข้าถึงฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เพื่อแก้ไขปัญหาตามความต้องการของผู้ใช้งานได้ นอกจากนี้ หุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบอัตโนมัติที่นำเข้าหุ่นยนต์จากต่างประเทศยังมีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้น บริษัท ทรอปปิคอลเทค จำกัด จึงมีแนวความคิดและนโยบายที่จะต้องพัฒนาหุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบอัตโนมัติ เพื่อแก้ปัญหาการใช้งานและปัญหาด้านราคาต่อไป
บริษัท ทรอปปิคอลเทค จำกัด เป็นองค์กรที่มีบุคลากรที่มีความมุ่งมั่น มากกว่า 50 คน ซึ่งกว่าครึ่งหนึ่ง เป็นวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มีความเชี่ยวชาญงานระบบไฟฟ้า ระบบควบคุมอัตโนมัติรวมถึงมีศักยภาพพัฒนางานตั้งแต่ | ศึกษาความต้องการ | ออกแบบ | พัฒนา | ให้คำปรึกษา | บริหารโครงการ | ติดตั้ง และ ทดสอบ | แก้ไขปัญหา ในระบบที่ง่ายจนถึงมีความซับซ้อนที่หลากหลาย มีแนวคิดมุ่งเน้นการใช้องค์ความรู้และความเชี่ยวชาญหลักด้านงานระบบไฟฟ้า ควบคุมอัตโนมัติ สำหรับงานโครงสร้างพื้นฐานวิกฤต (Critical Infrastructure) สาธารณูปโภค งานโรงงาน สถานประกอบการ และงานอุตสาหกรรม สำหรับอนาคต (Industrial 4.0) เพื่อสอดรับกับนโยบาย ประเทศไทย 4.0 โดยทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมการถ่ายทอดทางเทคนิค และเทคโนโลยี ด้านระบบไฟฟ้าควบคุมอัตโนมัติชั้นสูง จากงานโครงการขนาดใหญ่มาก (Mega Project) ในต่างประเทศมาสู่โครงการต่างๆ ในประเทศไทยและพื้นที่ใกล้เคียง
หุ่นยนต์สนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์สำหรับพื้นที่ควบคุมพิเศษภายในโรงพยาบาล “STACK” AUS 63
สืบเนื่องจากปัจจุบัน วิกฤติการ โรคติดต่อ COVID-19 เป็น ภัยคุกคามที่แพร่กระจ่ายได้อย่างรวดเร็ว และกระจายตัวเป็นวงกว้างในทั่วโลก ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อไปแล้ว กว่า ล้าน คน และ เสียชิวิตลง จากการติดเชื้อดังกล่าว ไปแล้ว หลักแสนคน ในทั่วโลก แต่ละประเทศ หน่วยงาน หรือ บุคลากร กลุ่มแรกที่เข้าช่วยเหลือ ยับยั้ง และรักษา ผู้ติดเชื้อ นั้น คือกลุ่มบุคลากร ด้านการแพทย์ ที่มีส่วนร่วม ตั้งแต่ เจ้าหน้าที่ตรวจคัดกรอง เจ้าหน้าที่นำส่ง แพทย์ผู้ให้การรักษา และหน่วยงานสนับสนุนต่าง ๆ ภายใน สถานพยาบาลทุกคน
ด้วยเหตุนี้ กลุ่มบุคลากร ด้านการแพทย์ ที่เกี่ยวข้องทุกคน ที่ทำหน้าที่เป็นแนวหน้า ในการต่อสู้กับโลกระบาดในครั้งนี้ ถือว่า เป็นกลุ่มคนที่มีความสำคัญ ต่อสถานการณ์ โรคระบาด ในปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง มีผลต่อการ เพิ่มหรือลดลง ของผู้ป่วยในแต่ละวัน และ ยังเป็นกลุ่มคน ที่มีความเสี่ยง สูงที่สุดอีกด้วย หาก บุคลากรเหล่านี้ เกิดพลาด พลั้ง ติดเชื้อขึ้นมา แม้เพียง 1 คน ก็ตาม จะส่งผลให้บุคคล รอบข้างที่ใกล้ชิด ต้องอยู่ใน ข่าย ผู้ต้องสงสัย ที่จะติดเชื้อไปด้วยทันที ด้วยมาตรการควบคุมโรค ระบาด จำเป็นอย่างมาก ที่ต้องกัก ตัวบุคลากร ใกล้ชิดผู้ป่วยเพื่อเฝ้าดู อาการใน 14 วัน ทำให้สัดส่วนผู้ติดเชื้อ ต่อ บุคลากร ทางการแพทย์ มีอัตราส่วน ที่ห่าง กันยิ่งขึ้น
ฉนั้นผู้เสนอโครงการจึงเห็นว่า หาก มีอุปกรณ์ ที่สามารถลดความเสี่ยงที่จะเกิด กับบุคลากรทางการแพทย์ได้ ก็สามารถจะเพิ่ม โอกาสในการรักษา และต่อสู้กับโรคระบาดในปัจจุบันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพของบุคลากรทางการแพทย์ ทุกคน ด้วยการลดกิจกรรมที่ มีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อ เช่น การพูดคุยกับผู้ป่วยเพื่อซักถาม อาการป่วย การนำส่งยา การนำส่งสิ่งของ หรือปัจจัยพื้นฐาน ให้แก่ผู้ป่วย ร่วมถึงการ ฆ่าเชื้อในห้องกักกัน หากกิจกรรมพื้นฐาน เหล่านี้ถูกทดแทนได้ด้วยหุ่นยนต์ เราจะสามารถลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับบุคลากรทางการแพทย์ได้
ผู้เสนอโครงการจึงเสนอ หุ่นยนต์สนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์สำหรับพื้นที่ควบคุมพิเศษภายในโรงพยาบาล “STACK”เพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ ลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อในการปฏิบัติหน้าที่
ชุดควบคุมหุ่นยนต์ที่รองรับระบบปฎิบัติการหุ่นยนต์อัจฉริยะ AUS 63
หลักการออกแบบของชุดควบคุมของหุ่นยนต์อัจฉริยะจะใช้เครื่องมือพัฒนาโปรแกรมที่มีชื่อว่า ROS ซึ่งตัวROS สามารถที่จะทำการออกแบบหุ่นยนต์ได้หลากหลายชนิด,จำลองการทำงานของหุ่นยนต์,คิดคำนวนสมการของหุ่นยนต์ได้ โดยที่ตัว ROS จะทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์เกรดอุตสาหกรรมซึ่งทำมารองรับความสามารถของ ROS โดยเฉพาะ เพื่อเพิ่มเสถียรภาพของการทำงาน นอกจากนี้จะพัฒนาให้ระบบหุ่นยนต์สามารถที่จะสื่อสารกันเองได้โดยไม่ต้องพึ่งตัวกลางที่เป็นคอมพิวเตอร์เซิฟเวอร์ ในส่วนโปรแกรมจะพัฒนาให้รองรับกับการใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม โดยผู้ใช้งานสามารถสั่งงานหุ่นยนต์ปรับเปลี่ยนการเคลื่อนที่ได้ในรูปแบบต่างๆได้ในโปรแกรมเดียว
เครื่องขึ้นรูปเตาดินเผาประสิทธิภาพสูงระบบกึ่งอัตโนมัติ RID63
การหุงต้มอาหารในครัวเรือนของประชาชนในเขตชนบทส่วนใหญ่นิยมใช้เตาหุงต้มที่ใช้เชื้อเพลิงเป็นถ่านไม้หรือไม้ฟืน ซึ่งได้มีการใช้มาตั้งแต่ในอดีต เตาหุงต้มดังกล่าวมีการพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนไปน้อยมาก เมื่อเทียบกับเตาสมัยใหม่ ซึ่งเตาหุงต้มที่ใช้ถ่านไม้หรือไม้ฟืนที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเรียกว่า “เตาหุงต้มแบบดั้งเดิม” มีประสิทธิภาพการใช้งานเพียง 20% เท่านั้น และความแข็งแรงของตัวเตาหุงต้มน้อยเช่นกัน ดังนั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความแข็งแรงของตัวเตาหุงต้มจึงได้มีการหารือกับทางกลุ่มกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านใหม่ ประกอบกับปัจจุบันมีการส่งเสริมการใช้งานเตาหุงต้มประสิทธิภาพสูงในหลายภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐที่ต้องการส่งเสริมการใช้เตาซุปเปอร์อั้งโล่ประสิทธิภาพสูง ภาคเอกชนที่เพื่อนำไปจำหน่าย และชาวบ้านที่ต้องการซื้อเตาซุปเปอร์อั้งโล่ไปใช้เอง และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านใหม่ ตำบลตระแสง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ได้มีการรวมกลุ่มกันเพื่อผลิตเตาซุปเปอร์อั้งโล่ประสิทธิภาพสูงและเตาเนื้อย่างเกาหลีขึ้นเพื่อนำมาจำหน่าย ดังแสดงในรูปที่ 1 โดยสามารถสร้างรายได้จากการผลิตและจำหน่ายเตาอั้งโล่ให้กับสมาชิกในกลุ่ม และสามารถสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับสมาชิกในกลุ่มได้เป็นอย่างดี แต่จากการสำรวจพื้นที่ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่โรงปั้นเตาพบว่า การผลิตเตาอั้งโล่นั้นใช้การปั้นด้วยมือคนและในการปั้นเตาแต่ละครั้งจะสามารถปั้นได้ประมาณ 20 ตัว/คน/วัน ซึ่งถือว่าอยู่ในปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับความต้องการของตลาดที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเพื่อให้เพียงพอต้องความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นจึงจำเป็นต้องมีการสร้างเครื่องปั้นเตาขึ้นมาทดแทนการปั้นด้วยมือเพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตเตาให้ได้ตามจำนวนที่ต้องการ จากปัญหาที่เกิดขึ้นกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านใหม่ ทีมวิจัยได้ขอสรุปคือ การออกแบบ และสร้างเครื่องปั้นเตาที่มีกำลังการผลิตอยู่ที่ประมาณ 200 ตัว/วัน (เวลาในการผลิต 10 ชั่วโมงต่อวัน) เพื่อให้การผลิตเตาเนื้อย่างเพียงพอต่อความต้องการของตลาดและลดปัญหาอัตราการเจ็บป่วยของคนงานในการปั้นเตาด้วยมือ โดยการนำเอาเทคโนโลยีมาช่วยในกระบวนการผลิตและง่ายต่อการทำงาน ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เพิ่มศักยภาพความเข้มแข็งของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านใหม่ ได้เป็นอย่างดี
รูปที่ 1 การปั้นเตาซุปเปอร์อั้งโล่ด้วยมือของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านใหม่
ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบ และสร้างเครื่องปั้นเตาเนื้อย่างเกาหลี กึ่งอัตโนมัติ ที่สามารถทดแทนการปั้นด้วยมือ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตเตาเนื้อย่างเกาหลีอย่างน้อยประมาณ 200 ตัวต่อวันและเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการการใช้งานเครื่องปั้นเตาเนื้อย่างเกาหลี แบบกึ่งอัตโนมัติให้กับสมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านใหม่ ตำบลตระแสง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ และผู้ที่สนใจทั่วไป |
เพื่อให้สามารถแข่งขันทางด้านการผลิตเตาเนื้อย่างเกาหลี ด้านการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้งานในกระบวนการผลิต และด้านการตลาดต่อไปในอนาคต |
หุ่นยนต์บริการใส่ปุ๋ยและบังคับดอกสำหรับไร่สับปะรด RID63
การเกษตรถือเป็นอาชีพหลักของคนไทย โดยการแข่งขันทางด้านการเกษตรนั้นจะรุนแรงขึ้นทุกปี แต่ภาคการเกษตรของประเทศไทยนั้นยังขาดการพัฒนา ขาดแคลนแรงงาน อีกทั้งยังมีปัญหาด้านสารเคมีที่ตกค้างในผลผลิต จึงจำเป็นต้องมีนวัตกรรมขึ้นมาใช้งานเพื่อลดการใช้แรงงาน ลดปริมาณ สารเคมีที่ใช้ในไร่สับปะรด และเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตโดยการทำการฉีดพ่นสารบังคับดอก จะทำให้สับปะรดควบคุมการออกของสับปะรดในทุกฤดูกาล ทำให้ได้ผลผลิตสม่ำเสมอ และมีราคาสูงในช่วงที่ผลผลิตสับปะรดขาดตลาด
เครื่องล้างและบำบัดสิ่งปนเปื้อนหอยนางรม RID63
โครงการมีแนวคิดในการแก้ปัญหาวิกฤตความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อการรับประทานหอยนางรม โดยการออกแบบและสร้าง เครื่องล้างและบำบัดสิ่งปนเปื้อนหอยนางรม สำหรับมอบให้ สหกรณ์ผู้เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งสุราษฏร์ธานี บ้านเลขที่ 85 หมู่ 2 ตำบลตะเคียนทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84160 ซึ่งมีจำนวนสมาชิก 1,200 คน นำไปใช้งานจำหน่ายหอยนางรมสด ริมทาง (Street Food) และจัดจำหน่ายบริเวณหน้าร้านอาหารทะเลทั่วไปโดยออกแบบโครงสร้างให้สะดวกต่อการเข็นและพับเก็บใช้งาน โดยภายในนวัตกรรม เครื่องล้างและบำบัดสิ่งปนเปื้อนหอยนางรม ประกอบด้วยการนำหอยนางรมมาล้างภายในด้วยน้ำทะเลสะอาดโดยไม่ใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม รวมถึงมีการดึงเมือกของเสียด้วยโปรตีนสกิมเมอร์ และที่สำคัญน้ำผ่านการใช้งานยังสามารถบำบัดนำไปใช้อีกด้วยทั้งนี้หอยนางรมที่ผ่านการล้างด้วยเครื่องล้างและบำบัดสิ่งปนเปื้อนหอยนางรม ยังเพิ่มความมั่นใจโดยการนำไปตรวจสอบด้วยสถาบันที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้นวัตกรรมดังกล่าวจะ ช่วยสร้างความมั่นคงให้ผู้ผลิตและ สร้างคุณภาพชีวิตให้ผู้บริโภค ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของจังหวัดและประเทศในภาพรวม
ต้นแบบหุ่นยนต์ตรวจการเพื่อการพาณิชย์ VCE63
ด้วยปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์ได้ถูกนํามาประยุกต์ใช้หลายหลากอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มักแพร่หลายในอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆแต่ในด้านงานบริการโดยเฉพาะการใช้งานด้านงานตรวจการในสถานทีÉปิดเช่นห้างสรรพสินค้าซึÉงมีอยู่มากมายในประเทศยังไม่มีการพัฒนามาใช้อย่างจริงจังโดยการเจาะจงระบุการใช้งานในช่วงหลังห้างฯปิด ซึÉงปกติจะใช้พนักงานรักษาความปลอดภัยเดินตรวจการตามตารางเวลาทีÉกําหนดทัÊงเส้นทาง จุดตรวจ อีกประการหนึÉงทีÉเป็นปัจจัยเร่งคิดหาเครืÉองมือทางเทคโนโลยีคือประเด็นค่าแรงของพนักงานรักษาความปลอดภัยทีÉสูงขึÊนตามเกณฑ์ค่าจ้างแรงงานขัÊนตํÉา อีกทัÊง ปัญหาขาดลามาสายยังคงเป็นปัญหาหลักของการจ้างงานจึงเป็นทีÉมาในการคิดหาวิธีการทดแทนหรือลดความจําเป็นในการใช้พนักงานรักษาความปลอดภัยลงหรือลดจํานวนโดยเลือกเฉพาะภารกิจรองของพนักงานรักษาความปลอดภัยมากําหนดเป็นภารกิจหลักของหุ่นยนต์ตรวจการ
ตู้อบฟิล์มหดอัจฉริยะ VCE63
ผลิตภัณฑ์รูปแบบแพคที่วางขายในปัจจุบันมักจะถูกห่อหุ้มด้วยฟิล์มหดแทบทั้งหมดเพื่อให้เกิดการแพคตัวอย่างแน่นหนาและปกป้องผิวของผลิตภัณฑ์ในคราวเดียวกัน การใช้งานฟิล์มหดจะต้องท าการให้ความร้อนแก่ฟิล์มหดเพื่อให้ฟิล์มหดเกิดความอ่อนตัวพร้อมกับใช้กระแสลมซึ่งเป็นแรงกระท าในการจัดรูปทรงของฟิล์มหด เมื่อฟิล์มหดที่อ่อนตัวสัมผัสกับอุณหภูมิห้องจะแข็งตัวและรักษารูปร่างขณะอ่อนตัวไว้ ซึ่งตู้อบฟิล์มหดอัจฉริยะนั้นถูกออกแบบมาให้สามารถปรับเปลี่ยนปริมาตรช่องอบฟิล์มหดและทิศทางของกระแสให้เหมาะสมกับขนาดชิ้นงานท าให้การใช้พลังงานของตู้อบฟิล์มหดอัจฉริยะสามารถปรับลดตามขนาดของชิ้นงานที่จะท าการอบได้ นอกจากนี้ตู้อบฟิล์มหดอัจฉริยะยังสามารถแสดงสถานะการท างานของตู้อบฟิล์มหดอัจฉริยะผ่านอินเตอร์เน็ตได้อีกด้วย
แพลตฟอร์มการเชื่อมต่ออุตสาหกรรมอัจฉริยะสำหรับอุตสาหกรรมเอสเอ็มอี VCE63
ปัจจุบันการเชื่อมต่อเครื่องจักรที่ใช้ PLC และ SCADA หลากหลายยี่ห้อนั้น จำเป็นจะต้องมี License สำหรับการเชื่อมต่อซึ่งยังเป็นซอฟต์แวร์ที่มาจากต่างประเทศที่ขายโดยคนไทยมีแพลตฟอร์มขนาดใหญ่ราคาหลักล้านขึ้นไป แต่ใช้งานจริงไม่ถึง 20% บวกกับค่าฮาร์ดแวร์ที่มีราคาสูงทำให้ผู้ประกอบการที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลางไม่ลงทุนซื้อระบบไปใช้งาน จึงพัฒนาแพลตฟอร์มที่สามารถใช้งานผ่าน Driver OPC ได้ฟรี และจะทำให้บริษัท SME สามารถพัฒนาสู่ อุตสาหกรรม 4.0 ได้ เป็นระบบแสดงข้อมูลเครื่องจักรแบบ Real Time โดยจะเชื่อมต่อเครื่องจักรกับ ระบบผ่านระบบ OPC client Modbus TCP, Modbus RS-485 หรือ logician IO ตามประเภทของเครื่องจักรนั้นๆ ซึ่งแพลตฟอร์มนี้สามารถใช้งานร่วมกับ PLC ได้หลากหลายยี่ห้อ และสามารถใช้งาน ร่วมกับ OPC อื่นๆ ได้ มุ่งเน้นให้กลุ่ม SME ของไทยนำไปใช้เพื่อลดปัญหา Human Error ที่ทำให้เกิด ความผิดพลาดในการผลิตที่อาศัยความถูกต้องแม่นยำสูงและก้าวเข้าสู่ Industry 4.0
เครื่องขึ้นรูปชิ้นงานสามมิติประสิทธิภาพสูงด้วยวัสดุกึงเหลวควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์
รางวัลเทคโนโลยียอดเยี่ยมด้านเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ ประจำปี 2562
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2
สาขาการผลิตในเชิงอุตสาหกรรม
ติดต่อ บริษัท บางกอก บลูโอเชี่ยน จำกัด 081-733-7263