หุ่นยนต์สนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์สำหรับพื้นที่ควบคุมพิเศษภายในโรงพยาบาล “STACK” AUS 63
สืบเนื่องจากปัจจุบัน วิกฤติการ โรคติดต่อ COVID-19 เป็น ภัยคุกคามที่แพร่กระจ่ายได้อย่างรวดเร็ว และกระจายตัวเป็นวงกว้างในทั่วโลก ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อไปแล้ว กว่า ล้าน คน และ เสียชิวิตลง จากการติดเชื้อดังกล่าว ไปแล้ว หลักแสนคน ในทั่วโลก แต่ละประเทศ หน่วยงาน หรือ บุคลากร กลุ่มแรกที่เข้าช่วยเหลือ ยับยั้ง และรักษา ผู้ติดเชื้อ นั้น คือกลุ่มบุคลากร ด้านการแพทย์ ที่มีส่วนร่วม ตั้งแต่ เจ้าหน้าที่ตรวจคัดกรอง เจ้าหน้าที่นำส่ง แพทย์ผู้ให้การรักษา และหน่วยงานสนับสนุนต่าง ๆ ภายใน สถานพยาบาลทุกคน
ด้วยเหตุนี้ กลุ่มบุคลากร ด้านการแพทย์ ที่เกี่ยวข้องทุกคน ที่ทำหน้าที่เป็นแนวหน้า ในการต่อสู้กับโลกระบาดในครั้งนี้ ถือว่า เป็นกลุ่มคนที่มีความสำคัญ ต่อสถานการณ์ โรคระบาด ในปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง มีผลต่อการ เพิ่มหรือลดลง ของผู้ป่วยในแต่ละวัน และ ยังเป็นกลุ่มคน ที่มีความเสี่ยง สูงที่สุดอีกด้วย หาก บุคลากรเหล่านี้ เกิดพลาด พลั้ง ติดเชื้อขึ้นมา แม้เพียง 1 คน ก็ตาม จะส่งผลให้บุคคล รอบข้างที่ใกล้ชิด ต้องอยู่ใน ข่าย ผู้ต้องสงสัย ที่จะติดเชื้อไปด้วยทันที ด้วยมาตรการควบคุมโรค ระบาด จำเป็นอย่างมาก ที่ต้องกัก ตัวบุคลากร ใกล้ชิดผู้ป่วยเพื่อเฝ้าดู อาการใน 14 วัน ทำให้สัดส่วนผู้ติดเชื้อ ต่อ บุคลากร ทางการแพทย์ มีอัตราส่วน ที่ห่าง กันยิ่งขึ้น
ฉนั้นผู้เสนอโครงการจึงเห็นว่า หาก มีอุปกรณ์ ที่สามารถลดความเสี่ยงที่จะเกิด กับบุคลากรทางการแพทย์ได้ ก็สามารถจะเพิ่ม โอกาสในการรักษา และต่อสู้กับโรคระบาดในปัจจุบันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพของบุคลากรทางการแพทย์ ทุกคน ด้วยการลดกิจกรรมที่ มีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อ เช่น การพูดคุยกับผู้ป่วยเพื่อซักถาม อาการป่วย การนำส่งยา การนำส่งสิ่งของ หรือปัจจัยพื้นฐาน ให้แก่ผู้ป่วย ร่วมถึงการ ฆ่าเชื้อในห้องกักกัน หากกิจกรรมพื้นฐาน เหล่านี้ถูกทดแทนได้ด้วยหุ่นยนต์ เราจะสามารถลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับบุคลากรทางการแพทย์ได้
ผู้เสนอโครงการจึงเสนอ หุ่นยนต์สนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์สำหรับพื้นที่ควบคุมพิเศษภายในโรงพยาบาล “STACK”เพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ ลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อในการปฏิบัติหน้าที่