เครื่องขึ้นรูปเตาดินเผาประสิทธิภาพสูงระบบกึ่งอัตโนมัติ RID63

พ, 01/07/2020 - 15:24 — admin5
รายละเอียด: 

 

การหุงต้มอาหารในครัวเรือนของประชาชนในเขตชนบทส่วนใหญ่นิยมใช้เตาหุงต้มที่ใช้เชื้อเพลิงเป็นถ่านไม้หรือไม้ฟืน ซึ่งได้มีการใช้มาตั้งแต่ในอดีต เตาหุงต้มดังกล่าวมีการพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนไปน้อยมาก เมื่อเทียบกับเตาสมัยใหม่ ซึ่งเตาหุงต้มที่ใช้ถ่านไม้หรือไม้ฟืนที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเรียกว่า “เตาหุงต้มแบบดั้งเดิม” มีประสิทธิภาพการใช้งานเพียง 20% เท่านั้น และความแข็งแรงของตัวเตาหุงต้มน้อยเช่นกัน ดังนั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความแข็งแรงของตัวเตาหุงต้มจึงได้มีการหารือกับทางกลุ่มกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านใหม่ ประกอบกับปัจจุบันมีการส่งเสริมการใช้งานเตาหุงต้มประสิทธิภาพสูงในหลายภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐที่ต้องการส่งเสริมการใช้เตาซุปเปอร์อั้งโล่ประสิทธิภาพสูง ภาคเอกชนที่เพื่อนำไปจำหน่าย และชาวบ้านที่ต้องการซื้อเตาซุปเปอร์อั้งโล่ไปใช้เอง และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านใหม่ ตำบลตระแสง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ได้มีการรวมกลุ่มกันเพื่อผลิตเตาซุปเปอร์อั้งโล่ประสิทธิภาพสูงและเตาเนื้อย่างเกาหลีขึ้นเพื่อนำมาจำหน่าย ดังแสดงในรูปที่ 1 โดยสามารถสร้างรายได้จากการผลิตและจำหน่ายเตาอั้งโล่ให้กับสมาชิกในกลุ่ม และสามารถสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับสมาชิกในกลุ่มได้เป็นอย่างดี แต่จากการสำรวจพื้นที่ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่โรงปั้นเตาพบว่า การผลิตเตาอั้งโล่นั้นใช้การปั้นด้วยมือคนและในการปั้นเตาแต่ละครั้งจะสามารถปั้นได้ประมาณ 20 ตัว/คน/วัน ซึ่งถือว่าอยู่ในปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับความต้องการของตลาดที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเพื่อให้เพียงพอต้องความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นจึงจำเป็นต้องมีการสร้างเครื่องปั้นเตาขึ้นมาทดแทนการปั้นด้วยมือเพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตเตาให้ได้ตามจำนวนที่ต้องการ จากปัญหาที่เกิดขึ้นกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านใหม่ ทีมวิจัยได้ขอสรุปคือ การออกแบบ และสร้างเครื่องปั้นเตาที่มีกำลังการผลิตอยู่ที่ประมาณ 200 ตัว/วัน (เวลาในการผลิต 10 ชั่วโมงต่อวัน) เพื่อให้การผลิตเตาเนื้อย่างเพียงพอต่อความต้องการของตลาดและลดปัญหาอัตราการเจ็บป่วยของคนงานในการปั้นเตาด้วยมือ โดยการนำเอาเทคโนโลยีมาช่วยในกระบวนการผลิตและง่ายต่อการทำงาน ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เพิ่มศักยภาพความเข้มแข็งของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านใหม่ ได้เป็นอย่างดี 

 

 

 

รูปที่ 1 การปั้นเตาซุปเปอร์อั้งโล่ด้วยมือของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านใหม่ 

 

ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบ และสร้างเครื่องปั้นเตาเนื้อย่างเกาหลี กึ่งอัตโนมัติ ที่สามารถทดแทนการปั้นด้วยมือ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตเตาเนื้อย่างเกาหลีอย่างน้อยประมาณ 200 ตัวต่อวันและเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการการใช้งานเครื่องปั้นเตาเนื้อย่างเกาหลี แบบกึ่งอัตโนมัติให้กับสมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านใหม่ ตำบลตระแสง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ และผู้ที่สนใจทั่วไป 

เพื่อให้สามารถแข่งขันทางด้านการผลิตเตาเนื้อย่างเกาหลี ด้านการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้งานในกระบวนการผลิต และด้านการตลาดต่อไปในอนาคต 

 

งบปี พ.ศ.: 
2563
    แคตตาล็อกเทคโนโลยี
    ภาพหน้าปก: