โครงการพัฒนาเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ เพื่อการผลิตระดับชุมชน (RID)

โครงการพัฒนาประดิษฐกรรมเพื่อชนบท (ชื่อเดิม)

เครื่องผลิตผงชาปลีกล้วยพร้อมบรรจุอัตโนมัติ RID63

พ, 01/07/2020 - 15:39 — admin5
รายละเอียด: 

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกกล้วยน้ำว้าอำเภอบ้านธิ ได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาธุรกิจกับทางสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และศูนย์นวัตกรรมการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งได้รับการวิจัยและพัฒนาในส่วนของหัวปลี หรือปลีกล้วยเป็นผลิตภัณฑ์ “ชาปลีกล้วย” เป็นการเพิ่มมูลค่าปลีกล้วย จากปกติจะจำหน่ายให้กับพ่อค้าทั่วไปในราคาหัวละ 5 -10 บาท เมื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ “ชาปลีกล้วย” เพิ่มมูลค่าได้มากกว่า50 บาท หรือคิดเป็น 5 เท่า ของปลีกล้วยที่ขายโดยทั่วไป ด้านการตลาดได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคค่อนข้างดี แต่ติดขัดปัญหาในกระบวนการผลิตที่ยังไม่พร้อม เนื่องจากทำด้วยมือทั้งหมด ไม่มีการนำเครื่องจักรเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิต ทำให้ผลิตได้ปริมานน้อย ไมเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า ดังนั้น กลุ่มฯ จึงมีความประสงค์ขอรับการสนับสนุนเครื่องผลิตผงชาปลีกล้วยพร้อมบรรจุอัตโนมัติ เพื่อช่วยเพิ่มกำลังการผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า ช่วยลดต้นทุนการผลิต และช่วยในกระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของลูกค้าต่อไป 

งบปี พ.ศ.: 
2563
    แคตตาล็อกเทคโนโลยี
    ภาพหน้าปก: 

    เครื่องสกัดน้ำแยกกากเสาวรส RID63

    พ, 01/07/2020 - 15:34 — admin5
    รายละเอียด: 

    วิสาหกิจชุมชนน้ำสมุนไพรใบโพธิ์ ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นน้ำเสาวรสสดพร้อมดื่ม (ผ่านกระบวนการถนอมอาหารที่สามารถเก็บรักษาได้นาน) จึงเริ่มต้นความต้องการเครื่องสกัดน้ำแยกกากเสาวรสเพื่อให้ได้กำลังการผลิตน้ำเสาวรสสด จากเดิมที่ต้องใช้แรงงานคนในการผ่าและกวักเนื้อพร้อมแยกน้ำ ทำให้ใช้กำลังคนและเวลามาก ซึ่งไม่ทันต่อฤดูกาลที่เสาวรสออกผล ดังนั้นทางผู้ประกอบการจึงได้เสนอความต้องการเครื่องสกัดน้ำแยกกากเพื่อเตรียมผลิตให้ทันต่อฤดูกาลที่เสาวรสจะออกในช่วงเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน เพื่อเก็บรักษาน้ำเสารสเพื่อไปผ่านกระบวนการรักษาอายุต่อไป   

    งบปี พ.ศ.: 
    2563
      แคตตาล็อกเทคโนโลยี
      ภาพหน้าปก: 

      โรงเรือนเลี้ยงไหมประสิทธิภาพสูงที่ควบคุมการทำงานด้วยระบบควบคุมอัตโนมัติ RID63

      พ, 01/07/2020 - 15:29 — admin5
      รายละเอียด: 

      ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตไหมและผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีและมีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งของโลก มีแรงงานในอุตสาหกรรมจำนวนมากและในแต่ละปีมีการส่งออกไหมและผลิตภัณฑ์ได้มูลค่ามากกว่าพันล้านบาท และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ จากข้อมูลของกรมศุลการกร ประมวลผลโดยกลุ่มเศรษฐกิจการตลาด สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ กรมหม่อนไหมพบว่า ปริมาณการนำเข้ารังไหม เส้นไหม ผ้าไหม และผลิตภัณฑ์ไหม (ม.ค.-ธ.ค.2556) เท่ากับ 7,420,109 ตัน หรือคิดเป็นมูลค่า 1,335,790,987บาท และปริมาณการส่งออกรังไหม เส้นไหม ผ้าไหม และผลิตภัณฑ์ไหม (ม.ค.-ธ.ค.2556) เท่ากับ 3,321,749 บาท หรือคิดเป็นมูลค่า 873,266,248 บาท โดยปริมาณการนำเข้ามากกว่าปริมาณการส่งออกคิดเป็นร้อยละ 123.38 ซึ่งคิดเป็นปริมาณที่ค่อนข้างมาก อาจจะกล่าวได้ว่าขาดดุลการค้าค่อนข้างมาก หากพิจารณาปริมาณการผลิตไหมหัตถกรรม ปี 2556 ในประเทศไทย พบว่า จำนวนของเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมภายในประเทศทั้งหมด 69,157 ราย โดยคิดเป็นพื้นที่ปลูกหม่อนเท่ากับ 40,053 ไร่ และปริมาณเส้นไหมที่สามารถผลิตได้ทั้งประเทศเท่ากับ 290,883 กิโลกรัม ซึ่งปริมาณดังกล่าวยังไม่เพียงพอกับความต้องการของคนในประเทศ และต่างประเทศด้วยเช่นกัน และสำหรับข้อมูลปริมาณการผลิตไหมหัตถกรรม ปี 2556 ในจังหวัดสุรินทร์ จากข้อมูลของกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า จังหวัดสุรินทร์ถือเป็นจังหวัดอันดับต้นของประเทศที่มีปริมาณการผลิตไหมหัตถกรรมค่อนข้างสูง มีปริมาณเส้นไหมที่ผลิตได้เท่ากับ 52,914 กิโลกรัม โดยมีจำนวนเกษตรกรทั้งจังหวัดเท่ากับ 10,198 รายในทุกอำเภอของจังหวัด และมีพื้นที่ในการปลูกหม่อนเท่ากับ 5,611 ไร่ โดยปริมาณเส้นไหมที่ผลิตได้คิดเป็นร้อยละ 18.19 ของปริมาณการผลินเส้นไหมได้ทั้งประเทศ 

      จากการลงสำรวจพื้นที่บ้านพญาราม หมู่ที่ 9 ตำบลเพี้ยราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งบ้านพญาราม ได้จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหมพญาราม และได้ส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ดังแสดงในรูปที่ 1 โดยมีนางโยธกา บุญมาก เป็นประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยมีแรงบันดาลใจจากการที่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงมีน้ำพระหฤทัยสนับสนุนกลุ่มทอผ้าทั่วทุกภาค จึงได้มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขึ้นมาโดยมีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเพื่อนำเส้นไหมมาทอ เริ่มการทอผ้าไหมด้วยกี่กระทบแบบโบราณและเป็นแบบกี่กระตุกในปัจจุบัน ลวดลายดั้งเดิมโดยได้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษ ซึ่งวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหมพญาราม มีการรวมกลุ่มเกษตรกรและจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ปัจจุบันมีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 151 ราย มีหม่อนแปลงรวม จำนวน 110 ไร่ และแปลงรายเดี่ยว จำนวน 100 ไร่ รวมทั้งสิ้น 210 ไร่ ดำเนินกิจกรรมปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ทอผ้า แปรรูปผลิตภัณฑ์จากหม่อนไหม ผลิตไข่ไหม ผลิตไหมวัยตัวอ่อนเพื่อจำหน่าย และผลิตเครื่องมืออุปกรณ์ในการสาวไหมและทอสำหรับไว้ให้ชาวบ้านพร้อมทั้งสมาชิกในกลุ่มได้ใช้งาน 

       

       

      รูปที่ 1 โรงเรือนเลี้ยงตัวหนอนไหมและลักษณะการเลี้ยงไหมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 

      ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมพญารามบ้านพญาราม หมู่ที่ ตำบลเพี้ยราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ 

       

      ดังนั้นจากปัญหาที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ดังนั้นโครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาโรงเรือนเลี้ยงตัวหนอนไหมประสิทธิภาพสูงที่มีการควบคุมอุณหภูมิ และความชื้นภายในโรงเรือนที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงไหมทั้ง วัย และเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของตัวหนอนไหมในฤดูกาลที่มีอุณหภูมิสูง เปรียบเทียบกับโรงเลี้ยงไหมที่มีการใช้อยู่เดิม ส่งผลทำให้ปริมาณการผลิตเส้นไหมและผ้าไหมของโรงงานเพิ่มสูงมากขึ้น ก่อให้เกิดผลกำไรเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน 

       

      งบปี พ.ศ.: 
      2563
        แคตตาล็อกเทคโนโลยี
        ภาพหน้าปก: 

        เครื่องขึ้นรูปเตาดินเผาประสิทธิภาพสูงระบบกึ่งอัตโนมัติ RID63

        พ, 01/07/2020 - 15:24 — admin5
        รายละเอียด: 

         

        การหุงต้มอาหารในครัวเรือนของประชาชนในเขตชนบทส่วนใหญ่นิยมใช้เตาหุงต้มที่ใช้เชื้อเพลิงเป็นถ่านไม้หรือไม้ฟืน ซึ่งได้มีการใช้มาตั้งแต่ในอดีต เตาหุงต้มดังกล่าวมีการพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนไปน้อยมาก เมื่อเทียบกับเตาสมัยใหม่ ซึ่งเตาหุงต้มที่ใช้ถ่านไม้หรือไม้ฟืนที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเรียกว่า “เตาหุงต้มแบบดั้งเดิม” มีประสิทธิภาพการใช้งานเพียง 20% เท่านั้น และความแข็งแรงของตัวเตาหุงต้มน้อยเช่นกัน ดังนั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความแข็งแรงของตัวเตาหุงต้มจึงได้มีการหารือกับทางกลุ่มกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านใหม่ ประกอบกับปัจจุบันมีการส่งเสริมการใช้งานเตาหุงต้มประสิทธิภาพสูงในหลายภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐที่ต้องการส่งเสริมการใช้เตาซุปเปอร์อั้งโล่ประสิทธิภาพสูง ภาคเอกชนที่เพื่อนำไปจำหน่าย และชาวบ้านที่ต้องการซื้อเตาซุปเปอร์อั้งโล่ไปใช้เอง และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านใหม่ ตำบลตระแสง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ได้มีการรวมกลุ่มกันเพื่อผลิตเตาซุปเปอร์อั้งโล่ประสิทธิภาพสูงและเตาเนื้อย่างเกาหลีขึ้นเพื่อนำมาจำหน่าย ดังแสดงในรูปที่ 1 โดยสามารถสร้างรายได้จากการผลิตและจำหน่ายเตาอั้งโล่ให้กับสมาชิกในกลุ่ม และสามารถสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับสมาชิกในกลุ่มได้เป็นอย่างดี แต่จากการสำรวจพื้นที่ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่โรงปั้นเตาพบว่า การผลิตเตาอั้งโล่นั้นใช้การปั้นด้วยมือคนและในการปั้นเตาแต่ละครั้งจะสามารถปั้นได้ประมาณ 20 ตัว/คน/วัน ซึ่งถือว่าอยู่ในปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับความต้องการของตลาดที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเพื่อให้เพียงพอต้องความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นจึงจำเป็นต้องมีการสร้างเครื่องปั้นเตาขึ้นมาทดแทนการปั้นด้วยมือเพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตเตาให้ได้ตามจำนวนที่ต้องการ จากปัญหาที่เกิดขึ้นกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านใหม่ ทีมวิจัยได้ขอสรุปคือ การออกแบบ และสร้างเครื่องปั้นเตาที่มีกำลังการผลิตอยู่ที่ประมาณ 200 ตัว/วัน (เวลาในการผลิต 10 ชั่วโมงต่อวัน) เพื่อให้การผลิตเตาเนื้อย่างเพียงพอต่อความต้องการของตลาดและลดปัญหาอัตราการเจ็บป่วยของคนงานในการปั้นเตาด้วยมือ โดยการนำเอาเทคโนโลยีมาช่วยในกระบวนการผลิตและง่ายต่อการทำงาน ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เพิ่มศักยภาพความเข้มแข็งของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านใหม่ ได้เป็นอย่างดี 

         

         

         

        รูปที่ 1 การปั้นเตาซุปเปอร์อั้งโล่ด้วยมือของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านใหม่ 

         

        ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบ และสร้างเครื่องปั้นเตาเนื้อย่างเกาหลี กึ่งอัตโนมัติ ที่สามารถทดแทนการปั้นด้วยมือ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตเตาเนื้อย่างเกาหลีอย่างน้อยประมาณ 200 ตัวต่อวันและเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการการใช้งานเครื่องปั้นเตาเนื้อย่างเกาหลี แบบกึ่งอัตโนมัติให้กับสมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านใหม่ ตำบลตระแสง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ และผู้ที่สนใจทั่วไป 

        เพื่อให้สามารถแข่งขันทางด้านการผลิตเตาเนื้อย่างเกาหลี ด้านการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้งานในกระบวนการผลิต และด้านการตลาดต่อไปในอนาคต 

         

        งบปี พ.ศ.: 
        2563
          แคตตาล็อกเทคโนโลยี
          ภาพหน้าปก: 

          หุ่นยนต์บริการใส่ปุ๋ยและบังคับดอกสำหรับไร่สับปะรด RID63

          พ, 01/07/2020 - 15:19 — admin5
          รายละเอียด: 

          การเกษตรถือเป็นอาชีพหลักของคนไทย โดยการแข่งขันทางด้านการเกษตรนั้นจะรุนแรงขึ้นทุกปี แต่ภาคการเกษตรของประเทศไทยนั้นยังขาดการพัฒนา ขาดแคลนแรงงาน อีกทั้งยังมีปัญหาด้านสารเคมีที่ตกค้างในผลผลิต จึงจำเป็นต้องมีนวัตกรรมขึ้นมาใช้งานเพื่อลดการใช้แรงงาน ลดปริมาณ สารเคมีที่ใช้ในไร่สับปะรด และเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตโดยการทำการฉีดพ่นสารบังคับดอก จะทำให้สับปะรดควบคุมการออกของสับปะรดในทุกฤดูกาล ทำให้ได้ผลผลิตสม่ำเสมอ และมีราคาสูงในช่วงที่ผลผลิตสับปะรดขาดตลาด  

           

           

          งบปี พ.ศ.: 
          2563
            แคตตาล็อกเทคโนโลยี
            ภาพหน้าปก: 

            เครื่องบรรจุเครื่องแกงแบบถุงกึ่งอัตโนมัติ RID63

            พ, 01/07/2020 - 15:16 — admin5
            รายละเอียด: 

            จากการศึกษาปัญหาในกระบวนการผลิตเครื่องแกงที่ทางวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ธรรมชาติได้สรุปผลดังต่อไปนี้

            1).ยอดการผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค

            2).ในกระบวนการผลิตยังใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการผลิตเครื่องแกงตลอดจนการบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ทันสมัยและจะส่งผลต่อการผลิตในภาครวม

            จากปัญหากระบวนการในการผลิตเครื่องแกงที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจึงทำให้ทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ธรรมชาติได้ปรึกษาและบูรณาการร่วมกันกับคณะฯผู้จัดทำโครงการโดยได้ข้อสรุปที่จะต้องสร้างเครื่องบรรจุเครื่องแกงแบบถุงกึ่งอัตโนมัติที่มีขนาด 40 กรัมต่อถุง โดยมียอดการผลิต 500 ถุงต่อวัน หรือ15,000 ถุงต่อเดือน เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคของตลาดในท้องถิ่นและพื้นที่ใกล้เคียง 

            งบปี พ.ศ.: 
            2563
              แคตตาล็อกเทคโนโลยี
              ภาพหน้าปก: 

              เครื่องปอกเปลือกลูกจันทน์เทศ RID63

              พ, 01/07/2020 - 15:12 — admin5
              รายละเอียด: 

              กลุ่มแปรรูปลูกจันทร์เทศบ้านร่อนนา อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช และได้จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปจันทร์เทศบ้านร่อนนาเมื่อปี พ.ศ. 2549 ได้มีใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จันทร์เทศ ได้แก่ จันทร์เส้น จันทร์แช่อิ่ม จันทร์หยี จันทร์กวน โดยมีการจำหน่ายในชุมชนและได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับห้าดาว เป็นการก่อให้เกิดรายได้และพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนได้เป็นอย่างดี จากการสำรวจความต้องการชุมชน พบว่าวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปจันทร์เทศบ้านร่อนนา มีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งด้านการกระบวนการผลิต ด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ การประชาสัมพันธ์ และช่องทางการจำหน่ายออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นตอนการปอกเปลือกลูกจันทร์เทศอาศัยแรงงานคนเป็นหลัก ซึ่งต้องใช้เวลาในการปอกเปลือกลูกจันทน์เทศมากและแรงงานหายาก ดังนั้นทางกลุ่มแปรรูปลูกจันทร์เทศบ้านร่อนนา มีความต้องการเครื่องมือหรือเครื่องจักรมาใช้ทดแทนการผลิตแบบเดิมด้วยแรงงานคน เพื่อให้สามารถเพิ่มปริมาณการผลิต ลดเวลาและแรงงานในการปอกเปลือกจันทน์เทศ จากปัญหาดังกล่าวโครงการนี้จึงมุ่งเน้นพัฒนาเครื่องปอกเปลือกลูกจันทน์เทศสำหรับการผลิตระดับชุมชน เป็นการนำนวัตกรรมมาใช้ในการผลอตระดับชุมชนเพื่อช่วยทุ่นแรงและลดการใช้แรงงานคน สามารถเพิ่มผลิตและปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน 

              งบปี พ.ศ.: 
              2563
                แคตตาล็อกเทคโนโลยี
                ภาพหน้าปก: 

                เครื่องหั่นข้าวเกรียบกรือโป๊ะ RID63

                พ, 01/07/2020 - 15:08 — admin5
                รายละเอียด: 

                กือโป๊ะ” นี้เป็นอาหารขบเคี้ยวชนิดหนึ่ง ที่ชาวนรานิยมกินกันมานมนาน มีความเป็นมาจากที่       จ.นราธิวาสเมื่ออดีตมีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก ชาวประมงสามารถทำประมงจับปลาได้เป็นจำนวนมาก และก็คิดหาวิธีการที่จะทำอย่างไรดีกับปลาที่จับมาได้เยอะ จึงได้คิดหาวิธีถนอมอาหารขึ้นมา โดยการนำเอาปลานั้น มาแปรรูปเป็นข้าวเกรียบที่สามารถเก็บไว้กินได้นาน 

                การทำ กือโป๊ะ” นั้นจะทำมาจากเนื้อปลาสดๆอย่างปลาทู หรือปลาชนิดอื่นๆ อันอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการอาหาร โดยจะนำปลามาตัดหัวตัดหางล้างทำความสะอาดอย่างดี แล้วนำมาบดให้ละเอียด ผสมคลุกเคล้ากับส่วนผสมอย่างแป้งสาคู แป้งมัน และเกลือ นวดคลุกเคล้าให้ส่วนผสมทั้งหมดเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วจึงนำมาปั้นเป็นแท่งทรงกลม และนำไปต้มในน้ำเดือดจนสุก จากนั้นก็นำขึ้นมาผึ่งลมจนแห้งและแช่เย็น เพื่อให้แท่งข้าวเกรียบแข็งตัวง่ายต่อการนำมาหั่นเป็นแผ่นบางๆ แล้วจึงนำมาทอดในน้ำมันร้อนๆ ทอดจนข้าวเกรียบเหลืองกรอบ ก็พร้อมบรรจุใส่ถุงขาย กือโป๊ะ เป็นของกินเล่นที่ได้รับการนิยมรับประทาน และเป็นของฝากจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้กือโป๊ะ เป็นธุรกิจทำเงินมหาศาลในแต่ละปี 

                ด้วยเหตุนี้ทางผู้วิจัย จึงเกิดความสนใจที่จะศึกษาข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับกระบวนการทำกือโป๊ะ เพื่อส่งเสริมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน สามารถนำไปจำหน่าย และเป็นการถ่ายทอดเพื่อเป็นการสืบสานองค์ความรู้และภูมิปัญญาของไทยด้านการทำข้าวเกรียบกือโป๊ะใหเป็นที่รู้จักแก่ประชาชนทั่วไปให้อยู่คู่กับภาคใต้หรือประเทศไทยสืบต่อไป 

                 

                งบปี พ.ศ.: 
                2563
                  แคตตาล็อกเทคโนโลยี
                  ภาพหน้าปก: 

                  เครื่องบรรจุน้ำจิ้มเอนกประสงค์แบบ 2 หัวจ่าย RID63

                  พ, 01/07/2020 - 15:03 — admin5
                  รายละเอียด: 

                   แนวคิดเบื้องต้นของหลักการทำงานของเครื่องจักร ใช้หลักการการบรรจุน้ำจิ้มแบบใช้กรวยพลาสติกแบบเดิมที่กลุ่มฯได้ดำเนินการในปัจจุบัน โดยอาศัยการไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ดังนั้นเพื่อให้ได้จำนวนปริมาณการบรรจุน้ำจิ้มที่มากขึ้น คณะทำงานได้ออกแบบกรวย (Tri clamp conical hopper) ให้มีขนาดเท่ากับปริมาณการผลิตน้ำจิ้มในแต่ละครั้ง การเพิ่มอัตราการบรรจุน้ำจิ้มให้ได้ปริมาณจำนวนขวดที่มากขึ้นนั้น คณะทำงานได้ออกแบบให้อัตราการไหลให้มีความเร็วขึ้นโดยการเพิ่มแรงอัดเพื่อให้น้ำจิ้มไหลได้เร็วขึ้น นอกจากนี้แล้วได้อาศัยการออกแบบตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomics) อนึ่งการบรรจุน้ำจิ้มโดยวิธีการแบบเดิม  สามารถบรรจุครั้งละ 1ขวดเท่านั้น เพื่อให้การทำงานให้มีความสมดุลต่อหลักการทางธรรมชาติ จึงได้ออกแบบหัวจ่ายการบรรจุน้ำจิ้มใส่ขวดเป็นแบบ 2 หัวจ่าย เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการบรรจุ ตลอดจนได้ใช้พลังงานกลมาทดแทนในกระบวนการบรรจุเป็นบางส่วน ทั้งนี้เพื่อการเพิ่มสมรรถนะและลดความเมื่อยล้าได้ 

                        ขั้นตอนการทำงานของเครื่องจักร เริ่มต้นด้วยการตรวจสภาพความพร้อมของเครื่องจักรก่อนที่จะเปิดเครื่องจักร เมื่อเครื่องจักรพร้อมที่จะใช้งานก็เทน้ำจิ้มลงในกรวย (Conical hopper) และนำขวดที่จะบรรจุน้ำจิ้มมารองรับที่หัวจ่ายทั้งสอง จากนั้นทำการกดปุ่มสตารท์เพื่อให้เครื่องจักรทำงาน เมื่อกดปุ่มสตารท์แล้วชุดส่งกำลังก็จะขับหมุนเพลาเพื่อทำให้ชุดกระบอกสูบ (Tri clamp cylinder set) มีการเคลื่อนที่ขึ้นและลง ในจังหวะที่กระบอกสูบมีการเคลื่อนที่ลงเป็นการดูดน้ำจิ้มเข้ากระบอกสูบ และในจังหวะที่กระบอกสูบเคลื่อนที่ขึ้นก็เป็นการฉัดอัดน้ำจิ้มให้ไหลเข้าสู่ขวดบรรจุ ซึ่งสามารถเรียกได้ว่าการบรรจุใส่ขวด” การปรับปริมาตรการบรรจุสามารถปรับได้ที่ระยะชักของกระบอกสูบ และการเพิ่มความในการบรรจุสามารถปรับได้โดยชุดควบคุมทางไฟฟ้า (Electrical control unit) โดยอาศัยAsynchronousเป็นตัวควบคุม อีกทั้งสามารถป้องกันอันตรายจากการไฟฟ้าได้ เพื่อไม่เกิดความเสียหายหรืออันตรายต่อผู้ใช้และเครื่องจักรได้ 

                  การบำรุงรักษา เครื่องจักรสามารถถอดล้างในส่วนของกรวยและชุดกระบอกอัดได้ อีกทั้งวัสดุที่ใช้เป็นสแตนเลส เครื่องจักรสามารถบำรุงรักษาได้ง่ายเนื่องจากเครื่องจักรไม่มีความสับซ้อนและง่ายต่อการถอดประกอบ 

                   

                  งบปี พ.ศ.: 
                  2563
                    แคตตาล็อกเทคโนโลยี
                    ภาพหน้าปก: 

                    เครื่องอัดก้อนข้าวรสต้มยำกุ้ง RID63

                    พ, 01/07/2020 - 14:40 — admin5
                    รายละเอียด: 

                    กลุ่มสตรีตำบลถ้ำใหญ่ เป็นการรวมกลุ่มกันของผู้นสตรีชุมชนต่างๆในตำบลถ้ำใหญ่ซึ่งมีสมาชิกจนวน 30 คน มีวัตถุประสงค์จัดตั้งกลุ่มเพื่อพัฒนาบทบาทกลุ่มสตรีที่หลากหลายมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์พื้นบ้านและสินค้าจากชุมชน กลุ่มสตรีตำบลถ้ำใหญ่เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายข้าวกรอบรสต้มยากุ้ง มังคุดแช่อิ่ม ยามะมุด และน้ำมะมุดปั่น ซึ่งเป็นสินค้า OTOP ของอำเภอทุ่งสง กลุ่มสตรีตำบลถ้ำใหญ่ได้ดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มมาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะข้าวกรอบรสต้มยำกุ้งซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มียอดสั่งซื้อเป็นจนวนมาก แต่ปัจจุบันในขั้นตอนการผลิตของกลุ่มสตรีตำบลถ้ำใหญ่ใช้แรงงานสมาชิกในกลุ่มเป็นหลัก จึงผลิตสินค้าได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด  

                    จากปัญหาข้างต้นคณะผู้วิจัยจึงคิดที่จะสร้างเครื่องอัดก้อนข้าวรสต้มยำกุ้งเพื่อลดการใช้แรงงานคน และเพื่อให้สามารถผลิตได้ในจำนวนที่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด โดยเครื่องที่สร้างขึ้นสามารถใช้งานและบำรุงรักษาได้ง่ายเหมาะสมกับวิสาหกิจระดับชุมชนที่จะบำรุงรักษาแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดการขัดข้องได้เอง และก้อนข้าวรสต้มยำกุ้งที่ผ่านการอัดขึ้นรูปเป็นก้อนมีขนาดและน้ำหนักที่เท่ากัน ความหนาแน่นสม่ำเสมอทุกก้อน 

                     

                    งบปี พ.ศ.: 
                    2563
                      แคตตาล็อกเทคโนโลยี
                      ภาพหน้าปก: 
                      เนื้อหาแหล่งข่าว