โครงการพัฒนาเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ เพื่อการผลิตระดับชุมชน (RID)
เครื่องบรรจุน้ำจิ้มเอนกประสงค์แบบ 2 หัวจ่าย RID63
แนวคิดเบื้องต้นของหลักการทำงานของเครื่องจักร ใช้หลักการการบรรจุน้ำจิ้มแบบใช้กรวยพลาสติกแบบเดิมที่กลุ่มฯได้ดำเนินการในปัจจุบัน โดยอาศัยการไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ดังนั้นเพื่อให้ได้จำนวนปริมาณการบรรจุน้ำจิ้มที่มากขึ้น คณะทำงานได้ออกแบบกรวย (Tri clamp conical hopper) ให้มีขนาดเท่ากับปริมาณการผลิตน้ำจิ้มในแต่ละครั้ง การเพิ่มอัตราการบรรจุน้ำจิ้มให้ได้ปริมาณจำนวนขวดที่มากขึ้นนั้น คณะทำงานได้ออกแบบให้อัตราการไหลให้มีความเร็วขึ้นโดยการเพิ่มแรงอัดเพื่อให้น้ำจิ้มไหลได้เร็วขึ้น นอกจากนี้แล้วได้อาศัยการออกแบบตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomics) อนึ่งการบรรจุน้ำจิ้มโดยวิธีการแบบเดิม ๆ สามารถบรรจุครั้งละ 1ขวดเท่านั้น เพื่อให้การทำงานให้มีความสมดุลต่อหลักการทางธรรมชาติ จึงได้ออกแบบหัวจ่ายการบรรจุน้ำจิ้มใส่ขวดเป็นแบบ 2 หัวจ่าย เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการบรรจุ ตลอดจนได้ใช้พลังงานกลมาทดแทนในกระบวนการบรรจุเป็นบางส่วน ทั้งนี้เพื่อการเพิ่มสมรรถนะและลดความเมื่อยล้าได้
ขั้นตอนการทำงานของเครื่องจักร เริ่มต้นด้วยการตรวจสภาพความพร้อมของเครื่องจักรก่อนที่จะเปิดเครื่องจักร เมื่อเครื่องจักรพร้อมที่จะใช้งานก็เทน้ำจิ้มลงในกรวย (Conical hopper) และนำขวดที่จะบรรจุน้ำจิ้มมารองรับที่หัวจ่ายทั้งสอง จากนั้นทำการกดปุ่มสตารท์เพื่อให้เครื่องจักรทำงาน เมื่อกดปุ่มสตารท์แล้วชุดส่งกำลังก็จะขับหมุนเพลาเพื่อทำให้ชุดกระบอกสูบ (Tri clamp cylinder set) มีการเคลื่อนที่ขึ้นและลง ในจังหวะที่กระบอกสูบมีการเคลื่อนที่ลงเป็นการดูดน้ำจิ้มเข้ากระบอกสูบ และในจังหวะที่กระบอกสูบเคลื่อนที่ขึ้นก็เป็นการฉัดอัดน้ำจิ้มให้ไหลเข้าสู่ขวดบรรจุ ซึ่งสามารถเรียกได้ว่า”การบรรจุใส่ขวด” การปรับปริมาตรการบรรจุสามารถปรับได้ที่ระยะชักของกระบอกสูบ และการเพิ่มความในการบรรจุสามารถปรับได้โดยชุดควบคุมทางไฟฟ้า (Electrical control unit) โดยอาศัยAsynchronousเป็นตัวควบคุม อีกทั้งสามารถป้องกันอันตรายจากการไฟฟ้าได้ เพื่อไม่เกิดความเสียหายหรืออันตรายต่อผู้ใช้และเครื่องจักรได้
การบำรุงรักษา เครื่องจักรสามารถถอดล้างในส่วนของกรวยและชุดกระบอกอัดได้ อีกทั้งวัสดุที่ใช้เป็นสแตนเลส เครื่องจักรสามารถบำรุงรักษาได้ง่ายเนื่องจากเครื่องจักรไม่มีความสับซ้อนและง่ายต่อการถอดประกอบ
เครื่องอัดก้อนข้าวรสต้มยำกุ้ง RID63
กลุ่มสตรีตำบลถ้ำใหญ่ เป็นการรวมกลุ่มกันของผู้นำสตรีชุมชนต่างๆในตำบลถ้ำใหญ่ซึ่งมีสมาชิกจำนวน 30 คน มีวัตถุประสงค์จัดตั้งกลุ่มเพื่อพัฒนาบทบาทกลุ่มสตรีที่หลากหลายมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์พื้นบ้านและสินค้าจากชุมชน กลุ่มสตรีตำบลถ้ำใหญ่เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายข้าวกรอบรสต้มยากุ้ง มังคุดแช่อิ่ม ยามะมุด และน้ำมะมุดปั่น ซึ่งเป็นสินค้า OTOP ของอำเภอทุ่งสง กลุ่มสตรีตำบลถ้ำใหญ่ได้ดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มมาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะข้าวกรอบรสต้มยำกุ้งซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มียอดสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก แต่ปัจจุบันในขั้นตอนการผลิตของกลุ่มสตรีตำบลถ้ำใหญ่ใช้แรงงานสมาชิกในกลุ่มเป็นหลัก จึงผลิตสินค้าได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด
จากปัญหาข้างต้นคณะผู้วิจัยจึงคิดที่จะสร้างเครื่องอัดก้อนข้าวรสต้มยำกุ้งเพื่อลดการใช้แรงงานคน และเพื่อให้สามารถผลิตได้ในจำนวนที่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด โดยเครื่องที่สร้างขึ้นสามารถใช้งานและบำรุงรักษาได้ง่ายเหมาะสมกับวิสาหกิจระดับชุมชนที่จะบำรุงรักษาแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดการขัดข้องได้เอง และก้อนข้าวรสต้มยำกุ้งที่ผ่านการอัดขึ้นรูปเป็นก้อนมีขนาดและน้ำหนักที่เท่ากัน ความหนาแน่นสม่ำเสมอทุกก้อน
เครื่องบดเปลือกหอยนางรม RID63
คลองมะรุ่ยเป็นคลองที่อยู่ติดกับทะแลและป่าโกงกางจึงเป็นคลองน้ำกร่อย ตั้งอยู่ระหว่างจังหวัดพังงาและกระบี่ บนรอยเลื่อนแผนดินไหวที่ชื่อว่า รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ทำให้มีหาดทรายร้อนและโคลนร้อน ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศก์ แล้วยังมีป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของชุมชนบ้านโคกไคร หมู่ที่ 1 ตำบลมะรุ่ย อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา แล้วได้รับการคัดเลือกจาก กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ให้เป็นหมู่บ้านโอทอปเพื่อการท่องเที่ยว (OTOP Village Champion : OVC) ในชุมชนประกอบอาชีพการเลี้ยงอาหารทะเลหลายชนิด โดยเฉพาะหอยนางรมเป็นที่มีการเพาะเลี้ยงตั้งแต่อนุบาลถึงมีขนาดใหญ่สามารถส่งขายได้ เป็นแหล่งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ เมื่อมีการบริโภคหอยนางรม ก็จะมีชยะจากการทิ้งเปลือกหอยนางรมที่มีปริมาณมาก ในการจัดการขยะจากเปลือกหอยนางรมก็จะมีความยุ่งยาก เนื่องจากมีปริมาณและน้ำหนักมาก ทำให้ยากต่อการจัดการ ทางชุมชนจึงทำการระดมสมองเพื่อแสวงหาแนวทางในการจัดการ แล้วได้ข้อสรุปว่าในการกำจัดจะต้องทำให้มีขนาดที่เล็กลงโดยการย่อยเปลือกหอยและจึงนำไปทิ้งได้ ซึ่งก็เป็นขยะ ทางกลุ่มผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการใช้ประโยชน์จากการย่อยเปลือกหอยเพื่อเพิ่มมูลค่า และรายได้ให้กับชุมชน โดยนำเขาไปผสมกับสบู่ เกลายมาเป็นสบู่ที่มีสารขัดหรือสบู่สครับผิว (Scrub) ซึ่งจำเป็นต้องใช้เครื่องย่อยเปลือกหอยนางรมที่มีความสามารถย่อยให้มีขนาดที่เล็กที่ใช้เป็นสารขัดในสบู่ได้ โดยการใช้งานไม่ยุ่งยาก ปลอดภัย และประหยัด
เครื่องขอดเกล็ดปลาแป๊ะกัง RID63
จจุบันประเทศไทยได้มีการทำประมงอย่างแพร่หลายขยายมูลค่าจากธุรกิจในระดับครัวเรือนหรือธุรกิจขนาดเล็กเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ของจังหวัดสมุทรสงคราม ถูกส่งจำหน่ายไปยังตลาดแห่งใหญ่ๆ รวมทั้งมีการรับซื้อจากแหล่งท่าเรือประมงเพื่อนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าและนำไปขายตามเว็บไซต์ออนไลน์เป็นธุรกิจออนไลน์ที่ปัจจุบันคนนิยมทำกันเป็นอย่างมาก แหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทยบางจังหวัดทำเป็นผลิตภัณฑ์ของฝากจากต่างจังหวัดซึ่งทำให้ราคานั้นเพิ่มขึ้นไปอีกเท่าตัวหนึ่ง ส่วนใหญ่ผู้คนจะไม่ค่อยซื้อบริโภคปลาแป๊ะกังในรูปแบบสดเพราะเก็บรักษาได้ไม่นานปลาก็จะเน่าเสีย ซึ่งการเก็บรักษานั้นทำด้วยการนำล้างทำความสะอาดและต้องแช่เย็นทันทีและมีระยะเวลาการเก็บรักษาได้ไม่นาน ท่าเรือประมงบางแหล่งมีการติดต่อรับซื้อจากโรงงานทำน้ำปลาเป็นจำนวนหลายตันในช่วงฤดูที่ปลาชุกชุม เพื่อนำไปตุนกักเก็บไว้ทำเป็นผลิตภัณฑ์ เพราะปลาแป๊ะกังนั้นสามารถดองเค็มถูกแปรรูปไปเป็นผลิตภัณฑ์น้ำปลาได้แต่ต้องใช้ระยะเวลาดองเค็มเป็นปีๆ สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการแปรรูปอาหารก็คือการยกระดับมาตรฐานการผลิตและการควบคุมกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพปลอดภัยต่อผู้บริโภค รวมทั้งการเพิ่มปริมาณการผลิตให้พอเพียงต่อความต้องการ ชาวบ้านในพื้นที่ดอนหอยหลอดที่ทำประมงส่วนใหญ่มีปัญหาการใช้แรงงานคนในการขอดเกล็ดปลา เนื่องจากปลาแป๊ะกังเป็นปลาเนื้ออ่อนนิ่มและเกล็ดอ่อน ทำให้ต้องขอดเกล็ดปลาออกด้วยมือเท่านั้น และยังไม่มีเครื่องจักรในการขอดเกล็ดปลาออก (ในท้องตลาดมีแต่เครื่องขอดเกล็ดปลาเนื้อแข็ง เช่น ปลานิล ปลาช่อน เป็นต้น เท่านั้น) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจึงมีความคิดอยากได้เครื่องขอดเกล็ดปลาแป๊ะกังที่อำนวยความสะดวกในการผลิตได้อย่างรวดเร็ว
เครื่องผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมาก RID63
เมื่อพิจารณาพื้นที่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีการปลูกหมากเป็นจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่จะเก็บเกี่ยวเฉพาะผลหมากมาจำหน่ายหรือแปรรูปทำหมากแห้งส่วนกาบหมากก็จะทิ้งไว้ในสวน ทั้งนี้หากนำกาบหมากมาทำผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายก็จะเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชนเพิ่มขึ้น ประจวบกับในสภาวะปัจจุบันราคาพืชผลทางเกษตรมีราคาตกต่ำลงมากทำให้เกษตรกรมีรายได้ลดลง ดังนั้นทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมอาชีพเกษตรกรชาวสวนยาง ตำบลท่าอุแท อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงมีแนวคิดที่สร้างกิจกรรมของชุมชนเพื่อเพิ่มรายได้จากเดิมที่รวมกลุ่มกันผลิตปุ๋ยใส่ยางพาราจำหน่ายแต่ปัจจุบันจำหน่ายได้น้อยลง นอกจากนั้นยังได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานีให้มีการพัฒนากลุ่มเพื่อยกระดับเกษตรกรเป็นเกษตรอุตสาหกรรม โดยเบื้องต้นได้มีมติที่จะนำวัสดุที่ไม่ก่อประโยชน์ (กาบหมาก) มาผลิตเป็นภาชนะต่าง ๆ แทนโฟม โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการผลิต เพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้สามารถจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้ (ตามหนังสือแจ้งความประสงค์ของผู้ประกอบการและหนังสือขอความอนุเคราะห์การผลิตเครื่องจักรจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ดังเอกสารแนบ) แต่เนื่องจากในปัจจุบันเครื่องแปรรูปกาบหมากมีราคาที่ค่อนข้างแพง และยังใช้เทคโนโลยีที่ยุ่งยาก กลุ่มเกษตรกรไม่มีกำลังในการจัดซื้อรวมทั้งยังไม่มีบุคลากรที่มีความสามารถในการดูแลบำรุงรักษาเครื่องจักรหากผ่านการใช้งานแล้วมีการชำรุด ดังนั้นทางจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานีจึงได้ประสานกับวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานีเพื่อคิดค้นและพัฒนาเครื่องจักรสำหรับผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมากแทนโฟมที่เหมาะสมกับการใช้งานในระดับชุมชนทั้งราคา กระบวนการทำงาน กำลังการผลิตและการบำรุงรักษา
จากสภาพและปัญหาดังกล่าวทางผู้วิจัยจึงได้คิดสร้างเครื่องผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมากแทนโฟมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน ที่พัฒนาระบบการทำงานและพัฒนาอุปกรณ์ให้ใช้กระบอกสูบเพียงกระบอกเดียว ชุดควบคุมความร้อนชุดเดียว แต่สามารถอัดได้ครั้งละ 2 รูปทรง เช่น จานหรือถ้วยโดยไม่ต้องเปลี่ยนแบบหรือโมล ส่งผลให้ทำงานได้รวดเร็วและราคาถูกเพราะลดชิ้นส่วนและอุปกรณ์ประกอบของเครื่องลง และประการสำคัญคือได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสู่การจำหน่ายในเชิงพาณิชย์สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร และมีส่วนช่วยในการลดมลภาวะแก่สิ่งแวดล้อม สร้างคุณภาพที่ดีให้กับคนในชุมชน สังคมและของโลกได้ ดังนั้นการสร้างเครื่องผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมากแทนโฟมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน จึงช่วยให้เกษตรกรและสมาชิกของวิสาหกิจชุมชนสามารถสร้างงานเพิ่มจากสิ่งของที่เหลือจากการแปรรูป มาสร้างรายได้ที่เกิดจากการทำงานของเครื่องจักรที่ทำงานอย่างรวดเร็ว ต่อเนื่อง และยังสามารถเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ที่ไม่ก่อประโยชน์มาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ก่อประโยชน์ให้กับเกษตรกรได้อีกด้วย โดยมีเป้าหมายการนำไปใช้ประโยชน์จริงในพื้นที่/ชุมชนอย่างยั่งยืน
เครื่องล้างและบำบัดสิ่งปนเปื้อนหอยนางรม RID63
โครงการมีแนวคิดในการแก้ปัญหาวิกฤตความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อการรับประทานหอยนางรม โดยการออกแบบและสร้าง เครื่องล้างและบำบัดสิ่งปนเปื้อนหอยนางรม สำหรับมอบให้ สหกรณ์ผู้เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งสุราษฏร์ธานี บ้านเลขที่ 85 หมู่ 2 ตำบลตะเคียนทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84160 ซึ่งมีจำนวนสมาชิก 1,200 คน นำไปใช้งานจำหน่ายหอยนางรมสด ริมทาง (Street Food) และจัดจำหน่ายบริเวณหน้าร้านอาหารทะเลทั่วไปโดยออกแบบโครงสร้างให้สะดวกต่อการเข็นและพับเก็บใช้งาน โดยภายในนวัตกรรม เครื่องล้างและบำบัดสิ่งปนเปื้อนหอยนางรม ประกอบด้วยการนำหอยนางรมมาล้างภายในด้วยน้ำทะเลสะอาดโดยไม่ใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสภาพแวดล้อม รวมถึงมีการดึงเมือกของเสียด้วยโปรตีนสกิมเมอร์ และที่สำคัญน้ำผ่านการใช้งานยังสามารถบำบัดนำไปใช้อีกด้วยทั้งนี้หอยนางรมที่ผ่านการล้างด้วยเครื่องล้างและบำบัดสิ่งปนเปื้อนหอยนางรม ยังเพิ่มความมั่นใจโดยการนำไปตรวจสอบด้วยสถาบันที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้นวัตกรรมดังกล่าวจะ ช่วยสร้างความมั่นคงให้ผู้ผลิตและ สร้างคุณภาพชีวิตให้ผู้บริโภค ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของจังหวัดและประเทศในภาพรวม