โครงการพัฒนาเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ เพื่อการผลิตระดับชุมชน (RID)

โครงการพัฒนาประดิษฐกรรมเพื่อชนบท (ชื่อเดิม)

เครื่องคัดขนาดปลาหมอความแม่นยำสูงระบบกึ่งอัตโนมัติ (RID65)

อ, 05/04/2022 - 11:30 — admin2
รายละเอียด: 

ผู้พัฒนา
หัวหน้าโครงการ               :  นายเกียรติศักดิ์  เส้งพัฒน์
คณะทำงานโครงการ (1)      :  นางธัญนันท์  พรหมบัลลังก์
คณะทำงานโครงการ (2)      :  นายเฉลิมศักดิ์   ตันติเจริญวิวัฒน์
คณะทำงานโครงการ (3)      :  นายภูดินันท์  รอดเกิด

 

งบปี พ.ศ.: 
2565
    แคตตาล็อกเทคโนโลยี
    ภาพหน้าปก: 

    เครื่องทำความสะอาด และคัดแยกขนาดหน่อไม้แบบกึ่งอัตโนมัติ (RID65)

    อ, 05/04/2022 - 11:24 — admin2
    รายละเอียด: 

    ผู้พัฒนา
    หัวหน้าโครงการ             :  นายทวีศักดิ์  ทองแสน
    คณะทำงานโครงการ        :  นายภาณุวัฒน์ ขามประไพ

     

    งบปี พ.ศ.: 
    2565
      แคตตาล็อกเทคโนโลยี
      ภาพหน้าปก: 

      เครื่องบรรจุกะปิด้วยกรรมวิธีขัดน้ำระบบกึ่งอัตโนมัติ (RID65)

      อ, 05/04/2022 - 11:15 — admin2
      รายละเอียด: 

      ผู้พัฒนา
      หัวหน้าโครงการ              :  ดร.ธวัชไชย ลิ้มสุวรรณ
      คณะทำงานโครงการ (1)   :  นายชาญชัย แฮวอู
      คณะทำงานโครงการ (2)   :  นายศชยางกูร ไชยวงศ์
      คณะทำงานโครงการ (3)   :  นายศิวณัฐ เป็ดสุวรรณ์

       

      งบปี พ.ศ.: 
      2565
        แคตตาล็อกเทคโนโลยี
        ภาพหน้าปก: 

        เครื่องคั้นและบรรจุน้ำกล้วยไข่แบบกึ่งอัตโนมัติ (RID65)

        อ, 05/04/2022 - 11:04 — admin2
        รายละเอียด: 

        ผู้พัฒนา
        หัวหน้าโครงการ :  ดร.อุกฤษฎ์ ธนทรัพย์ทวี
        คณะทำงานโครงการ (1)   :  ดร.กิตติ วิโรจรัตนาภาพิศาล
        คณะทำงานโครงการ (2)   :  นาย กานต์ วิรุณพันธ์
        คณะทำงานโครงการ (3)   :  นาย ธนารักษ์ สายเปลี่ยน
        คณะทำงานโครงการ (4)   :  นางสาว ปรียานุช เมฆฉาย

         

        งบปี พ.ศ.: 
        2565
          แคตตาล็อกเทคโนโลยี
          ภาพหน้าปก: 

          เครื่องคัดแยกและตัดเฉือนส้มแขกกึ่งอัตโนมัติ (RID65)

          อ, 05/04/2022 - 10:42 — admin2
          รายละเอียด: 

          ผู้พัฒนา
          หัวหน้าโครงการ : ว่าที่ ร.ต.ชาญยุทธ ตระกูลสรณคมน์
          คณะทำงานโครงการ : ร.ต.ดร.ชาญณรงค์ ตระกูลสรณคมน์

           

          งบปี พ.ศ.: 
          2565
            แคตตาล็อกเทคโนโลยี
            ภาพหน้าปก: 

            เครื่องคัดแยกวัสดุเจือปนและอบลดความชื้นข้าวเปลือกด้วยลมร้อนจากเชื้อเพลิงชีวมวลเพื่อพัฒนาคุณภาพข้าวเปลือกระดับชุมชน(RID64)

            ศ, 09/04/2021 - 11:30 — bunsita
            รายละเอียด: 

            เครื่องจักร สาเหตุที่จะพัฒนา เหตุผลส่วนสำคัญที่จะพัฒนา ปัญหาที่พบและ แนวทางในการแก้ไขปัญหา)

            - คุณภาพข้าวเปลือกต่ำ

                             - สิ่งเจือปนสูง

                             - ความชื้นสูง

                             - ขายได้ราคาต่ำกว่าที่ประกาศ ณ จุดรับซื้อ

                       ปัญหาของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวรายย่อยในประเทศไทยที่เกิดจากการจำหน่ายผลผลิตข้าวเปลือกได้ราคาที่ต่ำกว่าราคาประกาศ ณ จุดรับซื้อเพราะคุณภาพข้าวเปลือกต่ำที่มีสาเหตุมาจากมีวัสดุเจือปนและมีความชื้นสูง วิธีการแก้ปัญหาแบบดั้งเดิมของเกษตรกรคือจะใช้การตากข้าวเปลือกบนผิวถนนและใช้ไม้กวาดทางมะพร้าวกวาดวัสดุเจือปนออก แต่วิธีการดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหามากมายทางด้านการจราจรและใช้เวลานาน แต่ โรงสี ขนาดใหญ่ที่เป็นจุดรับซื้อข้าวเปลือก จะมีระบบคัดแยกและอบลดความชื้นด้วยไซโลขนาดใหญ่ที่มี   ต้นทุนสูง ในประเทศไทยหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้พยายามพัฒนาทั้งเครื่องคัดแยกและเครื่องอบลดความชื้นข้าวเปลือกให้มีขนาดเล็กลงเพื่อให้เกษตรกรนำไปใช้ได้ง่าย แต่ยังมีข้อจำกัดในหลายๆด้าน เครื่องคัดแยกวัสดุเจือปนและเครื่องอบลดความชื้นข้าวเปลือกที่มีขายตามท้องตลาดนั้นยังไม่ตอบโจทย์ให้กับเกษตรกรเท่าที่ควร ผู้จัดทำได้ลงไปสำรวจและ  วิเคราะห์ปัญหากับกลุ่มเกษตรกร(กลุ่มผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ บ้านหนองคู อ.เสนางคนิคม จ.อำนาจเจริญ)ที่ได้นำเครื่องคัดแยกและเครื่องอบข้าวไปใช้งานจะพบปัญหาและความต้องการของเกษตรกรคือ

                        1. เครื่องคัดแยกและเครื่องอบข้าวเปลือกตามท้องตลาดจะแยกเป็นคนละเครื่องกัน

                       2. ราคาแพง

                       3. การใช้งานยุ่งยากเมื่อเทียบกับองค์ความรู้ของกลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย   

                       ทางผู้จัดทำได้วิเคราะห์สภาพความเป็นจริงของราคาผลผลิตในส่วนของข้าวเปลือกที่หน้าโรงสีที่จุดรับซื้อข้าวจะพบว่าค่าตอบแทนที่เกษตรกรชาวนาได้รับไม่คุ้มค่ากับต้นทุนที่ได้ใช้จ่ายลงไป ทางผู้จัดทำได้ร่วมกันสรุปวิธีการที่จะทำให้ชาวนามีรายได้เพิ่มจากการทำนาได้ 3 วิธี

                       1. ลดต้นทุนการผลิต

                      2. เพิ่มผลผลิต

                      3. เพิ่มคุณภาพข้าวเปลือก

            เมื่อเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนำผลผลิตไปจำหน่ายยังจุดรับซื้อจะโดนหักราคาต่อหน่วยจากค่าวัสดุเจือปนและค่าความชื้น ซึ่งราคารับซื้อในปัจจุบันก็ค่อนข้างต่ำมากอยู่แล้ว 

                       วิธีการแก้ปัญหาของชาวบ้านด้วยตัวเองเพื่อที่จะเพิ่มมูลค่าของผลผลิตให้มีคุณภาพตามที่ต้องการจะใช้วิธีการตากแดดประมาณ 1-3 วันและในขณะที่ตากก็จะใช้ไม้กวาดทางมะพร้าวกวาดเอาดอกหญ้าหรือสิ่งเจือปนออกไปด้วย แต่ปัญหาของชาวบ้านที่ใช้วิธีการนี้คือไม่มีพื้นที่ในการตากที่เพียงพอ ชาวบ้านจะอาศัยตากตามข้างถนนซึ่งจะทำให้เสียพื้นที่การจราจรและเป็นอันตรายมาก  ในการพัฒนาคุณภาพข้าวเปลือกในส่วนของการคัดแยกวัสดุเจือปนและอบลดความชื้นนั้นตามโรงสีขนาดใหญ่ที่เป็นจุดรับซื้อข้าวเปลือกเขาจะมีระบบคัดแยกและอบลดความชื้นด้วยไซโลขนาดใหญ่ที่มีต้นทุนสูง ทางผู้จัดทำได้เลือกหัวข้อที่ 3 (เพิ่มคุณภาพข้าวเปลือก)มาเป็นโจทย์ปัญหาในการที่จะออกแบบสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบ โจทย์ให้กับชาวนากลุ่มเป้าหมาย สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและนโยบายรัฐบาล

                      และทางทีมงานได้เลือกที่จะออกแบบสร้างและพัฒนาผลผลิตในกลุ่มผู้ปลูกข้าวซึ่งเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดของเกษตรกรที่ทำการเกษตรที่มีปัญหามากกับราคาผลผลิตที่ตกต่ำไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน ปัญหาที่พบหลังการเก็บเกี่ยวในปัจจุบันที่ได้มากับผลผลิตข้าวคือวัสดุเจือปนที่เป็นดอกหญ้าเศษฟางและความชื้นสูง เพราะการเก็บเกี่ยวผลผลิตในปัจจุบันจะใช้รถเกี่ยวนวดข้าว นั่นคือจุดเริ่มต้นของโจทย์ปัญหาของการออกแบบและสร้างเครื่องพัฒนาคุณภาพข้าวเปลือกไม่ให้มีสิ่งเจือปนและมีค่าความชื้นอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องการด้วยขบวนการใช้การคัดแยกวัสดุเจือปนข้าวเปลือกหลังการเก็บเกี่ยวด้วยตะแกรงและทำการอบลดความชื้นด้วยความร้อนจากเตาเผาถ่านชีวะมวล

             

             

            งบปี พ.ศ.: 
            2564
            ภาพประกอบ: 
            เครื่องคัดแยกวัสดุเจือปนและอบลดความชื้นข้าวเปลือกด้วยลมร้อนจากเชื้อเพลิงชีวมวลเพื่อพัฒนาคุณภาพข้าวเปลือกระดับชุมชน(RID64)
              แคตตาล็อกเทคโนโลยี
              ระดับ: 
              ต้นแบบเชิงพาณิชย์ / อุตสาหกรรม
              กลุ่มเป้าหมาย: 
              ภาคอุตสาหกรรม
              ภาพหน้าปก: 

              เครื่องตรวจวัดค่าดินผ่านระบบ IOT และโปรแกรมคำนวณสูตรปุ๋ยสั่งตัดตามชนิดพืช(RID64)

              ศ, 09/04/2021 - 11:05 — bunsita
              รายละเอียด: 

                     สหกรณ์การเกษตรลับแล จำกัด มีธุรกิจในการรวบรวมรับซื้อและจำหน่ายผลิตทางการเกษตร เช่นข้าวโพด มันสำปะหลัง นอกจากนี้ยังมีโรงงานผลิตปุ๋ยสูตรตามความต้องการของสมาชิกและเกษตรกร ผลิตด้วยแม่ปุ๋ยคุณภาพ ควบคุมการผลิตด้วยเทคโนโลยีเครื่องผสมปุ๋ยอัตโนมัติ กำลังผลิตไม่ต่ำกว่า 300 กระสอบต่อวัน รับรองสินค้าอย่างถูกต้องตามกรมวิชาการเกษตรกำหนด สหกรณ์มั่นใจในคุณภาพ พร้อมส่งปุ๋ยคุณภาพดีถึงมือเกษตรกรแน่นอน ปุ๋ยราคาถูก มีคุณภาพ สหกรณ์มีการเข้าถึงกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้งานปุ๋ยด้วยการให้ความรู้ประชาสัมพันธ์การใช้ปุ๋ยสั่งตัดเพื่อเป็นทางเลือกให้แก่เกษตรกร และเป็นการลดต้นทุนเพื่อเพิ่มผลผลิตอย่างแท้จริงพร้อมจะให้ความรู้แก่พี่น้องเกษตรกรเรื่องปุ๋ยสั่งตัดด้วยประสบการณ์และยอดขายปุ๋ยสหกรณ์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

                    ธุรกิจหลักของสหกรณ์ เป็นการผลิตปุ๋ยสั่งตัด ที่ผสมสูตรตามความต้องการของลูกค้าเกษตรกรแต่ละพื้นที่และแต่ละชนิดของพืชที่ปลูก สหกรณ์เลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพสูง และสูตรที่พัฒนาผ่านการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร จำนวน 6 สูตร และยังสามารถผสมสูตรตามความต้องการใช้งานของลูกค้า ปัจจุบันได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี มีการพัฒนารูปแบบการให้บริการตรวจวัดค่าต่าง ๆ ของดินสำหรับลูกค้าโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นให้ลูกค้ามาซื้อปุ๋ยเพิ่มยอดขายมากขึ้น  ในการดำเนินการสหกรณ์ใช้วิธีการตรวจวัดคุณภาพดินโดยใช้ชุดตรวจตรวจสอบอินทรีย์วัตถุในดิน วิธีการดังกล่าวใช้เวลาค่อนข้างมาก และมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงเมื่อเทียบต่อแปลง อีกทั้งสหกรณ์ฯ มีเจ้าหน้าที่จำนวนน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร ดังนั้น สหกรณ์ฯ จึงเกิดแนวคิดที่จะพัฒนาพัฒนารูปแบบการให้บริการการตรวจวัดค่าดินแบบออนไลน์ ด้วยการใช้ระบบ Internet of Thing (IOT) โดยรูปแบบจะเป็นการตรวจวัดสภาพดิน และแนะนำปุ๋ยให้กับเกษตรกรตามช่วงเวลา รูปแบบเทคโนโลยีจะใช้ระบบอุปกรณ์ตรวจวัดที่มีเซนเซอร์ตรวจวัดปริมาณค่า PH ,ค่าสารอาหารในดิน N,P,K , ค่าความชื้น , ค่าออกซิเจน หรืออื่น ๆ ที่มีความสำคัญกับการพิจารณาปรับปรุงสภาพดิน โดยจัดเก็บค่าต่าง ๆ ผ่านเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตสู่ฐานข้อมูลกลาง เพื่อนำมาวิเคราะห์การปรับสภาพดินด้วยการพัฒนาสูตรปุ๋ยและวัสดุอื่นที่จำเป็นที่เพื่อนำไปใช้ในแปลง จะทำให้ได้ปุ๋ยที่มีสารที่จำเป็นต่อการปลูกพืชแต่ละชนิด เหมาะสมกับสภาพดิน ซึ่งจะทำให้การปลูกพืชในแปลงที่ได้รับการดูแลมีผลผลิตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีการใช้ปริมาณปุ๋ยที่เหมาะสมไม่มากหรือน้อยเกินไป การใช้จ่ายในการจัดหาปุ๋ยมีความคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูง ด้วยหลักการนี้ จะช่วยแก้ปัญหาที่สหกรณ์ฯ มีพนักงานน้อย และตรวจวัดคุณภาพดินไม่ทันต่อความต้องการของเกษตรกร จะเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล จะทำให้สหกรณ์มีข้อมูล ของเกษตรกรทุกราย ซึ่งจะนำไปวิเคราะห์วางแผนการปลูก การตลาด และการพัฒนาคุณภาพดิน เพื่อช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกรต่อไป

               

               

               

               

               

              งบปี พ.ศ.: 
              2564
              ภาพประกอบ: 
              เครื่องตรวจวัดค่าดินผ่านระบบ IOT และโปรแกรมคำนวณสูตรปุ๋ยสั่งตัดตามชนิดพืช(RID64)
                แคตตาล็อกเทคโนโลยี
                ระดับ: 
                ต้นแบบเชิงพาณิชย์ / อุตสาหกรรม
                กลุ่มเป้าหมาย: 
                เกษตรกร
                ภาพหน้าปก: 

                เครื่องอบกระเทียมดำประหยัดพลังงานเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน(RID64)

                ศ, 09/04/2021 - 10:47 — bunsita
                รายละเอียด: 

                        จากการศึกษาข้อมูลการเพาะปลูกกระเทียมในพื้นที่จังหวัดลำปาง กระเทียม พื้นที่เพาะปลูก จำนวน 5,497 ไร่  ส่วนใหญ่อยู่ใน อำเภองาว อำเภอแจ้ห่ม และอำเภอวังเหนือ ผลผลิต จำนวน 7,933 ตัน ผลผลิตต่อไร่ จำนวน  954 กก. เกษตรกรส่วนใหญ่จะเพาะปลูกหลังเก็บเกี่ยวข้าว  โดยผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากประมาณเดือนมีนาคม ของทุกปี (ที่มา : สำนักงานเกษตรจังหวัดลำปาง ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2563)  ราคากระเทียมจีนเบอร์ใหญ่ 40-46 บาท/กิโลกรัม , กระเทียมไทยเบอร์ใหญ่ 55-58 บาท/กิโลกรัม , กระเทียมโทน  90-100 บาท/กิโลกรัม  

                     จากการศึกษาตลาดในปัจจุบันพบว่ากระเทียมจากประเทศจีนมาตีตลาดขายในไทยเป็นจำนวนมาก เพราะเป็นกระเทียมขนาดใหญ่เปลือกแกะง่ายและราคาถูกกว่ากระเทียมไทย ทำให้กระเทียมไทยก็เริ่มหมดความสำคัญจากท้องตลาดไปเรื่อยๆ ส่งผลให้ราคากระเทียมไทยตกต่ำลง ในขณะนั้นเกษตรกรไทยได้รับความเดือดร้อนและลำบาก  จากปัญหาดังกล่าวจึงได้มีกลุ่มบริษัท และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้มีการแปรรูปกระเทียมไทย ให้เป็นกระเทียมดำ (Black Garlic) เพื่อเป็นอาหารสุขภาพ ที่เปลี่ยนจากกระเทียมสดให้กลายเป็นกระเทียมดำ เพื่อให้ทานง่ายและ เพิ่มคุณมากยิ่งขึ้นซี่งมีคุณสมบัติในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดคลอเรสเตอรอล และป้องกันมะเร็ง บำรุงสมอง และป้องกันโรคความผิด ปกติของระบบประสาท ซึ่งสรรพคุณของกระเทียมดำนั้นดีกว่ากระเทียมสด ถึง 13 เท่า  ตลอดจนถึงการแปรรูปเป็นกระเทียมดำจะช่วยยกระดับราคากระเทียม ซึ่งเป็นสินค้าการเกษตรให้สูงขึ้น 6-8 เท่า ส่งผลทำให้เกษตรกรมีทางเลือกในการจำหน่ายสินค้าการเกษตร สามารถมีรายได้ที่ดีขึ้น

                      จากการศึกษาขั้นตอนการทำกระเทียมดำของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกผักและวิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหารจากสัตว์ แคบหมู แหนม หมู่ 8 ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง พบว่าการแปรรูปกระเทียมดำยังใช้หม้อหุงข้าว โดยใช้อบกระเทียมได้ครั้งละ 2-3 กิโลกรัม เสียค่าไฟฟ้าครั้งละประมาณ 70-80 บาท สามารถผลิตกระเทียมดำ 3-5 กิโลกรัม/เดือน โดยจัดจำหน่ายภายในจังหวัดลำปางและส่งร้านค้าในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งปริมาณการผลิตได้เป็นจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับความต้องการของร้านค้าและผู้บริโภค  ดังนั้นหากต้องการผลิตกระเทียมดำปริมาณที่มากจะต้องซื้อหม้อหุงข้าวหลายใบ ใช้พื้นที่มากขึ้น มีขั้นตอนการทำที่ยุ่งยากต้องทำการพลิกกลับกระเทียมหลายครั้ง ต้องซื้ออุปกรณ์อื่นๆเพิ่มขึ้น เช่น ปลั๊กไฟฟ้า สายพ่วงฯ มีค่าไฟฟ้ามากขึ้น ส่งผลให้มีค่าต้นทุนมากขึ้น หากจะซื้อเครื่องอบกระเทียมขนาดใหญ่ที่ผลิตได้ 30 กิโลกรัมขึ้นไปก็มีราคาแพง ต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ การบริการด้านการซ่อมบำรุงก็จะลำบาก อีกทั้งวิสาหกิจชุมชนไม่มีงบประมาณเพียงพอ  จากปัญหาดังกล่าวจึงมีแนวคิดในการสร้างเครื่องอบกระเทียมดำประหยัดพลังงานเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน ที่เกษตรกรใช้งานได้ง่ายเบ็ดเสร็จเพียงกดสวิตซ์ สามารถผลิตกระเทียมดำได้ครั้งละ 30-45 กิโลกรัม กำลังผลิต 70-90 กิโลกรัม/เดือน ประหยัดพลังงานโดยเสียค่าไฟฟ้าครั้งละ 150-200 บาท มีระบบควบคุมเครื่องฯที่มีประสิทธิภาพ สามารถแสดงข้อมูลต่างๆเป็นตัวเลขได้ มีความปลอดภัยในการใช้งาน วิสาหกิจชุมชนสามารถประยุกต์ใช้งานเครื่องอบกระเทียมดำฯได้กับการแปรรูปอาหารอื่นๆได้ สร้างรายได้ประมาณ 30,000-50,000 บาท/เดือน สามารถยกระดับเศรฐกิจในครัวเรือน เศรษฐกิจในชุมชนได้อีกด้วย

                 

                งบปี พ.ศ.: 
                2564
                ภาพประกอบ: 
                เครื่องอบกระเทียมดำประหยัดพลังงานเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน(RID64)
                  แคตตาล็อกเทคโนโลยี
                  ระดับ: 
                  ต้นแบบเชิงพาณิชย์ / อุตสาหกรรม
                  กลุ่มเป้าหมาย: 
                  วิสาหกิจชุมชน
                  ภาพหน้าปก: 

                  เครื่องอัดดินและปลูกผักอินทรีย์ในท่อ PVC แบบอัตโนมัติ(RID64)

                  ศ, 09/04/2021 - 10:14 — bunsita
                  รายละเอียด: 

                  วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปสมุนไพรไทยบ้านหลุก มีสมาชิกประกอบอาชีพหลักคือการทำสวนลำไย รายได้ของสมาชิกขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้า อากาศ ราคา ในบางปีก็ขาดทุน ทำให้สมาชิกส่วนหนึ่งยังมีหนี้สิน ทำให้รายได้ไม่พอกับรายจ่าย เนื่องจากอาชีพเกษตรกรชาวสวนลำไยเพียงช่องทางเดียวไม่อาจสร้างรายได้ให้กับสมาชิกได้อย่างเพียงพอ นอกจากนี้การทำสวนลำไย ยังมีรายได้เพียงปีละครั้ง หากปีไหนผลผลิตหรือราคาตกต่ำ ก็จะทำให้สมาชิกมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงครอบครัวและชำระหนี้สิน ดังนั้น สมาชิกจึงได้เริ่มหาอาชีพเสริม เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว โดยการปลูกผักจำหน่าย และได้ร่วมกับจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขึ้น เพื่อเป็นการรวมกลุ่ม ขอรับการสนับสนุนองค์ความรู้ ด้านวิชาการ ปัจจัยการผลิต มาตรฐานการผลิต และการตลาด การเลือกปลูกผักกลุ่มได้เน้นการปลูกผักอินทรีย์ และผักปลอดภัย ลดการใช้สารเคมี เพื่อสุขภาพของผู้ปลูกเอง และความปลอดภัยของผู้บริโภค เนื่องจากปัจจุบันผักอินทรีย์ และผักปลอดภัยได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้บริโภคและตลาด แต่การผลิตยังทำได้จำกัด เนื่องจาก ไม่สามารถควบคุมปัจจัยภายนอก เช่น โรค แมลง ศัตรูพืช วัชพืช สมาชิกส่วนใหญ่ปลูกพืชในแปลงปลูก ทำให้ไม่สามารถควบคุมปัจจัยและสภาพแวดล้อมได้ มีสมาชิกบางรายได้ทดลองปลูกผักโดยการทำแคร่ยกสูง ได้ผลค่อนข้างดี สามารถช่วยลดปัญหาโรค แมลง ศัตรูพืช วัชพืชได้ดี เนื่องจากเป็นการปลูกแบบประณีต  แต่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เนื่องจากต้องทำแปลงปลูกยกสูง และการใช้ไม้มีอายุค่อนข้างสั้น ผุพักง่ายเพราะต้องสัมผัสกับน้ำและความชื้นตลอดเวลา

                  จากปัญหาดังกล่าว กลุ่มฯ ได้ศึกษาจากผู้ที่ประสบความสำเร็จมาก่อน และปรึกษากับที่ปรึกษาจากสถาบันการเกษตร ได้รับคำแนะนำให้ปลูกผักแบบยกแคร่ หรือในท่อนำ PVC หรือรางไม้ไผ่ หรือวัสดุอื่นๆ ที่เป็นราง โดยนำเอาหลักการปลูกผักแบบยกแคร่ และการปลูกผักไฮโดรโพนิกส์มาผสมผสานกัน ซึ่งสมาชิกหลายคนได้มีการทดลองปลูกผักดังกล่าวแล้วบนแคร่ โดยการนำกระเบื้องเก่ามาวางบนแคร่แล้วนำวัสดุดินปลูกมารองปลูก เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา การกำจัดวัชพืช ปัญหาแมลง โรคพืชที่มาจากดิน จากการทดลองผลปรากฏว่าได้ผลดีมาก เนื่องจากพืชผักเป็นพืชล้มลุกต้นไม่ใหญ่ อายุสั้น จึงไม่จำเป็นต้องใช้ดินปลูกจำนวนมากเหมือนพืชชนิดอื่นๆ แต่ปัญหาของการปลูกพืชแบบยกแคร่คือ ต้องทำแคร่ยกสูง ยังใช้วัสดุดินปลูกมาก ต้นทุนสูง และฐานของแคร่หากใช้ไม้จะผุเร็ว แต่หากใช้เหล็กก็มีราคาสูง จึงได้ศึกษาต่อ จึงพบว่า ที่ประเทศอิสรเอล มีการปลูกผักนรางปลูก โดยรางมีความกว้าง 2 นิ้ว ลึก 4 นิ้ว ใช้วางบนรางปลูก ใช้เครื่องอัดดิน และหยอดเมล็ดพันธุ์ลงไปในราง ลดการใช้แรงงานและลดขั้นตอนการเพาะเมล็ดพันธุ์ลง การปลุกดังกล่าวต้นทุนต่ำ ทำง่าย และผักค่อนข้างสมบูรณ์ และวางแผนการผลิตได้ และในประเทศไทยก็เริ่มมีการปลูกผักโดยใช้ท่อน้ำ PVC แต่ยังเป็นการปลูกแบบใช้แรงงานคนทั้งหมด จากการศึกษาพบว่า วิธีการดังกล่าวได้ผลดีมาก ต้นทุนต่ำ ควบคุมการผลิต ขอรับรองมาตรฐานได้ง่าย  การปลูกผักในท่อน้ำ PVC สามารถทำได้ เจริญเติบโตได้ดี โดยสามารถปลูกแบบอัตโนมัติ ระบบน้ำหยด ตั้งเวลาปิดเปิดน้ำให้เป็นเวลา ให้ปุ๋ยทางน้ำ สามารถควบคุมแมลง ศัตรูพืชได้ดี เพราะยกพื้นสูง ไม่มีวัชพืช ควบคุมความชุ่มชื้นได้ ทำให้พืชเจริญเติบโต สามารถวางแผนการผลิตและการจำหน่ายระยะยาวได้ กลุ่มฯ จึงเลือกที่จะปลูกผักในท่อน้ำ PVC แต่เนื่องการปลูกผักในท่อน้ำยังต้องใช้แรงงานคน ซึ่งปัจจุบันหาค่อนข้างยาก และค่าจ้างค่อนข้างสูง โดยเฉพาะการอัดดินลงในท่อน้ำครั้งแรกแล้ว และอาจต้องมีการเปลี่ยนดินในท่อเดิมต่อการปลูก 2 รอบต่อครั้ง เพื่อให้ธาตุอาหารในดินสมบูรณ์ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืช กลุ่มจึงมีความต้องการขอรับการสนับสนุนเครื่องอัดดินและปลูกผักอินทรีย์ในท่อ PVC แบบอัตโนมัติ กลุ่มฯ คาดว่าเครื่องดังกล่าวจะช่วยทำให้สมาชิกในกลุ่มได้รับความสะดวก ลดต้นทุนการผลิต จะทำให้เกิดการขยายการผลิต และสร้างรายได้ให้กับสมาชิกแบบยั่งยืนต่อไป

                   

                   

                  งบปี พ.ศ.: 
                  2564
                  ภาพประกอบ: 
                  เครื่องอัดดินและปลูกผักอินทรีย์ในท่อ PVC แบบอัตโนมัติ(RID64)
                    แคตตาล็อกเทคโนโลยี
                    ระดับ: 
                    ต้นแบบเชิงพาณิชย์ / อุตสาหกรรม
                    กลุ่มเป้าหมาย: 
                    วิสาหกิจชุมชน
                    ภาพหน้าปก: 

                    เครื่องประสานและเคลือบผิวใบไม้เพื่อผลิตอุปกรณ์ตกแต่งเครื่องใช้ในครัวเรือน(RID64)

                    ศ, 09/04/2021 - 09:59 — bunsita
                    รายละเอียด: 

                           วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย A&R (ART AND REGION) เริ่มดำเนินการ ปี พ.ศ. 2560 เกิดจากวิถีชีวิตของอำเภอเชียงของ ที่มีความเป็นอัตลักษณ์ ทางด้านการทอผ้าในการตัดเย็บด้วยมือ (Hand Made) ที่มีความโดดเด่นเน้นความเป็นท้องถิ่น มีลวดลายที่สวยงามและมีชื่อเสียงในการเย็บผ้าทอด้วยมือชุมชน ที่มีการถ่ายทอดสมัยบรรพบุรุษ และถ่ายทอดมาตั้งแต่สมัย ปู่ ย่า ตา ยาย จึงมีการรวมกลุ่มกันเพื่อการพัฒนาและรักษามาตรฐานในรูปแบบที่ต่อยอดและเน้นความทันสมัย แต่คงไว้ซึ่งความเป็นล้านนา จึงมีการรวมกลุ่มกัน ภายใต้ A & R ผ้าทอ ซึ่งเป็นการร่วมเจตจำนงค์ในการรักษาและอนุรักษ์สมบัติอันล้ำค่าของล้านนาของอำเภอเชียงของ จึงมีการแบ่งหน้าที่ในการบริหารจัดการ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล และสามารถผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานและเป็นที่ต้องการของตลาด โดยชุมชน แบ่งหน้าที่เป็น 5 กลุ่ม มี 1.กลุ่มทอผ้า 2.กลุ่มตัดเย็บ 3.กลุ่มปักษ์ผ้า 4.กลุ่มย้อมผ้า และ 5.กลุ่มออกแบบ กลุ่มฯ ได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างสม่ำเสมอ โดยในปีที่ผ่านมากลุ่มฯ ได้มีแนวคิดที่จะนำเศษวัสดุทางการเกษตรจากพืชเศรษฐกิจที่ปลูกอยู่ของกลุ่ม นำมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่า จึงได้มีการทดลองนำใบไม้ เช่น ใบสับปะรด และใบโกโก้ มาทดลองประสานและเคลือบผิว และนำไปต่อยอดผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น กระเป๋า ที่รองแก้ว เหยือก ของที่ระลึก ของฝาก เป็นต้น ซึ่งผลปรากฏว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้รับการตอบรับค่อนข้างดี โดยเฉพาะลูกค้าเจ้าของโรงแรม และนักท่องเที่ยวต่างประเทศ มียอดการสั่งซื้อจำนวนมาก เพราะผลิตภัณฑ์ทุกชนิดผลิตมาจากวัสดุธรรมชาติ สอดคล้องกับในปัจจุบันกระแสการอนุรักษ์รักษาธรรมชาติกำลังได้รับความนิยม และตอบรับจากลูกค้าค้าค่อนข้างดี แต่เนื่องจากกระบวนการผลิตแผ่นใบไม้เคลือบผิวทำได้ช้าและคุณภาพไม่ค่อยสม่ำเสมอ จึงทำให้กลุ่มฯ เสียโอกาสในการผลิตจำหน่าย และไม่สามารถรับออเดอร์จำนวนมากได้ กลุ่มฯ จึงมีแนวคิดที่จะปรึกษาและขอรับการสนับสนุนเครื่องประสานและเคลือบผิวใบไม้ด้วยความร้อน เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตของกลุ่มฯ แก้ไขปัญหาในกระบวนการผลิตเพื่อให้คุณภาพสม่ำเสมอ และสามารถผลิตได้จำนวนมากเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าต่อไป 

                    งบปี พ.ศ.: 
                    2564
                    ภาพประกอบ: 
                    เครื่องประสานและเคลือบผิวใบไม้เพื่อผลิตอุปกรณ์ตกแต่งเครื่องใช้ในครัวเรือน(RID64)
                      แคตตาล็อกเทคโนโลยี
                      ระดับ: 
                      ต้นแบบเชิงพาณิชย์ / อุตสาหกรรม
                      กลุ่มเป้าหมาย: 
                      วิสาหกิจชุมชน
                      ภาพหน้าปก: 
                      เนื้อหาแหล่งข่าว