- หน้าแรก
- แนะนำโครงการ
- โครงการสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า
- โครงการพัฒนาระบบอัตโนมัติ/สมาร์ทเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ของภาคการผลิตและบริการ
- โครงการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ เพื่อการผลิตระดับชุมชน
- โครงการประกวดสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา STI inventions contest 2025
- โครงการประกวดรางวัลเทคโนโลยียอดเยี่ยมด้านเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ (Machinery for Equipment and Machinery Awards; MA)
- ดาวน์โหลด
- กระดานสนทนา
- แผนที่เว็บไซต์
- ติดต่อเรา
เครื่องทำปลาส้มชนิดแผ่นกลมกึ่งอัตโนมัติ(RID64)
รายละเอียด:
วิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาบ้านห้วยบง จดจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2549 รหัสทะเบียน 4-39-03-06/1-0007 มีจำนวนสมาชิก 20 คน ทำการแปรรูปปลาส้ม และปลาส้มชนิดแผ่นกลม โดยมีกำลังการผลิตปลาส้ม 100 กิโลกรัมต่อวัน ราคาขาย 120 บาท ต่อกิโลกรัม รายได้ขายปลาส้ม 360,000บาทต่อเดือน และปลาส้มชนิดแผ่นกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง ขนาด 60 มม. ความหนา 10 มม. จำนวน 300 กิโลกรัมต่อวัน ราคาขาย 120 บาทต่อกิโลกรัม รายได้ขายปลาส้มชนิดแผ่นกลม 1,080,000 บาทต่อเดือน ส้มไข่ปลา จำนวน 60 กิโลกรัมต่อวัน ราคาขาย 120 บาทต่อกิโลกรัม รายได้ขายส้มไข่ปลา 216,000 บาทต่อเดือน ส้มขี้ปลา จำนวน 60 กิโลกรัมต่อวัน ราคาขาย 40 บาทต่อกิโลกรัม รายได้ขายส้มขี้ปลา 72,000 บาทต่อเดือน ยอดจำน่ายผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาบ้านห้วยบง 1,728,000 บาทต่อเดือน จากการลงพื้นที่วันที่ 1 ธันวาคม 2563 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาบ้านห้วยบง มีความต้องการในการเพิ่มกำลังการผลิตปลาส้มชนิดแผ่นกลม และ พัฒนากระบวนการผลิตปลาส้มชนิดแผ่นกลมให้มีมาตรฐานให้มากขึ้น ปัญหาในกระบวนการผลิตปลาส้มชนิดแผ่นกลม ในกระบวนการปั้นปลาส้มชนิดแผ่นกลมด้วยมือ กำลังการผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของลูกค้า อีกทั้งกระบวนการผลิตยังใช้มือในการทำแผ่นกลมทำใช้กระบวนการผลิตไม่ได้มาตรฐาน รวมถึงมีการทางกลุ่มมีความต้องการเพิ่มกำลังการผลิตให้เพียงพอ ดังนั้นทีมนักวิจัยจึงมีแนวคิดในการออกแบบและพัฒนาเครื่องทำปลาส้มชนิดแผ่นกลมกึ่งอัตโนมัติ โดยเครื่องจักรที่ได้ออกแบบและพัฒนาช่วยในกระบวนการผลิตสามารถทำปลาส้มชนิดแผ่นกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง ขนาด 60 มม. ความหนา 10 มม. ได้จากเดิม 300 กิโลกรัมต่อวัน เป็น 600 กิโลกรัมต่อวัน สามารถเพิ่มกำลังกระบวนการผลิตปลาส้มชนิดแผ่นกลมให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ลดจำนวนพนักงานในกระบวนการปั้นปลาส้มแผ่นด้วยมือจาก 3 คน เหลือ 1 คน ปรับเปลี่ยนจากการปั้นแผ่นกลมด้วยมือมาเป็นเครื่องจักรทำให้กระบวนการมีมาตรฐานมากขึ้น เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีและสร้างเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ ในภาคการผลิตระดับชุมชนให้มีสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งานหรือผู้ประกอบการในระดับชุมชน
งบปี พ.ศ.:
2564