โครงการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า (VCE)
โครงการพัฒนาสร้าง “เกวียน” หุ่นยนต์ทำไร่ (VCE65)
ผู้เสนอโครงการ (หัวหน้าโครงการ) : นายปรีชา เต็มพร้อม
ผู้ประกอบการที่ร่วมโครงการ : นายราชันท์ ฟักเมฆ
ผู้ประกอบการที่ใช้งานเครื่องจักร : นายธีรพงษ์ กาญจนกันติกุล
ที่ปรึกษาด้านวิชาการ : ผศ.ดร.สุรวุฒิ ยะนิล
ผู้ประสานงาน : นายราชันท์ ฟักเมฆ
โครงการพัฒนาระบบเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้ของโรงไฟฟ้าเผาขยะและชีวมวล และลดมลพิษทางอากาศด้วยการผสมก๊าซ Oxy-Hydrogen ที่ผลิตจากน้ำ(VCE64)
ในปัจจุบันเชื้อเพลิงฟอสซิลหายากและมีราคาที่สูงขึ้น รวมทั้งการตระหนักถึงปัญหาโลกร้อน และมลพิษทางอากาศที่มาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ทำให้คนหันมาใช้พลังงานทางเลือกและพลังงานธรรมชาติมากขึ้น โดยปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าชีวมวลเกิดขึ้นหลายแห่งในประเทศ แต่ก็ต้องประสบกับปัญหาการนำชีวมวลมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า แต่เกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้ต้องสูญเสียเชื้อเพลิงมากกว่าที่จำเป็น และยังก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศอีกด้วย
เนื่องจากก๊าซไฮโดรเจนเป็นก๊าซที่มีการเผาไหม้ที่ค่าความร้อนสูง ไฮโดรเจนสามารถเผาไหม้ที่อุณหภูมิถึง 2045° C ในขณะเดียวกันก๊าซมีเทนหรือก๊าซธรรมชาติจะเผาไหม้ที่อุณหภูมิเพียงแค่ 1325° C ส่วนชีวมวลจะเผาไหม้ที่อุณหภูมิประมาณ 800° C ขึ้นอยู่กับประเภทของชีวมวลที่นำมาใช้ ดังนั้นไฮโดรเจนจึงเป็นก๊าซที่สามารถใช้ในการผลิตไอน้ำที่ค่าความร้อนสูงกว่าการใช้ชีวมวลและเชื้อเพลิงฟอสซิล จึงได้ทำการเติมไฮโดรเจนเข้าไปผสมกับการเผาไหม้ของชีวมวลในการต้มไอน้ำ ทำให้เกิดการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ ลดการใช้พลังงานและลดมลพิษ เนื่องจากไม่มีการปล่อยสารไฮโดรคาร์บอน คาร์บอนมอนอกไซด์ หรือการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม
โครงการพัฒนาสร้างเครื่องระเหยข้นแบบบังคับให้หมุนเวียน(VCE64)
การระเหยของเหลวด้วยการให้ความร้อนสมัยใหม่หันมาใช้ระบบท่อ Shell and tube เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนความร้อน ในของเหลวบางชนิดเมื่อได้รับความร้อนระดับหนึ่งมีการตกผลึก หรือเป็นตะกรัน ทำให้ท่อแลกเปลี่ยนความร้อนเครื่องระเหยข้นแบบแนวนอนอุดตันทำให้ยากต่อการทำงานและซ่อมแซมรักษา ใช้เวลามากในการกลับมาทำงานแต่เครื่องระเหยข้นแบบท่อแนวตั้งใช้หลักการไหลเวียนของของเหลวด้วยความเร็วที่สูงจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำและ ไม่ให้ของเหลวระเหยเดือดระหว่างภายในท่อ ทำให้ลดการเกิดภาวะการตกผลึก หรือ ตะกรัน และอุดตันในท่อ ทำให้ไม่ต้องหยุดการทำงานเพื่อซ่อมแซมรักษาและนำพลังงานความร้อนที่ได้จากการระเหยบังคับกลับมาเข้าสู่ระบบหมุนเวียนใหม่เพื่อช่วยการทำความร้อนให้กับระบบ ซึ่งเป็นการช่วยการประหยัดพลังงานและต้นทุนในการสร้างความร้อนให้น้อยลงโดยใช้การดูดแบบสุญญากาศเข้ามาเป็นตัวดึงความร้อนจากการระเหยกลับเข้ามาสู่ในระบบใหม่อีกครั้ง
โครงการพัฒนาสร้างหนูนา หุ่นยนต์ทำนา(VCE64)
วิกฤตสภาพอากาศ ปัญหาขาดแคลนแรงงาน การผลิตขาดเทคโนโลยีและเครื่องจักรไม่ทันสมัย ภาคการเกษตร ยังติดกับดักกับปัญหา ต้นทุนการผลิตสูง และผลผลิตต่ำ เครื่องจักรที่ทันสมัยราคาสูง ทั้งยังไม่เหมาะสมกับพื้นที่ หากการเกษตรยังไม่พัฒนาต่อ เราจะสูญเสียการแข่งขันกับตลาดโลก
การใช้เครื่องจักรที่ฉลาด เหมาะสมกับพื้นที่ และเทคโนโลยีข้อมูลมาพยากรณ์การผลิตด้วย AI ช่วย จะทำให้แก้ปัญหาดังกล่าวได้ หนูนา หุ่นยนต์ทำนา เป็นการปฏิวัติกระบวนการทำเกษตร ไปสู่การเกษตรแบบแม่นยำ หรือ Smart farming เป็นหนึ่งในนโยบายของรัฐบาลพร้อมส่งเสริม