โครงการพัฒนาเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ เพื่อการผลิตระดับชุมชน (RID)

โครงการพัฒนาประดิษฐกรรมเพื่อชนบท (ชื่อเดิม)

เครื่องอัดก้อนผงปรุงรสแบบต่อเนื่อง

พฤ, 11/06/2015 - 18:12 — admin5
รายละเอียด: 

หัวหน้าโครงการ
ดร.บรรเจิด แสงจันทรื   มทร.ล้านนา  เชียงใหม่
ผู้ประกอบการ
กลุ่มสตรีเข้มแข็งอ.ปาย   แม่ฮ่องสอน

งบปี พ.ศ.: 
2558
แคตตาล็อกเทคโนโลยี
ภาพหน้าปก: 

เครื่องอัดขึ้นรูปลูกกลิ้งยาง

พฤ, 11/06/2015 - 18:09 — admin5
รายละเอียด: 

หัวหน้าโครงการ
ดร.นเรศ อินต๊ะวงศ์   มทร.ล้านนา  เชียงใหม่
ผู้ประกอบการ
โครงการพัฒนาดอยตุงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  เชียงราย

งบปี พ.ศ.: 
2558
    แคตตาล็อกเทคโนโลยี
    ภาพหน้าปก: 

    เครื่องอัดสุกข้าวเกรียบ

    พฤ, 11/06/2015 - 17:56 — admin5
    รายละเอียด: 

    เครื่องอัดสุกขาวเกรียบ

    Extruder Cooking for crisp cracker

     กระบวนการผลิตข้าวเกรียบแต่เดิมเป็นแบบใช้แรงงานคนเกือบ 100% ทำให้มีความจำกัดในด้านกำลังการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของกระบวนการขึ้นรูปและการตาก เนื่องจากแป้งที่จะต้องน้ำมาทำนั้นต้องใช้แรงนวด ทำให้ขนาดของแท่งข้าวเกรียบไม่เท่ากัน หลังจากนั้นจะนำแท่งข้าวเกรียบที่นวดแล้วไปนึ่งเพื่อให้แป้งสุก แล้วนำไปพักหรือแช่ในตู้เย็นทิ้งไว้ 1 คืนถึงจะนำมาหั่นให้เป็นแผ่น ทั้งนี้ในการหั่นแต่ละชิ้นยังมีขนาดและน้ำหนักที่ต่างกันไม่ได้มาตรฐาน แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง ซึ่งบางครั้งแดดไม่มีทำให้แผ่นข้าวเกรียบไม่แห้งและรักษาความชื้นของข้าวเกรียบไม่ได้ ผู้ประกอบการและผู้วิจัยจึงมีความคิดที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวโดยทำการออกแบบและประดิษฐ์เครื่องผลิตข้าวเกรียบเพื่อให้สามารถผลิตได้รวดเร็วทันต่อความต้องการ ได้ขนาดและน้ำหนักใกล้เคียงกัน และง่ายต่อการใช้งานและการซ่อมบำรุง โดยมีราคาต้นทุนต่ำ ไม่ต้องพึ่งพาการนำเข้าของเครื่องจักรจากต่างประเทศ

    คุณสมบัติและสมรรถนะ

    ·        กำลังการผลิตสูงสุด 50 กิโลกรัมต่อชั่วโมง

    ·        ใช้กำลังจากมอเตอร์ไฟฟ้า มีชุดวงจรควบคุมการทำงาน                                                                   

    ·        โครงเครื่องและตู้อบทำจากสเตนเลส

     

    ราคาเริ่มต้นที่ 150,000 บาท/เครื่อง

    พัฒนาภายใต้ โครงการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์เพื่อการผลิตระดับชุมชน

     

    พัฒนาโดย                 รศ.ดร.สุนทรี รินทร์คำ

    คณะวิศวกรรมศาสตร  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลลานนา วิทยาเขตภาคพายัพ 128 ถ.หวยแกว ต.ชางเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม 50300

    โทรศัพท  086-4319700

    ผู้ประกอบการ         นางสาวภัสรนลิน ดวงคํา  

    วิสาหกิจชุมชน รักษดอนจั่น  เลขที่ 12/17 หมู 4 ต.ทาศาลา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000 โทรศัพท์ 099-2979654

     

    งบปี พ.ศ.: 
    2558
      แคตตาล็อกเทคโนโลยี
      ภาพหน้าปก: 

      เครื่องแล่เนื้อปลา

      พฤ, 11/06/2015 - 17:52 — admin5
      รายละเอียด: 

      เครื่องแล่เนื้อปลาสําหรับชุมชนผลิตปลาสม
      Fish Butchering Machine

      ลักษณะเครื่องแลเนื้อปลาสําหรับผลิตปลาสม ทํางานโดยปอนปลาที่ ขอดเกร็ด และผาหัวแลวนําเขาสูชองรับปลาตั้งตัวปลาในลักษณะปกติเมื่อปลาอยูในน้ำ มีสายพาน หรือลูกกลิ้ง ยางประกบตัวปลาทั้งสองดานเพื่อหมุนปอนปลาเขาสูเครื่อง ซึ่งสามารถปรับชองสายพานใหรัดตัวปลาดวยสปริงยืดหยุน และปรับขนาดชองรับปลาตามขนาดตัวปลาดวยการปรับชองสายพานดวยสกรูเกลียว เมื่อตัวปลา ถูกสายพานดูดเขาไปในเครื่องผานใบมีด ปลาจะถูกแลออกเปนซีก ซึ่งใบมีดแลปลาสามารถปรับใหมีหลายใบมีด เพื่อแลปลาใหได 2 ชิ้น หรือ 3 ชิ้น หรือ เลาะเนื้อปลาออกจากกางได จากนั้นปลาจะไหลออกมาจากเครื่องผาน ชองรับเขาสู่ภาชนะรับในระหวางการแลปลาจะปั้มน้ำหลอลื่นใหปลาไหลเขาสู่เครื่องแลปลาไดสะดวก งาย ตอการทําความสะอาด และเปนการลางเลือดปลา เครื่องจะออกแบบใหสามารถเปลี่ยนใบมีด หรือนําใบมีด ออกมาลับคมไดเมื่อใบมีดสึกหรอ

       

       

      คุณสมบัติและสมรรถนะ

      ·        สามารถแล่เนื้อปลาได้ 4-5 ตัวต่อนาที

      ·        ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ขนาด 1 แรงม้า วางไวในกลองปองกันน้ำ

      ·        พัฒนาโดยใชสแตนเลส ฟูดเกรด ปองกันสนิม

      ·        ปองกัน อันตรายจากใบมีด

      ·        มีกลองสวิตชควบคุมไฟฟา ที่ปองกันน้ำได้ มีระบบตัดไฟ ปองกันอันตรายจากไฟฟ้ารั่ว

      ·        มีขนาดเหมาะสม กับปลาที่ใชในการผลิต เชน ปลาส้ม ปลานิล ปลาทับทิม ปลาตะเพียน

      ราคาเริ่มต้นที่  150,000  บาท/เครื่อง

      พัฒนาภายใต้ โครงการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์เพื่อการผลิตระดับชุมชน

      พัฒนาโดย                 ผศ.สำรวจ  อินแบน

      คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยนครพนม  เลขที่ 103 หมู่ 3 ถนนชยางกูร ต.ขามเฒ่า อ.เมือง จ.นครพนม 48000 

      หมายเลขโทรศัพท  061-9412127  E-mail: samruad_inban@yahoo.com

      ผู้ประกอบการ         กลุมแปรรูปเชิงธุรกิจสมปลาโด (รานเจดา)  55/2   หมู 1 บานไชยบุรี  ตําบลไชยบุรี  อําเภอทาอุเทน  จังหวัดนครพนม

      โทรศัพท์ 042-573018   มือถือ  081-9740791

       

       

      งบปี พ.ศ.: 
      2558
        แคตตาล็อกเทคโนโลยี
        ภาพหน้าปก: 

        เครื่องอบปลาแดดเดียว

        ศ, 24/04/2015 - 10:37 — admin5
        รายละเอียด: 

        เครื่องอบปลาแดดเดียว

        Sun-Dried Fish Machine

        ปลาแดดเดียวเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทำให้ผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค อีกทั้งในปัจจุบันทางผู้ผลิตไม่สามารถที่จะควบคุมคุณภาพได้เพราะการตากปลานั้นต้องอาศัยความร้อนจากรังสีดวงอาทิตย์และลมจากธรรมชาติ ซึ่งมีความแปรผันตามฤดูกาลและยังมีปัญหาความสะอาดจากแมลงรบกวน จึงเป็นสาเหตุให้คุณภาพและปริมาณการผลิตลดลง ดังนั้นการนำแหล่งกำเนิดความร้อนโดยพลังงานไฟฟ้าจึงเป็นทางเลือกหนึ่ง เพราะสามารถความคุมความร้อนได้ตามต้องการและให้ความร้อนได้รวดเร็ว ในประเทศไทยเครื่องอบแห้งแปรรูปอาหาร (Food Dryer Machine) ยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศอีกทั้งยังมีราคาที่สูงซึ่งไม่เหมาะกับผลิตภัณฑ์ OTOP ดังนั้นการสร้างเครื่องอบปลาโดยพลังงานไฟฟ้าซึ่งสามารถผลิตและประกอบได้อย่างง่ายๆ ในประเทศไทยจะสามารถช่วยลดการนำเข้าเครื่องจากต่างประเทศได้

        คุณสมบัติและสมรรถนะ

        ·        ตัวเครื่องจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนได้แก่ 1. ขาตั้ง 2. ตัวตู้อบ และ 3. ฝาครอบ โครงเครื่องและตู้อบทำจากสเตนเลส ตัวตู้อบทำจากกระจกเทมเปอร์เพื่อความสวยงามและทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจกขึ้นภายในตู้อบ

        ·        ให้ความร้อนด้วย หลอดอินฟาเรดขนาด 1300 วัตต์ สามารถทำความร้อนและลดความร้อนได้ในเวลาอันสั้น ประหยัดไฟกว่าตัวให้ความร้อนชนิดอื่นๆเมื่อเทียบกับประสิทธิภาพการให้ความร้อน

        ·        กระจายความร้อนด้วยพัดลม

        ·        มีชุดวงจรควบคุมอุณหภูมิ โดยอุณหภูมิที่ตั้งไว้สำหรับตู้อบมีค่าประมาณ 50 - 60 องศาเซลเซียส

        ·        สามารถนำไปประยุกต์อบเนื้อหมูหรือเนื้อวัวแดดเดียวได้                                                                

        ราคาเริ่มต้นที่  200,000 บาท/เครื่อง

        พัฒนาภายใต้ โครงการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์เพื่อการผลิตระดับชุมชน

        พัฒนาโดย                   ดร.คุณยุต  เอี่ยมสอาด

                                        คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

                                       เลขที่  50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว  เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

                                      โทรศัพท์ 086-3747111

        ผู้ประกอบการ            กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนบ้านสาขลา อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ

               คุณไพรินทร์  เทียนสุวรรณ โทรศัพท์ 084-9224655

        http://kojieiji.com/ บริษัทผลิตขาย

        งบปี พ.ศ.: 
        2558
          แคตตาล็อกเทคโนโลยี
          ภาพหน้าปก: 

          เครื่องทำขนมทองม้วนแบบบล็อกแม่พิมพ์

          อ, 19/08/2014 - 11:02 — admin5
          รายละเอียด: 

          เครื่องทำขนมทองม้วนแบบบล็อกแม่พิมพ์

                     

                                 การผลิตขนมทองมวนในปริมาณมากมักใช้เครื่องจักรเข้ามาช่วย ขอดี คือชวยทุ่นแรง ทำใหขนมที่ผลิตมีลักษณะและ มาตรฐานเดียวกัน ผลิตไดเป็นจำนวนมาก ลดการพึ่งพาแรงงานฝมือ ทําให การผลิตทําไดอยางมีประสิทธิภาพมากขึ้น อยางไรก็ตาม โดยทั่วไปเครื่องจักรที่ใชทําขนมทองมวนมักถูกออกแบบสําหรับขั้ นตอนการผลิต2 ขั้นตอนที่สําคัญคือ การอบแปง และ การมวนขึ้นรูปขนม ปจจุบันทั้งสองขั้นตอนดังกลาวใชเครื่องจักร แยกสวนจากกัน คือ เครื่องอบแปงเครื่องหนึ่งและเครื่องสํ าหรั บม วนขึ้ นรู ป อี กเครื่องหนึ่งทํ าให ขั้ นตอนการผลิ ตเสี ยเวลาและไมตอเนื่อง หากสามารถรวมทั้งสองขั้นตอนเขาไว ดวยกันได ก็จะชวยลดขั้นตอนการผลิตและการควบคุมกระบวนการการผลิตจะมีความตอเนื่อง นอกจากนี้ เครื่องจักรในทองตลาดมักผลิตได ครั้ง  1 มวน/ครั้งการทํางานทําใหขีดความสามารถในการผลิตเปนไปอยางจํากัด การเพิ่มผลผลิตหมายถึงการเพิ่มจํานวนเครื่องจักรและเพิ่มจํานวนแรงงานในการควบคุมเครื่อง ซึ่งหมายถึงตนทุนในการดําเนินการที่เพิ่มขึ้นตามาดวยเชนกัน หากมีเครื่องจักรที่สามารถผลิตขนมทองมวนไดครั้งละหลายมวนตอครั้งการทํางานก็จะชวยใหผูประกอบการสามารถเพิ่มผลผลิตและลดตนทุนลงไดอยางมาก

           

          คุณสมบัติและสมรรถนะ

          อยางนอย 5 ชั้น/ครั้งการทํางานใชความรอนจากแกส

          รวมขั้นตอนการอบและมวนขึ้นรูปไวในเครื่องเดียวกันโดยใชหลักการบล็อกแมพิมพ

          เครื่องจักรมีนวัตวกรรมที่สามารถตอยอดเพื่อผลิตในเชิงพาณิชยได

          มีเปนเครื่องที่รวมขั้นตอนการอบและการมวนเขาไวในเครื่องเดียวกัน และสามารถผลิตขนมไดครั้งละหลายมวนตอครั้งการทํางาน

           

          พัฒนาโดย                      ผูชวยศาสตราจารย ดร.กีรติ สุลักษณ

                                              สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล สํานักวิชาวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

                                              111 ต.สุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000

           

          ราคาเริ่มต้นที่  60,000  บาท/เครื่อง

           

          พัฒนาภายใต้ โครงการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์เพื่อการผลิตระดับชุมชน

          ประจำปีงบประมาณ 2557

           

          งบปี พ.ศ.: 
          2557
            แคตตาล็อกเทคโนโลยี
            ภาพหน้าปก: 

            เครื่องกะเทาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์

            อ, 19/08/2014 - 11:01 — admin5
            รายละเอียด: 

            เครื่องกะเทาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์

                       

            มะม่วงหิมพานต์ เป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่สามารถทํารายได้ให้กับเกษตรกร สามารถปลูกได้ในพื้นที่ที่แห้งแล้ง ในสภาพพื้นดินที่ไม่เหมาะสมทําการเกษตรอย่างอื่นๆ เช่นดินลูกรัง เป็นต้น การกะเทาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ปัจจุบันมีเครื่องมือใช้สําหรับกะเทาะหลายชนิด แต่ยังเป็นแบบที่ไม่สะดวก รวดเร็ว และยังต้องเปื้อนยางของเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งเป็นอันตราย ทําให้ยุ่งยากในการผลิต

            ในปัจจุบันอุตสาหกรรมในด้านการผลิตอาหาร ต้องการความรวดเร็วและความคล่องตัวในการทํางาน เพื่อให้ทันต่อการบริโภค และด้วยเหตุที่เมล็ดมะม่วงหิมพานต์เป็นพืชเศรษฐกิจที่นิยมนําไปประกอบอาหาร ขนม และอื่นๆ อีกมากมายจึงจําเป็นต้องพัฒนาเครื่องมือกระเทาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ให้มีขนาดเล็กเหมาะที่จะใช้ในอุตสาหกรรมครอบครัวได้ และเป็นเครื่องมือสําหรับอุตสาหกรรมทั่วไปได้เช่นกัน สามารถเพิ่มปริมาณการผลิตได้สูง ราคาถูกการทํางานไม่ยุ่งยากและสามารถลดปัญหาจากการผลิตแบบเก่าๆ ได้

             

            ขั้นตอนที่1 เครื่องมือจะทําการจับล็อคเมล็ ดมะม่วงหิมพานต์ไว้ในตําแหน่งที่ถูกต้อง ใบมีดจะถูกกดลงมาบนเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ โดยแรงกดที่เหมาะสม จากนั้นชิ้นส่วนที่จับเมล็ดมะม่วงหิมพานต์จะหมุน ทําให้ ใบมีดที่กดลงบนเมล็ดมะม่วงหิมพานต์กรีดลงบนเมล็ดมะม่วงหิมพานต์โดยรอบ(กําหนดแรงกดโดยสปริงด้วยแรงที่ออกแบบไว้

             

            ขั้นตอนที่2 เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ จะถูกลําเลียงต่อไป ยังส่วนที่สอง คือส่ วนแกะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ส่วนนี้จะใช้กรงเล็บโลหะ เกาะรอยที่เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ในตําแหน่งที่ อุปกรณ์ส่วนที่หนึ่งได้กรีดเอาไว้ แล้วแกะเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ออกจากกัน จากนั้นเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ก็จะถูกลําเลียงไปยังส่วนอื่นต่อไป

             

             

            พัฒนาโดย          นายบุญรอด  แสงอินทร์     วิทยาลัยสารพัดช่างอุตรดิตถ์

            เลขที่ 63/209 หมู่ที่ 7 ซอย 4/2 ถนนศิลาอาสน์-เขื่อน ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000

            โทร 055-416564, 089-6413878

             

            ราคาเริ่มต้นที่ ............

             

            พัฒนาภายใต้ โครงการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์เพื่อการผลิตระดับชุมชน

            ประจำปีงบประมาณ 2557

            งบปี พ.ศ.: 
            2557
              แคตตาล็อกเทคโนโลยี
              ภาพหน้าปก: 

              เครื่องกดกล้วยแผ่นกึ่งอัตโนมัติ

              อ, 19/08/2014 - 11:00 — admin5
              รายละเอียด: 

              เครื่องกดกล้วยแผ่นกึ่งอัตโนมัติ

                                   กล้วยเป็นผลไม้ที่พบโดยทั่วไปทุกพื้นที่ในประเทศไทย สามารถนำมาแปรรูปเป็นสินค้าได้มากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดพิษณุโลก กล้วยแปรรูปถือว่าเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่สร้างชื่อเสียงและสร้างรายได้ให้กับชุมชนต่างๆ โดยกรรมวิธีในการแปรรูปกล้วยนั้นมีมากมายหลายรูปแบบ เช่น กล้วยตาก กล้วยฉาบ กล้วยทอด และกล้วยกวน เป็นต้น ซึ่งหนึ่งในสินค้าจากกล้วยแปรรูปที่มีชื่อเสียงในจังหวัดพิษณุโลก คือ “กล้วยม้วน” และจากข้อมูลกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พบว่า มีกลุ่มเกษตรกรอีกหลายจังหวัดที่มีการแปรรูปกล้วยม้วนเช่นเดียวกัน ซึ่งกระบวนการผลิตกล้วยม้วนในปัจจุบันนั้น จะใช้แผ่นไม้ที่มีน้ำหนักกดลงบนผลกล้วยเพื่อให้กล้วยมีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ ประมาณ 3 มิลลิเมตร ซึ่งผลิตกล้วยแผ่นได้ครั้งละ1 ลูกเท่านั้น กระบวนการผลิตดังกล่าวนอกจากใช้ระยะเวลานาน แล้วยังมีความจำเป็นต้องใช้ผู้ทำงานที่มีความชำนาญอีกด้วย

              คุณลักษณะและสมรรถนะของเครื่อง

              ·        มีกำลังการผลิต 3 - 4 ลูกต่อการกด 1 ครั้ง ได้กล้ายที่มีความหนา 3 มิลลิเมตร

              ·        ใช้ไฟฟ้าประมาณ 1.5 kW

              ·        ใช้ระบบนิวแมติกส์  

              ·        การควบคุมการทำงานเป็นแบบกึ่งอัตโนมัติ

               

              หลักการทำงานและจุดเด่น

              ระบบการทำงานของเครื่องกดกล้วยที่ได้พัฒนาขึ้น ใช้ระบบไฟฟ้า ควบคุมการทำงานแบบกึ่งอัตโนมัติ โดยกล้วยหลังจากปลอกเปลือกจะถูกวางบนสายพานที่มีถาดรองเคลื่อนที่เข้าไปยังเครื่องกด โดยสามารถกดได้ครั้งละ3 - 4 ลูก เมื่อกล้วยถูกกดแล้วจะเคลื่อนที่ออกจากเครื่องกด จากนั้นผู้ทำงานจะนำกล้วยที่กดแล้วจัดเรียงในถาดเพื่อทำการอบต่อไป

               

              พัฒนาโดย                      นายเอกภูมิ บุญธรรม

                                                  คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

                                                  156 หมู่ 5 ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000

                                                  โทรศัพท์ 055-267000

                                                  โทรสาร 055-267058                   

              ราคาเริ่มต้นที่  หากสนใจ สามารถติดต่อสอบถามเจ้าของสิ่งประดิษฐ์ได้โดยตรง

              พัฒนาภายใต้ โครงการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์เพื่อการผลิตระดับชุมชน

              ประจำปีงบประมาณ 2557

               

              ผู้พัฒนา ผู้ประกอบการ

              งบปี พ.ศ.: 
              2557
                แคตตาล็อกเทคโนโลยี
                ภาพหน้าปก: 

                เครื่องเหลาหวาย

                อ, 19/08/2014 - 10:59 — admin5
                รายละเอียด: 

                 

                ผู้พัเครื่องเหลาหวาย

                Hone Rattan Machine

                          เครื่องจักสานเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่ทรงคุณค่า และสามารถสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี การเหลาหวายนั้นถือได้ว่าเป็นขั้นตอนแรกของการเตรียมวัสดุในการทำเครื่องจักสานที่ต้องใช้ทักษะและแรงงานที่มีฝีมือ ซึ่งลักษณะการเหลาคล้ายการปอกผลไม้หรือเหลาดินสอ ทำให้ใช้เวลาค่อนข้างนานพอสมควร และคนที่สามารถทำงานด้านนี้เริ่มหายากในปัจจุบัน ดังนั้น หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จึงพัฒนา “เครื่องเหลาหวาย” ขึ้น ซึ่งมีแนวคิดคล้ายกับเครื่องกลึงของงานโลหะ โดยเปลี่ยนจากตัวโลหะมาเป็นหวายแทน และใช้ตัวเครื่องกลึง ที่มีแป้นหมุน 1 ด้าน มีตัวจำปาหรือตัวยึดอีก 1 ด้าน และมีใบมีดเป็นตัวปอกเหลา ทำให้ได้หวายที่มีขนาดสม่ำเสมอตลอดเส้น

                 
                 

                 

                 

                 

                 

                 

                 

                 

                 

                 

                 

                 

                 

                 

                 

                 


                คุณสมบัติและสมรรถนะ

                ·        ส่วนประกอบหลัก 4 ส่วน คือ ชุดหนีบชิ้นงานเข้าเครื่อง, ใบมีดสำหรับเหลา, ชุดหนีบชิ้นงานออก และชุดควบคุมเครื่อง  

                ·        ตัวเครื่องทำจากโลหะเคลือบสี มีชุดจับชิ้นงานป้อนเข้าสู่ใบมีด ผ่านไปยังใบมีดซึ่งทำหน้าที่เหลาผิวหวาย และยังมีส่วนที่หวายออกจากเครื่อง โดยมีตัวชุดจับชิ้นงานออกเหมือนด้านหน้า ภายในตัวเครื่องใช้แรงของมอเตอร์ขนาดใหญ่ เป็นตัวเหลาหวาย

                ·        สามารถปรับการทำงานรองรับขนาดของหวายได้หลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 มิลลิเมตร ไปจนถึงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 เซนติเมตร สามารถเหลาหวายได้ตลอดเส้นตั้งแต่ด้านหัวถึงด้านปลาย

                ·        ทำงานได้ต่อเนื่องเส้นต่อเส้น อัตราความเร็วในการเหลาหวาย 2 - 3 เส้นต่อนาที (ที่ความยาวเส้นหวาย 5 เมตร)

                ·        ตัวเครื่องสามารถปรับความเร็วของมอเตอร์ได้ เนื่องจากมีระบบเกียร์ทำให้การทำงานสะดวกมากขึ้น

                ·        สามารถประยุกต์ใช้กับไม้เหลี่ยม เช่น ไม้ระแนง เป็นต้น

                ราคาเริ่มต้นที่   180,000  บาท/เครื่อง

                พัฒนาภายใต้ โครงการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์เพื่อการผลิตระดับชุมชน

                พัฒนาโดย                 นายทวีวัฒน์  อารีย์พงศา

                                        มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 39 หมู่ 1 ถนนรังสิต-นครนายก (คลองหก) อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12110

                โทรศัพท์ 081-6321198  Email: a_thaweewat@hotmail.com

                ผู้ประกอบการ         กลุ่มหัตถกรรมผลิตภัณฑ์หวาย  55/57 หมู่6 ต.บึงคำพร้อย อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี 12150

                โทรศัพท์ : 081-4301068   โทรสาร  :  02-9878115

                 

                ฒนา
                ที่ปรึกษาด้านวิชาการ นายทวีวัฒน์ อารีย์พงศา ผู้จัดการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
                39 หมู่ 1 อาคารสำนักงานอธิการบดี (เดิม) ถนนรังสิต-นครนายก(คลองหก) อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12110
                ผู้ประกอบการ
                กลุ่มหัตถกรรมผลิตภัณฑ์หวาย นายไพเราะ ธรรมโชติ
                55/517 ตำบลบึงคำพร้อย อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12150

                งบปี พ.ศ.: 
                2557
                ภาพประกอบ: 
                เครื่องเหลาหวาย
                  แคตตาล็อกเทคโนโลยี
                  ภาพหน้าปก: 

                  เครื่องขึ้นรูปข้าวแต๋นอัตโนมัติ

                  อ, 19/08/2014 - 10:58 — admin5
                  รายละเอียด: 

                  เครื่องขึ้นรูปข้าวแต๋นอัตโนมัติ

                  กระบวนการผลิตข้าวแต๋นในปัจจุบันป็นแบบใช้แรงงานคนเกือบทั้งหมด ทำให้มีข้อจำกัดในด้านกำลังคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการขึ้นรูปให้เป็นแผ่นกลมก่อนที่จะนำไปอบหรือตากให้แห้งแล้วนำไปทอด สาเหตุที่การขึ้นรูปข้าวแต๋นเป็นกระบวนการที่ล่าช้า เนื่องจากข้าวเหนียวที่นำมาผลิตมีคุณสมบัติที่เหนียวติดมือและแม่พิมพ์  ทำให้ต้องใช้น้ำในการชุบแม่พิมพ์และมือผู้ผลิตตลอดเวลา อีกทั้งในการกดขึ้นรูปข้าวลงในแม่พิมพ์นั้นเมล็ดข้าวต้องไม่เสียรูป แตก หรือ ขาด นอกจากนี้ข้าวแต๋นที่ได้ต้องมีขนาดและน้ำหนักใกล้เคียงกัน

                  การออกแบบและพัฒนาเครื่องขึ้นรูปข้าวแต๋นเพื่อให้สามารถผลิตได้รวดเร็วทันตามความต้องการของตลาด ข้าวแต๋นมีขนาดและน้ำหนักใกล้เคียงกัน เครื่องที่พัฒนาขึ้นง่ายต่อการใช้งานและการซ่อมบำรุง สำหรับผู้ประกอบการหรือชุมชนที่ผลิตข้าวแต๋นเพื่อจำหน่าย ซึ่งช่วยให้ชุมชนพึ่งพาตนเอง และยังสามารถใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพการณ์ โดยมีราคาต้นทุนต่ำ และเป็นการส่งเสริมให้คนไทยคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาด้านการแปรรูปอาหารให้คงอยู่ต่อไป

                   

                  คุณสมบัติและสรรถนะของเครื่อง

                  1. กำลังไฟฟ้าที่ใช้ ต้นกำลังใช้มอเตอร์ ¼ แรงม้า 220 โวลต์ อัตราทดเฟืองขับ 70 ต่อ 1

                  2. ขนาดของเครื่องโดยประมาณ กว้าง 50 เซนติเมตร ยาว 50 เซนติเมตร สูง 90 เซนติเมตร น้ำหนัก 65 กิโลกรัม

                  3. ความเร็วในการหมุน 20 รอบต่อนาที

                  4. กำลังการผลิตสูงสุด 1200 แผ่นต่อชั่วโมง

                  5. วัสดุที่ใช้ Stainless Steel

                  6. ใช้ระบบควบคุมการทำงานที่เป็นกลไกทางกล เนื่องจากสามารถซ่อมบำรุงได้ง่าย

                  7. สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง

                   

                  พัฒนาโดย                      ผศ.เชษฐ์  อุทธิยัง

                                                      สาขาวิศวกรรมแม่พิมพ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์

                                                      มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ 

                                                      128 ถนนห้วยแก้ว ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300                                                   โทรศัพท์ 053-912444 ต่อ 2310                

                                                      โทรสาร 089-2011493

                                               Email:  chetrit@thaimail.com

                   

                   

                  ราคาเริ่มต้นที่  60,000  บาท/เครื่อง

                  พัฒนาภายใต้ โครงการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์เพื่อการผลิตระดับชุมชน

                  ประจำปีงบประมาณ 2557

                  งบปี พ.ศ.: 
                  2557
                  ภาพประกอบ: 
                  เครื่องขึ้นรูปข้าวแต๋นอัตโนมัติ
                  เครื่องขึ้นรูปข้าวแต๋นอัตโนมัติ
                    แคตตาล็อกเทคโนโลยี
                    ภาพหน้าปก: 
                    เนื้อหาแหล่งข่าว