โครงการพัฒนาเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ เพื่อการผลิตระดับชุมชน (RID)
เครื่องขึ้นรูปข้าวแต๋นอัตโนมัติ
เครื่องขึ้นรูปข้าวแต๋นอัตโนมัติ
กระบวนการผลิตข้าวแต๋นในปัจจุบันป็นแบบใช้แรงงานคนเกือบทั้งหมด ทำให้มีข้อจำกัดในด้านกำลังคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการขึ้นรูปให้เป็นแผ่นกลมก่อนที่จะนำไปอบหรือตากให้แห้งแล้วนำไปทอด สาเหตุที่การขึ้นรูปข้าวแต๋นเป็นกระบวนการที่ล่าช้า เนื่องจากข้าวเหนียวที่นำมาผลิตมีคุณสมบัติที่เหนียวติดมือและแม่พิมพ์ ทำให้ต้องใช้น้ำในการชุบแม่พิมพ์และมือผู้ผลิตตลอดเวลา อีกทั้งในการกดขึ้นรูปข้าวลงในแม่พิมพ์นั้นเมล็ดข้าวต้องไม่เสียรูป แตก หรือ ขาด นอกจากนี้ข้าวแต๋นที่ได้ต้องมีขนาดและน้ำหนักใกล้เคียงกัน
การออกแบบและพัฒนาเครื่องขึ้นรูปข้าวแต๋นเพื่อให้สามารถผลิตได้รวดเร็วทันตามความต้องการของตลาด ข้าวแต๋นมีขนาดและน้ำหนักใกล้เคียงกัน เครื่องที่พัฒนาขึ้นง่ายต่อการใช้งานและการซ่อมบำรุง สำหรับผู้ประกอบการหรือชุมชนที่ผลิตข้าวแต๋นเพื่อจำหน่าย ซึ่งช่วยให้ชุมชนพึ่งพาตนเอง และยังสามารถใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพการณ์ โดยมีราคาต้นทุนต่ำ และเป็นการส่งเสริมให้คนไทยคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาด้านการแปรรูปอาหารให้คงอยู่ต่อไป
คุณสมบัติและสรรถนะของเครื่อง
1. กำลังไฟฟ้าที่ใช้ ต้นกำลังใช้มอเตอร์ ¼ แรงม้า 220 โวลต์ อัตราทดเฟืองขับ 70 ต่อ 1
2. ขนาดของเครื่องโดยประมาณ กว้าง 50 เซนติเมตร ยาว 50 เซนติเมตร สูง 90 เซนติเมตร น้ำหนัก 65 กิโลกรัม
3. ความเร็วในการหมุน 20 รอบต่อนาที
4. กำลังการผลิตสูงสุด 1200 แผ่นต่อชั่วโมง
5. วัสดุที่ใช้ Stainless Steel
6. ใช้ระบบควบคุมการทำงานที่เป็นกลไกทางกล เนื่องจากสามารถซ่อมบำรุงได้ง่าย
7. สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง
พัฒนาโดย ผศ.เชษฐ์ อุทธิยัง
สาขาวิศวกรรมแม่พิมพ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่
128 ถนนห้วยแก้ว ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300 โทรศัพท์ 053-912444 ต่อ 2310
โทรสาร 089-2011493
Email: chetrit@thaimail.com
ราคาเริ่มต้นที่ 60,000 บาท/เครื่อง
พัฒนาภายใต้ โครงการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์เพื่อการผลิตระดับชุมชน
ประจำปีงบประมาณ 2557
เครื่องทำเกลียวผักตบชวา
เครื่องทำเกลียวจากเส้นผักตบชวา
สร้างเพื่อการต่อเส้นผักตบชวาให้มีความยาวไม่รู้จบเผื่อแก้ไข้ข้อจำกัดด้านความยาวในการผลิตงานฝีมือ และทดแทรแรงงาน
คุณสมบัติของเครื่อง
1 มีมอเตอร์เป็นตัวพากระสวยปล่อย และเก็บเส้นผักตบชวา
2 ตัวกระสวยสามารถถอดเข้าออกได้
3 มีตู้คอนโทรลควบคุมการทำงานของตัวเครื่อง
4 สามารถปรับความเร็วรอบได้
5 มีระบบป้องกันไฟฟ้ารั่ว
6 สามารถประยุกต์ใช้กับวัสดุอืนได้ เช่น เชื่อกกล้วย
ราคาเริ่มต้น 120000 บาท/เครื่อง
เครื่องกรอก-ปอกข้าวหลาม
เครื่องปอกและเครื่องกรอกข้าวหลาม ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ทำงานแทนพนักงาน โดยเครื่องกรอกข้าวหลามจะอยู่หลังขั้นตอนการผสมส่วนผสมทั้งหมด ประกอบด้วยข้าว ถั่ว เผือกและน้ำกะทิ คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วนำมากรอกใส่กระบอกข้าวหลาม ซึ่งปกติแล้วจะใช้มือในการกรอกก่อนเก็บไว้ในกระซัง ส่วนเครื่องปอกข้าวหลามจะถูกใช้งานหลังจากขั้นตอนการนึ่งข้าวหลามเสร็จแล้ว จากเดิมที่พนักงานจะใช้มีดในการปอกซึ่งบ่อยครั้งที่ทำให้เกิดอันตรายต่อพนักงาน
หลักการทำงานและลักษณะเด่นของเครื่องกรอกข้าวหลาม
1. ถังข้าว มีลักษณะเป็นรูปกรวยด้านบนมีลักษณะกว้างและด้านล่างแคบ เพื่อจะได้สะดวกในการเทข้าวหลามลงสู่กระบอกไม้ไผ่โดยจะผ่านการลำเลียงจากเกลียวลำเลียงโดยมีมอเตอร์ในการส่งกำลัง
2. ควบคุมโดยสวิตซ์เพื่อเปิด/ปิดการทำงานของเครื่อง
3. เครื่องสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว
หลักการทำงานและลักษณะเด่นของเครื่องปอกข้าวหลาม
1. การออกแบบโครงสร้างใช้เหล็กฉากขนาด 40 มิลลิเมตร หนา 4 มิลลิเมตร ที่มีลักษณะเป็นรูปกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยออกแบบให้โครงสร้างมีเสาขึ้น 6 เสาเพื่อรับแรงดึงจากระบบส่งกำลัง สร้างคานด้านบนจำนวน 4 คาน เพื่อรับแรงที่จะเกิดขึ้นจากเฟืองส่งกำลัง
2. ชุดควบคุมการทำงานของเครื่องปอกข้าวหลามทำงานด้วยระบบไฟฟ้าแบบกึ่งอัตโนมัติ ควบคุมการทำงานด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ใช้เบรกเกอร์เพื่อเป็นการควบคุมการเปิด-ปิด และมีสวิตช์หยุดการทำงานเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นระหว่างการทำงาน วงจรถูกออกแบบให้มีการทำงานแบบ 2 จังหวะ โดยใช้แมคเนติกคอนแทกเตอร์ ควบคุมการทำงานของมอเตอร์
3. มีสวิตช์การทำงาน 2 ตัว ควบคุมการหมุนของมอเตอร์ และใช้ลิมิตสวิตช์ในการหยุดการทำงานของมอเตอร์
4. ใช้เวลาในการปอกข้าวหลาม เพียงกระบอกละ 15-20 วินาที
พัฒนาโดย นายวิทยา หนูช่างสิงห์
สาขาวิศวกรรมการผลิตและเทคโนโลยีการผลิต
คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์
83 หมู่ที่ 11 ถนนสระบุรี-หล่มสัก ตำบลสะเดียง
อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ 67000
โทรศัพท์ 056-717124
โทรสาร 089-6398844
Email: wittaya_992000@yahoo.com
ราคาเริ่มต้นที่ 100,000 บาท/เครื่อง
พัฒนาภายใต้ โครงการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์เพื่อการผลิตระดับชุมชน
ประจำปีงบประมาณ 2557
ผู้พัฒนา ผู้ประกอบการ OTOP - ข้าวหลาม นายวิชัย พักอยู่
เอกสารประกอบ
เครื่องจักรกลงานไม้เอนกประสงค์
เครื่องจักรกลงานไม้เอนกประสงค์
- เป็นการประยุกต์เครื่องตัด เจาะ ไสไม้ที่มีอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน มาดัดแปลง ประกอบเข้าด้วยกันในชุดเดียวกัน ทำงานได้รวดเร็ว โดยนำคุณสมบัติที่เด่นของแต่ละเครื่องมาปรับปรุงให้ใช้งานได้ดีขึ้น
- เป็นเครื่องจักร ที่พัฒนาขึ้นด้วยกระบวนการวิศวกรรมย้อนรอย (ลอกแบบ และ/หรือ ดัดแปลง) จากเครื่องต้นแบบเครื่องเจาะรู, เครื่องไสไม้ ยี่ห้อ CHEN SHENG, เครื่องเลื่อยวงเดือนแบบตั้งพื้น เป็นต้น
เครื่องทำขนมผิง
เครื่องทำขนมผิง
หลักการทำงาน
เครื่องทำขนมผิงแบบใช้เกลียวอัดแป้งเข้าสู่รูรีดจำนวน 6 ท่อ แล้วทำการตัดด้วยชุดตัดแป้งทำขนมผิงลงถาด
คุณสมบัติและสมรรถนะของเครื่อง
1 ขนาด 0.5 x 1 x 0.5 เมตร
2 อัตรากำลังการผลิต 28.4 กิโลเมตร/ชั่วโมง
3 ชุดต้นกำลังใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ 220 โวลต์ ขนาด 1 แรงม้า
4 ชุดบดแบบเกลียวอัดมีความเร็วรอบประมาณ 140 รอบ/นาที
5 อัตราการใช้พลังงาน 2.06 บาท/ชั่วโมง
6 ชุดตัดแป้งมีความเร็วรอบ 135 รอบ/นาที
7 ชุดเลือนถาดดใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง 12 โวลต์ ที่ความเร็ว 55 รอบ/นาที
8 มีชุดสวิตช์ควบคุมทำหน้าที่เป็นชุดวงจรควบคุมไฟ้าและการทำงานของเครื่อง
ราคาเริ่มต้นที่ 50,000 บาท/เครื่อง
ผู้พัฒนา
นายธรรม์ณชาติ วันแต่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์
089 708 4648
ผู้ประกอบการ
กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรหนองตูมพัฒนา ต.หนองตูม อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย
เครื่องรีดเส้นใยสับปะรด
เครื่องสกัดแยกใยสับปะรดประสิทธิภาพสูงอัตโนมัติพร้อมใช้
การพัฒนาเครื่องผลิตใยสับปะรดอัตโนมัติ เป็นการพัฒนาต่อยอดจากเครื่องผลิตใยสับปะรดของอินเดีย โดยมีกำลังผลิตเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 80 เท่าเทียบกับการใช้แรงงานคน ซึ่งแรงงานคนสามารถสกัดเส้นใยสับปะรดได้เพียงวันละ 100-200 กรัมต่อแรงงาน 5 คนต่อวัน เมื่อเปลี่ยนมาเป็นเครื่องอัตโนมัติจะมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 3 กิโลกรัมต่อชั่วโมง สามารถผลิตเส้นใยสับปะรดได้ถึงวันละไม่น้อยกว่า 24 กิโลกรัมของใยสับปะรดแห้ง (ทำงาน 8 ชั่วโมง) หรือ 720 กิโลกรัมต่อเดือน นับว่าเป็นเครื่องที่มีกำลังการผลิตสูงที่สุดที่เคยมี และเป็นระบบอัตโนมัติเครื่องแรก ปัจจุบันมียอดการสั่งเส้นใยสับปะรดถึง 1,500 - 2,000 กิโลกรัมต่อเดือน ซึ่งหากใช้แรงงานจะสามารถทำได้แค่เดือนละไม่เกิน 10 กิโลกรัม แต่ถ้าเปลี่ยนมาเป็นระบบอัตโนมัติจะสามารถตอบสนองคำสั่งซื้อได้ เนื่องจากเพิ่มปริมาณการผลิตและสามารถลดการใช้แรงงานไปได้มหาศาล นอกจากนี้ การทำงานของเครื่องจักรจะมีความแน่นอน สามารถควบคุมขนาดของเส้นใยสับปะรดให้คงที่ได้ และมีความปลอดภัยกับผู้ใช้มากขึ้น
หลักการทำงานและจุดเด่น
เครื่องสกัดแยกใยสับปะรดฯ ประกอบด้วย โครงเครื่อง โต๊ะวางใบสับปะรด แผงยึดใบสับปะรด ชุดจับใบสับปะรด ชุดบดใบสับปะรด ชุดใบตี ถังเก็บเศษ โดยมีการทำงานดังนี้
1. เสียบใบสับปะรดที่เตรียมไว้กับแผงยึดใบสับปะรด แล้วแขวนไว้เพื่อเตรียมนำเข้าเครื่อง
2. วางแผงใบสับปะรดบนโต๊ะวางใบสับปะรด ยึดใบสับปะรดด้วยชุดจับใบสับปะรด แล้วกดปุ่ม “Start” เครื่องจะ feed ปลายใบสับปะรดเข้าชุดบดใบสับปะรด เพื่อให้ใบสับปะรดแบนและแผ่ออกด้วยความเร็วที่ตั้งไว้ด้วยตัวควบคุมความเร็วมอเตอร์ แล้วเลื่อนเข้าสู่ชุดใบตี
3. ใบตีจะตีแยกใยสับปะรดด้วยการขับของมอเตอร์ต้นกำลัง โดยเศษจะหล่นลงถังเก็บเศษ
4. ชุดจับใบสับปะรดจะเลื่อนเข้ามาจนสุดระยะแล้วจะวิ่งกลับสู่ตำแหน่งเริ่มต้นเพื่อรีดเศษออกจากใย เมื่อชุดจับเลื่อนถึงตำแหน่งเริ่มต้นแล้ว ปลดตัวล็อกของชุดจับใบสับปะรดออก นำแผงยึดใบสับปะรดที่สกัดแยกใยเสร็จแล้วออกจากเครื่อง แขวนแผงใยสับปะรดผึ่งลมบนราวแขวน แล้ววางแผงใบสับปะรดบนโต๊ะวางใบสับปะรดเพื่อสกัดแยกใยแผงต่อไป
พัฒนาโดย นายวีรพล ยิ้มสินสมบูรณ์
วิทยาลัยพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพะเยา เลขที่ 19 หมู่ 2 ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา 56000
โทรศัพท์ 0–5446–6666 ต่อ 3406 – 3408
โทรสาร 0–5446–6704
Email: yveerapol@hotmail.com
ราคาเริ่มต้นที่ 450,000 บาท/เครื่อง
พัฒนาภายใต้ โครงการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ เพื่อการผลิตระดับชุมชน
ประจำปีงบประมาณ 2557