- หน้าแรก
- แนะนำโครงการ
- โครงการสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า
- โครงการพัฒนาระบบอัตโนมัติ/สมาร์ทเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ของภาคการผลิตและบริการ
- โครงการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ เพื่อการผลิตระดับชุมชน
- โครงการประกวดสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา STI inventions contest 2025
- โครงการประกวดรางวัลเทคโนโลยียอดเยี่ยมด้านเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ (Machinery for Equipment and Machinery Awards; MA)
- ดาวน์โหลด
- กระดานสนทนา
- แผนที่เว็บไซต์
- ติดต่อเรา
โครงการพัฒนาเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ เพื่อการผลิตระดับชุมชน (RID)
โครงการพัฒนาประดิษฐกรรมเพื่อชนบท (ชื่อเดิม)
เครื่องทำปลาส้มชนิดแผ่นกลมกึ่งอัตโนมัติ(RID64)
รายละเอียด:
วิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาบ้านห้วยบง จดจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2549 รหัสทะเบียน 4-39-03-06/1-0007 มีจำนวนสมาชิก 20 คน ทำการแปรรูปปลาส้ม และปลาส้มชนิดแผ่นกลม โดยมีกำลังการผลิตปลาส้ม 100 กิโลกรัมต่อวัน ราคาขาย 120 บาท ต่อกิโลกรัม รายได้ขายปลาส้ม 360,000บาทต่อเดือน และปลาส้มชนิดแผ่นกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง ขนาด 60 มม. ความหนา 10 มม. จำนวน 300 กิโลกรัมต่อวัน ราคาขาย 120 บาทต่อกิโลกรัม รายได้ขายปลาส้มชนิดแผ่นกลม 1,080,000 บาทต่อเดือน ส้มไข่ปลา จำนวน 60 กิโลกรัมต่อวัน ราคาขาย 120 บาทต่อกิโลกรัม รายได้ขายส้มไข่ปลา 216,000 บาทต่อเดือน ส้มขี้ปลา จำนวน 60 กิโลกรัมต่อวัน ราคาขาย 40 บาทต่อกิโลกรัม รายได้ขายส้มขี้ปลา 72,000 บาทต่อเดือน ยอดจำน่ายผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาบ้านห้วยบง 1,728,000 บาทต่อเดือน จากการลงพื้นที่วันที่ 1 ธันวาคม 2563 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาบ้านห้วยบง มีความต้องการในการเพิ่มกำลังการผลิตปลาส้มชนิดแผ่นกลม และ พัฒนากระบวนการผลิตปลาส้มชนิดแผ่นกลมให้มีมาตรฐานให้มากขึ้น ปัญหาในกระบวนการผลิตปลาส้มชนิดแผ่นกลม ในกระบวนการปั้นปลาส้มชนิดแผ่นกลมด้วยมือ กำลังการผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของลูกค้า อีกทั้งกระบวนการผลิตยังใช้มือในการทำแผ่นกลมทำใช้กระบวนการผลิตไม่ได้มาตรฐาน รวมถึงมีการทางกลุ่มมีความต้องการเพิ่มกำลังการผลิตให้เพียงพอ ดังนั้นทีมนักวิจัยจึงมีแนวคิดในการออกแบบและพัฒนาเครื่องทำปลาส้มชนิดแผ่นกลมกึ่งอัตโนมัติ โดยเครื่องจักรที่ได้ออกแบบและพัฒนาช่วยในกระบวนการผลิตสามารถทำปลาส้มชนิดแผ่นกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง ขนาด 60 มม. ความหนา 10 มม. ได้จากเดิม 300 กิโลกรัมต่อวัน เป็น 600 กิโลกรัมต่อวัน สามารถเพิ่มกำลังกระบวนการผลิตปลาส้มชนิดแผ่นกลมให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ลดจำนวนพนักงานในกระบวนการปั้นปลาส้มแผ่นด้วยมือจาก 3 คน เหลือ 1 คน ปรับเปลี่ยนจากการปั้นแผ่นกลมด้วยมือมาเป็นเครื่องจักรทำให้กระบวนการมีมาตรฐานมากขึ้น เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีและสร้างเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ ในภาคการผลิตระดับชุมชนให้มีสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งานหรือผู้ประกอบการในระดับชุมชน
งบปี พ.ศ.:
2564 เครื่องคัดพุทราแบบแฟลบ(RID64)
รายละเอียด:
เครื่องคัดพุทราแบบแฟลบที่ได้นั้นสามารถเพิ่มกำลังการผลิตในการคัดผลผลิตลูกพุทราสดให้ได้หลายขนาดของลูกพุทราเพื่อให้สถานประกอบการได้วัตถุดิบที่ได้มาตรฐานและสร้างรายได้มากกว่าการขายผลผลิตในราคาคละผลผลิต ซึ่งจะเกิดช่องว่างและพ่อค้าคนกลางกดราคาเกษตรกร ซึ่งเครื่องที่ทางผู้ช่วยชาญตั้งใจพัฒนาขึ้นมา เพื่อให้เกษตรกรสามารถคัดลูกพุทราสดได้มากกว่า 6 ขนาดและลดแรงกระแทกขณะคัดวัตถุดิบ ดังนั้นวัตถุดิบที่ได้จะไม่ซ้ำ ไม่เกิดความเสียหายในขั้นตอนการคัดแยก ทำให้สินค้าสามารถเก็บรักษาได้นานยิ่งขึ้น และมีหลักการ การทำงานของเครื่องที่ง่ายเหมาะสำหรับ วิสาหกิจชุมชนเกษตรกรไม้ผลบ้านโพน อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์ เพื่อสามารถพัฒนาสินค้าให้ได้คุณภาพและผลิตสินค้าได้ทันตามเวลาของลูกค้า ซึ่งเครื่องจักรต้นแบบที่พัฒนาสามรถตอบโจทย์ทางกลุ่มฯ สามารถใช้งานได้ง่ายเครื่องจักรไม่ซับซ้อน มีคู่มือการใช้งานที่ทุกท่านปฏิบัติงานได้โดยไม่มีอุปสรรค
งบปี พ.ศ.:
2564 ตู้อบและรมควันปลาเม็งระบบอัตโนมัติ(RID64)
รายละเอียด:
“ปลาเม็ง” ภาคกลางเรียกว่า ปลาจีด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Heteropneustes fossilis (Bloch) เป็นปลาน้ำจืดที่ชนิดไม่มีเกล็ด ลำตัวมีสีดำ คล้ายกับปลาดุก แต่จะแตกต่างกันตรงที่ความยาวของฐานครีบหลังปลาเม็งเป็นปลาที่มี อวัยวะพิเศษสำหรับช่วยในการหายใจ จึงสามารถอาศัยในแหล่งน้ำที่มีออกซิเจนต่ำ ขนาดที่พบโดยทั่วไปจะมีความยาว ประมาณ 20 เซนติเมตร และมีรายงานว่าเคยพบขนาดความยาวสูงสุดถึง 30 เซนติเมตร เป็นปลาที่ค่อนข้างหายากและมีแนวโน้มที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ มีการแพร่กระจายและถิ่นที่อยู่อาศัยตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ทั่วไป ในประเทศอินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย และอินโดจีน ในปัจจุบันเฉพาะภาคใต้พบมากที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปลาเม็งจัดเป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งและถือเป็นปลาประจำท้องถิ่นของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยเฉพาะในอำเภอบ้านนาเดิม บ้านนาสาร พระแสงและเคียนซา นิยมเลี้ยงกันมากในพื้นที่ริมแม่น้ำตาปีและร่องปาล์มน้ำมัน ปลาเม็งนับวันจะหายากหรือมีปริมาณลดน้อยถอยลง เพราะปลาที่เลี้ยงนั้น ส่วนมากจะได้ลูกพันธุ์ปลาเม็งจากแหล่งน้ำธรรมชาติ แต่แหล่งน้ำธรรมชาติอันเป็นที่ อยู่อาศัยของสัตว์น้ำต่างๆ ก็เสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ ในปัจจุบัน ปลาเม็งในแหล่งน้ำธรรมชาติได้ถูกจับด้วยวิธีทำการประมงต่าง ๆ เพื่อสนองต่อความต้องการ ของตลาด ร้านอาหารและโรงแรมต่างๆ เป็นผลทำให้ปลาเม็งในแหล่งน้ำธรรมชาติลดจำนวนอย่างรวดเร็ว
เพราะปลาเม็งเป็นปลาที่มีรสชาติดี มีลักษณะเฉพาะที่มีเนื้อเหนียวเป็นเส้น ไม่เปื่อยยุ่ย และมีรสชาติหอมหวาน ทำให้ปัจจุบันเป็นที่ต้องการของตลาดนักกินเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะยำปลาเม็ง และต้มโคล้งปลาเม็ง อาหารขึ้นชื่อของ จ.สุราษฎร์ธานี โดยราคาปลาเม็งสดมีราคา กิโลกรัมละ 400-600 บาท และหากแปรรูปเป็นปลาเม็งตากแห้ง ปลารมควันจะทำให้ มีราคาประมาณ 2,400-3,500 บาทต่อกิโลกรัม โดยเมื่อนำมาทำอาหารเช่น ยำปลาเม็งตามภาพที่ 2 ซึ่งใช้เนื้อปลาเม็งเพียง 1 ขีดขายในราคา 400 บาท โดยกระบวนการแปรรูปปลาเม็งสดเป็นปลาเม็งตากแห้ง ปลารมควันดั้งเดิม มีกระบวนการโดยการนำมาปลาเม็งสด มาใส่เกลือเพื่อให้ปลาตาย หลังจากนั้นนำมาเสียบไม้นำไปตากแดด และนำไปรมควันบนตระแกรงเหล็กโดยใช้เชื้อเพลิงจากเปลือกกะลามะพร้าวหรือไม้ยางพารา
งบปี พ.ศ.:
2564 เครื่องเหลาไม้ไผ่สำหรับทำสุ่มโคมไฟ(RID64)
รายละเอียด:
หลังจากสิ้นสุดโครงการจะได้เครื่องเหลาไม้ไผ่ ที่ผลิตเส้นไม้ไผ่ที่มีขนาดสม่ำเสมอ เส้นไม้ไผ่ไม่แข็ง ดัดโค้งได้ง่าย เหมาะสำหรับผลิตสุ่มโคมไฟ ช่วยของเสียในกระบวนการผลิต เนื่องจากไม้ไผ่ที่สม่ำเสมอไม่เท่ากันทำให้เกิดของเสียเยอะ ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มรายได้ ให้กับกลุ่มโอทอป ทำให้เด็ก คนชรา และกลุ่มชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยปกติกลุ่มโอทอปผลิตสุ่มไก่ จะมีรายได้ประมาณ 20,000 บาท/เดือน แต่เมื่อหันมาทำสุ่มโคมไฟส่งให้กับบริษัทที่มีคำสั่งซื้อเข้ามา จะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 30,000 - 40,000 บาท/เดือน
เมื่อมีเครื่องเหลาไม่ไผ่ที่ได้ประสิทธิภาพ จะทำให้กลุ่มโอทอป สามารถผลิตสินค้าจำหน่ายได้แพร่หลายมากขึ้น นอกจากนี้การสร้างเครื่องจักนสามารถทดแทน และลดการนำเข้าเครื่องจักร โดยการใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตได้ในประเทศในการพัฒนาสร้างเครื่องจักร โดยเทคโนโลยีที่ใช้ของเครื่องจักรเป็นเทคโนโลยีที่ไม่สูงมาก เหมาะสำหรับชาวบ้าน ผลงานผลิตภัณฑ์ของกลุ่มสามารถนำไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องตกแต่ง เครื่องจักรสานแบบอื่น ๆ ได้หลากหลาย ทั้งที่ออกแบบเอง และผลิตตามแบบที่ลูกค้าต้องการ เครื่องจักรที่ออกแบบมาสามารถนำไปใช้กับชุมชนอื่น ๆ ได้อย่างหลากหลาย หรือจะเป็นต้นแบบเพื่อให้กลุ่มผู้ผลิตเครื่องจักรที่สนใจผลิตจำหน่ายในราคาที่ไม่สูงต่อไป
งบปี พ.ศ.:
2564 เครื่องตากแห้งกะปิแบบโรตารี่ใช้พลังงานความร้อนร่วมระบบกึ่งอัตโนมัติ(RID64)
รายละเอียด:
จากสภาพและปัญหาดังกล่าวหากได้มีการสร้างเครื่องจักร เครื่องมือ หรืออุปกรณ์เพื่อใช้แก้ปัญหาในการประกอบอาชีพของชุมชนได้ตามความต้องการของชุมชนและตามชนิดของการผลิตผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดก็จะเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนสามารถนำไปใช้ประกอบอาชีพและสร้างรายได้ทำให้อยู่ดีกินดี เศรษฐกิจทั้งในระดับชุมชน ระดับประเทศก็จะดีตามไปด้วยเช่นกัน ดังนั้นทางคณะผู้วิจัยจึงได้มีแนวคิดในการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการผลิตระดับชุมชนให้กับกลุ่มเกษตรกรแปรรูปอาหารทะเลตำบลท่าเคย ต.ท่าเคย อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี ได้แก่ เครื่องตากแห้งกะปิแบบโรตารี่ใช้พลังงานความร้อนร่วมระบบกึ่งอัตโนมัติ สำหรับเป็นต้นแบบในการผลิตกะปิเพื่อการจำหน่ายเชิงพาณิชย์ได้อย่างมีคุณภาพและสามารถผลิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีแม้สภาพภูมิอากาศไม่อำนวย โดยเฉพาะเครื่องจักรที่ผลิตขึ้นสามารถนำไปแก้ปัญหาในกระบวนการผลิตขั้นตอนที่ 1 ในการตากกุ้งเคย และกระบวนการผลิตขั้นตอนที่ 3 ในการตากแห้งกะปิสดซึ่งถือเป็นกระบวนการผลิตที่สำคัญที่สุดที่จะส่งผลต่อทั้งคุณภาพและรายได้ ทั้งนี้คณะผู้วิจัยมีแนวคิดที่จะสร้างเครื่องจักรต้นแบบสำหรับผลิตกะปิ
โดยมีรายละเอียดและหลักการทำงานโดยสังเขป ดังนี้
1. ใช้พลังงานความร้อนร่วม คือ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในขณะที่มีแสงแดดปกติและใช้ความร้อนจากเชื้อเพลิงแก๊สแบบอินฟาเรดขณะที่ไม่มีแสงแดดหรือในช่วงฤดูฝน
2. ภายในตัวเครื่องจะมีชั้นวางสำหรับตากกะปิแบบตาข่ายจำนวน 4 แผง ที่มีระบบหมุนเพื่อสลับแผงตากกะปิให้อยู่ด้านบนและด้านล่างสลับกันเพื่อให้กะปิแต่ละแผงได้รับความร้อนในปริมาณที่เท่ากันและป้องกันน้ำเคยหยดลงสู่แผงล่าง
3. แผงตากกะปิสามารถพลิกสลับด้านก่อนขึ้นสู่ตำแหน่งบนและพลิกกลับอีกด้านเมื่อเลื่อนลงสู่ตำแหน่งล่างโดยมีระบบกลไกภายในตัวเครื่องเป็นตัวควบคุมและเมื่อพลิกสลับด้านจะมีกลไกในการล็อคตำแหน่งป้องการการพลิกของแผง
4. มีเซนเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้นในตัวเครื่องเพื่อส่งสัญญาณไปยังมอเตอร์เพื่อให้ปรับลดหรือเพิ่มความเร็วรอบในการหมุนของแผงตากกะปิโ
5. มีระบบโซล่าเซลล์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ในระบบการเปิด-ปิดพัดลม
6. ด้านล่างของเครื่องจะทำเป็นแบบลาดเอียงเพื่อให้น้ำเคยที่หยดจากการตากกะปิไหลรวมลงสู่ภาชนะเพื่อนำไปใช้ประโยชน์เป็นน้ำปลาหรือน้ำเคยสำหรับประกอบในการทำอาหาร
งบปี พ.ศ.:
2564 เครื่องสกัดสารสมุนไพรด้วยคลื่นไมโครเวฟ RID63
รายละเอียด:
ในการสกัดสารสมุนไพรของกลุ่มส่วนใหญ่ใช้วิธีการหมักสมุนไพร โดยใช้แอลกอฮอล์ 95% แล้วนำไปกลั่นเพื่อสกัดสารสำคัญของสมุนไพร ซึ่งการสกัดแบบวิธีเดิมๆ ของกลุ่มประสบปัญหาคือ ได้สารสำคัญของสมุนไพรน้อย การสกัดด้วยวิธีแบบนี้ทำให้สาระสำคัญบางชนิดสูญเสียไป สมุนไพรบางชนิดต้องใช้เวลานานในการหมัก และต้องใช้ตัวทำละลายมาก ทำให้เกิดการสิ้นเปลือง ต้นทุนสูง สาระสำคัญบางชนิดได้น้อย และบางชนิดหายไป กลุ่มฯ จึงได้ปรึกษากับอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร แล้วพบว่าการสกัดสมุนไพรนั้นมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับชนิดของสมุนไพร กลุ่มฯ และอาจารย์ที่ปรึกษาได้ศึกษาวิธีการสกัดสารสำคัญของสมุนไพรวิธีต่างๆ จึงได้นำมาเปรียบเทียบกับวิธีการเดิมที่ทำอยู่แล้วพบว่า การสกัดด้วยคลื่นไมโครเวฟ (Microwave Extraction) มีข้อดีคือ ลดระยะเวลาในการหมัก ลดปริมาณการใช้ตัวทำละลาย การใช้คลื่นไมโครเวฟยังช่วยให้สามารถสกัดปริมาณสารสำคัญของสมุนไพรได้มากขึ้น และยังสามารถควบคุมอุณหภูมิในการสกัดได้ ทำให้กำหนดอุณหภูมิให้เหมาะสมกับสมุนไพรแต่ละชนิดได้ตามความเหมาะสม ทำให้สารสำคัญของสมุนไพรไม่สูญเสีย ด้วยสาเหตุที่ที่การสกัดด้วยวิธีดังกล่าวมีข้อดีดังที่กล่าวมาข้างต้น กลุ่มฯ และอาจารย์ทีปรึกษา จึงได้จัดทำโครงการและขอรับการสนับสนุนเครื่องสกัดสารสมุนไพรด้วยคลื่นไมโครเวฟ เพื่อใช้ในการกระบวนการผลิตของกลุ่ม ซึ่งคาดว่าจะช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชน เพิ่มมูลค่าสมุนไพร และยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ของกลุ่มให้มีมาตรฐานในระดับที่สูงขึ้น นอกจากนี้ ยังจะทำให้กลุ่มเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับกลุ่มวิสาหกิจ หรือผู้ผู้ประกอบการรายอื่นๆ ที่มีความสนใจต่อไป
งบปี พ.ศ.:
2563 เครื่องผลิตผงชาปลีกล้วยพร้อมบรรจุอัตโนมัติ RID63
รายละเอียด:
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกกล้วยน้ำว้าอำเภอบ้านธิ ได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาธุรกิจกับทางสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และศูนย์นวัตกรรมการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งได้รับการวิจัยและพัฒนาในส่วนของหัวปลี หรือปลีกล้วยเป็นผลิตภัณฑ์ “ชาปลีกล้วย” เป็นการเพิ่มมูลค่าปลีกล้วย จากปกติจะจำหน่ายให้กับพ่อค้าทั่วไปในราคาหัวละ 5 -10 บาท เมื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ “ชาปลีกล้วย” เพิ่มมูลค่าได้มากกว่า50 บาท หรือคิดเป็น 5 เท่า ของปลีกล้วยที่ขายโดยทั่วไป ด้านการตลาดได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคค่อนข้างดี แต่ติดขัดปัญหาในกระบวนการผลิตที่ยังไม่พร้อม เนื่องจากทำด้วยมือทั้งหมด ไม่มีการนำเครื่องจักรเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิต ทำให้ผลิตได้ปริมานน้อย ไมเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า ดังนั้น กลุ่มฯ จึงมีความประสงค์ขอรับการสนับสนุนเครื่องผลิตผงชาปลีกล้วยพร้อมบรรจุอัตโนมัติ เพื่อช่วยเพิ่มกำลังการผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า ช่วยลดต้นทุนการผลิต และช่วยในกระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของลูกค้าต่อไป
งบปี พ.ศ.:
2563 เครื่องสกัดน้ำแยกกากเสาวรส RID63
รายละเอียด:
วิสาหกิจชุมชนน้ำสมุนไพรใบโพธิ์ ต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นน้ำเสาวรสสดพร้อมดื่ม (ผ่านกระบวนการถนอมอาหารที่สามารถเก็บรักษาได้นาน) จึงเริ่มต้นความต้องการเครื่องสกัดน้ำแยกกากเสาวรสเพื่อให้ได้กำลังการผลิตน้ำเสาวรสสด จากเดิมที่ต้องใช้แรงงานคนในการผ่าและกวักเนื้อพร้อมแยกน้ำ ทำให้ใช้กำลังคนและเวลามาก ซึ่งไม่ทันต่อฤดูกาลที่เสาวรสออกผล ดังนั้นทางผู้ประกอบการจึงได้เสนอความต้องการเครื่องสกัดน้ำแยกกากเพื่อเตรียมผลิตให้ทันต่อฤดูกาลที่เสาวรสจะออกในช่วงเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน เพื่อเก็บรักษาน้ำเสารสเพื่อไปผ่านกระบวนการรักษาอายุต่อไป
งบปี พ.ศ.:
2563 โรงเรือนเลี้ยงไหมประสิทธิภาพสูงที่ควบคุมการทำงานด้วยระบบควบคุมอัตโนมัติ RID63
รายละเอียด:
ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตไหมและผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีและมีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งของโลก มีแรงงานในอุตสาหกรรมจำนวนมากและในแต่ละปีมีการส่งออกไหมและผลิตภัณฑ์ได้มูลค่ามากกว่าพันล้านบาท และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ จากข้อมูลของกรมศุลการกร ประมวลผลโดยกลุ่มเศรษฐกิจการตลาด สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ กรมหม่อนไหมพบว่า ปริมาณการนำเข้ารังไหม เส้นไหม ผ้าไหม และผลิตภัณฑ์ไหม (ม.ค.-ธ.ค.2556) เท่ากับ 7,420,109 ตัน หรือคิดเป็นมูลค่า 1,335,790,987บาท และปริมาณการส่งออกรังไหม เส้นไหม ผ้าไหม และผลิตภัณฑ์ไหม (ม.ค.-ธ.ค.2556) เท่ากับ 3,321,749 บาท หรือคิดเป็นมูลค่า 873,266,248 บาท โดยปริมาณการนำเข้ามากกว่าปริมาณการส่งออกคิดเป็นร้อยละ 123.38 ซึ่งคิดเป็นปริมาณที่ค่อนข้างมาก อาจจะกล่าวได้ว่าขาดดุลการค้าค่อนข้างมาก หากพิจารณาปริมาณการผลิตไหมหัตถกรรม ปี 2556 ในประเทศไทย พบว่า จำนวนของเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมภายในประเทศทั้งหมด 69,157 ราย โดยคิดเป็นพื้นที่ปลูกหม่อนเท่ากับ 40,053 ไร่ และปริมาณเส้นไหมที่สามารถผลิตได้ทั้งประเทศเท่ากับ 290,883 กิโลกรัม ซึ่งปริมาณดังกล่าวยังไม่เพียงพอกับความต้องการของคนในประเทศ และต่างประเทศด้วยเช่นกัน และสำหรับข้อมูลปริมาณการผลิตไหมหัตถกรรม ปี 2556 ในจังหวัดสุรินทร์ จากข้อมูลของกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า จังหวัดสุรินทร์ถือเป็นจังหวัดอันดับต้นของประเทศที่มีปริมาณการผลิตไหมหัตถกรรมค่อนข้างสูง มีปริมาณเส้นไหมที่ผลิตได้เท่ากับ 52,914 กิโลกรัม โดยมีจำนวนเกษตรกรทั้งจังหวัดเท่ากับ 10,198 รายในทุกอำเภอของจังหวัด และมีพื้นที่ในการปลูกหม่อนเท่ากับ 5,611 ไร่ โดยปริมาณเส้นไหมที่ผลิตได้คิดเป็นร้อยละ 18.19 ของปริมาณการผลินเส้นไหมได้ทั้งประเทศ
จากการลงสำรวจพื้นที่บ้านพญาราม หมู่ที่ 9 ตำบลเพี้ยราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งบ้านพญาราม ได้จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหมพญาราม และได้ส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ดังแสดงในรูปที่ 1 โดยมีนางโยธกา บุญมาก เป็นประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยมีแรงบันดาลใจจากการที่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงมีน้ำพระหฤทัยสนับสนุนกลุ่มทอผ้าทั่วทุกภาค จึงได้มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขึ้นมาโดยมีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเพื่อนำเส้นไหมมาทอ เริ่มการทอผ้าไหมด้วยกี่กระทบแบบโบราณและเป็นแบบกี่กระตุกในปัจจุบัน ลวดลายดั้งเดิมโดยได้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษ ซึ่งวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหมพญาราม มีการรวมกลุ่มเกษตรกรและจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ปัจจุบันมีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 151 ราย มีหม่อนแปลงรวม จำนวน 110 ไร่ และแปลงรายเดี่ยว จำนวน 100 ไร่ รวมทั้งสิ้น 210 ไร่ ดำเนินกิจกรรมปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ทอผ้า แปรรูปผลิตภัณฑ์จากหม่อนไหม ผลิตไข่ไหม ผลิตไหมวัยตัวอ่อนเพื่อจำหน่าย และผลิตเครื่องมืออุปกรณ์ในการสาวไหมและทอสำหรับไว้ให้ชาวบ้านพร้อมทั้งสมาชิกในกลุ่มได้ใช้งาน
รูปที่ 1 โรงเรือนเลี้ยงตัวหนอนไหมและลักษณะการเลี้ยงไหมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร
ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมพญารามบ้านพญาราม หมู่ที่ 9 ตำบลเพี้ยราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
ดังนั้นจากปัญหาที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ดังนั้นโครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาโรงเรือนเลี้ยงตัวหนอนไหมประสิทธิภาพสูงที่มีการควบคุมอุณหภูมิ และความชื้นภายในโรงเรือนที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงไหมทั้ง 5 วัย และเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของตัวหนอนไหมในฤดูกาลที่มีอุณหภูมิสูง เปรียบเทียบกับโรงเลี้ยงไหมที่มีการใช้อยู่เดิม ส่งผลทำให้ปริมาณการผลิตเส้นไหมและผ้าไหมของโรงงานเพิ่มสูงมากขึ้น ก่อให้เกิดผลกำไรเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน
งบปี พ.ศ.:
2563 เครื่องขึ้นรูปเตาดินเผาประสิทธิภาพสูงระบบกึ่งอัตโนมัติ RID63
รายละเอียด:
การหุงต้มอาหารในครัวเรือนของประชาชนในเขตชนบทส่วนใหญ่นิยมใช้เตาหุงต้มที่ใช้เชื้อเพลิงเป็นถ่านไม้หรือไม้ฟืน ซึ่งได้มีการใช้มาตั้งแต่ในอดีต เตาหุงต้มดังกล่าวมีการพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนไปน้อยมาก เมื่อเทียบกับเตาสมัยใหม่ ซึ่งเตาหุงต้มที่ใช้ถ่านไม้หรือไม้ฟืนที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเรียกว่า “เตาหุงต้มแบบดั้งเดิม” มีประสิทธิภาพการใช้งานเพียง 20% เท่านั้น และความแข็งแรงของตัวเตาหุงต้มน้อยเช่นกัน ดังนั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความแข็งแรงของตัวเตาหุงต้มจึงได้มีการหารือกับทางกลุ่มกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านใหม่ ประกอบกับปัจจุบันมีการส่งเสริมการใช้งานเตาหุงต้มประสิทธิภาพสูงในหลายภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐที่ต้องการส่งเสริมการใช้เตาซุปเปอร์อั้งโล่ประสิทธิภาพสูง ภาคเอกชนที่เพื่อนำไปจำหน่าย และชาวบ้านที่ต้องการซื้อเตาซุปเปอร์อั้งโล่ไปใช้เอง และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านใหม่ ตำบลตระแสง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ได้มีการรวมกลุ่มกันเพื่อผลิตเตาซุปเปอร์อั้งโล่ประสิทธิภาพสูงและเตาเนื้อย่างเกาหลีขึ้นเพื่อนำมาจำหน่าย ดังแสดงในรูปที่ 1 โดยสามารถสร้างรายได้จากการผลิตและจำหน่ายเตาอั้งโล่ให้กับสมาชิกในกลุ่ม และสามารถสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับสมาชิกในกลุ่มได้เป็นอย่างดี แต่จากการสำรวจพื้นที่ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่โรงปั้นเตาพบว่า การผลิตเตาอั้งโล่นั้นใช้การปั้นด้วยมือคนและในการปั้นเตาแต่ละครั้งจะสามารถปั้นได้ประมาณ 20 ตัว/คน/วัน ซึ่งถือว่าอยู่ในปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับความต้องการของตลาดที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเพื่อให้เพียงพอต้องความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นจึงจำเป็นต้องมีการสร้างเครื่องปั้นเตาขึ้นมาทดแทนการปั้นด้วยมือเพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตเตาให้ได้ตามจำนวนที่ต้องการ จากปัญหาที่เกิดขึ้นกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านใหม่ ทีมวิจัยได้ขอสรุปคือ การออกแบบ และสร้างเครื่องปั้นเตาที่มีกำลังการผลิตอยู่ที่ประมาณ 200 ตัว/วัน (เวลาในการผลิต 10 ชั่วโมงต่อวัน) เพื่อให้การผลิตเตาเนื้อย่างเพียงพอต่อความต้องการของตลาดและลดปัญหาอัตราการเจ็บป่วยของคนงานในการปั้นเตาด้วยมือ โดยการนำเอาเทคโนโลยีมาช่วยในกระบวนการผลิตและง่ายต่อการทำงาน ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เพิ่มศักยภาพความเข้มแข็งของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านใหม่ ได้เป็นอย่างดี
รูปที่ 1 การปั้นเตาซุปเปอร์อั้งโล่ด้วยมือของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านใหม่
ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบ และสร้างเครื่องปั้นเตาเนื้อย่างเกาหลี กึ่งอัตโนมัติ ที่สามารถทดแทนการปั้นด้วยมือ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตเตาเนื้อย่างเกาหลีอย่างน้อยประมาณ 200 ตัวต่อวันและเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการการใช้งานเครื่องปั้นเตาเนื้อย่างเกาหลี แบบกึ่งอัตโนมัติให้กับสมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านใหม่ ตำบลตระแสง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ และผู้ที่สนใจทั่วไป |
เพื่อให้สามารถแข่งขันทางด้านการผลิตเตาเนื้อย่างเกาหลี ด้านการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้งานในกระบวนการผลิต และด้านการตลาดต่อไปในอนาคต |
งบปี พ.ศ.:
2563