โครงการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า (VCE)
ระบบลิฟต์โดยสารสำหรับงานก่อสร้าง
โครงการพัฒนาสร้างระบบลิฟต์โดยสารสำหรับงานก่อสร้าง
ดำเนินการโดย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
ระยะเวลาของโครงการ 12 เดือน
หัวหน้าโครงการ รศ. ดร. ธัญญะ เกียรติวัฒน์
บริษัทที่ร่วมโครงการ บริษัท คอนสโก เอ็นเตอร์ไพรเซส จำกัด
ระบบขับเคลื่อนสำหรับลิฟต์โดยสารที่นำเสนอในโครงการนี้ จะมีสองรูปแบบ โดยรูปแบบที่ 1 ทำงานด้วยระบบขับเคลื่อนแบบ Rack and Pinion ระบบเบรคแบบ Centrifugal Clutch และรูปแบบที่ 2 ทำงานด้วยระบบขับเคลื่อนแบบ sling ระบบเบรคแบบ friction (บีบจับที่ราง) ซึ่งการวิเคราะห์และออกแบบจะต้องใช้องค์ความรู้ทางด้านการออกแบบเครื่องจักรกล (Machine Design) ร่วมกับการวิเคราะห์ทางด้านระบบพลศาสตร์เครื่องจักรกล (Kinematic and Kinematic of Machinery) ประสิทธิภาพของการเคลื่อนที่ อันประกอบไปด้วย Capacity (น้าหนักที่ยกได้) และความเร็วในการเคลื่อนที่ (Speed of Motion) จะถูกนำมาพิจารณาเพื่อหาจุด optimum ในการออกแบบระบบขับเคลื่อน ระบบความปลอดภัยจะต้องออกแบบให้ได้ตามหลักวิศวกรรม และมีความน่าเชื่อถือในการทำงาน เช่น ระบบปิด/เปิด ประตู (Door Mechanism) ระบบเบรคแบบ Frictionระบบเบรคแบบ Centrifugal Clutch อุปกรณ์ควบคุมความเร็ว (Speed Governor) และ อุปกรณ์รองรับการกระแทก (Buffer)
คุณลักษณะเฉพาะและสมรรถนะตามระบุในสัญญา
ลิฟต์สำหรับงานก่อสร้าง ทำงานด้วยระบบขับเคลื่อนแบบ Rack and Pinion จำนวน 1ชุด
- ลิฟต์ขนาด 1.50 x 2.30 x 3.00 เมตร
- มีความเร็วในการเคลื่อนที่ ที่ค่าสูงสุดไม่ต่ากว่า 30 m/min
- ความสูง 30 เมตร
- ระบบเบรคแบบ Centrifugal Clutch
ลิฟต์สำหรับงานก่อสร้าง ทำงานด้วยระบบขับเคลื่อนแบบ Sling จำนวน 1ชุด
- ลิฟต์ขนาด 1.50 x 2.30 x 3.00 เมตร
- มีความเร็วในการเคลื่อนที่ ที่ค่าสูงสุดไม่ต่ากว่า 40 m/min
- ความสูง 30 เมตร
- ระบบเบรคแบบ Friction (บีบจับที่ราง)
- โดยที่ลิฟต์ทั้งสองแบบ เคลื่อนที่อยู่บนแกน (Tower) เดียวกัน
ภาพที่ 4.1 แสดง ลักษณะตัวอย่าง Passenger Lift for Construction Works
ที่มา: ข้อเสนอโครงการพัฒนาสร้างระบบลิฟต์โดยสารสำหรับงานก่อสร้าง (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน)
เครื่องกรองอากาศในระบบอุตสาหกรรมหล่อโลหะแบบฝุ่นไม่ย้อนกลับ
โครงการพัฒนาสร้างเครื่องกรองอากาศในระบบอุตสาหกรรมหล่อโลหะแบบฝุ่นไม่ย้อนกลับ
ดำเนินการโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ระยะเวลาของโครงการ 6 เดือน
หัวหน้าโครงการ นายวรรณภพ กล่อมเกลี้ยง
บริษัทที่ร่วมโครงการ บริษัท ดี เอส ที แอล จำกัด
คุณลักษณะเฉพาะและสมรรถนะ
System parameters :
- รูปแบบการกรอง : ฝุ่น,ไอ,ควัน
- Extraction through Cover Hood
- ปริมาตรการกรอง 50,000 m3/hr
- ชนิดของฝุ่น ฝุ่น
- ภาระฝุ่นขาเข้า 100gms/Am3
- อุณหภูมิของก๊าซ สูงสุด 40 ถึง 50 องศาเซลเซียส
- Outlet Emission 15 mg/Nm3
อุปกรณ์แคสเคสกรองฝุ่น
- รุ่นตัวกรอง GTFSL 722/2.25/315
- พื้นที่ผ้ากรอง 473/442 m3
- วัสดุผ้ากรอง Polyester Needle Felt FC
- อุณหภูมิทำงานสูงสุด 150 องศาเซลเซียส สำหรับผ้า
- กลไกทำความสะอาด อากาศย้อนกลับความดันต่ำ
- ขนิดของการทำความสะอาด อากาศย้อนกลับโดยพัดลมอากาศย้อนกลับ
พัดลมจ่ายอากาศ
- ขนาด 50,000 m3/hr
- ยี่ห้อ EUROVENT
- รุ่น EUMC 1201
- อุณหภูมิการทำงาน สูงสุด 150 องศาเซลเซียส
- การขับ สายพานขับ
- ชนิดของพัดลม หมุนเหวี่ยงแบบโค้งกลับประสิทธิภาพสูง
- ความดันสถิตย์ 400mm.WG
- มอเตอร์ ABB 75 kW / 4 poles-China with Inverter Danfoss
- ประสิทธิภาพพัดลม 80 %
ที่มา: ข้อเสนอโครงการพัฒนาสร้างเครื่องกรองอากาศในระบบอุตสาหกรรมหล่อโลหะแบบฝุ่นไม่ย้อนกลับ (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี)
ภาพที่ 3.1 แสดง ระบบการทำงานของเครื่องกรองอากาศ
ที่มา: ข้อเสนอโครงการพัฒนาสร้างเครื่องกรองอากาศในระบบอุตสาหกรรมหล่อโลหะแบบฝุ่นไม่ย้อนกลับ (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี)
กังหันลมแนวนอนขนาด 1 กิโลวัตต์
โครงการพัฒนาสร้างกังหันลมแนวนอนขนาด 1 กิโลวัตต์
ดำเนินการโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ระยะเวลาของโครงการ 10เดือน
หัวหน้าโครงการ นายวรรณภพ กล่อมเกลี้ยง
บริษัทที่ร่วมโครงการ บริษัท ตะวันออกซินเทค จำกัด
แนวคิดการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์และเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยวิธีComputational Fluid Dynamicsแนวทางในการแก้ปัญหาของงานวิจัยนี้จะใช้การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และเขียนโปรแกรม คอมพิวเตอร์โดยวิธี Computational Fluid Dynamics และเก็บข้อมูลอุณหภูมิ จากหัววัดเซ็นเซอร์เพื่อใช้ใน การคำนวณหาความเร็ว อุณหภูมิ ของอากาศที่ปะทะกังหันลม
ภาพที่ 2.1 แสดง Horizontal Wind Turbine Model: AERO 1.0 kW.
ที่มา: ข้อเสนอโครงการพัฒนาสร้างกังหันลมแนวนอนขนาด 1 กิโลวัตต์ (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี)
กังหันลมแกนนอนแอร์โรคลาส ขนาด 1 กิโลวัตต์ |
|
ข้อมูลทั่วไป |
|
กำลัง |
1 kW (1000 Watts) |
น้ำหนักรวม |
~ 400 Kg. ไม่รวมฐาน |
กังหัน |
|
ประเภทกังหัน |
กังหันแกนนอน |
วัสดุกังหัน |
Advanced engineering composite polymer (Rim) |
สีกังหัน |
ขึ้นอยู่กับลูกค้า |
อุปกรณ์ไฟฟ้า |
|
เครื่องกำเนิดไฟฟ้า |
ประสิทธิภาพสูง, 1kW แบบแม่เหล็กถาวร |
อินเวอร์เตอร์ |
Integrated, On grid or 240 VDC |
ที่มา: ข้อเสนอโครงการพัฒนาสร้างกังหันลมแนวนอนขนาด 1 กิโลวัตต์ (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี)
เครื่องจับฝุ่นด้วยไฟฟ้าสถิตสำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวลระบบก๊าซซิฟิเคชั่น ขนาด 1.0 เมกะวัตต์
โครงการพัฒนาสร้างเครื่องจับฝุ่นด้วยไฟฟ้าสถิตสำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวลระบบก๊าซซิฟิเคชั่น ขนาด 1.0 MW
ดำเนินการโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
หัวหน้าโครงการ นายชวลิต รุ่งอิทธิวงศ์
บริษัทที่ร่วมโครงการ บริษัท เบสท์คูปเปอร์ จำกัด
เทคโนโลยีหลัก (Core Technology)
เป็นเครื่องกำจัดฝุ่นและยางไม้(Tar) Electrostatic Precipitator แบบ Tubular จากกระบวนการผลิต ก๊าซสังเคราะห์ (Synthesis Gas) จากชีวมวลด้วยระบบ Gasification สำหรับใช้กับโรงไฟฟ้าขนาด 1.0 MW ทำการกำจัดหรือจับฝุ่นละอองขนาดเล็กและน้ำมันดินจากยางไม้(Tar) ที่มีขนาดเล็กมากต่ำกว่า 10 ไมโครเมตร ไม่ให้เจือปนไปกับก๊าซหรือควัน เพื่อให้ได้ก๊าซเชื้อเพลิงหรือไอเสียที่สะอาดปราศจากสิ่งเจือปน ก่อนนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือปล่อยไอเสียออกสู่บรรยากาศ
ขนาด: Synthesis Gas Clean flow rate 4,500 – 5,500 m3/h
ประสิทธิภาพ: บำบัด Synthesis Gas ให้มี ยางไม้ tar <100 mg/m3 และ Dust < 60 mg/m3
ภาพที่ 1.1แสดง Electrostatic Precipitator
ที่มา: ข้อเสนอโครงการพัฒนาสร้างเครื่องจับฝุ่นด้วยไฟฟ้าสถิตสำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวลระบบก๊าซซิฟิเคชั่น ขนาด 1.0 MW
(มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ)
หลักการทำงานของ ESP มี 3 ขั้นตอน คือ
- การใส่ประจุไฟฟ้าให้กับอนุภาคฝุ่นละออง
- การเก็บอนุภาคฝุ่นละอองที่มีประจุโดยใช้แรงไฟฟ้าสถิตจากสนามไฟฟ้า
- การแยกอนุภาคฝุ่นละอองออกจากขั้วเก็บไปยังถังเก็บพัก
เครื่องดักจับฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิต (ESP) ในโครงการฯ ได้ออกแบบให้มีประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่นตั้งแต่ 99.6% ขึ้นไป โดยส่วนประกอบหลักของ ESP ประกอบด้วย 4 ส่วนสำคัญ ได้แก่
- ขั้วปล่อยประจุ (Discharge Electrode) มีลักษณะเป็นเส้นลวดกลม เรียงเป็นแนวตรง ขึงพาดระหว่างโครงเหล็กและปล่อยแรงดันไฟฟ้าสูง (High Voltage) ให้แก่ขั้วปล่อยประจุ เพื่อให้อากาศที่อยู่รอบเส้นลวดเกิดการแตกตัวเป็นโคโรนา และอิออนของก๊าซที่เกิดการแตกตัวและมีประจุลบจะชนกับอนุภาคและทำให้อนุภาคมีประจุลบ ระบบจ่ายแรงดันไฟฟ้าสูง (TR set) จะประกอบด้วยหม้อแปลง (Transformer) และตัวแปลงไฟฟ้ากระแสสลับเป็นกระแสตรง (Rectifier) โดยจะทำการแปลงไฟฟ้าจากแรงดัน 400 โวลต์ ให้ไม่น้อยกว่า 75,000 โวลต์ และเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสสลับเป็นกระแสตรง เพื่อจ่ายให้กับขั้วปล่อยประจุ
- ขั้วดักจับอนุภาค (Collection Electrode) มีลักษณะเป็นแผ่น (Plate) เพื่อให้สามารถรับปริมาณก๊าซได้มาก และได้ประสิทธิภาพสูงในการกักเก็บฝุ่น
- ถังพัก (Hopper) ออกแบบให้มีความชันค่อนข้างมากเพื่อให้ฝุ่นไหลลงไปที่วาล์วระบายด้านล่าง ก่อนที่จะถูกดึงออกไปด้วย Screw conveyor
- เครื่องเคาะแยกฝุ่น (Rapper) ใช้สำหรับเคาะเอาฝุ่นออกจากแผ่นเก็บ (Collection Electrode) โดยจะทำการติดตั้งที่บริเวณหลังคาของเครื่อง ESP