โครงการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า (VCE)

โครงการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า

เครื่องล้างถังอัตโนมัติ

จ, 02/02/2015 - 10:52 — admin5
รายละเอียด: 

โครงการพัฒนาสร้างเครื่องล้างถังอัตโนมัติ

ดำเนินการโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ระยะเวลาของโครงการ10 เดือน
หัวหน้าโครงการ นายวรรณภพ กล่อมเกลี้ยง
บริษัทที่ร่วมโครงการ บริษัท อาโอบะ เทคนอส จำกัด

การล้างถังด้วยระบบปิดอัตโนมัติเกิดจากการสร้างโฟมฟองอากาศจากสารเคมีอัดเข้าถัง เพื่อแช่ผลิตภัณฑ์ภายในถัง จากนั้นใช้ระบบการหมุนเวียนของสารเคมีในการล้างโดยอาศัยแรงดันจากปั๊มดึงเข้าเครื่องไฮโดรไซโครนเพื่อแยกตะกอนของเสียออกกจากสารเคมี นำสารเคมีกลับไปหมุนเวียนล้างถังต่อไป สุดท้ายใช้ ระบบการเป่าลมเข้าถังเพื่อทำให้ถังแห้ง

รายละเอียดของเครื่องที่จะพัฒนา

  1. Air compressor สำหรับสร้างลมเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตโฟมและขั้นตอนหลังการล้างถัง เพื่อทำให้ภายในถังแห้ง
  2. Hydro cyclone สำหรับแยกระหว่างของเหลวกับตะกอนของแข็งออกจากตะกอนที่ได้จากการล้าง
  3. Foam generator สำหรับสร้างโฟม เพื่อใช้ในการทำความสะอาด
  4. Centrifugal pump สำหรับเพิ่มแรงดันของเหลวในการทำความสะอาด
  5. Diaphragm pumps สำหรับดูดตะกอนออกจากตัวถัง เพื่อนำไปเข้า Hydro cyclone
  6. Screw pump สำหรับดึงตะกอนของแข็งออกจาก Hydro cyclone แล้วนำไปเก็บที่ storage tank
  7. 3D nozzle สำหรับฉีดทำความสะอาดภายในถัง
  8. Lift สำหรับเปิด-ปิดฝาถัง

ลักษณะโครงสร้าง

ชื่อเครื่องจักร-อุปกรณ์

เส้นสีม่วง

Foam Generator

หมายเลข 1

Screw Pump

เส้นสีเขียว

Chemical

หมายเลข 2

Air Compressor

เส้นสีฟ้า

Air

หมายเลข 3

Diaphragm Pump

เส้นสีน้าเงิน

Waste

หมายเลข 4

Centrifugal Pump

 

Sludge

หมายเลข 5

Hydro Cyclone

 

 

หมายเลข 6

Lift

 

 

หมายเลข 7

Foam Generator

 

 

หมายเลข 8

3D Nozzle

ภาพแสดง อุปกรณ์สำหรับเครื่องล้างถังอัตโนมัติ
ที่มา:  ข้อเสนอโครงการพัฒนาสร้างเครื่องล้างถังอัตโนมัติ(มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี)

งบปี พ.ศ.: 
2557
    แคตตาล็อกเทคโนโลยี
    ภาพหน้าปก: 

    ระบบโอโซนสำหรับบ่อเลี้ยงกุ้งแบบหนาแน่นและปลอดเชื้อ

    อ, 18/03/2014 - 14:44 — admin3
    รายละเอียด: 

    โครงการพัฒนาสร้างระบบโอโซนสำหรับบ่อเลี้ยงกุ้งหนาแน่นและปลอดเชื้อ
    ดำเนินการโดย สถาบันไทย-เยอรมัน
    ระยะเวลาของโครงการ 12 เดือน
    หัวหน้าโครงการ นายเอกสิทธิ์  สุโขธนัง
    บริษัทที่ร่วมโครงการ บริษัท มานพ แมคคานิคอล แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด  

              นวัตกรรมบ่อเลี้ยงกุ้งแบบหนาแน่นและปลอดเชื้อ เป็นระบบที่แก้ปัญหาให้กับธุรกิจประมงที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบน้ำมาโดยตลอด ดังนั้นโดยวิธีการเริ่มต้นเราต้องทำน้ำสะอาดโดยปราศจากเชื้อโรคก่อนแล้วมีการเติมออกซิเจนเข้าไปในน้ำโดยจบในระบบเดียวกันทั้งฆ่าเชื้อโรคแล้วให้ออกซิเจนในเวลาเดียวกัน เพื่อให้กุ้งเติบโตได้เร็ว ส่วนขั้นตอนต่อมาจัดทำเป็นระบบปิดให้มีการไหลเวียนของน้ำตลอดเวลา และจัดให้มีการเลี้ยงแยกตั้งแต่กุ้งอนุบาลไปจนถึงกุ้งใหญ่แต่จะเลี้ยงเป็นระบบวนลูปทั้งระบบเพื่อให้ได้กุ้งแต่ละช่วงเวลาที่มีความสมบูรณ์เต็มที่ โดยไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่มากแต่เน้นไปที่สามารถจับกุ้งขายได้ตลอดทุกเดือนมีรายได้ตลอด และลดความเสี่ยงในการที่จะเลี้ยงกุ้งกลางแจ้งซึ่งอาจเจอกับปัญหาหลายอย่างที่อาจมากับน้ำ หรือในอากาศก็ได้ ในระบบนี้เราสามารถนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยได้หลาย อาทิเช่น ระบบควบคุมอุณหภูมิน้ำในสภาวะที่ทำให้กุ้งโตได้ดีที่สุด, ควบคุมระบบฆ่าเชื้อและให้ออกซิเจนเพื่อให้กุ้งไม่ติดเชื้อและออกซิเจนไปเลี้ยงในพื้นที่อย่างเพียงพอ,ระบบจับกุ้งโดยอัตโนมัติหรือระบบให้อาหารกุ้งในแต่ช่วงอายุด้วยระบบอัตโนมัติ เป็นต้น ซึ่งเมื่อเทียบกับระบบดั้งเดิมที่มีความเสี่ยงสูงควบคุมอะไรไม่ได้ทำให้ขาดทุนได้ง่าย และเปลืองพื้นที่ในการใช้งาน ควบคุมระบบให้อาหารยากกว่า ทำให้สิ้นเปลืองเยอะแต่ให้ประสิทธิภาพต่ำ

              โดยวิธีการเริ่มต้นเราต้องทำน้ำสะอาดโดยปราศจากเชื้อโรคก่อนแล้วมีการเติมออกซิเจนเข้าไปในน้ำฆ่าเชื้อโรคแล้วให้ออกซิเจนในเวลาเดียวกัน เพื่อให้กุ้งเติบโตได้เร็ว ส่วนขั้นตอนต่อมาจัดทำเป็นระบบปิดให้มีการไหลเวียนของน้ำตลอดเวลา และจัดให้มีการเลี้ยงแยกตั้งแต่กุ้งอนุบาลไปจนถึงกุ้งใหญ่แต่จะเลี้ยงเป็นระบบวนลูปทั้งระบบเพื่อให้ได้กุ้งแต่ละช่วงเวลาที่มีความสมบูรณ์เต็มที่ ในระบบนี้เราสามารถนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยได้หลากหลาย อาทิเช่น ระบบควบคุมอุณหภูมิน้ำในสภาวะที่ทำให้กุ้งโตได้ดีที่สุด, ควบคุมระบบฆ่าเชื้อและให้ออกซิเจนเพื่อให้กุ้งไม่ติดเชื้อและออกซิเจนไปเลี้ยงในพื้นที่อย่างเพียงพอ,ระบบจับกุ้งโดยอัตโนมัติหรือระบบให้อาหารกุ้งในแต่ช่วงอายุด้วยระบบอัตโนมัติ เป็นต้น

    ผลงานเครื่องต้นแบบเชิงพาณิชย์พร้อมคุณลักษณะ

    (1) ระบบโครงสร้างขนาดบ่อเลี้ยง คอนกรีต 3 ขั้นตอน

    • ขั้นที่ 1 ขนาด 2x2x1 เมตร เลี้ยงกุ้งรุ่นหรือกุ้งอนุบาล 30 วัน
    • ขั้นที่ 2 ขนาด 2x2x1.5 เมตร เลี้ยงกุ้งรุ่น 30 วัน
    • ขั้นที่ 3 ขนาด 2x2x1.8 เมตร เลี้ยงกุ้งขุนพร้อมจับ 30 วัน

    (2) ระบบการทำน้ำสะอาด

    • ระบบสร้างโอโชน 10 กรัมต่อชั่วโมง จำนวน 2 ชุด
    • มอเตอร์สร้างระบบการไหลสร้างน้ำสะอาดขนาด 5 HP
    • ระบบ UV ขนาดความยาว 1.5 เมตร 130 วัตต์ จำนวน 4-8 หลอด (ขึ้นอยู่กับระยะส่งรอการคำนวณ)
    • ระบบมอเตอร์ระบบการไหลเวียนของน้ำ 5 HP
    • ระบบสร้างออกซิเจนสำหรับบ่อเลี้ยงจำนวน 3 ชุด (บ่อเลี้ยงละ 1 ชุด)
    • ระบบกรองไขมัน โปรตีน สิ่งปฏิกูล จำนวน 3 ชุด (บ่อเลี้ยงละ 1 ชุด)

    (3) ระบบบ่อพักน้ำและการเลี้ยงสาหร่าย

    • บ่อคอนกรีต 6x0.5x1 เมตร
    • ระบบกรอง และระบบฆ่าเชื้อด้วยจุลินทรีย์ จำนวน 1 ชุด
    • ระบบการเลี้ยงสาหร่ายไส้ไก่ เพื่อสร้างระบบนิเวศในบ่อเพื่อย่อยสลายแอมโมเนียที่เกิดจากระบบการเลี้ยงกุ้งในบ่อ
    งบปี พ.ศ.: 
    2557
      แคตตาล็อกเทคโนโลยี
      ภาพหน้าปก: 

      ระบบปรับอากาศที่ใช้พลังงานจากความร้อนแสงอาทิตย์เป็นพลังงานหลัก

      อ, 18/03/2014 - 14:41 — admin3
      รายละเอียด: 

      โครงการพัฒนาสร้างระบบปรับอากาศที่ใช้พลังงานจากความร้อนแสงอาทิตย์เป็นพลังงานหลัก
      ดำเนินการโดย สถาบันไทย-เยอรมัน
      ระยะเวลาของโครงการ12 เดือน
      หัวหน้าโครงการ นายเอกสิทธิ์  สุโขธนัง
      บริษัทที่ร่วมโครงการ บริษัท สยาม เอส แอนด์ เอ็นอี เอ็นจิเนิยริ่ง จำกัด

      เครื่องต้นแบบเชิงพาณิชย์พร้อมคุณลักษณะ

      • ระบบทำความเย็นเป็นชนิดดูดซึม (Absorption Refrigeration) โดยใช้ลิเธียมโบรไมด์–น้ำ เป็นสารทำความเย็น โดยมีค่า COP เท่ากับ 0.15-0.2.5 โดยประมาณขึ้นกับอุณหภูมิของ generator
      • มีความสามารถทำความเย็นสูงสุดเท่ากับ 5-8 TR หรือ 1.5-2 kW-hr โดยประมาณ
      • ใช้พลังงานความร้อนร่วมกับ LPG เป็นแหล่งพลังงานความร้อนสำรองในกรณีที่พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ไม่เพียงพอ
      • ห้องปรับอากาศขนาด 2x2.4x4 เมตร

      สร้างระบบปรับอากาศที่ใช้พลังงานจากความร้อนแสงอาทิตย์เป็นพลังงานหลักที่มีความสามารถ ในการทำความเย็น 10 TR โดยประมาณ หรือค่า COP ประมาณ 0.3-0.5 โดยประมาณ โดยใช้พลังงานความร้อนร่วมกับ LPG เป็นแหล่งพลังงานความร้อนสำรอง และพลังงานไฟฟ้าสำรองจากแผงโซล่าเซล โดยอุปกรณ์ต่างๆ อยู่บนฐานที่สามารถเคลื่อนที่เพื่อนำไปใช้งานในที่ต่างๆได้         

      หลักของระบบทำความเย็นแบบดูดซึม

      ในการพัฒนาระบบทำความเย็นแบบดูดซึมในระยะแรกก่อนปี 1960 เป็นระบบดุดซึมแบบชั้นเดียว โดยใช้สารลิเธียมโบไมด์เป็นสารดูดซึมและใช้น้ำเป็นสารทำความเย็น ต่อมามีการพัฒนาประสิทธิภาพของระบบให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยการพัฒนาระบบดูดซึมแบบสองชั้น (Double Effect Absorption Chiller)


      ภาพที่ 1  แสดง เครื่องทำความเย็นระบบดูดซึมแบบสองชั้นของ YORK

      ภาพที่ 2 แสดงระบบทำความเย็นแบบดูดซึมพลังงานแสงอาทิตย์แบบใช้รางพาราโบลิก

      ที่มา:  ข้อเสนอโครงการพัฒนาสร้างระบบปรับอากาศที่ใช้พลังงานจากความร้อนแสงอาทิตย์เป็นพลังงานหลัก(สถาบันไทย-เยอรมัน)

      งบปี พ.ศ.: 
      2557
        แคตตาล็อกเทคโนโลยี
        ภาพหน้าปก: 

        เครื่องจ่ายวัคซีน

        อ, 18/03/2014 - 14:37 — admin3
        รายละเอียด: 

        โครงการพัฒนาสร้างเครื่องจ่ายวัคซีน
        ดำเนินการโดย สมาคมเครื่องจักรกลไทย
        ระยะเวลาของโครงการ 10 เดือน
        หัวหน้าโครงการ นายวุตตินันต์  พรหมมาศ
        บริษัทที่ร่วมโครงการ บริษัท เจ.อาร์.แอล. สยาม จำกัด (จ.สมุทรปราการ)

        เทคโนโลยีหลัก (Core Technology)

        1. ความแม่นยำในการจ่ายวัคซีน,ยา
        2. Intelligence Software Control
        3. โปรแกรมการควบคุมเวลาในการจ่ายวัคซีน,ยา

        ขนาดและราคาจำหน่าย ของเครื่องจักร เครื่องมือ และ อุปกรณ์ 

        • ขนาดเล็ก: 20x20x150CM
          ราคา จำหน่ายโดยประมาณ: 9,000 บาท
        • ขนาดใหญ่สุด: 40x40x200CM
          ราคา จำหน่ายโดยประมาณ: 15,000 บาท


        ภาพที่ 1  แสดง แผนผังแสดงการทำงานของเครื่องจ่ายวัคซีน
        ที่มา:  ข้อเสนอโครงการพัฒนาสร้างเครื่องจ่ายวัคซีน(สมาคมเครื่องจักรกลไทย)

        งบปี พ.ศ.: 
        2557
          แคตตาล็อกเทคโนโลยี
          ภาพหน้าปก: 

          ระบบชี้วัดการเจริญเติบโตของสัตว์ปีกในอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อไก่

          อ, 18/03/2014 - 14:35 — admin3
          รายละเอียด: 

          โครงการพัฒนาสร้างระบบชี้วัดการเจริญเติบโตของสัตว์ปีกในอุตสาหกรรมการผลิตไก่เนื้อ
          ดำเนินการโดย สมาคมเครื่องจักรกลไทย
          ระยะเวลาของโครงการ 10 เดือน
          หัวหน้าโครงการ นางสาวชญาภา  กาญจนาการุณวงศ์
          บริษัทที่ร่วมโครงการ บริษัท อกรินโนเวท จำกัด  (จ. สมุทรปราการ)

          เทคโนโลยีหลัก (Core Technology)

          1. โครงสร้างกระทัดรัด ง่ายต่อการติดตั้ง และมีกลไกรับน้ำหนักที่ช่วยลดอาการบาดเจ็บของไก่
          2. ระบบควบคุมซอฟต์แวร์อัจฉริยะ
          3. โปรแกรมการเก็บค่าน้ำหนักในแต่ละช่วงอายุของไก่

          เป็นการพัฒนาสร้าง เครื่องมือ และอุปกรณ์ ขึ้นใหม่โดยกระบวนการวิศวกรรมย้อนรอย โดยศึกษาเครื่องต้นแบบ ยี่ห้อ Agrologic ของประเทศอิสราเอล
          ขนาดและราคาจำหน่าย ของเครื่องจักร เครื่องมือ และ อุปกรณ์ 

          • ขนาดเล็ก:      30x30x200CM (2จุดวัด)
            ราคาจำหน่ายโดยประมาณ:  15,000   บาท
          • ขนาดใหญ่สุด:  30x30x200CM (4จุดวัด)
            ราคาจำหน่ายโดยประมาณ:  30,000   บาท


          ภาพที่ 1  แสดง แผนผังแสดงการทำงานของระบบควบคุมระบบชี้วัดการเจริญเติบโตของสัตว์ปีกในอุตสาหกรรมการผลิตไก่เนื้อ
          ที่มา: ข้อเสนอโครงการพัฒนาสร้างระบบชี้วัดการเจริญเติบโตของสัตว์ปีกในอุตสาหกรรมการผลิตไก่เนื้อ (สมาคมเครื่องจักรกลไทย)

          งบปี พ.ศ.: 
          2557
            แคตตาล็อกเทคโนโลยี
            ภาพหน้าปก: 

            ระบบลิฟต์โดยสารสำหรับงานก่อสร้าง

            อ, 18/03/2014 - 14:30 — admin3
            รายละเอียด: 

            โครงการพัฒนาสร้างระบบลิฟต์โดยสารสำหรับงานก่อสร้าง
            ดำเนินการโดย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
            ระยะเวลาของโครงการ 12 เดือน
            หัวหน้าโครงการ รศ. ดร. ธัญญะ เกียรติวัฒน์
            บริษัทที่ร่วมโครงการ บริษัท คอนสโก เอ็นเตอร์ไพรเซส จำกัด

                   ระบบขับเคลื่อนสำหรับลิฟต์โดยสารที่นำเสนอในโครงการนี้ จะมีสองรูปแบบ โดยรูปแบบที่ 1 ทำงานด้วยระบบขับเคลื่อนแบบ Rack and Pinion ระบบเบรคแบบ Centrifugal Clutch และรูปแบบที่ 2 ทำงานด้วยระบบขับเคลื่อนแบบ sling ระบบเบรคแบบ friction (บีบจับที่ราง) ซึ่งการวิเคราะห์และออกแบบจะต้องใช้องค์ความรู้ทางด้านการออกแบบเครื่องจักรกล (Machine Design) ร่วมกับการวิเคราะห์ทางด้านระบบพลศาสตร์เครื่องจักรกล (Kinematic and Kinematic of Machinery) ประสิทธิภาพของการเคลื่อนที่ อันประกอบไปด้วย Capacity (น้าหนักที่ยกได้) และความเร็วในการเคลื่อนที่ (Speed of Motion) จะถูกนำมาพิจารณาเพื่อหาจุด optimum ในการออกแบบระบบขับเคลื่อน ระบบความปลอดภัยจะต้องออกแบบให้ได้ตามหลักวิศวกรรม และมีความน่าเชื่อถือในการทำงาน เช่น ระบบปิด/เปิด ประตู (Door Mechanism) ระบบเบรคแบบ Frictionระบบเบรคแบบ Centrifugal Clutch อุปกรณ์ควบคุมความเร็ว (Speed Governor) และ อุปกรณ์รองรับการกระแทก (Buffer)

            คุณลักษณะเฉพาะและสมรรถนะตามระบุในสัญญา
            ลิฟต์สำหรับงานก่อสร้าง ทำงานด้วยระบบขับเคลื่อนแบบ Rack and Pinion จำนวน 1ชุด

            • ลิฟต์ขนาด 1.50 x 2.30 x 3.00 เมตร
            • มีความเร็วในการเคลื่อนที่ ที่ค่าสูงสุดไม่ต่ากว่า 30 m/min
            • ความสูง 30 เมตร
            • ระบบเบรคแบบ Centrifugal Clutch

            ลิฟต์สำหรับงานก่อสร้าง ทำงานด้วยระบบขับเคลื่อนแบบ Sling จำนวน 1ชุด

            • ลิฟต์ขนาด 1.50 x 2.30 x 3.00 เมตร
            • มีความเร็วในการเคลื่อนที่ ที่ค่าสูงสุดไม่ต่ากว่า 40 m/min
            • ความสูง 30 เมตร
            • ระบบเบรคแบบ Friction (บีบจับที่ราง)
            • โดยที่ลิฟต์ทั้งสองแบบ เคลื่อนที่อยู่บนแกน (Tower) เดียวกัน

            ภาพที่ 4.1  แสดง ลักษณะตัวอย่าง Passenger Lift for Construction Works

            ที่มา: ข้อเสนอโครงการพัฒนาสร้างระบบลิฟต์โดยสารสำหรับงานก่อสร้าง (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน)

            งบปี พ.ศ.: 
            2557
              แคตตาล็อกเทคโนโลยี
              ภาพหน้าปก: 

              เครื่องกรองอากาศในระบบอุตสาหกรรมหล่อโลหะแบบฝุ่นไม่ย้อนกลับ

              อ, 18/03/2014 - 14:26 — admin3
              รายละเอียด: 

              โครงการพัฒนาสร้างเครื่องกรองอากาศในระบบอุตสาหกรรมหล่อโลหะแบบฝุ่นไม่ย้อนกลับ
              ดำเนินการโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
              ระยะเวลาของโครงการ 6 เดือน
              หัวหน้าโครงการ นายวรรณภพ  กล่อมเกลี้ยง
              บริษัทที่ร่วมโครงการ บริษัท ดี เอส ที แอล จำกัด

              คุณลักษณะเฉพาะและสมรรถนะ

              System parameters :

              • รูปแบบการกรอง :                ฝุ่น,ไอ,ควัน
              • Extraction through         Cover Hood
              • ปริมาตรการกรอง                  50,000 m3/hr
              • ชนิดของฝุ่น                         ฝุ่น
              • ภาระฝุ่นขาเข้า                     100gms/Am3
              • อุณหภูมิของก๊าซ                   สูงสุด 40 ถึง 50 องศาเซลเซียส
              • Outlet Emission                 15 mg/Nm3

              อุปกรณ์แคสเคสกรองฝุ่น

              • รุ่นตัวกรอง                          GTFSL 722/2.25/315
              • พื้นที่ผ้ากรอง                       473/442 m3
              • วัสดุผ้ากรอง                        Polyester Needle Felt FC
              • อุณหภูมิทำงานสูงสุด             150 องศาเซลเซียส สำหรับผ้า
              • กลไกทำความสะอาด              อากาศย้อนกลับความดันต่ำ
              • ขนิดของการทำความสะอาด      อากาศย้อนกลับโดยพัดลมอากาศย้อนกลับ

              พัดลมจ่ายอากาศ

              • ขนาด                                50,000 m3/hr
              • ยี่ห้อ                                  EUROVENT
              • รุ่น                                    EUMC 1201
              • อุณหภูมิการทำงาน                สูงสุด 150 องศาเซลเซียส
              • การขับ                               สายพานขับ
              • ชนิดของพัดลม                     หมุนเหวี่ยงแบบโค้งกลับประสิทธิภาพสูง
              • ความดันสถิตย์                     400mm.WG
              • มอเตอร์                             ABB 75 kW / 4 poles-China with Inverter Danfoss
              • ประสิทธิภาพพัดลม               80 %

              ที่มา: ข้อเสนอโครงการพัฒนาสร้างเครื่องกรองอากาศในระบบอุตสาหกรรมหล่อโลหะแบบฝุ่นไม่ย้อนกลับ (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี)

              ภาพที่ 3.1  แสดง ระบบการทำงานของเครื่องกรองอากาศ
              ที่มา: ข้อเสนอโครงการพัฒนาสร้างเครื่องกรองอากาศในระบบอุตสาหกรรมหล่อโลหะแบบฝุ่นไม่ย้อนกลับ (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี)

              งบปี พ.ศ.: 
              2557
                แคตตาล็อกเทคโนโลยี
                ภาพหน้าปก: 

                กังหันลมแนวนอนขนาด 1 กิโลวัตต์

                อ, 18/03/2014 - 14:23 — admin3
                รายละเอียด: 

                โครงการพัฒนาสร้างกังหันลมแนวนอนขนาด 1 กิโลวัตต์
                ดำเนินการโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
                ระยะเวลาของโครงการ 10เดือน
                หัวหน้าโครงการ นายวรรณภพ  กล่อมเกลี้ยง
                บริษัทที่ร่วมโครงการ บริษัท ตะวันออกซินเทค จำกัด

                แนวคิดการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์และเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยวิธีComputational Fluid Dynamicsแนวทางในการแก้ปัญหาของงานวิจัยนี้จะใช้การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และเขียนโปรแกรม คอมพิวเตอร์โดยวิธี Computational Fluid Dynamics และเก็บข้อมูลอุณหภูมิ จากหัววัดเซ็นเซอร์เพื่อใช้ใน การคำนวณหาความเร็ว อุณหภูมิ ของอากาศที่ปะทะกังหันลม


                ภาพที่ 2.1  แสดง Horizontal Wind Turbine Model: AERO 1.0 kW.
                ที่มา: ข้อเสนอโครงการพัฒนาสร้างกังหันลมแนวนอนขนาด 1 กิโลวัตต์ (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี)

                กังหันลมแกนนอนแอร์โรคลาส ขนาด 1 กิโลวัตต์

                ข้อมูลทั่วไป

                กำลัง

                1 kW (1000 Watts)

                น้ำหนักรวม

                ~ 400 Kg. ไม่รวมฐาน

                กังหัน

                ประเภทกังหัน

                กังหันแกนนอน

                วัสดุกังหัน

                Advanced   engineering  composite  polymer (Rim)

                สีกังหัน

                ขึ้นอยู่กับลูกค้า

                อุปกรณ์ไฟฟ้า

                เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

                ประสิทธิภาพสูง, 1kW แบบแม่เหล็กถาวร

                อินเวอร์เตอร์

                Integrated, On grid or 240 VDC

                 

                 

                 

                 

                 

                 

                 

                 

                 

                 

                 

                 

                 

                ที่มา: ข้อเสนอโครงการพัฒนาสร้างกังหันลมแนวนอนขนาด 1 กิโลวัตต์ (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี)

                งบปี พ.ศ.: 
                2557
                  แคตตาล็อกเทคโนโลยี
                  ภาพหน้าปก: 

                  เครื่องจับฝุ่นด้วยไฟฟ้าสถิตสำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวลระบบก๊าซซิฟิเคชั่น ขนาด 1.0 เมกะวัตต์

                  อ, 18/03/2014 - 14:18 — admin3
                  รายละเอียด: 

                  โครงการพัฒนาสร้างเครื่องจับฝุ่นด้วยไฟฟ้าสถิตสำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวลระบบก๊าซซิฟิเคชั่น ขนาด 1.0 MW
                  ดำเนินการโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
                  หัวหน้าโครงการ นายชวลิต รุ่งอิทธิวงศ์
                  บริษัทที่ร่วมโครงการ บริษัท เบสท์คูปเปอร์ จำกัด

                         เทคโนโลยีหลัก (Core Technology)
                         เป็นเครื่องกำจัดฝุ่นและยางไม้(Tar) Electrostatic Precipitator แบบ Tubular  จากกระบวนการผลิต ก๊าซสังเคราะห์ (Synthesis Gas) จากชีวมวลด้วยระบบ Gasification สำหรับใช้กับโรงไฟฟ้าขนาด 1.0 MW ทำการกำจัดหรือจับฝุ่นละอองขนาดเล็กและน้ำมันดินจากยางไม้(Tar) ที่มีขนาดเล็กมากต่ำกว่า 10 ไมโครเมตร ไม่ให้เจือปนไปกับก๊าซหรือควัน เพื่อให้ได้ก๊าซเชื้อเพลิงหรือไอเสียที่สะอาดปราศจากสิ่งเจือปน ก่อนนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงหรือปล่อยไอเสียออกสู่บรรยากาศ
                  ขนาด:    Synthesis Gas Clean flow rate 4,500 – 5,500 m3/h
                  ประสิทธิภาพ:  บำบัด Synthesis Gas ให้มี ยางไม้ tar <100 mg/m3 และ Dust < 60 mg/m3

                  ภาพที่ 1.1แสดง Electrostatic Precipitator

                  ที่มา: ข้อเสนอโครงการพัฒนาสร้างเครื่องจับฝุ่นด้วยไฟฟ้าสถิตสำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวลระบบก๊าซซิฟิเคชั่น ขนาด 1.0 MW
                  (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ)

                  หลักการทำงานของ ESP มี 3 ขั้นตอน คือ

                  • การใส่ประจุไฟฟ้าให้กับอนุภาคฝุ่นละออง
                  • การเก็บอนุภาคฝุ่นละอองที่มีประจุโดยใช้แรงไฟฟ้าสถิตจากสนามไฟฟ้า
                  • การแยกอนุภาคฝุ่นละอองออกจากขั้วเก็บไปยังถังเก็บพัก

                  เครื่องดักจับฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิต (ESP) ในโครงการฯ ได้ออกแบบให้มีประสิทธิภาพในการดักจับฝุ่นตั้งแต่ 99.6% ขึ้นไป โดยส่วนประกอบหลักของ ESP ประกอบด้วย 4 ส่วนสำคัญ ได้แก่

                  1. ขั้วปล่อยประจุ (Discharge Electrode) มีลักษณะเป็นเส้นลวดกลม เรียงเป็นแนวตรง ขึงพาดระหว่างโครงเหล็กและปล่อยแรงดันไฟฟ้าสูง (High Voltage) ให้แก่ขั้วปล่อยประจุ เพื่อให้อากาศที่อยู่รอบเส้นลวดเกิดการแตกตัวเป็นโคโรนา และอิออนของก๊าซที่เกิดการแตกตัวและมีประจุลบจะชนกับอนุภาคและทำให้อนุภาคมีประจุลบ ระบบจ่ายแรงดันไฟฟ้าสูง (TR set) จะประกอบด้วยหม้อแปลง (Transformer) และตัวแปลงไฟฟ้ากระแสสลับเป็นกระแสตรง (Rectifier) โดยจะทำการแปลงไฟฟ้าจากแรงดัน 400 โวลต์ ให้ไม่น้อยกว่า 75,000 โวลต์ และเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสสลับเป็นกระแสตรง เพื่อจ่ายให้กับขั้วปล่อยประจุ
                  2. ขั้วดักจับอนุภาค (Collection Electrode) มีลักษณะเป็นแผ่น (Plate) เพื่อให้สามารถรับปริมาณก๊าซได้มาก และได้ประสิทธิภาพสูงในการกักเก็บฝุ่น
                  3. ถังพัก (Hopper) ออกแบบให้มีความชันค่อนข้างมากเพื่อให้ฝุ่นไหลลงไปที่วาล์วระบายด้านล่าง ก่อนที่จะถูกดึงออกไปด้วย Screw conveyor
                  4. เครื่องเคาะแยกฝุ่น (Rapper) ใช้สำหรับเคาะเอาฝุ่นออกจากแผ่นเก็บ (Collection Electrode) โดยจะทำการติดตั้งที่บริเวณหลังคาของเครื่อง ESP
                  งบปี พ.ศ.: 
                  2557
                    แคตตาล็อกเทคโนโลยี
                    ภาพหน้าปก: 

                    กังหันลมแนวนอนขนาด 1 กิโลวัตต์

                    อ, 18/03/2014 - 13:38 — admin3
                    งบปี พ.ศ.: 
                    2557
                      แคตตาล็อกเทคโนโลยี
                      ภาพหน้าปก: 
                      เนื้อหาแหล่งข่าว