โครงการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า (VCE)

โครงการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า

เครื่องบดและอัดเม็ดเชื้อเพลิงแบบเคลื่อนที่ 

ศ, 19/06/2015 - 13:45 — admin5
รายละเอียด: 

ผู้พัฒนา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ผู้ประกอบการที่ร่วมโครงการ : บริษัท ที เทค (ประเทศไทย) จำกัด

งบปี พ.ศ.: 
2558
    แคตตาล็อกเทคโนโลยี
    ภาพหน้าปก: 

    ระบบควบคุมการจ่ายน้ำดื่มสำหรับไก่เนื้อ

    ศ, 19/06/2015 - 13:44 — admin5
    รายละเอียด: 

    ผู้พัฒนา : สมาคมเครื่องจักรกลไทย

    ผู้ประกอบการที่ร่วมโครงการ : บริษัท อกรินโนเวท จำกัด

    งบปี พ.ศ.: 
    2558
      แคตตาล็อกเทคโนโลยี
      ภาพหน้าปก: 

      อาคารที่จอดรถอัจฉริยะแบบจอดได้หลายคันชนิดขนย้ายและประกอบด้วยหน่วยแยก

      ศ, 19/06/2015 - 13:43 — admin5
      รายละเอียด: 

      อาคารที่จอดรถอัจฉริยะแบบจอดได้หลายคัน

      Intelligent Car Parking

                              ที่จอดรถอัจฉริยะแบบจอดได้หลายคันชนิดขนย้ายและประกอบด้วยหน่วยแยก ออกแบบและสร้างด้วยโครงเหล็กเพื่อสะดวก – ง่ายในการรื้อถอน - ขนย้าย และติดตั้ง ประหยัดพื้นที่อาคารโดยใช้ระบบเครื่องกลในการยก - ย้ายรถยนต์ในแนวสูงและแนวราบ แทนการใช้ลู่ผิวทางจราจรในการนำรถยนต์เข้าประจำที่จอด ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการขับวนหาที่ว่างเพื่อจอดรถยนต์ หรือนำรถยนต์ออกจากอาคารที่จอดรถ ปลอดภัยสำหรับทรัพย์สินและชีวิต เพราะไม่อนุญาตให้บุคคลใดต้องเดินเข้าไปในอาคาร ควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติ คีย์การ์ดหรือพนักงานควบคุมเท่านั้น พื้นที่ใช้งานของเครื่องจอดรถเล็กกว่าและงบการลงทุนประหยัดกว่าแบบอาคารจอดรถดั้งเดิม 3 – 4 เท่า ไม่กระทบต่อมลภาวะและสิ่งแวดล้อม

       

       

      คุณสมบัติและสมรรถนะ

      ·     อาคารจอดรถอัจฉริยะแบบจอดรถได้หลายคัน

      2 – 5 ชั้น, แบบ 1 – 4 แถว ขึ้นอยู่กับพื้นที่หน้ากว้าง หรือลึกตามตัวอย่างต้นแบบที่เสนอเป็นแบบจอดรถได้ 13 คัน มีความสูง 2 ชั้น และมีจำนวนแถวในแนวยาว 7 แถว

      ·     การควบคุมการทำงานของกลไกทั้งหมดจะใช้ระบบควบคุมแบบอัจฉริยะ

      ·     ใช้โครงสร้างเหล็กที่สามารถถอดประกอบได้ง่าย  

      ราคาเริ่มต้นที่ 220,000  บาทต่อที่จอด ขึ้นอยู่กับจำนวนที่จอด (ราคารวมโครงสร้างอาคารพื้นฐานแล้ว)

      ตัวอย่าง 13 ที่จอด ราคา 3,100,000 บาท (ไม่รวมลานพื้นคอนกรีตเดิมและอุปกรณ์เสริม)

       

      รางวัลเทคโนโลยีและเครื่องจักรกลยอดเยี่ยม ประจำปี 2559

      รางวัลชนะเลิศ สาขาพลังงาน สิ่งแวดล้อม และพัฒนาคุณภาพชีวิต

      และรางวัลสุดยอดเทคโนโลยีและเครื่องจักรกลยอดเยี่ยม 2559 (Best of the Best Technology Awards 2016)

      การพัฒนาเทคโนโลยีภายใต้โครงการ วิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า

       

      พัฒนาโดย                 สมาคมเครื่องจักรกลไทย

                                   โทรศัพท์ 0-2712-2096               โทรสาร 0-2712-2979               

                                   E-mail : thaimachinery2@gmail.com, Thaimachinery@yahoo.com

      ร่วมกับ                      บริษัท คอนสโก เอ็นเตอร์ไพรเซส จำกัด

                                    โทรศัพท์ 0-2726-6839               โทรสาร 0-2726-3147               

                                    E-mail : chukiat143@gmail.com

      งบปี พ.ศ.: 
      2558
        แคตตาล็อกเทคโนโลยี
        ระดับ: 
        ต้นแบบเชิงพาณิชย์ / อุตสาหกรรม
        กลุ่มเป้าหมาย: 
        ภาคอุตสาหกรรม
        ภาพหน้าปก: 

        รถจ่ายอาหารสำหรับพ่อ-แม่พันธุ์สุกร

        ศ, 19/06/2015 - 13:42 — admin5
        รายละเอียด: 

        ผู้พัฒนา : สมาคมเครื่องจักรกลไทย
        ผู้ประกอบการที่ร่วมโครงการ : บริษัท อกรินโนเวท จำกัด

        งบปี พ.ศ.: 
        2558
          แคตตาล็อกเทคโนโลยี
          ระดับ: 
          ต้นแบบเชิงพาณิชย์ / อุตสาหกรรม
          กลุ่มเป้าหมาย: 
          SME
          ภาพหน้าปก: 

          เครื่องขึ้นรูปขนมปั้นสิบ 

          ศ, 19/06/2015 - 13:41 — admin5
          รายละเอียด: 

          ผู้พัฒนา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

          ผู้ประกอบการที่ร่วมโครงการ : นายสุชาติ เสาร์สุวรรณ

          งบปี พ.ศ.: 
          2558
            แคตตาล็อกเทคโนโลยี
            ภาพหน้าปก: 

            เครื่องม้วนก้อนเก็บใบอ้อย 

            ศ, 19/06/2015 - 13:40 — admin5
            รายละเอียด: 

            ผู้พัฒนา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

            ผู้ประกอบการ : บริษัท โชคถาวร ผลิตเครื่องจักร

            งบปี พ.ศ.: 
            2558
              แคตตาล็อกเทคโนโลยี
              ภาพหน้าปก: 

              ระบบหุ่นยนต์พ่นสีอัตโนมัติ

              ศ, 05/06/2015 - 14:21 — admin5
              รายละเอียด: 

              โครงการพัฒนาสร้างระบบหุ่นยนต์พ่นสีอัตโนมัติ
              ดำเนินการโดย สถาบันไทย-เยอรมัน
              ระยะเวลาของโครงการ 12 เดือน
              หัวหน้าโครงการ นายเอกสิทธิ์  สุโขธนัง
              บริษัทที่ร่วมโครงการบริษัท แอดวานซ์ไดนามิคแอนด์โรโบติคซิสเทมเทค จำกัด

              คุณสมบัติของเครื่องที่จะทำการพัฒนา

              คุณสมบัติทั่วไป

              เครื่องที่จะพัฒนา

              1.กำลังการผลิต

              พื้นที่ทำงานพ่นสี: 600x600x500 mm. อาจลดลงโดยขึ้นอยู่กับชนิดของหัวพ่นสี (Spray Gun) และความเร็วการพ่นสี ขึ้นอยู่กับรูปร่าง และขนาดชิ้นงาน

              2.อัตราใช้พลังงาน

              …......................

              3.ประเภทเทคโนโลยีที่ใช้

              Multi-axis servo robot  ชนิด Traverse RobotและระบบควบคุมMulti-body Manipulator Painting Robot Controller (Motion Control + PC Base)

              4.ระดับโอกาศการผลิตแบบครบวงจร/การบูรณาการเครื่องจักร

              ทำได้สูง

              5.ระบบความปลอดภัย (Safety)

              Full safety system ด้วยโปรแกรม sensor และระบบป้องกันทางไฟฟ้า

              เป็นหุ่นยนต์ชนิด Traverse Robot แบบ 5แกน interpolation ทำงานพ่นสีกับ Rotary Servo Actuator Unit 3แกน (สำหรับวางชิ้นงาน)

              6.จุดเด่นทางเทคนิคที่สำคัญ

              ต่ำ เมื่อเทียบกับคนงาน และหุ่นยนต์แขนกลของต่างประเทศ

              7.ค่าใช้จ่าย (operating cost)

              ….............

              8.จุดคุ้มทุน IRP / Payback period

              550,000 ถึง 1,700,000 บาท ขึ้นอยู่กับขนาด และชิ้นงานพ่นสี

              9.ราคาเชิงพาณิชย์

              ………………


              ภาพที่ 13.1  แสดง แบบวาด AHR Robot
              ที่มา:  ข้อเสนอโครงการพัฒนาสร้างระบบหุ่นยนต์พ่นสีอัตโนมัติ(สถาบันไทย-เยอรมัน)

              งบปี พ.ศ.: 
              2557
                แคตตาล็อกเทคโนโลยี
                ภาพหน้าปก: 

                ระบบปรับปรุงคุณภาพขยะพลาสติก

                ศ, 05/06/2015 - 14:12 — admin5
                รายละเอียด: 

                โครงการพัฒนาสร้างระบบปรับปรุงคุณภาพขยะพลาสติก
                ดำเนินการโดย สมาคมเครื่องจักรกลไทย
                ระยะเวลาของโครงการ 10 เดือน
                หัวหน้าโครงการ นางสาวชญาภา  กาญจนาการุณวงศ์
                บริษัทที่ร่วมโครงการ บริษัท วิศวกรรมบริการบำรุงรักษา จำกัด

                เครื่องปรับปรุงคุณภาพขยะพลาสติก ประกอบด้วย

                • ชุดสายพานลำเลียง - ขยะพลาสติกจากบ่อฝังกลบที่ผ่านการล้างทำความสะอาดแล้วยังคงมีเศษดิน หิน วัตถุหนักปะปนอยู่บ้าง ชุดสายพานลำเลียงจะลำเลียงขยะพลาสติกไปเข้าสู่ขั้นตอนการคัดแยกวัสดุปนเปื้อนต่างๆ ออกให้มากที่สุด ก่อนป้อนเข้าสู่เครื่องรีไซเคิลต่อไป
                • เครื่อง Shredder - สายพานลำเลียงจำลำเลียงขยะพลาสติกมายังเครื่อง Shredder เพื่อย่อยพลาสติกให้มีขนาดเล็กลง เพื่อให้สะดวกต่อการแยกวัสดุปนเปื้อนที่อาจแทรกอยู่ตาซอกมุมต่างๆ ของพลาสติก เครื่อง Shredder มีลักษณะเป็นกระบะ ด้านในมีใบจักรวางเรียงกันบนเพลาหมุน แต่ละเพลาจะวางขนาดกันและหมุนในทิศทางตรงกันข้าม เพื่อดูดพลาสติกที่จะถูกป้อนจากด้านบนมาฉีกให้เป็นเศษพลาสติก และตกลงสู่สายพานลำเลียงด้านล่าง
                • เครื่องคัดแยกด้วยอากาศ - ทำหน้าที่คัดแยกเศษวัสดุปนเปื้อนเบื้องต้น โดยการลำเลียงขยะเข้าสู่เครื่องที่ด้านบนและปล่อยให้ตกลงสู่ด้านล่างของเครื่อง และใช้โบลเวอร์ดูดอากาศภายในออก วัสดุที่มีน้ำหนักมากจะตกลงสู่ด้านล่างเครื่อง ในขยะที่ขยะพลาสติกซึ่งผ่านการฉีกย่อยให้เป็นชิ้นเล็กจะมีน้ำหนักเบาและถูกดูดโดยโบลเวอร์เพื่อเข้าสู่เครื่องเป่าลมร้อน
                • สู่เครื่องเป่าลมร้อน - ด้านในเครื่องประกอบด้วยตะแกรงหมุนซึ่งจะหมุนด้วยความเร็วต่ำ ขยะพลาสติกซึ่งถูกดูดด้วยโบลเวอร์จากเครื่องคัดแยกด้วยอากาศ จะผ่านไซโคลนด้านบน และตกลงสู่ตะแกรงในห้องเครื่อง ขยะพลาสติกนี้จะถูกให้ความร้อนจากท่ออากาศร้อนที่ปล่อยเข้าสู่ห้องเครื่องเพื่อทำให้แห้ง ขยะพลาสติกในตะแกรงด้านบนจะเคลื่อนที่ตกลงสู่ตะแกรงด้านล่างๆ และเข้าสู่สายพานลำเลียงด้านล่าง เพื่อลำเลียงเข้าสู่ระบบรีไซเคิลต่อไป

                 

                งบปี พ.ศ.: 
                2557
                  แคตตาล็อกเทคโนโลยี
                  ภาพหน้าปก: 

                  เครื่องทดสอบหาค่าความหนืดมูนนี่

                  จ, 09/02/2015 - 11:17 — admin5
                  รายละเอียด: 

                  โครงการพัฒนาสร้างเครื่องทดสอบหาค่าความหนืดมูนนี่
                  ดำเนินการโดย สถาบันไทย-เยอรมัน
                  ระยะเวลาของโครงการ 6 เดือน
                  หัวหน้าโครงการ นายเอกสิทธิ์  สุโขธนัง
                  บริษัทที่ร่วมโครงการบริษัท เจริญทัศน์ จำกัด

                            การวัดความหนืด Mooney Viscosity เป็นการทดสอบที่มีความสำคัญต่อการระบุคุณสมบัติของยางแท่งอย่างหนึ่ง โดยค่าความหนืดที่วัดได้จะสัมพันธ์กับน้ำหนักโมเลกุลของยาง ยิ่งยางมีน้ำหนักโมเลกุลสูง ก็จะมีค่า Mooney Viscosity สูงตามไปด้วย นอกจากนี้ค่า Mooney Viscosity ยังสามารถใช้บอกถึงการเกิด Storage Hardening ได้อีกด้วย โดยการเกิด Storage Hardening จะทำให้ความหนืดของยางแท่งมีค่าสูงขึ้น
                            เครื่องทดสอบวัดค่าความหนืดมูนนี่ มีหลักการทำงานคล้ายกับ เครื่องผสมพอลิเมอร์แบบปิด (CT Internal Mixer) ที่ทางบริษัทฯ ได้พัฒนา และออกวางจำหน่ายแล้ว กล่าวคือ อุปกรณ์ทั้งสองชนิดมีการควบคุมอุปกรณ์ของห้องผสมและดาย ในลักษณะใกล้เคียงกัน และมีการวัดค่าแรงบิดในขณะที่ทำการผสม / ทดสอบ ในลักษณะเดียวกันคือ การใช้อุปกรณ์ LOADCELL เป็นเซนเซอร์วัดค่าแรง แล้วนำค่าแรงที่วัดได้มาคูณค่าระยะทาง ก็จะได้ค่าแรงบิดออกมา และโปรแกรมจะแปลงค่าแรงบิดเป็นค่าความหนืดมูนนี่


                  ภาพที่ 12.1  แสดง ส่วนประกอบสำคัญของเครื่องทดสอบหาค่าความหนืดมูนนี่
                  ที่มา:  ข้อเสนอโครงการพัฒนาสร้างเครื่องทดสอบหาค่าความหนืดมูนนี่(สถาบันไทย-เยอรมัน)

                  งบปี พ.ศ.: 
                  2557
                    แคตตาล็อกเทคโนโลยี
                    ภาพหน้าปก: 

                    เครื่องทดสอบความแข็ง

                    จ, 02/02/2015 - 15:57 — admin5
                    รายละเอียด: 

                    โครงการพัฒนาสร้างเครื่องทดสอบความแข็ง
                    ดำเนินการโดย สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
                    ระยะเวลาของโครงการ 9 เดือน
                    หัวหน้าโครงการ นายพลพร จาติเสถียร
                    บริษัทที่ร่วมโครงการบริษัท อินทนนท์อินดัสเทรียล ซัพพลาย จำกัด

                    เครื่องทดสอบความแข็ง (Hardness Testing Machine) เป็นเครื่องมือสำหรับวัดความแข็งของวัสดุหรือชิ้นงานต่างๆ โดยค่าความแข็งนี้ถือเป็นคุณสมบัติทางกลของวัสดุที่สำคัญมากอย่างหนึ่งและถูกใช้ในการควบคุมคุณภาพของวัสดุและชิ้นส่วน โดยเฉพาะ เหล็ก ชิ้นส่วนยานยนต์ชิ้นงานอบชุบ เป็นต้น

                      

                    ภาพที่1  แสดง เครื่องทดสอบความแข็งแบบ Rockwell (Rockwell Hardness Testing Machine)
                    ที่มา:  ข้อเสนอโครงการพัฒนาสร้างเครื่องทดสอบความแข็ง(สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย)

                    ภาพที่2 แสดง หลักการวัดความแข็งของวัสดุ
                    ที่มา:  ข้อเสนอโครงการพัฒนาสร้างเครื่องทดสอบความแข็ง(สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย)

                    งบปี พ.ศ.: 
                    2557
                      แคตตาล็อกเทคโนโลยี
                      ภาพหน้าปก: 
                      เนื้อหาแหล่งข่าว