ระบบลิฟต์โดยสารสำหรับงานก่อสร้าง
โครงการพัฒนาสร้างระบบลิฟต์โดยสารสำหรับงานก่อสร้าง
ดำเนินการโดย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
ระยะเวลาของโครงการ 12 เดือน
หัวหน้าโครงการ รศ. ดร. ธัญญะ เกียรติวัฒน์
บริษัทที่ร่วมโครงการ บริษัท คอนสโก เอ็นเตอร์ไพรเซส จำกัด
ระบบขับเคลื่อนสำหรับลิฟต์โดยสารที่นำเสนอในโครงการนี้ จะมีสองรูปแบบ โดยรูปแบบที่ 1 ทำงานด้วยระบบขับเคลื่อนแบบ Rack and Pinion ระบบเบรคแบบ Centrifugal Clutch และรูปแบบที่ 2 ทำงานด้วยระบบขับเคลื่อนแบบ sling ระบบเบรคแบบ friction (บีบจับที่ราง) ซึ่งการวิเคราะห์และออกแบบจะต้องใช้องค์ความรู้ทางด้านการออกแบบเครื่องจักรกล (Machine Design) ร่วมกับการวิเคราะห์ทางด้านระบบพลศาสตร์เครื่องจักรกล (Kinematic and Kinematic of Machinery) ประสิทธิภาพของการเคลื่อนที่ อันประกอบไปด้วย Capacity (น้าหนักที่ยกได้) และความเร็วในการเคลื่อนที่ (Speed of Motion) จะถูกนำมาพิจารณาเพื่อหาจุด optimum ในการออกแบบระบบขับเคลื่อน ระบบความปลอดภัยจะต้องออกแบบให้ได้ตามหลักวิศวกรรม และมีความน่าเชื่อถือในการทำงาน เช่น ระบบปิด/เปิด ประตู (Door Mechanism) ระบบเบรคแบบ Frictionระบบเบรคแบบ Centrifugal Clutch อุปกรณ์ควบคุมความเร็ว (Speed Governor) และ อุปกรณ์รองรับการกระแทก (Buffer)
คุณลักษณะเฉพาะและสมรรถนะตามระบุในสัญญา
ลิฟต์สำหรับงานก่อสร้าง ทำงานด้วยระบบขับเคลื่อนแบบ Rack and Pinion จำนวน 1ชุด
- ลิฟต์ขนาด 1.50 x 2.30 x 3.00 เมตร
- มีความเร็วในการเคลื่อนที่ ที่ค่าสูงสุดไม่ต่ากว่า 30 m/min
- ความสูง 30 เมตร
- ระบบเบรคแบบ Centrifugal Clutch
ลิฟต์สำหรับงานก่อสร้าง ทำงานด้วยระบบขับเคลื่อนแบบ Sling จำนวน 1ชุด
- ลิฟต์ขนาด 1.50 x 2.30 x 3.00 เมตร
- มีความเร็วในการเคลื่อนที่ ที่ค่าสูงสุดไม่ต่ากว่า 40 m/min
- ความสูง 30 เมตร
- ระบบเบรคแบบ Friction (บีบจับที่ราง)
- โดยที่ลิฟต์ทั้งสองแบบ เคลื่อนที่อยู่บนแกน (Tower) เดียวกัน
ภาพที่ 4.1 แสดง ลักษณะตัวอย่าง Passenger Lift for Construction Works
ที่มา: ข้อเสนอโครงการพัฒนาสร้างระบบลิฟต์โดยสารสำหรับงานก่อสร้าง (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน)