เทคโนโลยีการเกษตร
เครื่องคัดแยกวัสดุเจือปนและอบลดความชื้นข้าวเปลือกด้วยลมร้อนจากเชื้อเพลิงชีวมวลเพื่อพัฒนาคุณภาพข้าวเปลือกระดับชุมชน(RID64)
เครื่องจักร สาเหตุที่จะพัฒนา เหตุผลส่วนสำคัญที่จะพัฒนา ปัญหาที่พบและ แนวทางในการแก้ไขปัญหา)
- คุณภาพข้าวเปลือกต่ำ
- สิ่งเจือปนสูง
- ความชื้นสูง
- ขายได้ราคาต่ำกว่าที่ประกาศ ณ จุดรับซื้อ
ปัญหาของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวรายย่อยในประเทศไทยที่เกิดจากการจำหน่ายผลผลิตข้าวเปลือกได้ราคาที่ต่ำกว่าราคาประกาศ ณ จุดรับซื้อเพราะคุณภาพข้าวเปลือกต่ำที่มีสาเหตุมาจากมีวัสดุเจือปนและมีความชื้นสูง วิธีการแก้ปัญหาแบบดั้งเดิมของเกษตรกรคือจะใช้การตากข้าวเปลือกบนผิวถนนและใช้ไม้กวาดทางมะพร้าวกวาดวัสดุเจือปนออก แต่วิธีการดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหามากมายทางด้านการจราจรและใช้เวลานาน แต่ โรงสี ขนาดใหญ่ที่เป็นจุดรับซื้อข้าวเปลือก จะมีระบบคัดแยกและอบลดความชื้นด้วยไซโลขนาดใหญ่ที่มี ต้นทุนสูง ในประเทศไทยหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้พยายามพัฒนาทั้งเครื่องคัดแยกและเครื่องอบลดความชื้นข้าวเปลือกให้มีขนาดเล็กลงเพื่อให้เกษตรกรนำไปใช้ได้ง่าย แต่ยังมีข้อจำกัดในหลายๆด้าน เครื่องคัดแยกวัสดุเจือปนและเครื่องอบลดความชื้นข้าวเปลือกที่มีขายตามท้องตลาดนั้นยังไม่ตอบโจทย์ให้กับเกษตรกรเท่าที่ควร ผู้จัดทำได้ลงไปสำรวจและ วิเคราะห์ปัญหากับกลุ่มเกษตรกร(กลุ่มผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ บ้านหนองคู อ.เสนางคนิคม จ.อำนาจเจริญ)ที่ได้นำเครื่องคัดแยกและเครื่องอบข้าวไปใช้งานจะพบปัญหาและความต้องการของเกษตรกรคือ
1. เครื่องคัดแยกและเครื่องอบข้าวเปลือกตามท้องตลาดจะแยกเป็นคนละเครื่องกัน
2. ราคาแพง
3. การใช้งานยุ่งยากเมื่อเทียบกับองค์ความรู้ของกลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย
ทางผู้จัดทำได้วิเคราะห์สภาพความเป็นจริงของราคาผลผลิตในส่วนของข้าวเปลือกที่หน้าโรงสีที่จุดรับซื้อข้าวจะพบว่าค่าตอบแทนที่เกษตรกรชาวนาได้รับไม่คุ้มค่ากับต้นทุนที่ได้ใช้จ่ายลงไป ทางผู้จัดทำได้ร่วมกันสรุปวิธีการที่จะทำให้ชาวนามีรายได้เพิ่มจากการทำนาได้ 3 วิธี
1. ลดต้นทุนการผลิต
2. เพิ่มผลผลิต
3. เพิ่มคุณภาพข้าวเปลือก
เมื่อเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนำผลผลิตไปจำหน่ายยังจุดรับซื้อจะโดนหักราคาต่อหน่วยจากค่าวัสดุเจือปนและค่าความชื้น ซึ่งราคารับซื้อในปัจจุบันก็ค่อนข้างต่ำมากอยู่แล้ว
วิธีการแก้ปัญหาของชาวบ้านด้วยตัวเองเพื่อที่จะเพิ่มมูลค่าของผลผลิตให้มีคุณภาพตามที่ต้องการจะใช้วิธีการตากแดดประมาณ 1-3 วันและในขณะที่ตากก็จะใช้ไม้กวาดทางมะพร้าวกวาดเอาดอกหญ้าหรือสิ่งเจือปนออกไปด้วย แต่ปัญหาของชาวบ้านที่ใช้วิธีการนี้คือไม่มีพื้นที่ในการตากที่เพียงพอ ชาวบ้านจะอาศัยตากตามข้างถนนซึ่งจะทำให้เสียพื้นที่การจราจรและเป็นอันตรายมาก ในการพัฒนาคุณภาพข้าวเปลือกในส่วนของการคัดแยกวัสดุเจือปนและอบลดความชื้นนั้นตามโรงสีขนาดใหญ่ที่เป็นจุดรับซื้อข้าวเปลือกเขาจะมีระบบคัดแยกและอบลดความชื้นด้วยไซโลขนาดใหญ่ที่มีต้นทุนสูง ทางผู้จัดทำได้เลือกหัวข้อที่ 3 (เพิ่มคุณภาพข้าวเปลือก)มาเป็นโจทย์ปัญหาในการที่จะออกแบบสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบ โจทย์ให้กับชาวนากลุ่มเป้าหมาย สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและนโยบายรัฐบาล
และทางทีมงานได้เลือกที่จะออกแบบสร้างและพัฒนาผลผลิตในกลุ่มผู้ปลูกข้าวซึ่งเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดของเกษตรกรที่ทำการเกษตรที่มีปัญหามากกับราคาผลผลิตที่ตกต่ำไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน ปัญหาที่พบหลังการเก็บเกี่ยวในปัจจุบันที่ได้มากับผลผลิตข้าวคือวัสดุเจือปนที่เป็นดอกหญ้าเศษฟางและความชื้นสูง เพราะการเก็บเกี่ยวผลผลิตในปัจจุบันจะใช้รถเกี่ยวนวดข้าว นั่นคือจุดเริ่มต้นของโจทย์ปัญหาของการออกแบบและสร้างเครื่องพัฒนาคุณภาพข้าวเปลือกไม่ให้มีสิ่งเจือปนและมีค่าความชื้นอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องการด้วยขบวนการใช้การคัดแยกวัสดุเจือปนข้าวเปลือกหลังการเก็บเกี่ยวด้วยตะแกรงและทำการอบลดความชื้นด้วยความร้อนจากเตาเผาถ่านชีวะมวล
เครื่องตรวจวัดค่าดินผ่านระบบ IOT และโปรแกรมคำนวณสูตรปุ๋ยสั่งตัดตามชนิดพืช(RID64)
สหกรณ์การเกษตรลับแล จำกัด มีธุรกิจในการรวบรวมรับซื้อและจำหน่ายผลิตทางการเกษตร เช่นข้าวโพด มันสำปะหลัง นอกจากนี้ยังมีโรงงานผลิตปุ๋ยสูตรตามความต้องการของสมาชิกและเกษตรกร ผลิตด้วยแม่ปุ๋ยคุณภาพ ควบคุมการผลิตด้วยเทคโนโลยีเครื่องผสมปุ๋ยอัตโนมัติ กำลังผลิตไม่ต่ำกว่า 300 กระสอบต่อวัน รับรองสินค้าอย่างถูกต้องตามกรมวิชาการเกษตรกำหนด สหกรณ์มั่นใจในคุณภาพ พร้อมส่งปุ๋ยคุณภาพดีถึงมือเกษตรกรแน่นอน ปุ๋ยราคาถูก มีคุณภาพ สหกรณ์มีการเข้าถึงกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้งานปุ๋ยด้วยการให้ความรู้ประชาสัมพันธ์การใช้ปุ๋ยสั่งตัดเพื่อเป็นทางเลือกให้แก่เกษตรกร และเป็นการลดต้นทุนเพื่อเพิ่มผลผลิตอย่างแท้จริงพร้อมจะให้ความรู้แก่พี่น้องเกษตรกรเรื่องปุ๋ยสั่งตัดด้วยประสบการณ์และยอดขายปุ๋ยสหกรณ์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ธุรกิจหลักของสหกรณ์ เป็นการผลิตปุ๋ยสั่งตัด ที่ผสมสูตรตามความต้องการของลูกค้าเกษตรกรแต่ละพื้นที่และแต่ละชนิดของพืชที่ปลูก สหกรณ์เลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพสูง และสูตรที่พัฒนาผ่านการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร จำนวน 6 สูตร และยังสามารถผสมสูตรตามความต้องการใช้งานของลูกค้า ปัจจุบันได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี มีการพัฒนารูปแบบการให้บริการตรวจวัดค่าต่าง ๆ ของดินสำหรับลูกค้าโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นให้ลูกค้ามาซื้อปุ๋ยเพิ่มยอดขายมากขึ้น ในการดำเนินการสหกรณ์ใช้วิธีการตรวจวัดคุณภาพดินโดยใช้ชุดตรวจตรวจสอบอินทรีย์วัตถุในดิน วิธีการดังกล่าวใช้เวลาค่อนข้างมาก และมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงเมื่อเทียบต่อแปลง อีกทั้งสหกรณ์ฯ มีเจ้าหน้าที่จำนวนน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร ดังนั้น สหกรณ์ฯ จึงเกิดแนวคิดที่จะพัฒนาพัฒนารูปแบบการให้บริการการตรวจวัดค่าดินแบบออนไลน์ ด้วยการใช้ระบบ Internet of Thing (IOT) โดยรูปแบบจะเป็นการตรวจวัดสภาพดิน และแนะนำปุ๋ยให้กับเกษตรกรตามช่วงเวลา รูปแบบเทคโนโลยีจะใช้ระบบอุปกรณ์ตรวจวัดที่มีเซนเซอร์ตรวจวัดปริมาณค่า PH ,ค่าสารอาหารในดิน N,P,K , ค่าความชื้น , ค่าออกซิเจน หรืออื่น ๆ ที่มีความสำคัญกับการพิจารณาปรับปรุงสภาพดิน โดยจัดเก็บค่าต่าง ๆ ผ่านเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตสู่ฐานข้อมูลกลาง เพื่อนำมาวิเคราะห์การปรับสภาพดินด้วยการพัฒนาสูตรปุ๋ยและวัสดุอื่นที่จำเป็นที่เพื่อนำไปใช้ในแปลง จะทำให้ได้ปุ๋ยที่มีสารที่จำเป็นต่อการปลูกพืชแต่ละชนิด เหมาะสมกับสภาพดิน ซึ่งจะทำให้การปลูกพืชในแปลงที่ได้รับการดูแลมีผลผลิตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีการใช้ปริมาณปุ๋ยที่เหมาะสมไม่มากหรือน้อยเกินไป การใช้จ่ายในการจัดหาปุ๋ยมีความคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูง ด้วยหลักการนี้ จะช่วยแก้ปัญหาที่สหกรณ์ฯ มีพนักงานน้อย และตรวจวัดคุณภาพดินไม่ทันต่อความต้องการของเกษตรกร จะเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล จะทำให้สหกรณ์มีข้อมูล ของเกษตรกรทุกราย ซึ่งจะนำไปวิเคราะห์วางแผนการปลูก การตลาด และการพัฒนาคุณภาพดิน เพื่อช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกรต่อไป
เครื่องอัดดินและปลูกผักอินทรีย์ในท่อ PVC แบบอัตโนมัติ(RID64)
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปสมุนไพรไทยบ้านหลุก มีสมาชิกประกอบอาชีพหลักคือการทำสวนลำไย รายได้ของสมาชิกขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้า อากาศ ราคา ในบางปีก็ขาดทุน ทำให้สมาชิกส่วนหนึ่งยังมีหนี้สิน ทำให้รายได้ไม่พอกับรายจ่าย เนื่องจากอาชีพเกษตรกรชาวสวนลำไยเพียงช่องทางเดียวไม่อาจสร้างรายได้ให้กับสมาชิกได้อย่างเพียงพอ นอกจากนี้การทำสวนลำไย ยังมีรายได้เพียงปีละครั้ง หากปีไหนผลผลิตหรือราคาตกต่ำ ก็จะทำให้สมาชิกมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงครอบครัวและชำระหนี้สิน ดังนั้น สมาชิกจึงได้เริ่มหาอาชีพเสริม เพื่อช่วยเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว โดยการปลูกผักจำหน่าย และได้ร่วมกับจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขึ้น เพื่อเป็นการรวมกลุ่ม ขอรับการสนับสนุนองค์ความรู้ ด้านวิชาการ ปัจจัยการผลิต มาตรฐานการผลิต และการตลาด การเลือกปลูกผักกลุ่มได้เน้นการปลูกผักอินทรีย์ และผักปลอดภัย ลดการใช้สารเคมี เพื่อสุขภาพของผู้ปลูกเอง และความปลอดภัยของผู้บริโภค เนื่องจากปัจจุบันผักอินทรีย์ และผักปลอดภัยได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้บริโภคและตลาด แต่การผลิตยังทำได้จำกัด เนื่องจาก ไม่สามารถควบคุมปัจจัยภายนอก เช่น โรค แมลง ศัตรูพืช วัชพืช สมาชิกส่วนใหญ่ปลูกพืชในแปลงปลูก ทำให้ไม่สามารถควบคุมปัจจัยและสภาพแวดล้อมได้ มีสมาชิกบางรายได้ทดลองปลูกผักโดยการทำแคร่ยกสูง ได้ผลค่อนข้างดี สามารถช่วยลดปัญหาโรค แมลง ศัตรูพืช วัชพืชได้ดี เนื่องจากเป็นการปลูกแบบประณีต แต่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เนื่องจากต้องทำแปลงปลูกยกสูง และการใช้ไม้มีอายุค่อนข้างสั้น ผุพักง่ายเพราะต้องสัมผัสกับน้ำและความชื้นตลอดเวลา
จากปัญหาดังกล่าว กลุ่มฯ ได้ศึกษาจากผู้ที่ประสบความสำเร็จมาก่อน และปรึกษากับที่ปรึกษาจากสถาบันการเกษตร ได้รับคำแนะนำให้ปลูกผักแบบยกแคร่ หรือในท่อนำ PVC หรือรางไม้ไผ่ หรือวัสดุอื่นๆ ที่เป็นราง โดยนำเอาหลักการปลูกผักแบบยกแคร่ และการปลูกผักไฮโดรโพนิกส์มาผสมผสานกัน ซึ่งสมาชิกหลายคนได้มีการทดลองปลูกผักดังกล่าวแล้วบนแคร่ โดยการนำกระเบื้องเก่ามาวางบนแคร่แล้วนำวัสดุดินปลูกมารองปลูก เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา การกำจัดวัชพืช ปัญหาแมลง โรคพืชที่มาจากดิน จากการทดลองผลปรากฏว่าได้ผลดีมาก เนื่องจากพืชผักเป็นพืชล้มลุกต้นไม่ใหญ่ อายุสั้น จึงไม่จำเป็นต้องใช้ดินปลูกจำนวนมากเหมือนพืชชนิดอื่นๆ แต่ปัญหาของการปลูกพืชแบบยกแคร่คือ ต้องทำแคร่ยกสูง ยังใช้วัสดุดินปลูกมาก ต้นทุนสูง และฐานของแคร่หากใช้ไม้จะผุเร็ว แต่หากใช้เหล็กก็มีราคาสูง จึงได้ศึกษาต่อ จึงพบว่า ที่ประเทศอิสรเอล มีการปลูกผักนรางปลูก โดยรางมีความกว้าง 2 นิ้ว ลึก 4 นิ้ว ใช้วางบนรางปลูก ใช้เครื่องอัดดิน และหยอดเมล็ดพันธุ์ลงไปในราง ลดการใช้แรงงานและลดขั้นตอนการเพาะเมล็ดพันธุ์ลง การปลุกดังกล่าวต้นทุนต่ำ ทำง่าย และผักค่อนข้างสมบูรณ์ และวางแผนการผลิตได้ และในประเทศไทยก็เริ่มมีการปลูกผักโดยใช้ท่อน้ำ PVC แต่ยังเป็นการปลูกแบบใช้แรงงานคนทั้งหมด จากการศึกษาพบว่า วิธีการดังกล่าวได้ผลดีมาก ต้นทุนต่ำ ควบคุมการผลิต ขอรับรองมาตรฐานได้ง่าย การปลูกผักในท่อน้ำ PVC สามารถทำได้ เจริญเติบโตได้ดี โดยสามารถปลูกแบบอัตโนมัติ ระบบน้ำหยด ตั้งเวลาปิดเปิดน้ำให้เป็นเวลา ให้ปุ๋ยทางน้ำ สามารถควบคุมแมลง ศัตรูพืชได้ดี เพราะยกพื้นสูง ไม่มีวัชพืช ควบคุมความชุ่มชื้นได้ ทำให้พืชเจริญเติบโต สามารถวางแผนการผลิตและการจำหน่ายระยะยาวได้ กลุ่มฯ จึงเลือกที่จะปลูกผักในท่อน้ำ PVC แต่เนื่องการปลูกผักในท่อน้ำยังต้องใช้แรงงานคน ซึ่งปัจจุบันหาค่อนข้างยาก และค่าจ้างค่อนข้างสูง โดยเฉพาะการอัดดินลงในท่อน้ำครั้งแรกแล้ว และอาจต้องมีการเปลี่ยนดินในท่อเดิมต่อการปลูก 2 รอบต่อครั้ง เพื่อให้ธาตุอาหารในดินสมบูรณ์ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืช กลุ่มจึงมีความต้องการขอรับการสนับสนุนเครื่องอัดดินและปลูกผักอินทรีย์ในท่อ PVC แบบอัตโนมัติ กลุ่มฯ คาดว่าเครื่องดังกล่าวจะช่วยทำให้สมาชิกในกลุ่มได้รับความสะดวก ลดต้นทุนการผลิต จะทำให้เกิดการขยายการผลิต และสร้างรายได้ให้กับสมาชิกแบบยั่งยืนต่อไป
โครงการพัฒนาสร้างหนูนา หุ่นยนต์ทำนา(VCE64)
วิกฤตสภาพอากาศ ปัญหาขาดแคลนแรงงาน การผลิตขาดเทคโนโลยีและเครื่องจักรไม่ทันสมัย ภาคการเกษตร ยังติดกับดักกับปัญหา ต้นทุนการผลิตสูง และผลผลิตต่ำ เครื่องจักรที่ทันสมัยราคาสูง ทั้งยังไม่เหมาะสมกับพื้นที่ หากการเกษตรยังไม่พัฒนาต่อ เราจะสูญเสียการแข่งขันกับตลาดโลก
การใช้เครื่องจักรที่ฉลาด เหมาะสมกับพื้นที่ และเทคโนโลยีข้อมูลมาพยากรณ์การผลิตด้วย AI ช่วย จะทำให้แก้ปัญหาดังกล่าวได้ หนูนา หุ่นยนต์ทำนา เป็นการปฏิวัติกระบวนการทำเกษตร ไปสู่การเกษตรแบบแม่นยำ หรือ Smart farming เป็นหนึ่งในนโยบายของรัฐบาลพร้อมส่งเสริม
โครงการพัฒนาสร้างเครื่องปอกและหั่นมะม่วงเบา(VEC64)
ในบ้านเรานั้นมะม่วงจัดเป็นผลไม้เศรษฐกิจซึ่งส่งออกเป็นอันดับต้นๆ ของโลกโดยสายพันธุ์หนึ่งที่แพร่หลายมากที่สุดในภาคใต้ของไทยและมีผลผลิตออกมาเป็นจำนวนมากตลอดทั้งปีนั่นคือมะม่วงเบาซึ่งได้มีการนำมาแปรรูปเป็นผลไม้แช่อิ่มและมะม่วงดองซึ่งในกรรมวิธีการทำมะม่วงเบาแช่อิ่มนี้มีขั้นตอนของการเตรียมวัตถุดิบคือการปอกเปลือกและหั่นผ่าครึ่งก่อนที่จะนำไปแช่อิ่มโดยในขั้นตอนนี้ตามโรงงานอุตสาหกรรมอาหารต่าง ๆ หรือ ตามชุมชนทั่วไปที่เลือกที่จะทำมะม่วงแช่อิ่มด้วยตนเองจะอาศัยการใช้แรงงานคนในการปอกเปลือกมะม่วงซึ่งเวลาในการปอกและหั่นผ่าครึ่งแต่ละลูกก็ใช้เวลาพอสมควรหากเป็นมะม่วงดิบในช่วงเวลานี้อัตราค่าจ้างแรงงานก็เริ่มสูงขึ้นพร้อมกับในช่วงนี้ที่เศรษฐกิจไม่ดีผู้ประกอบการส่วนมากก็จะไม่ค่อยเลือกที่จะเพิ่มค่าใช้จ่ายให้กับตนเองตลอดจนเครื่องที่สามารถทำตามขั้นตอนดังกล่าวยังไม่มีการผลิตออกมาโดยตรงทั้งจากนอกและในประเทศดังนั้นด้วยเหตุผลที่กล่าวมานี้จึงคิดที่จะประดิษฐ์ต้นแบบอัตโนมัติที่มุ่งเน้นใช้ในครัวเรือนหรือโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กโดยมีราคาของเครื่องที่ไม่สูง
เครื่องระเหยเข้มข้นชนิดฟิล์มบาง รุ่น VPF-10/40 HT/CT
โครงการประกวดรางวัลเทคโนโลยียอดเยี่ยมเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ ประจำปี 2563
ชื่อผลงาน เครื่องระเหยเข้มข้นชนิดฟิล์มบาง รุ่น VPF-10/40 HT/CT
ผู้พัฒนา บริษัท ยูโร เบสท์ เทคโนโลยี จำกัด
ขนาดระเหยน้ำ 40 ลิตร/ชั่วโมง และชุดผลิตน้ำร้อนด้วยฮีทเตอร์และน้ำเย็นด้วยหอน้ำหล่อเย็น ใช้ระเหยน้ำออกจากของเหลวให้มีความเข้มข้นมากขึ้น โดยมีสารอาหารและรสชาติเหมือนเดิม ระเหยน้ำได้ 0-40 ลิตรต่อชั่วโมง ใช้อุณหภูมิต่ำ 50 - 60 องศาเซลเซียส ทำให้ของเหลวไม่โดนความร้อนมาก
เอกสารประกอบ
เครื่องเจาะและกัดร่องฝามะพร้าว
ใช้เจาะกัดร่องฝามะพร้าวพร้อมดื่ม ใช้เทคนิคในการกัดร่องฝามะพร้าวให้มีความลึกเท่ากัน แม้ผิวของกะโหลกมะพร้วไม่ได้เป็นทรงกลม โดยใช้สปริงดึงลงให้แนบบนผิวกะโหลก มีมอเตอร์ควบคุมการหมุน และมีระบบดูดฝุ่นที่เกิดจากการเจาะและกัดร่อง
เอกสารประกอบ
SS350 เครื่องเกี่ยวนวดข้าวและข้าวโพด
รถเกี่ยวขนาดกลาง มีขนาดเครื่องยนต์ 6 สูบ สามารถเกี่ยวได้ทั้งข้าวและข้าวโพด ใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนน้อย สามารถใช้ผู้ปฏิบัติงานเพียงคนเดียว มีท่อไซโลปรับระดับได้สูงและพับเก็บได้ ความสามารถในการทำงาน 3.2 – 5 ไร่ต่อชั่วโมง ทำงานที่ความลาดชันไม่เกิน 30 องศา สามารถลงนาหล่มหรือนามีน้ำได้
เอกสารประกอบ
โรงเรือนเลี้ยงไหมประสิทธิภาพสูงที่ควบคุมการทำงานด้วยระบบควบคุมอัตโนมัติ RID63
ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตไหมและผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีและมีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งของโลก มีแรงงานในอุตสาหกรรมจำนวนมากและในแต่ละปีมีการส่งออกไหมและผลิตภัณฑ์ได้มูลค่ามากกว่าพันล้านบาท และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ จากข้อมูลของกรมศุลการกร ประมวลผลโดยกลุ่มเศรษฐกิจการตลาด สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ กรมหม่อนไหมพบว่า ปริมาณการนำเข้ารังไหม เส้นไหม ผ้าไหม และผลิตภัณฑ์ไหม (ม.ค.-ธ.ค.2556) เท่ากับ 7,420,109 ตัน หรือคิดเป็นมูลค่า 1,335,790,987บาท และปริมาณการส่งออกรังไหม เส้นไหม ผ้าไหม และผลิตภัณฑ์ไหม (ม.ค.-ธ.ค.2556) เท่ากับ 3,321,749 บาท หรือคิดเป็นมูลค่า 873,266,248 บาท โดยปริมาณการนำเข้ามากกว่าปริมาณการส่งออกคิดเป็นร้อยละ 123.38 ซึ่งคิดเป็นปริมาณที่ค่อนข้างมาก อาจจะกล่าวได้ว่าขาดดุลการค้าค่อนข้างมาก หากพิจารณาปริมาณการผลิตไหมหัตถกรรม ปี 2556 ในประเทศไทย พบว่า จำนวนของเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมภายในประเทศทั้งหมด 69,157 ราย โดยคิดเป็นพื้นที่ปลูกหม่อนเท่ากับ 40,053 ไร่ และปริมาณเส้นไหมที่สามารถผลิตได้ทั้งประเทศเท่ากับ 290,883 กิโลกรัม ซึ่งปริมาณดังกล่าวยังไม่เพียงพอกับความต้องการของคนในประเทศ และต่างประเทศด้วยเช่นกัน และสำหรับข้อมูลปริมาณการผลิตไหมหัตถกรรม ปี 2556 ในจังหวัดสุรินทร์ จากข้อมูลของกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า จังหวัดสุรินทร์ถือเป็นจังหวัดอันดับต้นของประเทศที่มีปริมาณการผลิตไหมหัตถกรรมค่อนข้างสูง มีปริมาณเส้นไหมที่ผลิตได้เท่ากับ 52,914 กิโลกรัม โดยมีจำนวนเกษตรกรทั้งจังหวัดเท่ากับ 10,198 รายในทุกอำเภอของจังหวัด และมีพื้นที่ในการปลูกหม่อนเท่ากับ 5,611 ไร่ โดยปริมาณเส้นไหมที่ผลิตได้คิดเป็นร้อยละ 18.19 ของปริมาณการผลินเส้นไหมได้ทั้งประเทศ
จากการลงสำรวจพื้นที่บ้านพญาราม หมู่ที่ 9 ตำบลเพี้ยราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งบ้านพญาราม ได้จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหมพญาราม และได้ส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ดังแสดงในรูปที่ 1 โดยมีนางโยธกา บุญมาก เป็นประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยมีแรงบันดาลใจจากการที่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงมีน้ำพระหฤทัยสนับสนุนกลุ่มทอผ้าทั่วทุกภาค จึงได้มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขึ้นมาโดยมีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเพื่อนำเส้นไหมมาทอ เริ่มการทอผ้าไหมด้วยกี่กระทบแบบโบราณและเป็นแบบกี่กระตุกในปัจจุบัน ลวดลายดั้งเดิมโดยได้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษ ซึ่งวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหมพญาราม มีการรวมกลุ่มเกษตรกรและจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ปัจจุบันมีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 151 ราย มีหม่อนแปลงรวม จำนวน 110 ไร่ และแปลงรายเดี่ยว จำนวน 100 ไร่ รวมทั้งสิ้น 210 ไร่ ดำเนินกิจกรรมปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ทอผ้า แปรรูปผลิตภัณฑ์จากหม่อนไหม ผลิตไข่ไหม ผลิตไหมวัยตัวอ่อนเพื่อจำหน่าย และผลิตเครื่องมืออุปกรณ์ในการสาวไหมและทอสำหรับไว้ให้ชาวบ้านพร้อมทั้งสมาชิกในกลุ่มได้ใช้งาน
รูปที่ 1 โรงเรือนเลี้ยงตัวหนอนไหมและลักษณะการเลี้ยงไหมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร
ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมพญารามบ้านพญาราม หมู่ที่ 9 ตำบลเพี้ยราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
ดังนั้นจากปัญหาที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ดังนั้นโครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาโรงเรือนเลี้ยงตัวหนอนไหมประสิทธิภาพสูงที่มีการควบคุมอุณหภูมิ และความชื้นภายในโรงเรือนที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงไหมทั้ง 5 วัย และเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของตัวหนอนไหมในฤดูกาลที่มีอุณหภูมิสูง เปรียบเทียบกับโรงเลี้ยงไหมที่มีการใช้อยู่เดิม ส่งผลทำให้ปริมาณการผลิตเส้นไหมและผ้าไหมของโรงงานเพิ่มสูงมากขึ้น ก่อให้เกิดผลกำไรเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน
ระบบควบคุมบรรยากาศเพื่อรักษาคุณภาพข้าวและกำจัดมอดสำหรับไซโลเก็บข้าว ควบคุมด้วยระบบ IoT (Internet of Thing) VCE63
การเก็บรักษาคุณภาพข้าวด้วยไซโลเป็นวิธีที่ส าคัญอย่างหนึ่งส าหรับการกักเก็บข้าวไว้ในระยะยาว เพื่อลดความชื้น ลดปริมาณข้าวที่มีคุณภาพต่ าอันเป็นกลไกที่ใช้ในการพยุงราคาข้าวและตลาดส่งออกข้าวระหว่างประเทศ ซึ่งมักมีปัญหาประกอบด้วย ความร้อนจากภายในตัวข้าวสภาวะอากาศภายนอกไม่คงที่ ควบคุมได้ยาก ระดับออกซิเจนทั้งนี้ได้มีวิธีรับมือกับปัญหาดังกล่าวเช่นการรักษาระดับออกซิเจน ควบคุมอุณหภูมิเพื่อลดการเกิดความร้อนแต่จ าเป็นต้องจ้างบุคลากรที่มีความรู้เฉพาะทางในด้านเทคโนโลยีนั้นๆ ส าหรับควบคุม และบันทึกข้อมูลท าให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูกว่า การเก็บแบบในยุ้งฉาง โกดัง และคลังสินค้า แต่มีการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยวน้อยกว่า ทางบริษัท อินเตอร์โกรฯ เห็นถึงปัญหาดังกล่าวที่ดูยุ่งยากมีขั้นตอนที่ซับซ้อนและอาจเป็นเหตุให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการควบคุมดูแลรวมถึงระดับอุณหภูมิและความชื้นไม่คงที่ส่งผลให้เกิดความผิดพลาดในการบันทึกข้อมูลและส่งผลเสียต่อคุณภาพข้าวเราจึงพัฒนาสร้างระบบควบคุมบรรยากาศเพื่อรักษาคุณภาพข้าวและก าจัดมอดในไซโลโดยควบคุมและติดตามคุณภาพ ผ่านระบบ IoT(Internet of Things) เป็นการท างานแบบอัตโนมัติ มีชุดค าสั่งการท างานที่ควบคุมง่าย เข้าใจง่าย ไม่จ าเป็นต้องสิ้นเปลืองจ้างบุคลากรเฉพาะทางอีกต่อไป