สิ่งแวดล้อม
อุปกรณ์เก็บขยะ
ผู้พัฒนา รางวัลชมเชย วิทยาลัยการอาชีพอู่ทอง
อาจารย์ที่ปรึกษา นายกิตติศักดิ์ กลิ่นดีปลี นางสาวเง็กไน้ แซ่ลี้ นายประยูร ภูมิกอง นางสาวเบญจมาภรณ์ วงษ์สุวรรณ นางศรีวรรณ มณีวงศ์ นายกษม ชูก้าน
นักศึกษา นายอนุชิต ทองเย็น นายธัญญาวิทย์ รักอู่ นายกิตติธัช มีทอง นางสาวปนัดดา คุ้มเวช นางสาวสุธิตา หงษ์เวียงจันทร์ นายธนกฤต จันทร์เพ็ชร
ระบบบำบัดมลภาวะจากเตาเผาขยะติดเชื้อ
รางวัลที่ 2 สาขาพลังงานสิ่งแวดล้อมและพัฒนาคุณภาพชีวิต
ชื่อโครงการ "ระบบบำบัดมลภาวะจากเตาเผาขยะติดเชื้อ"
ติดต่อ 02-928-2215-6
https://www.therm-eng.com/
ผู้พัฒนา บริษัท เทอร์ม เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด 11/72 ซอยช่างอากาศอุทิศ11 แขวงดอนเมือง เขตดอนเมือง
โครงการพัฒนาสร้างเครื่องแปรรูปขยะอินทรีย์เป็นสารปรับปรุงดินชีวภาพภายใน 24 ชั่วโมงขนาดรับขยะเข้า 100 กก./วัน(VCE64)
เพื่อส่งเสริมหน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบกำจัดขยะด้วยตนเอง หรือที่ต้องการช่วยเหลือสังคม ช่วยภาครัฐกำจัดขยะ ณ แหล่งกำเนิด เช่น โรงเรียนขนาดเล็ก หอพัก ตลาดสด คอนโดมิเนียม โรงงาน ภัตตาคาร/ศูนย์/ร้านอาหาร โรงแรมขนาดเล็ก ฯ ให้กำจัดขยะอินทรีย์ซึ่งบูดเน่าเหม็นได้ง่ายโดยถูกต้องตามหลักการ จึงคิดประดิษฐ์สร้างนวัตกรรมต้นแบบเครื่องกำจัดแปรรูปขยะอินทรีย์เป็นสารปรับปรุงดินชีวภาพภายใน 24 ชั่วโมง ขนาดรับขยะเข้าได้วันละ 100 กก.
เพื่อให้ใช้กำจัดขยะวันต่อวัน ทันกับขยะที่เกิด โดยเครื่องฯ ไม่เกิดมลภาวะสร้างความรำคาญ ควบคุมการทำงานด้วย PLC นับจากป้อนขยะเข้าเครื่อง ๆ จะทำงานเองอย่างต่อเนื่องและสัมพันธ์กันทุกระบบ จนกระทั่งขยะกลายสภาพเป็นสารปรับปรุงดินชีวภาพที่แห้งร่วน ปราศจากกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ ปลอดภัยต่อคน สัตว์ และพืช มีธาตุอาหารพืชครบถ้วนเพียงพอ โดยการต่อยอดจะวิจัยพัฒนาด้วยกระบวนการวิศวกรรมย้อนรอยจากเทคโนโลยีเครื่องแปรรูปขยะอินทรีย์เป็นสารปรับปรุงดินชีวภาพภายใน 24 ชั่วโมง ขนาดครัวเรือน รับขยะเข้า 6 กก./วัน ซึ่งเป็นองค์ความรู้ภายในองค์กร
เครื่องบดเปลือกหอยนางรม RID63
คลองมะรุ่ยเป็นคลองที่อยู่ติดกับทะแลและป่าโกงกางจึงเป็นคลองน้ำกร่อย ตั้งอยู่ระหว่างจังหวัดพังงาและกระบี่ บนรอยเลื่อนแผนดินไหวที่ชื่อว่า รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย ทำให้มีหาดทรายร้อนและโคลนร้อน ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศก์ แล้วยังมีป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของชุมชนบ้านโคกไคร หมู่ที่ 1 ตำบลมะรุ่ย อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา แล้วได้รับการคัดเลือกจาก กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ให้เป็นหมู่บ้านโอทอปเพื่อการท่องเที่ยว (OTOP Village Champion : OVC) ในชุมชนประกอบอาชีพการเลี้ยงอาหารทะเลหลายชนิด โดยเฉพาะหอยนางรมเป็นที่มีการเพาะเลี้ยงตั้งแต่อนุบาลถึงมีขนาดใหญ่สามารถส่งขายได้ เป็นแหล่งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ เมื่อมีการบริโภคหอยนางรม ก็จะมีชยะจากการทิ้งเปลือกหอยนางรมที่มีปริมาณมาก ในการจัดการขยะจากเปลือกหอยนางรมก็จะมีความยุ่งยาก เนื่องจากมีปริมาณและน้ำหนักมาก ทำให้ยากต่อการจัดการ ทางชุมชนจึงทำการระดมสมองเพื่อแสวงหาแนวทางในการจัดการ แล้วได้ข้อสรุปว่าในการกำจัดจะต้องทำให้มีขนาดที่เล็กลงโดยการย่อยเปลือกหอยและจึงนำไปทิ้งได้ ซึ่งก็เป็นขยะ ทางกลุ่มผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการใช้ประโยชน์จากการย่อยเปลือกหอยเพื่อเพิ่มมูลค่า และรายได้ให้กับชุมชน โดยนำเขาไปผสมกับสบู่ เกลายมาเป็นสบู่ที่มีสารขัดหรือสบู่สครับผิว (Scrub) ซึ่งจำเป็นต้องใช้เครื่องย่อยเปลือกหอยนางรมที่มีความสามารถย่อยให้มีขนาดที่เล็กที่ใช้เป็นสารขัดในสบู่ได้ โดยการใช้งานไม่ยุ่งยาก ปลอดภัย และประหยัด
เครื่องผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมาก RID63
เมื่อพิจารณาพื้นที่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีการปลูกหมากเป็นจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่จะเก็บเกี่ยวเฉพาะผลหมากมาจำหน่ายหรือแปรรูปทำหมากแห้งส่วนกาบหมากก็จะทิ้งไว้ในสวน ทั้งนี้หากนำกาบหมากมาทำผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายก็จะเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชนเพิ่มขึ้น ประจวบกับในสภาวะปัจจุบันราคาพืชผลทางเกษตรมีราคาตกต่ำลงมากทำให้เกษตรกรมีรายได้ลดลง ดังนั้นทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมอาชีพเกษตรกรชาวสวนยาง ตำบลท่าอุแท อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงมีแนวคิดที่สร้างกิจกรรมของชุมชนเพื่อเพิ่มรายได้จากเดิมที่รวมกลุ่มกันผลิตปุ๋ยใส่ยางพาราจำหน่ายแต่ปัจจุบันจำหน่ายได้น้อยลง นอกจากนั้นยังได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานีให้มีการพัฒนากลุ่มเพื่อยกระดับเกษตรกรเป็นเกษตรอุตสาหกรรม โดยเบื้องต้นได้มีมติที่จะนำวัสดุที่ไม่ก่อประโยชน์ (กาบหมาก) มาผลิตเป็นภาชนะต่าง ๆ แทนโฟม โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการผลิต เพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้สามารถจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้ (ตามหนังสือแจ้งความประสงค์ของผู้ประกอบการและหนังสือขอความอนุเคราะห์การผลิตเครื่องจักรจากจังหวัดสุราษฎร์ธานี ดังเอกสารแนบ) แต่เนื่องจากในปัจจุบันเครื่องแปรรูปกาบหมากมีราคาที่ค่อนข้างแพง และยังใช้เทคโนโลยีที่ยุ่งยาก กลุ่มเกษตรกรไม่มีกำลังในการจัดซื้อรวมทั้งยังไม่มีบุคลากรที่มีความสามารถในการดูแลบำรุงรักษาเครื่องจักรหากผ่านการใช้งานแล้วมีการชำรุด ดังนั้นทางจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานีจึงได้ประสานกับวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานีเพื่อคิดค้นและพัฒนาเครื่องจักรสำหรับผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมากแทนโฟมที่เหมาะสมกับการใช้งานในระดับชุมชนทั้งราคา กระบวนการทำงาน กำลังการผลิตและการบำรุงรักษา
จากสภาพและปัญหาดังกล่าวทางผู้วิจัยจึงได้คิดสร้างเครื่องผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมากแทนโฟมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน ที่พัฒนาระบบการทำงานและพัฒนาอุปกรณ์ให้ใช้กระบอกสูบเพียงกระบอกเดียว ชุดควบคุมความร้อนชุดเดียว แต่สามารถอัดได้ครั้งละ 2 รูปทรง เช่น จานหรือถ้วยโดยไม่ต้องเปลี่ยนแบบหรือโมล ส่งผลให้ทำงานได้รวดเร็วและราคาถูกเพราะลดชิ้นส่วนและอุปกรณ์ประกอบของเครื่องลง และประการสำคัญคือได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสู่การจำหน่ายในเชิงพาณิชย์สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร และมีส่วนช่วยในการลดมลภาวะแก่สิ่งแวดล้อม สร้างคุณภาพที่ดีให้กับคนในชุมชน สังคมและของโลกได้ ดังนั้นการสร้างเครื่องผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมากแทนโฟมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน จึงช่วยให้เกษตรกรและสมาชิกของวิสาหกิจชุมชนสามารถสร้างงานเพิ่มจากสิ่งของที่เหลือจากการแปรรูป มาสร้างรายได้ที่เกิดจากการทำงานของเครื่องจักรที่ทำงานอย่างรวดเร็ว ต่อเนื่อง และยังสามารถเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ที่ไม่ก่อประโยชน์มาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ก่อประโยชน์ให้กับเกษตรกรได้อีกด้วย โดยมีเป้าหมายการนำไปใช้ประโยชน์จริงในพื้นที่/ชุมชนอย่างยั่งยืน
เครื่องกลเติมอากาศแบบกังหันน้ำ โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์
รางวัลเทคโนโลยียอดเยี่ยมด้านเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ ประจำปี 2562
รางวัลที่ 3
สาขาเพื่อสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิต
พัฒนาโดย บริษัทไทนเอเย่นซี เอ็นยีเนียริ่ง จำกัด
ติดต่อ 02-691-5900 ต่อ 131
เอกสารประกอบ
เรือกำจัดผักตบชวา
รางวัลที่3 สาขาพลังงานสิ่งแวดล้อมและพัฒนาคุณภาพชีวิต
เอกสารประกอบ
เครื่องผลิตก๊าซไฮโดรเจนจากน้ำสำหรับทดแทนการใช้ก๊าซ
รางวัลที่2 สาขาพลังงานสิ่งแวดล้อมและพัฒนาคุณภาพชีวิต
เอกสารประกอบ
- 1
- 2
- 3
- 4
- ถัดไป ›
- หน้าสุดท้าย »