โครงการพัฒนาสินค้าเทคโนโลยีเพื่อทดแทนการนำเข้าและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน (TPD)
เครื่องกัดรวมศูนย์ 5 แกนขนาดเล็ก
.1.เครื่องกัดรวมศูนย์ 5 แกนขนาดเล็ก
บริษัทผู้ผลิต บริษัท สแกนเนอร์สสามมิติ (ประเทศไทย) จำกัด
การใช้เครื่องจักร 5 แกนในประเทศไทยยังใช้กันในวงจำกัด เนื่องจากเครื่องมีราคาสูงและการใช้งานต้องการความรู้หลายด้าน ทั้งเรื่องความเข้าใจการทำงานของเครื่อง การยึดจับงานให้เหมาะสม การสร้างคำสั่งการเดินกัด เป็นต้น จึงนับเป็นโอกาสที่ดีที่จะพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้เดิมโดยสร้างเครื่องกัดแบบ 5 แกนประเภท CNC โดยคุณลักษณะของเครื่องจะสามารถกัดโลหะได้ เพื่อเพิ่มวงการๆใช้งานให้กว้างขึ้น ขยายผลทางการตลาด แต่จะยังคงทำเครื่องขนาดเล็กเพื่อใช้งบประมาณไม่สูงมากและควบคุมการออกแบบ การผลิต การตรวจสอบความถูกต้องได้งาย โดยใช้เครื่องมือในประเทศที่มีอยู่ และเพื่อสร้างองค์ความรู้เพื่อขยายผลสร้างเครื่องขนาดใหญ่ต่อไป
คุณลักษณะของเครื่อง
1. สามารถกัดโลหะและอโลหะได้ เช่น Titanium,Steel,Aluminium,Brass,Zirconia,Plastic,Wood
2. Spindle เป็นแบบ High Speed ความเร็วสูงสุดถึง 15, 000 รอบหรือมากกว่า กำลังขับ 1.5 Kwatts หรือมากกว่า
3. สามารถเปลี่ยนมีดกัดระหว่างการทำงานได้ โดยมีส่วนเก็บมีดกัด ได้ 6 stations
4. สามารถกัดงานได้ทั้งแบบ 3 แกน,4 แกน,5 แกนแบบ Positioning และ 5 แกนแบบ Simultaneous
5. มีระบบน้ำหล่อเย็น ระบบลม เพื่อระบสายความร้อนชิ้นงาน
6. สามารถกัดงานได้ตลอดต่อเนื่อง 20-22 ชั่วโมงต่อวัน
การทำงานของเครื่อง
การทำงานของเครื่องฯ ควบคุมโดยระบบควบคุม หน้าจอและคอนโทรลพาแนล โดยเมื่อเปิดเครื่องแล้วเครื่องจะเริ่มต้นระบบการทำงานและให้เรายึดจับงานไว้ที่จานจับงาน ทำโปรแกรม NC Data จาก CAM Software ภายนอกนำเข้ามาใส่ในระบบคอนโทรลเพื่อจะวิ่งกัดงานตามโปรแกรมเหล่านั้น และเราเตรียมมีดกัดที่ต้องใช้ไว้ในที่เก็บมีดกัด ระบบจะทำงานตามโปรแกรมจนเสร็จ กัดชิ้นงานที่ต้องการออกมาโดยสามารถพลิกกัดชิ้นงานได้แบบ 5 แกน กัดโดยรอบตัวหรือกัดด้านหน้าด้านหลังได้โดยกัด Undercut ได้ ทั้งนี้มีเทคนิคการยึดจับงานด้วย การกัดงานประกอบด้วยการกัดหยาบ การกัดกึ่งละเอียด และการกัดละเอียดขั้นสุดท้าย สามารถกัดได้ทั้งโลหะ และอโลหะ โดยเปลี่ยนมีดกัด และรูปแบบการกัดงาน เครื่องจักรจะต่อเข้ากับระบบ Power supply และระบบลมที่มีแรงดันตามที่กำหนด มีถังเก็บน้ำหล่อเย็นด้านใต้เครื่อง มีระบบหมุนเวียนของเหลว และการกรองเศษที่เกิดจากการกัด เครื่องสามารถตั้งภายในอาคารสภาพแนวออฟฟิศหรือใน Workshop ได้
เครื่องนับฝาพลาสติกอัตโนมัติแบบไหลตก
.1. เครื่องนับและตรวจเช็คฝาพลาสติกทรงกลมโดยใช้กล้อง
บริษัทผู้ผลิต บริษัท มหาธานีอุตสาหกรรม จำกัด
บริษัทผู้ใช้ บริษัท เอแอนด์เอส พลาสแพค จำกัด
เนื่องจากฝาพลาสติกเป็นชิ้นงานที่สำคัญชิ้นหนึ่งของบรรจุภัณฑ์ และมีการผลิตเป็นจำนวนมากด้วยเครื่องฉีดพลาสติก และผู้ผลิตทั้งหมดนั้นจะต้องทำการนับจำนวน และตรวจเช็คคุณภาพ เพื่อเก็บเป็นข้อมูลของฝ่ายผลิต ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ และฝ่ายคงคลัง จนไปถึง จัดส่ง ซึ่งในปัจจุบันนั้น มีทั้งแบบชั่งด้วยน้ำหนัก และใช้แรงงานคนในการนับและตรวจสอบคุณภาพฝา
ในกรณีใช้ตราชั่งเนื่องจากว่าฝาพลาสติกนั้นมีน้ำหนักเบามากเมื่อเทียบกับค่าผิดพลาดของตราชั่งต่าง ๆ ทำให้มีความคาดเคลื่อนของจำนวนฝาอยู่ตลอด แม้กระทั้งใช้แรงงานคนนั้นก็ยังไม่สามารถนับและตรวจเช็คคุณภาพของฝาได้อย่างแม่นจำ ทำให้ผู้ผลิตนั้นไม่สามารถได้ข้อมูลที่ชัดเจน และเสียเปรียบทางการค้าให้กับลูกค้าที่มาซื้อฝา
คุณลักษณะของเครื่อง
รายการ |
รายละเอียด |
ขนาดฝาที่สามารถตรวจนับ |
20 mm-38 mm |
จำนวนกล้องตรวจเช็ค |
1 จุด |
ขนาดกระบะสำรองฝา |
ประมาณ 5000 ฝา |
กำลังไฟฟ้าสูงสุด |
1.5 kw |
จุดคัดแยกฝา |
2 จุด |
ความสามารถในการนับและตรวจ |
350 ฝา/นาที |
ขนาดเครื่องจักร (กว้างXยาวXสูง) |
1000 mm X 3000 mm X 2700 mm |
น้ำหนักเครื่องจักร |
500 kg |
การทำงานของเครื่อง
เครื่องนับฝาจะมีกระบะใส่ฝาเพื่อให้ผู้ใช้ทำการเทฝาพลาสติกลงไป และมีสายพานลำเลียงซึ่งมีลักษณะคล้ายตีนตะขาบซึ่งขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งสายพานชนิดนี้จะออกแบบมาเพื่อให้ฝามีลักษณะหงายในทิศทางเดียวกันเพื่อง่ายต่อการตรวจเช็ค สายพานจะลำเลียงฝาขึ้นสู่ด้านบนที่มีลักษณะในการพลักฝาให้ไปด้านข้างที่เป็นถาดรองรับ และถาดรองรับฝานั้นจะทำการเรียงฝาให้เป็นแถวเดียว ฝาจะถูกลำเลียงไปยังจานแบ่งซึ่งขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า เพื่อแบ่งฝาให้แยกห่างกันเท่า ๆ กัน เพื่อให้กล้องตรวจคุณภาพที่ห้องตรวจสอบคุณภาพฝาพลาสติกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และที่ปลายทางของสายพานลำเลียงจะมีเซ็นเซอร์นับฝา สามารถที่จะตั้งค่าความเข้มของเซ็นเซอร์ผ่านทางจอภาพสั่งการ เพื่อให้นับฝาพลาสติกได้หลากหลายสีตามที่ผู้ใช้ต้องการได้
เตียงพยาบาลพักฟื้นผู้ป่วย
.1. เตียงพยาบาลและพักฟื้นผู้ป่วย
บริษัทผู้ผลิต บริษัท เบลเมกส์ไทย จำกัด
บริษัทผู้ใช้ โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ
Home Like Design โดยออกแบบผสมผสานระหว่างการใช้งานด้านการแพทย์และความสวยงาม ด้วยระบบการปรับเตียงด้วยรีโมทคอนโทรล สามารถผ่อนแรงของผู้ดูแล ให้เหมาะสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่ไม่สะดวกในการเคลื่อนไหวร่างกายด้วยตนเอง โดยออกแบบฟังก์ชั่นการใช้งานให้ใช้งานได้ประโยชน์จริง มีรูปแบบที่สวยงาม รวมถึงใช้วัสดุเกรดสูงที่ผลิตในประเทศได้ โดยมีแนวทางการออกแบบให้มีความเป็นมิตรและไม่สร้างความเครียดให้กับผู้ใช้งาน
คุณลักษณะของเครื่อง
· โครงสร้างกรอบเตียงผลิตจากอลูมิเนียม
· มีแผงกั้นข้างเตียง 4 ชิ้น สามารถปรับได้ 2 ระดับ และเก็บเข้าใต้เตียงได้เพื่อความสวยงาม และความสะดวกในการลุกออกจากเตียง
· สามารถปรับเอนหลัง 0-80 องศา
· สามารถปรับเอนขา 0-35 องศา
· ปรับท่าหัวสูง-เท้าต่ำ (anti - trendelenburg)
· ปรับท่าหัวต่ำ-เท้าสูง (trendelenburg)
· ระยะปรับสูง-ต่ำ 40-75 cm
· ขนาดของเตียง 98 x 220 cm
· ความสามารถในการรับน้ำหนัก 250 kg
· ระบบซ่อนล้อเตียงด้วยรีโมทคอนโทรล
· มีระบบสำรองไฟ
· มีระบบไฟใต้เตียง ที่ติดทันทีเมื่อผู้ใช้ปรับเตียงให้ลงสุด เพื่อสะดวกและมองเห็นทางได้ในความมืด
รายละเอียดข้อกำหนด ( Specification ) |
ค่า/หน่วย |
1.มิติ (ขนาด / น้ำหนัก) 1.1 ขนาดเตียงผู้ป่วย 1.2 น้ำหนักรวมประมาณ |
100x200 ซ.ม. 150 kg |
2.กำลังงานด้าน Input 2.1 ระบบไฟฟ้าป้อนระบบ 2.2 แรงดันจ่ายออกให้มอเตอร์ 2.3 กระแสไฟฟ้าที่ใช้ 2.4 Max Load 2.5 Duty Cycle ;2min ON/ 2 min 18Min 2.6 IP Class |
220AC 24 VDC 8 Amp. 6000N 10% IP66 |
3.ความสามารถในการทำงานของเครื่องที่สามารถชี้วัดเชิงปริมาณ 3.1 ปรับความสูงต่ำ 3.2 ปรับยกปลายเท้า 3.3 ปรับยกหลัง 3.4 ปรับเอียงหน้า-หลัง 3.5 รองรับน้ำหนักสูงสุด |
45-75 ซ.ม. 0 - 45 องศา 0 - 80 องศา -15,0,+15 องศา 250 KGs. |
สรุปผลการดำเนินงาน
1. เริ่มจัดทำแบบ (Drawing) ให้ตรงตามสเปค หรือคุณสมบัติของเตียงผู้ป่วยที่ได้กำหนดไว้
(ดำเนินการแล้วเสร็จ 100 %)
ทางบริษัทฯ ได้ดำเนินการจัดทำแบบตามสเปคที่กำหนด และได้มีการแก้ไขอยู่หลายครั้ง เนื่องจากปัญหาดังที่ได้กล่าวไว้ใน หัวข้อปัญหาอุปสรรค และแนวทางการแก้ไข ซึ่งได้ทำการแก้ไขแล้วเสร็จในบางส่วน โดยเฉพาะในส่วนของการออกแบบ เนื่องจากงานทางด้านการออกแบบ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงานทางด้าน วิศวกรรม จึงส่งผลให้ท้ายที่สุดสามารถผลิตแบบได้ตามต้องการ
2. วิเคราะห์ปัญหาของแบบเพื่อหาแนวทางความเป็นไปได้ของชิ้นงานก่อนสรุปแบบเพื่อใช้ในการผลิต
(ดำเนินการแล้วเสร็จ 100 %)
หลังจากได้แบบงานที่ต้องการแล้ว จึงทำการถอดแบบ เพื่อจำลองกลไกการทำงานของชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำโครงสร้างพื้นเตียง โครงสร้างเตียง ฯลฯ นั้นมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดโดยการใช้เครื่องพิมพ์สามมิติก่อนที่จะดำเนินการสั่งผลิตชิ้นส่วนนั้นๆไม่เพียงเท่านี้บริษัทฯ ได้ทำการปรึกษาหารือกับทางผู้ผลิต เพื่อผลิตชิ้นงานตัวอย่างบางส่วนที่ต้องอาศัยเครื่องมือ ความรู้ ความชำนาญเป็นพิเศษ ก่อนที่จะผลิตจริง ซึ่งปัญหาและความยุ่งยากในส่วนนี้มีอยู่ 3 ส่วนด้วยกัน คือ ชิ้นส่วนหลักที่เป็นอลูมิเนียม , ชิ้นส่วนงานไม้ , อุปกรณ์ที่เป็นมอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้มีความสำคัญอย่างมากสำหรับการผลิตเตียงผู้ป่วย จึงต้องอาศัยการปรึกษาหารือกับผู้ผลิต เพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพและสมบูรณ์แบบที่สุด
3. ถอดแบบแต่ละส่วนเพื่อจัดเตรียมหาวัตถุดิบ (ดำเนินการแล้วเสร็จ 100 %)
ในขั้นตอนนี้เป็นการดำเนินการถอดแบบจากชิ้นงานสามมิติ ให้อยู่ในรูปแบบสองมิติ เพื่อนำไปให้ผู้ผลิตทำการเสนอราคาแม่พิมพ์และราคาชิ้นงาน ซึ่งปัญหาในส่วนนี้มีไม่มากนัก
4. ชิ้นส่วนหลักที่เป็นอลูมิเนียม (ดำเนินการแล้วเสร็จ 100 %)
ทางบริษัทฯ ทำการติดต่อกับผู้ผลิตหลายราย แต่เมื่อทำการเปรียบเทียบราคา และความน่าเชื่อถือของการผลิตแล้ว สรุปได้ว่า P&L Manufacturing Co.,Ltd เสนอราคาได้เหมาะสมและมีกำลังเพียงพอต่อการผลิต
5. ชิ้นส่วนงานที่เป็นไม้จริง (ดำเนินการแล้วเสร็จ 100 %)
บริษัทฯ ได้ติดต่อกับผู้ผลิตรายย่อย 2-3 ราย และสามารถได้ผู้ผลิตไม้เพื่อทำเตียงได้สำเร็จ
6. ชิ้นส่วนงานที่เป็นงานพลาสติก (ดำเนินการแล้วเสร็จ 100 %)
ในส่วนงานพลาสติกเป็นส่วนที่มีจำนวนชิ้นงานค่อนข้างสูง ค่าใช้จ่ายในการเปิดแม่พิมพ์จึงมีมูลค่ามาก ทางบริษัทฯ จึงจำเป็นต้องใช้ชิ้นงานจากเครื่องพิมพ์สามมิติมาใช้งานในการผลิตเตียงต้นแบบ
7. ชิ้นส่วนงานเหล็ก (ดำเนินการแล้วเสร็จ 100 %)
ชิ้นงานเหล็กเป็นชิ้นงานที่สามารถผลิต ได้รวดเร็วกว่าชิ้นงานอื่น ซึ่งทางบริษัทฯ มีผู้ผลิตที่ร่วมงานด้วยหลายราย จึงไม่เป็นปัญหาหากต้องการดำเนินการผลิต
8. อุปกรณ์มอเตอร์เตียงและระบบขับเคลื่อน (ดำเนินการแล้วเสร็จ 100 %)
อุปกรณ์มอเตอร์ได้มีการดำเนินการปรึกษาหารือในส่วนของ สเปค ฟังก์ชั่นการทำงาน รูปแบบการใช้งานของเตียง ฯลฯ โดยมทีมงาน Timotion Technology Co.,Ltd มาช่วยดำเนินการ
ปัญหาอุปสรรค และแนวทางการแก้ไข
1. ปัญหาในการออกแบบชิ้นงานในคอมพิวเตอร์
ปัญหา การออกแบบชิ้นงานต้องอาศัยประสบการณ์จริงจะต้องมีประสบการณ์ในการออกแบบ และใช้งานเตียงผู้ป่วย มาก่อน เพราะหากแบบที่ออกมาสวยงาม แต่ฟังก์ชันการทำงาน หรือวัสดุที่ไม่สามารถผลิตได้จะต้องมีการปรับแก้ไขอย่างมากรวมไปถึงหากไม่มีการลองชิ้นงานจริง จะทำให้ไม่ทราบปัญหาที่เกิดขึ้น
แนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยการตรวจสอบการทำงานจากสินค้าจริงที่มีอยู่ในท้องตลาด และการใช้เครื่องมือในการจำลองชิ้นงานให้ขนาดเท่าของจริง ซึ่งทางบริษัทฯ ได้เห็นความสำคัญของการใช้เครื่องพิมพ์ สามมิติ มาช่วยวิเคราะห์และปรับปรุงฟังก์ชันการทำงานทำให้สามารถแก้ไขปัญหาของการออกแบบชิ้นงานได้ดียิ่งขึ้น มากกว่าการจำลองและเขียนแบบเพียงอย่างเดียว
2. ปัญหาในเรื่องของงานทำแม่พิมพ์อลูมิเนียม
ปัญหา กระบวนการในการจัดทำแม่พิมพ์รีดอลูมิเนียม เป็นปัญหาอีกอย่างหนึ่ง เพราะการออกแบบชิ้นงานโดยที่ไม่ทราบกระบวนการรีดของอลูมิเนียม จะทำให้ชิ้นงานที่รีดออกมามีปัญหา บางชิ้นรีดได้ บางชิ้นรีดไม่ได้ ต้องมีความรู้ในการออกแบบ ซึ่งช่วงแรกของการออกแบบต้องมีการปรับแก้ไข
แนวทางในการแก้ไขปัญหา แก้ไขโดยเข้าไปขอคำปรึกษาและแนวทางในการออกแบบแม่พิมพ์อลูมิเนียมกับทางผู้ผลิต โดยตรงซึ่งคือทีมงานของ P&L Manufacturing Co.,Ltd
3. ปัญหาในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโปรแกรมและการทำงานของมอเตอร์
ปัญหา เรื่องของค่าใช้จ่าย ในการพัฒนาโปรแกรมมีมูลค่าถึง USD. 3,500.00 ซึ่งสูงมาก ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น
แนวทางในการแก้ไขปัญหา ลดวัสดุอุปกรณ์บางรายการที่ซับซ้อน โดยปรึกษากับทางทีมงานออกแบบมอเตอร์ ทีมงาน Timotion Technology Co.,Ltd ประเทศไต้หวัน เพื่อปรับแก้ฟังก์ชันที่ซับซ้อนและยุ่งยากในบางจุด ซึ่งสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ แต่ยังถือว่าไม่มากนัก
เครื่องบรรจุข้าวสารระบบอัตโนมัติ
เครื่องบรรจุข้าวสารระบบอัตโนมัติ
บริษัทผู้ผลิต บริษัท วรกุลชัย อินโนเวชั่น จำกัด
บริษัทผู้ใช้ บริษัท เอเชีย อินเตอร์ ไรซ์ จำกัด
คุณลักษณะของเครื่อง
เครื่องบรรจุข้าวสารอัตโนมัติแนวตั้ง มีระบบความร้อนในการปิดผนึกถุงพลาสติก โครงสร้างทำจากเหล็กทาสีและกรอบอลูมิเนียม มีอุปกรณ์มาตรฐานและคุณสมบัติดังนี้
อุปกรณ์ Unwinding ประกอบไปด้วย:
- เพลาถือ Reel
- เซนเซอร์ตรวจการปิดผนึก
- ระบบนิวแมติกส์ช่วยหนีบสำหรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วรีล
- ระบบการช่วยคลี่แผ่นม้วนฟิล์มที่ต่อเนื่องและเรียบเนียน
ระบบขับเคลื่อนมอเตอร์ประกอบไปด้วย:
- ระบบการเคลื่อนด้วยมอเตอร์เกียร์ไดรฟ์โดยอินเวอร์เตอร์
- การเคลื่อนไหวจะถูกส่งโดยอุปกรณ์สากลร่วมที่ช่วยให้สายพานไดรฟ์เพื่อให้สอดคล้องอยู่บนท่อขึ้นรูป
- ความดันที่ใช้โดยสายพานท่อขึ้นรูปจะทำได้โดยกระบอกสูบนิวเมติก
- การควบคุมโดยการลดความดันวาล์วเป็นสายพานดังกล่าวจะถูกปรับในลักษณะที่ถูกต้องมาก
และง่าย
- เข็มขัดมีความปลอดภัยในคู่มือการเชิงเส้นและตลับลูกปืนที่ให้ความแม่นยำเคลื่อนไหวสูงสุด
ท่อขึ้นรูปประกอบด้วยไหล่และท่อกำหนดค่าที่ทำจากสแตนเลส
รายละเอียดข้อกำหนด ( Specification ) |
ค่า/หน่วย |
1.มิติ (ขนาด / น้ำหนัก) |
15x20 เมตร |
2.กำลังงานด้าน Input |
6 KW |
3.ความสามารถในการทำงานของเครื่องที่สามารถชี้วัดเชิงปริมาณ 3.1 กำลังการบรรจุ 3.2 ระบบลม 3.3 Air consumtion 3.4 ชนิดฟิล์ม Polyethylene, OR polypropylene, laminated and coupled film
|
20-25 ถุง/นาที 6-8 Bar 350 L/min
|
หลักการทำงานของเครื่อง
เครื่องจักรทำหน้าที่บรรจุข้าวสารลงถุงพลาสติกที่น้ำหนัก 5 กก. โดยทำการปล่อยข้าวพร้อมกันสองช่อง ๆ ละ 2.5 กก. รวมกันได้ 5 กิโลกรัม โครงสร้างทำจากวัสดุสแตนเลส 304 ที่มีความแข็งแรง การเคลื่อนที่ของถุงที่บรรจุสามารถตั้งเวลาการทำงานได้ตามประเภทของสินค้า การควบคุมปริมาณโดยการกดปุ่มไฟฟ้าสำหรับขึ้น-ลง ขับเคลื่อนด้วยระบบสกรูมอเตอร์ ซึ่งการทำงานลักษณะนี้จะสามารถทำให้การบรรจุทำได้ต่อเนื่องโดยที่เครื่องไม่ต้องหยุดการทำงานและมีการติดตั้งอุปกรณ์การควบคุมระดับในถังพักข้าวสารด้วย
สรุปผลการดำเนินงาน
บริษัทได้ผลิตและประกอบชิ้นส่วนของเครื่องเรียบร้อยแล้ว สำเร็จ 100 เปอร์เซ็นต์ และได้ทำการทดสอบการใช้งานส่วนต่างๆของเครื่อง ดังนี้
การทดสอบสมรรถนะการรับน้ำหนักของชุดจับถุงและแขนยก
ทดสอบการรับน้ำหนัก Maximum Weight = 50 กิโลกรัม
น้ำหนักทำงานปกติรับน้ำหนักข้าวสารถุงละ 5 กิโลกรัม จำนวนครั้ง 4 ถุง = 20 กิโลกรัม
หุ่นยนต์รับน้ำหนักสูงสุด 165 กิโลกรัม
สมรรถนะการทำงานของเครื่องบรรจุข้าวสารและการลำเลียงลงถุงจัมโบ้แบ็ก
ขนาดบรรจุข้าวสารถุงเล็กขนาด 5 กิโลกรัมจำนวน 60 ถุง ต่อ 1 ถุงใหญ่
การจัดเรียง 4 ถุง x 3 แถว จำนวน 5 ชั้น รวม 300 กิโลกรัม
สมรรถนะด้านความเร็วในการบรรจุข้าวสารลงถุงจัมโบ้แบ็กเฉลี่ย 25 ถุงต่อนาที
ขนาดพื้นที่ในการติดตั้งกว้าง x ยาว = 14 x 8 เมตร
กำลังงานไฟฟ้ารวมในระบบลำเลียง = 6 KW
ระบบความปลอดภัยมีการติดตั้งเซนเซอร์ป้องกันบุคคลเข้าถึงชุดลำเลียง เพื่อสั่งการหยุดทำงานทันที
ข้อเสนอแนะ
จากการพัฒนาชุดบรรจุและลำเลียงข้าวสารขนาด 5 กิโลกรัม ลงถุงจัมโบ้แบ็กขนาดบรรจุ 300 กิโลกรัม พบว่าการออกแบบเครื่องได้ผลตามข้อกำหนดที่นำเสนอต่อลูกค้า การทดสอบการทำงานเป็นไปตามเงื่อนไข โดยผู้พัฒนาได้องค์ความรู้เพิ่มขึ้นในส่วนของการออกแบบและวิเคราะห์ชิ้นส่วนที่ใช้ในการจับถุงและแขนยก ซึ่งประสบการณ์ที่ผ่านมาในการผลิตมักจะเป็นจุดที่มีปัญหามากที่สุดส่วนอีกจุดหนึ่งที่ผู้พัฒนาได้ออกแบบรองรับขึ้นมาใหม่คือส่วนของปลายชุดจับยึดบริเวณแขนหุ่นยนต์ ซึ่งมีขนาดยาวเป็นพิเศษ แต่ต้องรองรับน้ำหนักได้สูง ซึ่งในการออกแบบดังกล่าวทำให้สามารถรับน้ำหนักได้ถึง 165 กิโลกรัม
สำหรับข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการพัฒนาเครื่องบรรจุและลำเลียงในโครงการนี้ ผู้พัฒนาต้องการพัฒนาเครื่องจักรในส่วนอื่นๆ เช่น เครื่องบรรจุตามพิกัดขนาดที่กำหนด หรือรวมไปถึงชุดหุ่นยนต์ ซึ่งทั้งสองส่วนที่กล่าวมาต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศอิตาลีและประเทศญี่ปุ่นตามลำดับ และยังมีราคาต้นทุนสูงทำให้เครื่องจักรทั้งระบบมีราคาสูงตามไปด้วย ดังนั้นหากบริษัทสามารถนำความรู้ที่มีอยู่สามารถพัฒนาเครื่องจักรขึ้นได้เองก็จะสามารถทำให้ต้นทุนลดลง ผู้ประกอบการรายเล็กก็สามารถใช้เครื่องจักรที่มีระบบเทคโนโลยีชั้นสูงได้ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยพัฒนาระบบการผลิตของประเทศ
เครื่องขึ้นรูปโพลิเมอร์ขนาดใหญ่สามมิติ
เครื่องขึ้นรูปชิ้นงานโพลิเมอร์ขนาดใหญ่ระบบอัตโนมัติควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์
บริษัทผู้ผลิต บริษัท บางกอก บลูโอเชี่ยน จำกัด
บริษัทผู้ใช้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด มอค อัพ แมน
แนวโน้มการใช้งานเครื่องพิมพ์สามมิติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งดูได้จากมีผู้นำสินค้าจากต่างประเทศที่เกี่ยวกับเครื่องพิมพ์สามมิติมาจำหน่ายเป็นจำนวนมาก และ มีการแสดงสินค้าที่เกี่ยวข้องกับ เทคโนโลยีการพิมพ์เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ยังไม่มีผู้ผลิตรายใด สามารถผลิตเครื่องพิมพ์สามมิติขนาดใหญ่ เพื่อจำหน่ายได้และราคาเครื่องพิมพ์สามมิติ ที่นำเข้าจากต่างประเทศ มีราคาสูงมาก
มอค อัพ แมน เป็นผลิตชิ้นส่วน ,ต้นแบบ ที่มีขนาดเล็ก ไปจนถึงขนาดใหญ่มาก โดยเมื่อเริ่มแรกได้ใช้การขึ้นรูปด้วยมือแล้วใช้งาน เครื่อง CNC ในการขึ้นรูป จนปัจจุบันใช้เครื่องพิมพ์สามิติขนาดเล็ก สร้างต้นแบบ แล้วนำมาต่อกันด้วยความร้อน ซึ่งเสียเวลาในการประสาน และ ลบรอยต่อ จึงมีความคิดที่จะใช้งานเครื่องพิมพ์ขนาดใหญ่ แต่เมื่อตรวจสอบราคา แล้วพบว่า ไม่มีสินค้าเหล่านี้จำหน่ายในไทย และ ถ้าสั่งนำเข้ามาราคาจะสูงมากเกินความสามารถที่จะซื้อ
คุณลักษณะของเครื่อง
เครื่องขึ้นรูปชิ้นงานโพลิเมอร์ขนาดใหญ่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ประกอบไปด้วยส่วนประกอบหลักดังนี้
1. ชุดคอมพิวเตอร์ประมวลผล
เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรมสำหรับออกแบบ และโปรแกรมสร้างโค๊ด เพื่อให้เครื่องจักรทำงาน
2. ชุดป้อนเส้นโพลิเมอร์
เป็นชุดเก็บเส้นโพลิเมอร์ ต่อด้วยท่อพลาสติกอ่อน มีระบบป้องกันสายพันกัน
3. ชุดหัวฉีด
ประกอบด้วยหัวฉีดที่ปรับค่าได้ ตั้งแต่ 0.1 – 0.6 มม. มีฮีทเตอร์ให้ความร้อนและพัดลมระบายความร้อน
4. ชุดแท่นยึดชิ้นงาน
ประกอบด้วยแผ่นให้ความร้อนอยู่ใต้ฐานที่ทำจากเซรามิค สามารถปรับระดับได้เพื่อแก้ปัญหางานหลุดออกจากฐาน
5. ชุดขับเคลื่อนแกน X Y Z
ประกอบไปด้วยชุดอิเลคทรอนิคส์ควบคุมการเคลื่อนที่ของแต่ละแกนโดยส่งกำลังจากมอเตอร์ไปยัง
บอลสกรู แล้วทำการขับเคลื่อนแกนโดยทั้งหมดจะแยกอิสระออกจากกัน
6. แผงควบคุมการทำงาน
เป็นแผงควบคุมการทำงานทั้งหมด สั่งให้เครื่องเคลื่อนที่ สั่งให้อุ่นแผ่นความร้อน หรือหัวฉีด สั่งปลดงาน
เป็นศูนย์กลางการควบคุมเครื่อง
รายละเอียดข้อกำหนด ( Specification ) |
ค่า/หน่วย |
1.มิติ (ขนาด / น้ำหนัก) มิติ : 1,000 x 1,000 x 1,500 มิลลิเมตร น้ำหนัก ประมาณ 400 กิโลกรัม พื้นที่ทำงาน 600 x 600 x 600 มิลลิเมตร ความเร็วสูงสุดในการเคลื่อนที่ 150 mm/s ความเร็วสูงสุดในการขึ้นรูป 100 mm/s กระแสไฟฟ้า 220 Volt, 50 Hz โปรแกรมในการออกแบบสามมิติ Rhinoceros 5.0 ราคาของเครื่องจักร ประมาณ 800,000 บาท |
1000 x 1000 x 1500 มิลลิเมตร / 400 กิโลกรัม |
2.กำลังงานด้าน Input |
220V / 80W |
3.ความสามารถในการทำงานของเครื่องที่สามารถชี้วัดเชิงปริมาณ 3.1 สามารถขึ้นรูปโพลิเมอร์ได้ใหญ่สุด 60x60x60 cm. 3.2 สามารถขึ้นรูปโพลิเมอร์ได้หลายชนิด ABS,PLA, rubber, wood powder polymer matrix 3.3 ความคลาดเคลื่อนของผิวงานน้อยกว่า 100 ไมโครเมตร และความคลาดเคลื่อนของตำแหน่ง น้อยกว่า 200 ไมโครเมตร 3.4 ความเร็วสูงสุดในการขึ้นรูป 100 mm/s 3.5 ความเร็วสูงสุดในการเคลื่อนที่ 150 mm/s |
|
4.มาตรฐานที่ใช้ในการทดสอบ เช่น มอก. , ISO หรือมาตรฐานอื่นที่มีใช้ในโรงงาน ทำการวัดขนาดเครื่องโดยใช้แถบวัด และทำการตรวจสอบความละเอียดของชิ้นงานด้วย เวอร์เนียดิจิตอล และไมโครมิเตอร์ ทำการตรวจสอบตำแหน่งภายในชิ้นงานด้วยเครื่อง CMM |
|
5.เครื่องมือวัดและทดสอบ ทำการวัดโดยการทดสอบขนาดเบื้องต้นของเครื่องทำการวัดความเบี่ยงเบนของเครื่อง จากนั้นทดลองพิมพ์ชิ้นงานขนาดต่างๆ เพื่อนำมาวัดขนาดชิ้นงานที่ได้ Measure tape (1mm.) Venier Digital Gauge (0.01 mm.) Micrometer(0.001)CMM(0.001mm) |
หลักการทำงานของเครื่อง
การทำงานของเครื่องจักร เริ่มจากการออกแบบชิ้นงานในคอมพิวเตอร์ ทำการวิเคราะห์ชิ้นงานว่ามีจุดบกพร่องในการขึ้นรูปหรือไม่ หลังจากนั้นนำแบบที่ได้ไปทำการแปลงเป็นรหัสจี (G code) เพื่อสั่งให้เครื่องจักรทำงานตามรูปแบบที่กำหนด ทำการกำหนดตัวแปรในการขึ้นรูป กำหนดความหนาชิ้นงาน ความละเอียดในการขึ้นรูป หลังจากนั้นทำการ เปิดเครื่อง ทำการอุ่นแผ่นความร้อนที่ด้านล่างเพื่อให้การยึดติดชิ้นงานเป็นไปอย่างสมบูรณ์ ทำการใส่ม้วนเส้นพลาสติก ร้อยเส้นโพลิเมอร์ผ่านท่ออ่อน ร้อยไปยังหัวฉีด ทำการอุ่นหัวฉีด แล้วใส่เส้นโพลิเมอร์ ทำการโหลดโปรแกรมที่ได้ทำไว้ ทำการเดินเครื่อง เมื่อเครื่องทำงานเสร็จแล้ว ทำการลดอุณหภูมิของแผ่นความร้อน ด้วยการปิดตัวทำความร้อน หลังจากนั้น จึงแกะชิ้นงานออกจากแท่นเครื่อง
สรุปผลการดำเนินงาน
· ออกแบบและพัฒนาเครื่องจักร
- ได้ออกแบบเสร็จสมบูรณ์ 100 %
· ดำเนินการผลิตชิ้นส่วน
- ทำการผลิตชิ้นส่วนของตัวเครื่องเสร็จสมบูรณ์ 100%
· ประกอบ และทดสอบ
- ทำการประกอบเสร็จสมบูรณ์ 100%
· แก้ไขและปรับปรุงประสิทธิภาพ
- ทำการแก้ไข และปรับปรุงประสิทธิภาพเสร็จสมบูรณ์ 100%
· ส่งมอบเครื่อง
- ทำการส่งมอบเครื่องและคู่มือการใช้งานให้กับผู้ประกอบการ
ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการแก้ไข
เนื่องจากเป็นเครื่องขนาดใหญ่ในการทำงานของเครื่องมีปัญหาในการปรับตั้ง Firmware และความเร็วในการเคลื่อนที่ของแกนต่างๆ และอัตราการป้อนเส้นพลาสติกให้สัมพันธ์กัน ทำได้ยาก ต้องมีการทดลองปรับค่าต่างๆเพื่อให้ได้การทำงานที่สมดุล และได้ชิ้นงานที่ดี มีขนาดของชิ้นงานที่ถูกต้องแม่นยำ จึงต้องทำการออกแบบการทดลอง และบันทึกค่าผลการทดลองเพื่อให้ได้ผลออกมาดีที่สุด ซึ่งใช้เวลาในการทดลองประมาณสองสัปดาห์เพื่อปรับค่าให้เหมาะสม
เครื่องกะเทาะข้าวเปลือกระบบอัตโนมัติ
เครื่องกะเทาะข้าวเปลือกระบบอัตโนมัติ
เครื่องกะเทาะข้าวเปลือกเป็นเครื่องจักรที่ทำหน้าที่กะเทาะเปลือกของข้าวเปลือกออกให้เป็นข้าวกล้อง และแกลบ มีการใช้งานในโรงสีข้าวทั่วประเทศ ถ้าคำนวณจากผลผลิตข้าวเปลือกของประเทศไทย 36 ล้านตัน
ในระยะเวลา 1 ปี การจะสีข้าวเปลือกให้เสร็จสิ้นโดยใช้เวลา 365 วันนั้น ประเทศไทยจะต้องการเครื่องกะเทาะข้าวจำนวนประมาณ 1,650 เครื่อง เพื่อทำหน้าที่กะเทาะเปลือกตลอดทั้งปี แต่ในทางปฏิบัติการสีข้าวเกิดขึ้นไม่นานกว่า
3 เดือนตลอดทั้งปี เนื่องจากกำลังผลิตของโรงสีที่มากกว่าผลผลิตของข้าวเปลือก ดังนั้นจำนวนเครื่องกะเทาะข้าวเปลือกที่ประจำการอยู่ในโรงสีน่าจะมีอยู่ไม่ต่ำกว่า 6,600 เครื่องทั่วประเทศไทย เนื่องจากเครื่องกะเทาะข้าวเปลือกเป็นเครื่องจักรที่มีอายุการใช้งานยาวนาน ทำให้มีอัตราการซื้อทดแทนต่ำ แต่ทว่าโรงสีก็ยังซื้อทดแทนด้วยเหตุผลอื่นๆ เช่น เทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้น ทำให้คุณภาพการกะเทาะเปลือกที่ดีขึ้น กำลังผลิตที่มากขึ้น และความสะดวกสบายในการใช้งาน
คุณลักษณะและสมรรถนะของเครื่อง
1. มีอัตรากำลังการผลิตอยู่ที่ 3-4 ตันต่อชั่วโมง
2. มีระบบ PLC ประมวลผลการทำงานและหน้าจอสัมผัส (Touch Screen)
3. สามารถนับชั่วโมงการใช้งานเครื่องจักรและตั้งเวลานับชั่วโมงการทำงานของลูกยาง
4. สามารถวัดอุณหภูมิเพื่อสั่งการให้ให้เครื่องหยุดกะเทาะ
5. มีระบบการเตือนผู้ใช้เมื่อถึงเวลาการเปลี่ยนลูกยางสีข้าว
พัฒนาโดย สถาบันไทย-เยอรมัน
700/1 หมู่ 1 นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ถนนบางนาตราด กม. 57
ตำบลคลองตำหรุ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20000
โทรศัพท์ : 038-215088-44
โทรสาร : 038-743464
ลูกค้าสัมพันธ์ : 02-784464
Email: Marketing@tgi.or.th
บริษัทที่ร่วมโครงการ บริษัท ยนต์ผลดี จำกัด
25/6 ถนนพหลโยธิน กม.351 อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 60240
โทรศัพท์ 056-334000-2
โทรสาร 056-334004
Email: karn.ck@gmail.com
ราคาเริ่มต้นที่ …………………. บาท/เครื่อง
พัฒนาภายใต้ โครงการพัฒนาสินค้าเทคโนโลยีเพื่อผลักดันสู่ตลาด AEC ประจำปีงบประมาณ 2
- « แรก
- ‹ หน้าก่อน
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- ถัดไป ›
- หน้าสุดท้าย »