เตียงพยาบาลพักฟื้นผู้ป่วย
.1. เตียงพยาบาลและพักฟื้นผู้ป่วย
บริษัทผู้ผลิต บริษัท เบลเมกส์ไทย จำกัด
บริษัทผู้ใช้ โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ
Home Like Design โดยออกแบบผสมผสานระหว่างการใช้งานด้านการแพทย์และความสวยงาม ด้วยระบบการปรับเตียงด้วยรีโมทคอนโทรล สามารถผ่อนแรงของผู้ดูแล ให้เหมาะสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่ไม่สะดวกในการเคลื่อนไหวร่างกายด้วยตนเอง โดยออกแบบฟังก์ชั่นการใช้งานให้ใช้งานได้ประโยชน์จริง มีรูปแบบที่สวยงาม รวมถึงใช้วัสดุเกรดสูงที่ผลิตในประเทศได้ โดยมีแนวทางการออกแบบให้มีความเป็นมิตรและไม่สร้างความเครียดให้กับผู้ใช้งาน
คุณลักษณะของเครื่อง
· โครงสร้างกรอบเตียงผลิตจากอลูมิเนียม
· มีแผงกั้นข้างเตียง 4 ชิ้น สามารถปรับได้ 2 ระดับ และเก็บเข้าใต้เตียงได้เพื่อความสวยงาม และความสะดวกในการลุกออกจากเตียง
· สามารถปรับเอนหลัง 0-80 องศา
· สามารถปรับเอนขา 0-35 องศา
· ปรับท่าหัวสูง-เท้าต่ำ (anti - trendelenburg)
· ปรับท่าหัวต่ำ-เท้าสูง (trendelenburg)
· ระยะปรับสูง-ต่ำ 40-75 cm
· ขนาดของเตียง 98 x 220 cm
· ความสามารถในการรับน้ำหนัก 250 kg
· ระบบซ่อนล้อเตียงด้วยรีโมทคอนโทรล
· มีระบบสำรองไฟ
· มีระบบไฟใต้เตียง ที่ติดทันทีเมื่อผู้ใช้ปรับเตียงให้ลงสุด เพื่อสะดวกและมองเห็นทางได้ในความมืด
รายละเอียดข้อกำหนด ( Specification ) |
ค่า/หน่วย |
1.มิติ (ขนาด / น้ำหนัก) 1.1 ขนาดเตียงผู้ป่วย 1.2 น้ำหนักรวมประมาณ |
100x200 ซ.ม. 150 kg |
2.กำลังงานด้าน Input 2.1 ระบบไฟฟ้าป้อนระบบ 2.2 แรงดันจ่ายออกให้มอเตอร์ 2.3 กระแสไฟฟ้าที่ใช้ 2.4 Max Load 2.5 Duty Cycle ;2min ON/ 2 min 18Min 2.6 IP Class |
220AC 24 VDC 8 Amp. 6000N 10% IP66 |
3.ความสามารถในการทำงานของเครื่องที่สามารถชี้วัดเชิงปริมาณ 3.1 ปรับความสูงต่ำ 3.2 ปรับยกปลายเท้า 3.3 ปรับยกหลัง 3.4 ปรับเอียงหน้า-หลัง 3.5 รองรับน้ำหนักสูงสุด |
45-75 ซ.ม. 0 - 45 องศา 0 - 80 องศา -15,0,+15 องศา 250 KGs. |
สรุปผลการดำเนินงาน
1. เริ่มจัดทำแบบ (Drawing) ให้ตรงตามสเปค หรือคุณสมบัติของเตียงผู้ป่วยที่ได้กำหนดไว้
(ดำเนินการแล้วเสร็จ 100 %)
ทางบริษัทฯ ได้ดำเนินการจัดทำแบบตามสเปคที่กำหนด และได้มีการแก้ไขอยู่หลายครั้ง เนื่องจากปัญหาดังที่ได้กล่าวไว้ใน หัวข้อปัญหาอุปสรรค และแนวทางการแก้ไข ซึ่งได้ทำการแก้ไขแล้วเสร็จในบางส่วน โดยเฉพาะในส่วนของการออกแบบ เนื่องจากงานทางด้านการออกแบบ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงานทางด้าน วิศวกรรม จึงส่งผลให้ท้ายที่สุดสามารถผลิตแบบได้ตามต้องการ
2. วิเคราะห์ปัญหาของแบบเพื่อหาแนวทางความเป็นไปได้ของชิ้นงานก่อนสรุปแบบเพื่อใช้ในการผลิต
(ดำเนินการแล้วเสร็จ 100 %)
หลังจากได้แบบงานที่ต้องการแล้ว จึงทำการถอดแบบ เพื่อจำลองกลไกการทำงานของชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำโครงสร้างพื้นเตียง โครงสร้างเตียง ฯลฯ นั้นมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดโดยการใช้เครื่องพิมพ์สามมิติก่อนที่จะดำเนินการสั่งผลิตชิ้นส่วนนั้นๆไม่เพียงเท่านี้บริษัทฯ ได้ทำการปรึกษาหารือกับทางผู้ผลิต เพื่อผลิตชิ้นงานตัวอย่างบางส่วนที่ต้องอาศัยเครื่องมือ ความรู้ ความชำนาญเป็นพิเศษ ก่อนที่จะผลิตจริง ซึ่งปัญหาและความยุ่งยากในส่วนนี้มีอยู่ 3 ส่วนด้วยกัน คือ ชิ้นส่วนหลักที่เป็นอลูมิเนียม , ชิ้นส่วนงานไม้ , อุปกรณ์ที่เป็นมอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้มีความสำคัญอย่างมากสำหรับการผลิตเตียงผู้ป่วย จึงต้องอาศัยการปรึกษาหารือกับผู้ผลิต เพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพและสมบูรณ์แบบที่สุด
3. ถอดแบบแต่ละส่วนเพื่อจัดเตรียมหาวัตถุดิบ (ดำเนินการแล้วเสร็จ 100 %)
ในขั้นตอนนี้เป็นการดำเนินการถอดแบบจากชิ้นงานสามมิติ ให้อยู่ในรูปแบบสองมิติ เพื่อนำไปให้ผู้ผลิตทำการเสนอราคาแม่พิมพ์และราคาชิ้นงาน ซึ่งปัญหาในส่วนนี้มีไม่มากนัก
4. ชิ้นส่วนหลักที่เป็นอลูมิเนียม (ดำเนินการแล้วเสร็จ 100 %)
ทางบริษัทฯ ทำการติดต่อกับผู้ผลิตหลายราย แต่เมื่อทำการเปรียบเทียบราคา และความน่าเชื่อถือของการผลิตแล้ว สรุปได้ว่า P&L Manufacturing Co.,Ltd เสนอราคาได้เหมาะสมและมีกำลังเพียงพอต่อการผลิต
5. ชิ้นส่วนงานที่เป็นไม้จริง (ดำเนินการแล้วเสร็จ 100 %)
บริษัทฯ ได้ติดต่อกับผู้ผลิตรายย่อย 2-3 ราย และสามารถได้ผู้ผลิตไม้เพื่อทำเตียงได้สำเร็จ
6. ชิ้นส่วนงานที่เป็นงานพลาสติก (ดำเนินการแล้วเสร็จ 100 %)
ในส่วนงานพลาสติกเป็นส่วนที่มีจำนวนชิ้นงานค่อนข้างสูง ค่าใช้จ่ายในการเปิดแม่พิมพ์จึงมีมูลค่ามาก ทางบริษัทฯ จึงจำเป็นต้องใช้ชิ้นงานจากเครื่องพิมพ์สามมิติมาใช้งานในการผลิตเตียงต้นแบบ
7. ชิ้นส่วนงานเหล็ก (ดำเนินการแล้วเสร็จ 100 %)
ชิ้นงานเหล็กเป็นชิ้นงานที่สามารถผลิต ได้รวดเร็วกว่าชิ้นงานอื่น ซึ่งทางบริษัทฯ มีผู้ผลิตที่ร่วมงานด้วยหลายราย จึงไม่เป็นปัญหาหากต้องการดำเนินการผลิต
8. อุปกรณ์มอเตอร์เตียงและระบบขับเคลื่อน (ดำเนินการแล้วเสร็จ 100 %)
อุปกรณ์มอเตอร์ได้มีการดำเนินการปรึกษาหารือในส่วนของ สเปค ฟังก์ชั่นการทำงาน รูปแบบการใช้งานของเตียง ฯลฯ โดยมทีมงาน Timotion Technology Co.,Ltd มาช่วยดำเนินการ
ปัญหาอุปสรรค และแนวทางการแก้ไข
1. ปัญหาในการออกแบบชิ้นงานในคอมพิวเตอร์
ปัญหา การออกแบบชิ้นงานต้องอาศัยประสบการณ์จริงจะต้องมีประสบการณ์ในการออกแบบ และใช้งานเตียงผู้ป่วย มาก่อน เพราะหากแบบที่ออกมาสวยงาม แต่ฟังก์ชันการทำงาน หรือวัสดุที่ไม่สามารถผลิตได้จะต้องมีการปรับแก้ไขอย่างมากรวมไปถึงหากไม่มีการลองชิ้นงานจริง จะทำให้ไม่ทราบปัญหาที่เกิดขึ้น
แนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยการตรวจสอบการทำงานจากสินค้าจริงที่มีอยู่ในท้องตลาด และการใช้เครื่องมือในการจำลองชิ้นงานให้ขนาดเท่าของจริง ซึ่งทางบริษัทฯ ได้เห็นความสำคัญของการใช้เครื่องพิมพ์ สามมิติ มาช่วยวิเคราะห์และปรับปรุงฟังก์ชันการทำงานทำให้สามารถแก้ไขปัญหาของการออกแบบชิ้นงานได้ดียิ่งขึ้น มากกว่าการจำลองและเขียนแบบเพียงอย่างเดียว
2. ปัญหาในเรื่องของงานทำแม่พิมพ์อลูมิเนียม
ปัญหา กระบวนการในการจัดทำแม่พิมพ์รีดอลูมิเนียม เป็นปัญหาอีกอย่างหนึ่ง เพราะการออกแบบชิ้นงานโดยที่ไม่ทราบกระบวนการรีดของอลูมิเนียม จะทำให้ชิ้นงานที่รีดออกมามีปัญหา บางชิ้นรีดได้ บางชิ้นรีดไม่ได้ ต้องมีความรู้ในการออกแบบ ซึ่งช่วงแรกของการออกแบบต้องมีการปรับแก้ไข
แนวทางในการแก้ไขปัญหา แก้ไขโดยเข้าไปขอคำปรึกษาและแนวทางในการออกแบบแม่พิมพ์อลูมิเนียมกับทางผู้ผลิต โดยตรงซึ่งคือทีมงานของ P&L Manufacturing Co.,Ltd
3. ปัญหาในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโปรแกรมและการทำงานของมอเตอร์
ปัญหา เรื่องของค่าใช้จ่าย ในการพัฒนาโปรแกรมมีมูลค่าถึง USD. 3,500.00 ซึ่งสูงมาก ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น
แนวทางในการแก้ไขปัญหา ลดวัสดุอุปกรณ์บางรายการที่ซับซ้อน โดยปรึกษากับทางทีมงานออกแบบมอเตอร์ ทีมงาน Timotion Technology Co.,Ltd ประเทศไต้หวัน เพื่อปรับแก้ฟังก์ชันที่ซับซ้อนและยุ่งยากในบางจุด ซึ่งสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ แต่ยังถือว่าไม่มากนัก