การแพทย์และเวชกรรม
หุ่นยนต์กายภาพบำบัดแบบเคลื่อนที่ได้ (VCE60)
หุ่นยนต์กายภาพบำบัดแบบเคลื่อนที่ได้
(Walker Exoskeleton Robotic)
โครงการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้วยวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า ประจำปีงบประมาณ 2560
พัฒนาโดยการติดล้อหุ่นยนต์กายภาพบำบัดเคลื่อนที่ได้ที่ช่วยทรงตัวได้ด้านหลังของหุ่นยนต์กายภาพบำบัดแบบเคลื่อนที่ได้เพื่อความมั่นใจในการใช้งานและความปลอดภัยแก่ผู้ป่วยที่ใช้งานอีกทั้งยังมีจอแสดงผลที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลในการเดินว่ามีพัฒนาการอย่างไรบ้างและยังแก้ความเบื่อได้ด้วยการมีเกมที่ขยับตามการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยอีกด้วยส่งผลให้ผู้ป่วยลดความเครียดและสนุกไปกับมันทำให้อยากที่จะกายภาพบำบัดมากขึ้นหรือบ่อยขึ้น และยังแบ่งเบาหน้าที่ของนักกายภาพบำบัดในประเทศไทยได้อีกมากเนื่องจากจะลดราคาเช่าใช้งานให้ผู้ป่วยเข้าถึงได้มากยิ่งขึ้น
ผู้ร่วมโครงการ
ผู้เสนอโครงการ (หัวหน้าโครงการ)
ชื่อ-นามสกุล นายปรีชา เต็มพร้อม ตำแหน่ง นายกสมาคมเครื่องจักรกลไทย
สมาคมเครื่องจักรกลไทย
ผู้ประกอบการที่ร่วมโครงการ (ผู้ผลิตเท่านั้น)
ชื่อ-นามสกุล นาย อนุชิต นาคกล่อม ตำแหน่ง ผู้จัดการฝ่ายขาย
บริษัท เซ็นเซอร์นิกส์ จำกัด
เอกสารประกอบ
เตียงพยาบาลพักฟื้นผู้ป่วย
.1. เตียงพยาบาลและพักฟื้นผู้ป่วย
บริษัทผู้ผลิต บริษัท เบลเมกส์ไทย จำกัด
บริษัทผู้ใช้ โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ
Home Like Design โดยออกแบบผสมผสานระหว่างการใช้งานด้านการแพทย์และความสวยงาม ด้วยระบบการปรับเตียงด้วยรีโมทคอนโทรล สามารถผ่อนแรงของผู้ดูแล ให้เหมาะสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่ไม่สะดวกในการเคลื่อนไหวร่างกายด้วยตนเอง โดยออกแบบฟังก์ชั่นการใช้งานให้ใช้งานได้ประโยชน์จริง มีรูปแบบที่สวยงาม รวมถึงใช้วัสดุเกรดสูงที่ผลิตในประเทศได้ โดยมีแนวทางการออกแบบให้มีความเป็นมิตรและไม่สร้างความเครียดให้กับผู้ใช้งาน
คุณลักษณะของเครื่อง
· โครงสร้างกรอบเตียงผลิตจากอลูมิเนียม
· มีแผงกั้นข้างเตียง 4 ชิ้น สามารถปรับได้ 2 ระดับ และเก็บเข้าใต้เตียงได้เพื่อความสวยงาม และความสะดวกในการลุกออกจากเตียง
· สามารถปรับเอนหลัง 0-80 องศา
· สามารถปรับเอนขา 0-35 องศา
· ปรับท่าหัวสูง-เท้าต่ำ (anti - trendelenburg)
· ปรับท่าหัวต่ำ-เท้าสูง (trendelenburg)
· ระยะปรับสูง-ต่ำ 40-75 cm
· ขนาดของเตียง 98 x 220 cm
· ความสามารถในการรับน้ำหนัก 250 kg
· ระบบซ่อนล้อเตียงด้วยรีโมทคอนโทรล
· มีระบบสำรองไฟ
· มีระบบไฟใต้เตียง ที่ติดทันทีเมื่อผู้ใช้ปรับเตียงให้ลงสุด เพื่อสะดวกและมองเห็นทางได้ในความมืด
รายละเอียดข้อกำหนด ( Specification ) |
ค่า/หน่วย |
1.มิติ (ขนาด / น้ำหนัก) 1.1 ขนาดเตียงผู้ป่วย 1.2 น้ำหนักรวมประมาณ |
100x200 ซ.ม. 150 kg |
2.กำลังงานด้าน Input 2.1 ระบบไฟฟ้าป้อนระบบ 2.2 แรงดันจ่ายออกให้มอเตอร์ 2.3 กระแสไฟฟ้าที่ใช้ 2.4 Max Load 2.5 Duty Cycle ;2min ON/ 2 min 18Min 2.6 IP Class |
220AC 24 VDC 8 Amp. 6000N 10% IP66 |
3.ความสามารถในการทำงานของเครื่องที่สามารถชี้วัดเชิงปริมาณ 3.1 ปรับความสูงต่ำ 3.2 ปรับยกปลายเท้า 3.3 ปรับยกหลัง 3.4 ปรับเอียงหน้า-หลัง 3.5 รองรับน้ำหนักสูงสุด |
45-75 ซ.ม. 0 - 45 องศา 0 - 80 องศา -15,0,+15 องศา 250 KGs. |
สรุปผลการดำเนินงาน
1. เริ่มจัดทำแบบ (Drawing) ให้ตรงตามสเปค หรือคุณสมบัติของเตียงผู้ป่วยที่ได้กำหนดไว้
(ดำเนินการแล้วเสร็จ 100 %)
ทางบริษัทฯ ได้ดำเนินการจัดทำแบบตามสเปคที่กำหนด และได้มีการแก้ไขอยู่หลายครั้ง เนื่องจากปัญหาดังที่ได้กล่าวไว้ใน หัวข้อปัญหาอุปสรรค และแนวทางการแก้ไข ซึ่งได้ทำการแก้ไขแล้วเสร็จในบางส่วน โดยเฉพาะในส่วนของการออกแบบ เนื่องจากงานทางด้านการออกแบบ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงานทางด้าน วิศวกรรม จึงส่งผลให้ท้ายที่สุดสามารถผลิตแบบได้ตามต้องการ
2. วิเคราะห์ปัญหาของแบบเพื่อหาแนวทางความเป็นไปได้ของชิ้นงานก่อนสรุปแบบเพื่อใช้ในการผลิต
(ดำเนินการแล้วเสร็จ 100 %)
หลังจากได้แบบงานที่ต้องการแล้ว จึงทำการถอดแบบ เพื่อจำลองกลไกการทำงานของชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำโครงสร้างพื้นเตียง โครงสร้างเตียง ฯลฯ นั้นมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดโดยการใช้เครื่องพิมพ์สามมิติก่อนที่จะดำเนินการสั่งผลิตชิ้นส่วนนั้นๆไม่เพียงเท่านี้บริษัทฯ ได้ทำการปรึกษาหารือกับทางผู้ผลิต เพื่อผลิตชิ้นงานตัวอย่างบางส่วนที่ต้องอาศัยเครื่องมือ ความรู้ ความชำนาญเป็นพิเศษ ก่อนที่จะผลิตจริง ซึ่งปัญหาและความยุ่งยากในส่วนนี้มีอยู่ 3 ส่วนด้วยกัน คือ ชิ้นส่วนหลักที่เป็นอลูมิเนียม , ชิ้นส่วนงานไม้ , อุปกรณ์ที่เป็นมอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้มีความสำคัญอย่างมากสำหรับการผลิตเตียงผู้ป่วย จึงต้องอาศัยการปรึกษาหารือกับผู้ผลิต เพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพและสมบูรณ์แบบที่สุด
3. ถอดแบบแต่ละส่วนเพื่อจัดเตรียมหาวัตถุดิบ (ดำเนินการแล้วเสร็จ 100 %)
ในขั้นตอนนี้เป็นการดำเนินการถอดแบบจากชิ้นงานสามมิติ ให้อยู่ในรูปแบบสองมิติ เพื่อนำไปให้ผู้ผลิตทำการเสนอราคาแม่พิมพ์และราคาชิ้นงาน ซึ่งปัญหาในส่วนนี้มีไม่มากนัก
4. ชิ้นส่วนหลักที่เป็นอลูมิเนียม (ดำเนินการแล้วเสร็จ 100 %)
ทางบริษัทฯ ทำการติดต่อกับผู้ผลิตหลายราย แต่เมื่อทำการเปรียบเทียบราคา และความน่าเชื่อถือของการผลิตแล้ว สรุปได้ว่า P&L Manufacturing Co.,Ltd เสนอราคาได้เหมาะสมและมีกำลังเพียงพอต่อการผลิต
5. ชิ้นส่วนงานที่เป็นไม้จริง (ดำเนินการแล้วเสร็จ 100 %)
บริษัทฯ ได้ติดต่อกับผู้ผลิตรายย่อย 2-3 ราย และสามารถได้ผู้ผลิตไม้เพื่อทำเตียงได้สำเร็จ
6. ชิ้นส่วนงานที่เป็นงานพลาสติก (ดำเนินการแล้วเสร็จ 100 %)
ในส่วนงานพลาสติกเป็นส่วนที่มีจำนวนชิ้นงานค่อนข้างสูง ค่าใช้จ่ายในการเปิดแม่พิมพ์จึงมีมูลค่ามาก ทางบริษัทฯ จึงจำเป็นต้องใช้ชิ้นงานจากเครื่องพิมพ์สามมิติมาใช้งานในการผลิตเตียงต้นแบบ
7. ชิ้นส่วนงานเหล็ก (ดำเนินการแล้วเสร็จ 100 %)
ชิ้นงานเหล็กเป็นชิ้นงานที่สามารถผลิต ได้รวดเร็วกว่าชิ้นงานอื่น ซึ่งทางบริษัทฯ มีผู้ผลิตที่ร่วมงานด้วยหลายราย จึงไม่เป็นปัญหาหากต้องการดำเนินการผลิต
8. อุปกรณ์มอเตอร์เตียงและระบบขับเคลื่อน (ดำเนินการแล้วเสร็จ 100 %)
อุปกรณ์มอเตอร์ได้มีการดำเนินการปรึกษาหารือในส่วนของ สเปค ฟังก์ชั่นการทำงาน รูปแบบการใช้งานของเตียง ฯลฯ โดยมทีมงาน Timotion Technology Co.,Ltd มาช่วยดำเนินการ
ปัญหาอุปสรรค และแนวทางการแก้ไข
1. ปัญหาในการออกแบบชิ้นงานในคอมพิวเตอร์
ปัญหา การออกแบบชิ้นงานต้องอาศัยประสบการณ์จริงจะต้องมีประสบการณ์ในการออกแบบ และใช้งานเตียงผู้ป่วย มาก่อน เพราะหากแบบที่ออกมาสวยงาม แต่ฟังก์ชันการทำงาน หรือวัสดุที่ไม่สามารถผลิตได้จะต้องมีการปรับแก้ไขอย่างมากรวมไปถึงหากไม่มีการลองชิ้นงานจริง จะทำให้ไม่ทราบปัญหาที่เกิดขึ้น
แนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยการตรวจสอบการทำงานจากสินค้าจริงที่มีอยู่ในท้องตลาด และการใช้เครื่องมือในการจำลองชิ้นงานให้ขนาดเท่าของจริง ซึ่งทางบริษัทฯ ได้เห็นความสำคัญของการใช้เครื่องพิมพ์ สามมิติ มาช่วยวิเคราะห์และปรับปรุงฟังก์ชันการทำงานทำให้สามารถแก้ไขปัญหาของการออกแบบชิ้นงานได้ดียิ่งขึ้น มากกว่าการจำลองและเขียนแบบเพียงอย่างเดียว
2. ปัญหาในเรื่องของงานทำแม่พิมพ์อลูมิเนียม
ปัญหา กระบวนการในการจัดทำแม่พิมพ์รีดอลูมิเนียม เป็นปัญหาอีกอย่างหนึ่ง เพราะการออกแบบชิ้นงานโดยที่ไม่ทราบกระบวนการรีดของอลูมิเนียม จะทำให้ชิ้นงานที่รีดออกมามีปัญหา บางชิ้นรีดได้ บางชิ้นรีดไม่ได้ ต้องมีความรู้ในการออกแบบ ซึ่งช่วงแรกของการออกแบบต้องมีการปรับแก้ไข
แนวทางในการแก้ไขปัญหา แก้ไขโดยเข้าไปขอคำปรึกษาและแนวทางในการออกแบบแม่พิมพ์อลูมิเนียมกับทางผู้ผลิต โดยตรงซึ่งคือทีมงานของ P&L Manufacturing Co.,Ltd
3. ปัญหาในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโปรแกรมและการทำงานของมอเตอร์
ปัญหา เรื่องของค่าใช้จ่าย ในการพัฒนาโปรแกรมมีมูลค่าถึง USD. 3,500.00 ซึ่งสูงมาก ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น
แนวทางในการแก้ไขปัญหา ลดวัสดุอุปกรณ์บางรายการที่ซับซ้อน โดยปรึกษากับทางทีมงานออกแบบมอเตอร์ ทีมงาน Timotion Technology Co.,Ltd ประเทศไต้หวัน เพื่อปรับแก้ฟังก์ชันที่ซับซ้อนและยุ่งยากในบางจุด ซึ่งสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ แต่ยังถือว่าไม่มากนัก
เครื่องไฟส่องรักษาเด็กตัวเหลือง 360 องศา ชนิดหลอด แอลอีดี
เครื่องไฟส่องรักษาเด็กตัวเหลือง 360 องศา ชนิดหลอดแอลอีดี
เครื่องส่องไฟเด็กตัวเหลือง 360 องศา ชนิดหลอดแอลอีดี ใช้หลักการแสงสีฟ้าในการรักษาที่ช่วงความยาวคลื่นประมาณ 415-475 นาโนเมตร ซึ่งจะให้การรักษาที่ดีที่สุดโดยเด็กจะต้องถอดเสื้อผ้าออกหมดและปิดตาเด็กไว้เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่ตา และสารสีเหลืองจะเป็นตัวดูดซึมและจะช่วยเปลี่ยนสารสีเหลืองให้เป็นชนิดที่ละลายน้ำและถูกขับออกจากร่างกายผ่านทางน้ำดีออกทางอุจจาระ และผ่านไตออกทางปัสสาวะ ดังนั้น ถ้าเด็กได้รับแสงสีฟ้าอย่างทั่วถึงก็จะทำให้ดูดซึมในปริมาณที่มากและจะขับออกจากร่างกายได้เร็วจึงเริ่มมีการใช้แสงสีฟ้าในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ส่องด้านบน, ส่องด้านบนแบบโค้ง, ส่องด้านบนส่องด้านล่าง, ส่องรอบตัว 360 องศา และเริ่มเปลี่ยนรูปแบบมาใช้หลอดแอลอีดี ซึ่งแทบไม่มีความร้อนและอายุหลอดนานกว่าทำให้คงความเข้มของแสงได้นานกว่าหลอดแบบเดิม จากวิวัฒนาการการรักษาที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจึงทำให้หลักการรักษาที่คิดว่าน่าจะดีที่สุด คือการให้การรักษาแบบ 360 องศา แล้วใช้หลอดแอลอีดีซึ่งจะการรักษาที่รวดเร็วและไม่มีอุณหภูมิความร้อนสะสมที่ตัวเด็กและยังไม่ทำให้ความเข้มของแสงสีฟ้าลดลงตามชั่วโมงของหลอด เพราะหลอดแอลอีดีมีอายุการใช้งานที่นานถึง 20,000 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ
คุณลักษณะและสมรรถนะของเครื่องจักร
1. สามารถปรับขึ้น-ลงได้ 20 เซนติเมตร
2. ใช้หลอดแอลอีดีทั้งหมด 14 หลอดซึ่งใช้ไฟหลอดละ 9 วัตต์ เท่ากับ 126 วัตต์
3. สามารถปรับความเข้มของพลังงานแสงสีฟ้าได้ตั้งแต่ 0-100% ที่แรงดัน 85-265 โวลต์
4. สามารถตั้งค่าวงจรควบคุมโพรบวัดอุณหภูมิภายในร่างกายเด็กให้มีค่าการคลาดเคลื่อน +/- 0.1 องศาเซลเซียส
5. สามารถตั้งค่าควบคุมอุณหภูมิเด็กไม่ให้สูงเกินหรือต่ำเกินไป ซึ่งจะมีระบบตัดการทำงานทั้งหมด
6. สามารถตั้งเวลาการให้แสงรักษาได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะมากเป็นวันหรือละเอียดเป็นนาทีก็ได้
7. ค่าความเข้มของพลังงานแสงสีฟ้าที่ปรับได้ทำให้สามารถกำหนดการรักษาได้ดีขึ้นกว่าเก่า
8. มีถาดรองรับปัสสาวะและอุจจาระช่วยสะดวกเวลาเด็กขับถ่ายออกมาพร้อมสารสีเหลือง
9. มีชุดหลอดไฟสีขาวไว้สำหรับกรณีดูพยาธิสภาพของเด็กหรือเวลาต้องการทำหัตถการกับเด็ก โดยระบบจะหยุดนับเวลาที่ตั้งไว้สำหรับส่องไฟรักษาเด็ก เมื่อเปิดทำงานก็ถึงจะนับต่อ
10. จากประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น ทำให้ได้การรักษาที่รวดเร็วกว่าระบบเดิมที่ใช้อยู่ ประมาณ 3-4 เท่า
11. สามารถรักษาเด็กได้ผลที่ดีกว่าเก่า ลดการนอนรักษาที่โรงพยาบาลหลายคืน ทำให้สามารถรักษาเด็กได้มากขึ้นกว่าเดิม
12. ในอนาคตเมื่อสามารถต่อเป็นระบบ Central Monitor และเชื่อมต่อเป็นWIFI ก็จะสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยสามารถดูเด็กได้ตลอดเวลาหลายๆเครื่องพร้อมกัน โดยนานๆจะลุกไปดูเด็กซักที หรือพ่อแม่สามารถดูผ่านมือถือได้
พัฒนาโดย สถาบันไทย-เยอรมัน
700/1 หมู่ 1 นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ถนนบางนาตราด กม. 57
ตำบลคลองตำหรุ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20000
โทรศัพท์ : 038-215088-44
โทรสาร : 038-743464
ลูกค้าสัมพันธ์ : 02-784464
Email: Marketing@tgi.or.th
ร่วมกับ บริษัท สกายแล็บ-เมด จำกัด
502/495 หมู่ 3 แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ 10210
โทรศัพท์ 02-9292927, 081-4506531
โทรสาร 02-9292927
Email: skylab-med@hotmail.com
ราคาเริ่มต้นที่ หากสนใจสามารถติดต่อสอบถามทางบริษัทได้โดยตรง
พัฒนาภายใต้ โครงการพัฒนาสินค้าเทคโนโลยีเพื่อผลักดันสู่ตลาด AEC
ประจำปีงบประมาณ 2557