โครงการพัฒนาระบบอัตโนมัติ/สมาร์ทเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของภาคการผลิตและบริการ (AUS)

โครงการพัฒนาระบบอัตโนมัติ/สมาร์ทเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของภาคการผลิตและบริการ

การพัฒนาเครื่องทอดระบบสุญญากาศสำหรับผลิตภัณฑ์หมูยอทอดกรอบ(AUS64)

จ, 05/04/2021 - 14:23 — bunsita
รายละเอียด: 

บจก.ดีไลท์ 88 เป็นบริษัทที่ประกอบกิจการประเภทผลิตอาหาร สินค้าของบริษัท ได้แก่ ก๋วยจั๊บ เส้นแห้งและก๋วยจั๊บกึ่งสำเร็จรูป ภายใต้ยี่ห้อ “ จั๊บจั๊บ” ปัจจุบันมีกำลังการผลิตประมาณ วันละ 2,000 ซอง เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตหมูยออบแห้งคือเครื่องฟรีซดรายซึ่งสามารถอบได้ครั้งละ 8 กิโลกรัม หลังอบได้ ประมาณ 2.5 กิโลกรัม ใช้เวลาอบแห้งประมาณ 30 ชั่วโมง นำมาบรรจุในซองก๋วยจั๊บกึ่งสำเร็จรูปได้ ประมาณ 2,000 ซอง โดยความสามารถในการผลิตในวัถุดิบอื่นๆ เช่น เส้นกึ่งสำเร็จรูป, พริกผัด, หอมเจียว นั้นสามารถผลิตได้ที่ประมาณ 4,000 ซองต่อวัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเพิ่มกำลังการผลิตในส่วนหมูยออบแห้ง ซึ่งเป็นส่วนประกอบในก๋วยจั๊บกึ่งสำเร็จรูปที่ยังไม่เพียงพออยู่ประมาณวันละ 2,000 ซอง โดยทางบริษัทได้ ทำการทดสอบนำหมูยอทอดกรอบมาทดแทนหมูยออบแห้งแบบเดิม เพื่อให้เพียงพอต่อการผลิตก๋วยจั๊บกึ่ง สำเร็จรูปตามกำลังการผลิตของส่วนประกอบอื่นๆของก๋วยจั๊บกึ่งสำเร็จรูป ซึ่งจากการทดสอบพบว่าหมูยอ ทอดกรอบสามารถทดแทนได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันจำหน่ายซองละ 30 บาทคิดเป็นต้นทุน 20 บาท/ซองและ กำไร 10 บาท/ซอง รายได้ที่คิดว่าจะได้รับเมื่อได้เครื่องทอดสุญญากาศมาใช้ในกระบวนการผลิตคิดเป็น กำไร 20,000 บาทต่อวัน คิดเป็นกำไรเดือนละ 440,000 บาท (ทำงาน 22 วัน/เดือน) นอกจากนี้ บจก.ดีไลท์ 88 มีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่โดยพิจารณาอาหารพื้นบ้านที่ เมื่อได้มีการพัฒนาเครื่องทอดระบบ สุญญากาศจะสามารถทำให้กำลังการผลิตหมูยอทอดกรอบได้วันละ 500 ซอง (วันทำงาน 22 วัน/เดือน) คิด เป็นกำลังการผลิตเดือนละ 11,000 ซองๆละ 30 บาท ต้นทุนซองละ 20 บาท กำไรซองละ 10 บาท คิดเป็น กำไร110,000 บาท/เดือน พิจารณาภาพรวมกำไรจากการเพิ่มกำลังการผลิตก๋วยจับกึ่งสำเร็จรูปเดือนละ 440,000 บาท และ กำไรจากการขายหมูยอทอดกรอบเดือนละ 110,00 บาท รวมเป็นกำไรทั้งหมดเดือนละ 550,000 บาท (วัน ทำงาน 22 วัน/เดือน) เฉลี่ยกำไรวันละ 25,000 บาท สามารถคำนวณระยะเวลาคืนทุนได้เท่ากับ ระยะเวลาคืนทุน = 750,000/25,000 = 30 วัน

 

งบปี พ.ศ.: 
2564
ภาพประกอบ: 
การพัฒนาเครื่องทอดระบบสุญญากาศสำหรับผลิตภัณฑ์หมูยอทอดกรอบ(AUS64)
    แคตตาล็อกเทคโนโลยี
    ระดับ: 
    ต้นแบบเชิงพาณิชย์ / อุตสาหกรรม
    กลุ่มเป้าหมาย: 
    ภาคอุตสาหกรรม
    ภาพหน้าปก: 

    โครงการ ระบบสายพานลำเลียงผ้าเข้าสู่เครื่องรีดผ้า พร้อมการจัดเก็บผ้า และส่งมอบ(AUS64)

    จ, 05/04/2021 - 13:58 — bunsita
    รายละเอียด: 

          เนื่องจากห้างฯ ได้พัฒนาเครื่องรีดผ้าแล้ว แต่ยังขาดการต่อยอดการใช้งาน จึงต้องการยกระดับการทำงาน ซึ่งสามารถรองรับความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภค และพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป จึงต้องการพัฒนาและสร้างระบบสายพานลำเลียงผ้าเข้าสู่เครื่องรีดผ้า พร้อมการจัดเก็บเสื้อผ้า และส่งมอบ หากลูกค้าไม่ต้องการรอรับกลับทันที จึงจำเป็นต้องมีสถานที่จัดเก็บให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันการสูญหาย ซึ่งต้องมีความถูกต้อง, แม่นยำ และปลอดภัย เนื่องจากเสื้อผ้าเป็นทรัพย์สินที่สำคัญของลูกค้า จึงไม่ควรปะปนกัน อีกทั้งยังคงความเรียบและสวยงามอยู่ เมื่อลูกค้ารับกลับไป ซึ่งสามารถสร้างความประทับใจ, ไว้วางใจ และความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้าได้ ดังนั้นร้านสะดวกซักจะหมดความกังวลกับการขาดรายได้ หากขาดสถานที่จัดเก็บเสื้อผ้าหลังรีด เพื่อฝากระหว่างที่ลูกค้าไม่สะดวก หรือแม้กระทั่งจำนวนของเสื้อผ้าที่ฝากไว้ หากสถานที่จัดเก็บเต็มก็จะไม่ใช่ปัญหาที่จะขาดรายได้อย่างต่อเนื่องอีกต่อไป ซึ่งร้านสามารถเพิ่มจำนวนลูกค้าใหม่ได้อย่างสม่ำเสมอ และยังคงสามารถรักษาฐานลูกค้าเดิมได้ในเวลาเดียวกันซึ่งเป็นผลจากการให้บริการเทคโนโลยีที่สามารถอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าซึ่งเปี่ยมด้วยคุณภาพและประสิทธิภาพ เพื่อการใช้ชีวิตที่ง่ายขึ้น โดยลดความแออัดจากการรอคอยภายในร้าน และยังคงสามารถสร้างรายได้อีกด้วย อีกทั้งยังสามารถสร้างการเคลื่อนไหวภายในร้านตลอดเวลา ร้านจึงดูไม่ร้าง เงียบ หรือเปลี่ยว แต่ไม่เกิดความแออัด ซึ่งสามารถสร้างความน่าสนใจต่อผู้ที่พบเห็น หรือนักลงทุน

    งบปี พ.ศ.: 
    2564
    ภาพประกอบ: 
    โครงการ ระบบสายพานลำเลียงผ้าเข้าสู่เครื่องรีดผ้า พร้อมการจัดเก็บผ้า และส่งมอบ(AUS64)
      แคตตาล็อกเทคโนโลยี
      ระดับ: 
      ต้นแบบเชิงพาณิชย์ / อุตสาหกรรม
      กลุ่มเป้าหมาย: 
      ภาคอุตสาหกรรม
      ภาพหน้าปก: 

      ระบบควบคุมการระบายความชื้นภายในห้องอบแห้งไม้ยางพาราแบบอัตโนมัติ(AUS64)

      จ, 05/04/2021 - 13:36 — bunsita
      รายละเอียด: 

      ปัจจุบันระบบห้องอบที่ใช้ในโรงงานใช้ไอน้ำอิ่มตัวที่แรงดันประมาณ 4 บรรยากาศ เป็นแหล่งพลังงานความร้อน โดยห้องอบแห้งนี้มีระบบควบคุมการทำงานโดยใช้มนุษย์ควบคุมเกือบจะทั้งหมดถึงแม้ว่าจะมีตู้ควบคุมการทำงาน กล่าวคือ เมื่อเริ่มต้นใช้งานห้องอบแห้งต้องทำการเปิดวาล์วระบายน้ำคอนเดนเสทที่ตกค้างในระบบท่อ จากนั้นจะทำการเปิดวาล์วจ่ายไอน้ำ เพื่อให้ไอน้ำทำการไล่น้ำคอนเดนเสทออกจากระบบให้หมดเหลือเพียงแค่ไอน้ำดี โดยเมื่อน้ำคอนเดนเสทถูกไล่ออกจากระบบเรียบร้อยแล้วผู้ควบคุมจะทำการเปิดวาล์วจ่ายไอน้ำเข้าสู่ห้องอบและปิดวาล์ววาล์วระบายน้ำคอนเดนเสท หลังจากนั้นจึงทำการเปิดสวิทช์พัดลมภายในห้องอบให้ทำงานเพื่อที่จะเริ่มการทำงานของระบบอบแห้ง ในส่วนของตู้ควบคุมการทำงานของห้องอบแห้งนอกจากจะมีสวิทช์เปิด ปิดการทำงานของพัดลมและหลอดไฟแสดงผลการทำงานแล้วนั้น ยังมีเครื่องควบคุมอุณหภูมิอยู่ 2 เครื่อง โดยเครื่องควบคุมอุณหภูมิแต่ละเครื่องจะทำการวัดค่าอุณหภูมิปกติภายในห้องอบแห้งหรือที่เรียกว่า “อุณหภูมิกระเปาะแห้ง (Dry bulb temperature)” และวัดค่าอุณหภูมิสำหรับวัดความชื้นหรือที่เรียกว่า “อุณหภูมิกระเปาะเปียก (Wet bulb temperature)” ซึ่งค่าอุณหภูมิกระเปาะแห้งและอุณหภูมิกระเปาะเปียกเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ในการหาค่าความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศดังเช่นเครื่องไฮโกรมิเตอร์

      งบปี พ.ศ.: 
      2564
      ภาพประกอบ: 
      ระบบควบคุมการระบายความชื้นภายในห้องอบแห้งไม้ยางพาราแบบอัตโนมัติ(AUS64)
        แคตตาล็อกเทคโนโลยี
        ระดับ: 
        ต้นแบบเชิงพาณิชย์ / อุตสาหกรรม
        กลุ่มเป้าหมาย: 
        ภาคอุตสาหกรรม
        ภาพหน้าปก: 

        ระบบหุ่นยนต์มือจับชิ้นงานอัจฉริยะแบบอ่อนนุ่มสำหรับแล็บทางการแพทย์ AUS 63

        จ, 22/03/2021 - 09:56 — admin5
        รายละเอียด: 

        จากสถานการณ์วิกฤตการแพร่ระบาดใหญ่ทั่วโลกของไวรัส COVID-19 ที่ทั่วทั้งโลกต้องเผชิญกับวิกฤตหลายด้านทั้งการสาธารณสุขการถดถอยทางเศรษฐกิจ รวมถึงวิถีการใช้ชีวิตของผู้คนที่ต้องปรับเปลี่ยนไปให้รับกับสถานการณ์การแพร่ระบาดใหญ่ในรอบ 100 ปี ของโลก ประเทศไทยจึงยังต้องปรับตัวโดย การสร้างความเข้มแข็งจากภายใน เชื่อมไทยสู่ประชาคมโลก ควบคู่กับการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีหลักคือ พอประมาณ มีเหตุผล และ มีภูมิคุ้มกัน ซึ่งภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงคงหนีไม่พ้นด้านการแพทย์และสาธารณะสุข และเนื่องจากในปัจจุบันการนำแขนกลหุ่นยนต์มาใช้เพื่อยกระดับระบบออโตเมชั่นในงานต่างๆได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ และยังสามารถนำมาใช้ไม่เพียงในงานอุตสาหกรรมการผลิตเท่านั้นแต่ในงานบริการและงานด้านการวิจัยทางการแพทย์ได้ด้วยเช่นกัน ประโยชน์ของการใช้ระบบออโตเมชั่นและหุ่นยนต์คือความแม่นยำและความคงที่ของการปฏิบัติงาน ช่วยให้งานที่ได้รับมีคุณภาพสูงขึ้นและลดความผิดพลาดของการปฏิบัติงาน และสามารถลดการทำงานที่ซ้ำๆของมนุษย์ลงและไปทำงานชนิดอื่นที่สร้างมูลค่าได้มากกว่า ลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายโรคและการหยุดชะงักของการปฏิบัติงานเนื่องจากขาดคนปฏิบัติงานในสภาวะที่มีโรคระบาดอีกด้วย ในประเทศไทยงานหยิบจับสิ่งของหรือชิ้นส่วนต่างๆตามห้องทดลองทางการแพทย์ ห้องจัดเก็บสารเคมีนั้นปัจจุบันยังใช้มนุษย์เป็นผู้หยิบจับเนื่องจากอุปกรณ์หยิบจับที่มีในท้องตลาดยังขาดความยืดหยุ่น กล่าวคือ ชิ้นงานต่างๆจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ในการหยิบจับเฉพาะชิ้นซึ่งไม่สามารถใช้ร่วมกันได้โดยง่าย ทำให้ยากต่อการเปลี่ยนมาใช้ระบบอัตโนมัติอย่างสมบูรณ์ มีข้อจำกัดที่ต้องเปลี่ยนเครื่องมือไปมาหรือยังต้องใช้มนุษย์เข้ามาร่วมทำงาน จึงเป็นที่มาความต้องการสร้างระบบหุ่นยนต์มือจับชิ้นงานอัจฉริยะแบบอ่อนนุ่มสำหรับแล็บทางการแพทย์ (IGR) มาใช้เพื่อแก้ปัญหาข้างต้น โดยระบบสามารถหยิบจับชิ้นงานได้หลายลักษณะและรูปทรง อีกทั้งวัสดุอ่อนนุ่มยังช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดจากการชนหรือขูดระหว่างชิ้นงานและอุปกรณ์หยิบจับ   ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน นอกจากนั้นยังสามารถควบคุมรูปทรงของการบีบและแรงในการบีบได้เป็นผู้หยิบจับเนื่องจากอุปกรณ์หยิบจับที่มีในท้องตลาดยังขาดความยืดหยุ่น กล่าวคือ ชิ้นงานต่างๆจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ในการหยิบจับเฉพาะชิ้นซึ่งไม่สามารถใช้ร่วมกันได้โดยง่าย ทำให้ยากต่อการเปลี่ยนมาใช้ระบบอัตโนมัติอย่างสมบูรณ์ มีข้อจำกัดที่ต้องเปลี่ยนเครื่องมือไปมาหรือยังต้องใช้มนุษย์เข้ามาร่วมทำงาน จึงเป็นที่มาความต้องการสร้างระบบหุ่นยนต์มือจับชิ้นงานอัจฉริยะแบบอ่อนนุ่มสำหรับแล็บทางการแพทย์ (IGR) มาใช้เพื่อแก้ปัญหาข้างต้น โดยระบบสามารถหยิบจับชิ้นงานได้หลายลักษณะและรูปทรง อีกทั้งวัสดุอ่อนนุ่มยังช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดจากการชนหรือขูดระหว่างชิ้นงานและอุปกรณ์หยิบจับ   ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน นอกจากนั้นยังสามารถควบคุมรูปทรงของการบีบและแรงในการบีบได้ 

         

        งบปี พ.ศ.: 
        2563
          แคตตาล็อกเทคโนโลยี
          ระดับ: 
          ต้นแบบเชิงพาณิชย์ / อุตสาหกรรม
          กลุ่มเป้าหมาย: 
          ภาคอุตสาหกรรม
          ภาพหน้าปก: 

          เครื่องจักรกลซีเอ็นซีขนาดเล็กสำหรับ SMEs ขนาดย่อม AUS 63

          จ, 22/03/2021 - 09:46 — admin5
          รายละเอียด: 

          ปัปัจจุบันผู้ผลิตเครื่องจักรกลซีเอ็นซีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้พัฒนาศักยภาพด้านการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูง จึงทำให้ราคาในท้องตลาดสูงขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบ แรงงาน อองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีระดับ Hi-End ซึ่งด้วยราคาเครื่องจักรที่สูงมากจึงมีผลกระทบต่อธุรกิจ SMEs ขนาดกลางและขนาดย่อม

          ปัปัจจุบันผลกระทบด้านเศรษฐกิจ มีผลทำให้ผู้ประกอบการด้านผลิตชิ้นส่วนต่างๆ หรืออุตสาหกรรมแม่พิมพ์ขนาดกลางและขนาดย่อมปิดตัวลงเพราะทนต่อรายจ่ายแต่ละเดือนไม่ไหว อีกทั้งยัยังต้องแบกรับภาระเครื่องจักรที่ยังต้องผ่อนชำระเป็นงวดๆ ด้วยเหตุผลที่ว่านี้ ทางผู้ประกอบการ SMEs ขนาดกลางและขนาดย่อม จึงเล็งเห็นเครื่องจักรกลซีเอ็นซีขนาดเล็กที่จะนำมาใช้ในงงานผลิต เพื่อพยุงกิจการของตัวเอง เพราะถ้าเปรียบเทียบเครื่องจักรกลซีเอ็นซีอุตสาหกรรมกับเครื่องจักรกลซีเอ็นซีขนาดเล็กก็จะมีข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกันออกไป แต่ถ้ามองในเรื่องของ
          ต้ต้นทุนหรือราคาเครื่องจักร ซึ่งเครื่องจักรกลซีเอ็นซีขนาดเล็กราคาถูกมาก ด้วยราคาถูกแบบนี้ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs ขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถจับต้องได้

          ด้ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้นักวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลและสถานการณ์ของกลุ่มผู้ประกอบการที่ใช้เครื่องจักรกลซีเอ็นซี มีความต้องการที่จะใช้เครื่องจักรกลซีเอ็นซีขนาดเล็ก

          งบปี พ.ศ.: 
          2563
            แคตตาล็อกเทคโนโลยี
            ระดับ: 
            ต้นแบบเชิงพาณิชย์ / อุตสาหกรรม
            กลุ่มเป้าหมาย: 
            ภาคอุตสาหกรรม
            ราคาเครื่องจักร: 
            520000
            ภาพหน้าปก: 

            เครื่องขึ้นรูปชิ้นงานสามมิติด้วยเม็ดพลาสติกอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม AUS 63

            จ, 22/03/2021 - 09:37 — admin5
            รายละเอียด: 

            จากการที่รัฐบาลได้สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องที่ผ่านมา ก่อให้เกิดการขยายตัวทาง เศรษฐกิจของประเทศเพิ่มขึ้น การลงทุนขยายตัวมากขึ้น โดยอุตสาหกรรมก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์  อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมเครื่องจักร สำนักงาน และอุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทยอย่างสูง อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าการเติบโตของอุตสาหกรรมจะส่งผลดีต่อ เศรษฐกิจและการจ้างงานภายในประเทศ แต่การที่อุตสาหกรรมสนับสนุน ภายในประเทศยังไม่เข้มแข็งเพียงพอที่จะรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมโดยรวมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องจักรอัตโนมัติ ยังขาดเครื่องจักรที่สามารถทำการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้ประเทศไทยยังจำเป็นต้องพึ่งพา การนำเข้าเครื่องจักรกลและอุปกรณ์เป็นจำนวนมาก

            ดังนั้น การส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพให้ออกแบบและพัฒนาเครื่องจักรกลหรืออุปกรณ์เทคโนโลยีขึ้นภายในประเทศ จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยยกระดับเทคโนโลยีและลดการ พึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศให้น้อยลงได้ โดยกำหนดเครื่องจักรกลหรืออุปกรณ์เทคโนโลยีเป้าหมายให้ผู้ประกอบการออกแบบและพัฒนาขึ้น อย่างเป็นระบบที่จะนำไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ที่มีตลาดรองรับและยังสามารถนำพลาสติกที่ใช้แล้วมาทำขึ้นรูปเป็นชิ้นงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

            งบปี พ.ศ.: 
            2563
              แคตตาล็อกเทคโนโลยี
              ระดับ: 
              ต้นแบบเชิงพาณิชย์ / อุตสาหกรรม
              กลุ่มเป้าหมาย: 
              ภาคอุตสาหกรรม
              ราคาเครื่องจักร: 
              925000
              ภาพหน้าปก: 

              พัฒนาระบบหุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบอัตโนมัติ AUS 63

              ศ, 19/03/2021 - 11:07 — admin5
              รายละเอียด: 

              เทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน เครื่องจักรหรือระบบที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยย่อมสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ทั้งในด้านการช่วยเพิ่มผลผลิตในกระบวนการผลิตสินค้า ช่วยดูแลในเรื่องคุณภาพชีวิต ไปจนถึงการสร้างความสะดวกสบายต่างๆหนึ่งในเทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีผลลัพธ์ที่น่าสนใจ คือ หุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบอัตโนมัติ (Autonomous Mobile Robot)

              หุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบอัตโนมัติ มีความสามารถในการเคลื่อนที่สู่จุดหมายได้อย่างแม่นยำ สามารถหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้ มีสมรรถนะในการบรรทุกของหนัก จึงสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานในกระบวนการผลิต เพื่อทำการขนถ่ายวัสดุไปยังสถานีการผลิตต่างๆ  หรือนำไปทำการจัดเก็บในคลังจัดเก็บสินค้า

                สำหรับการใช้งานหุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบอัตโนมัติในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่สำคัญของการใช้งานระบบหุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบอัตโนมัติ  คือ แต่ละพื้นที่ แต่ละความต้องการของผู้ใช้งาน มีความต้องการไม่เหมือนกัน จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบให้เข้ากันได้ และเหมาะสมกับพื้นที่ สภาพแวดล้อม ความต้องการของผู้ใช้งานนั้นๆ ซึ่ง หุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบอัตโนมัติที่ใช้งานในประเทศส่วนใหญ่นั้นนำเข้าจากต่างประเทศ และไม่สามารถเข้าถึงฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เพื่อแก้ไขปัญหาตามความต้องการของผู้ใช้งานได้ นอกจากนี้ หุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบอัตโนมัติที่นำเข้าหุ่นยนต์จากต่างประเทศยังมีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้น บริษัท ทรอปปิคอลเทค จำกัด จึงมีแนวความคิดและนโยบายที่จะต้องพัฒนาหุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบอัตโนมัติ เพื่อแก้ปัญหาการใช้งานและปัญหาด้านราคาต่อไป

              บริษัท ทรอปปิคอลเทค จำกัด เป็นองค์กรที่มีบุคลากรที่มีความมุ่งมั่น มากกว่า 50 คน ซึ่งกว่าครึ่งหนึ่ง เป็นวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มีความเชี่ยวชาญงานระบบไฟฟ้า ระบบควบคุมอัตโนมัติรวมถึงมีศักยภาพพัฒนางานตั้งแต่ | ศึกษาความต้องการ | ออกแบบ | พัฒนา | ให้คำปรึกษา | บริหารโครงการ | ติดตั้ง และ ทดสอบ | แก้ไขปัญหา ในระบบที่ง่ายจนถึงมีความซับซ้อนที่หลากหลาย มีแนวคิดมุ่งเน้นการใช้องค์ความรู้และความเชี่ยวชาญหลักด้านงานระบบไฟฟ้า ควบคุมอัตโนมัติ สำหรับงานโครงสร้างพื้นฐานวิกฤต (Critical Infrastructure) สาธารณูปโภค งานโรงงาน สถานประกอบการ และงานอุตสาหกรรม สำหรับอนาคต (Industrial 4.0) เพื่อสอดรับกับนโยบาย ประเทศไทย 4.0 โดยทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมการถ่ายทอดทางเทคนิค และเทคโนโลยี ด้านระบบไฟฟ้าควบคุมอัตโนมัติชั้นสูง จากงานโครงการขนาดใหญ่มาก (Mega Project) ในต่างประเทศมาสู่โครงการต่างๆ ในประเทศไทยและพื้นที่ใกล้เคียง

              งบปี พ.ศ.: 
              2563
                แคตตาล็อกเทคโนโลยี
                ระดับ: 
                จำหน่ายเชิงพาณิชย์
                กลุ่มเป้าหมาย: 
                ภาคอุตสาหกรรม
                ราคาเครื่องจักร: 
                900000
                ภาพหน้าปก: 

                หุ่นยนต์สนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์สำหรับพื้นที่ควบคุมพิเศษภายในโรงพยาบาล “STACK” AUS 63

                ศ, 19/03/2021 - 10:59 — admin5
                รายละเอียด: 

                สืบเนื่องจากปัจจุบัน วิกฤติการ โรคติดต่อ COVID-19 เป็น ภัยคุกคามที่แพร่กระจ่ายได้อย่างรวดเร็ว และกระจายตัวเป็นวงกว้างในทั่วโลก ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อไปแล้ว กว่า ล้าน คน และ เสียชิวิตลง จากการติดเชื้อดังกล่าว ไปแล้ว หลักแสนคน   ในทั่วโลก แต่ละประเทศ หน่วยงาน หรือ บุคลากร กลุ่มแรกที่เข้าช่วยเหลือ ยับยั้ง และรักษา ผู้ติดเชื้อ นั้น คือกลุ่มบุคลากร ด้านการแพทย์ ที่มีส่วนร่วม ตั้งแต่ เจ้าหน้าที่ตรวจคัดกรอง  เจ้าหน้าที่นำส่ง  แพทย์ผู้ให้การรักษา และหน่วยงานสนับสนุนต่าง ๆ ภายใน สถานพยาบาลทุกคน

                ด้วยเหตุนี้ กลุ่มบุคลากร ด้านการแพทย์ ที่เกี่ยวข้องทุกคน ที่ทำหน้าที่เป็นแนวหน้า ในการต่อสู้กับโลกระบาดในครั้งนี้ ถือว่า เป็นกลุ่มคนที่มีความสำคัญ ต่อสถานการณ์ โรคระบาด ในปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง มีผลต่อการ เพิ่มหรือลดลง ของผู้ป่วยในแต่ละวัน และ ยังเป็นกลุ่มคน ที่มีความเสี่ยง สูงที่สุดอีกด้วย หาก บุคลากรเหล่านี้ เกิดพลาด พลั้ง ติดเชื้อขึ้นมา แม้เพียง 1 คน ก็ตาม จะส่งผลให้บุคคล รอบข้างที่ใกล้ชิด ต้องอยู่ใน ข่าย ผู้ต้องสงสัย ที่จะติดเชื้อไปด้วยทันที  ด้วยมาตรการควบคุมโรค ระบาด จำเป็นอย่างมาก ที่ต้องกัก ตัวบุคลากร ใกล้ชิดผู้ป่วยเพื่อเฝ้าดู อาการใน 14 วัน ทำให้สัดส่วนผู้ติดเชื้อ ต่อ บุคลากร ทางการแพทย์ มีอัตราส่วน ที่ห่าง กันยิ่งขึ้น

                ฉนั้นผู้เสนอโครงการจึงเห็นว่า หาก มีอุปกรณ์ ที่สามารถลดความเสี่ยงที่จะเกิด กับบุคลากรทางการแพทย์ได้ ก็สามารถจะเพิ่ม โอกาสในการรักษา และต่อสู้กับโรคระบาดในปัจจุบันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพของบุคลากรทางการแพทย์ ทุกคน ด้วยการลดกิจกรรมที่ มีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อ เช่น การพูดคุยกับผู้ป่วยเพื่อซักถาม อาการป่วย  การนำส่งยา การนำส่งสิ่งของ หรือปัจจัยพื้นฐาน ให้แก่ผู้ป่วย ร่วมถึงการ ฆ่าเชื้อในห้องกักกัน หากกิจกรรมพื้นฐาน เหล่านี้ถูกทดแทนได้ด้วยหุ่นยนต์ เราจะสามารถลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับบุคลากรทางการแพทย์ได้

                ผู้เสนอโครงการจึงเสนอ หุ่นยนต์สนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์สำหรับพื้นที่ควบคุมพิเศษภายในโรงพยาบาล “STACK”เพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ ลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อในการปฏิบัติหน้าที่

                งบปี พ.ศ.: 
                2563
                  แคตตาล็อกเทคโนโลยี
                  ระดับ: 
                  จำหน่ายเชิงพาณิชย์
                  กลุ่มเป้าหมาย: 
                  ภาคอุตสาหกรรม
                  ราคาเครื่องจักร: 
                  650000
                  ภาพหน้าปก: 

                  ชุดควบคุมหุ่นยนต์ที่รองรับระบบปฎิบัติการหุ่นยนต์อัจฉริยะ AUS 63

                  ศ, 19/03/2021 - 10:48 — admin5
                  รายละเอียด: 

                    หลักการออกแบบของชุดควบคุมของหุ่นยนต์อัจฉริยะจะใช้เครื่องมือพัฒนาโปรแกรมที่มีชื่อว่า ROS ซึ่งตัวROS สามารถที่จะทำการออกแบบหุ่นยนต์ได้หลากหลายชนิด,จำลองการทำงานของหุ่นยนต์,คิดคำนวนสมการของหุ่นยนต์ได้ โดยที่ตัว ROS จะทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์เกรดอุตสาหกรรมซึ่งทำมารองรับความสามารถของ ROS โดยเฉพาะ เพื่อเพิ่มเสถียรภาพของการทำงาน นอกจากนี้จะพัฒนาให้ระบบหุ่นยนต์สามารถที่จะสื่อสารกันเองได้โดยไม่ต้องพึ่งตัวกลางที่เป็นคอมพิวเตอร์เซิฟเวอร์ ในส่วนโปรแกรมจะพัฒนาให้รองรับกับการใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม โดยผู้ใช้งานสามารถสั่งงานหุ่นยนต์ปรับเปลี่ยนการเคลื่อนที่ได้ในรูปแบบต่างๆได้ในโปรแกรมเดียว

                   

                  งบปี พ.ศ.: 
                  2563
                    แคตตาล็อกเทคโนโลยี
                    ระดับ: 
                    จำหน่ายเชิงพาณิชย์
                    กลุ่มเป้าหมาย: 
                    ภาคอุตสาหกรรม
                    ราคาเครื่องจักร: 
                    600000
                    ภาพหน้าปก: 
                    เนื้อหาแหล่งข่าว