โครงการพัฒนาเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ เพื่อการผลิตระดับชุมชน (RID)
เครื่องอัดก้อนผงปรุงรสแบบต่อเนื่อง
หัวหน้าโครงการ
ดร.บรรเจิด แสงจันทรื มทร.ล้านนา เชียงใหม่
ผู้ประกอบการ
กลุ่มสตรีเข้มแข็งอ.ปาย แม่ฮ่องสอน
เอกสารประกอบ
เครื่องอัดสุกข้าวเกรียบ
เครื่องอัดสุกขาวเกรียบ
Extruder Cooking for crisp cracker
กระบวนการผลิตข้าวเกรียบแต่เดิมเป็นแบบใช้แรงงานคนเกือบ 100% ทำให้มีความจำกัดในด้านกำลังการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของกระบวนการขึ้นรูปและการตาก เนื่องจากแป้งที่จะต้องน้ำมาทำนั้นต้องใช้แรงนวด ทำให้ขนาดของแท่งข้าวเกรียบไม่เท่ากัน หลังจากนั้นจะนำแท่งข้าวเกรียบที่นวดแล้วไปนึ่งเพื่อให้แป้งสุก แล้วนำไปพักหรือแช่ในตู้เย็นทิ้งไว้ 1 คืนถึงจะนำมาหั่นให้เป็นแผ่น ทั้งนี้ในการหั่นแต่ละชิ้นยังมีขนาดและน้ำหนักที่ต่างกันไม่ได้มาตรฐาน แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง ซึ่งบางครั้งแดดไม่มีทำให้แผ่นข้าวเกรียบไม่แห้งและรักษาความชื้นของข้าวเกรียบไม่ได้ ผู้ประกอบการและผู้วิจัยจึงมีความคิดที่จะแก้ปัญหาดังกล่าวโดยทำการออกแบบและประดิษฐ์เครื่องผลิตข้าวเกรียบเพื่อให้สามารถผลิตได้รวดเร็วทันต่อความต้องการ ได้ขนาดและน้ำหนักใกล้เคียงกัน และง่ายต่อการใช้งานและการซ่อมบำรุง โดยมีราคาต้นทุนต่ำ ไม่ต้องพึ่งพาการนำเข้าของเครื่องจักรจากต่างประเทศ
คุณสมบัติและสมรรถนะ
· กำลังการผลิตสูงสุด 50 กิโลกรัมต่อชั่วโมง
· ใช้กำลังจากมอเตอร์ไฟฟ้า มีชุดวงจรควบคุมการทำงาน
· โครงเครื่องและตู้อบทำจากสเตนเลส
ราคาเริ่มต้นที่ 150,000 บาท/เครื่อง
พัฒนาภายใต้ โครงการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์เพื่อการผลิตระดับชุมชน
พัฒนาโดย รศ.ดร.สุนทรี รินทร์คำ
คณะวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลลานนา วิทยาเขตภาคพายัพ 128 ถ.หวยแกว ต.ชางเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม 50300
โทรศัพท 086-4319700
ผู้ประกอบการ นางสาวภัสรนลิน ดวงคํา
วิสาหกิจชุมชน รักษดอนจั่น เลขที่ 12/17 หมู 4 ต.ทาศาลา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50000 โทรศัพท์ 099-2979654
เครื่องแล่เนื้อปลา
เครื่องแล่เนื้อปลาสําหรับชุมชนผลิตปลาสม
Fish Butchering Machine
ลักษณะเครื่องแลเนื้อปลาสําหรับผลิตปลาสม ทํางานโดยปอนปลาที่ ขอดเกร็ด และผาหัวแลวนําเขาสูชองรับปลาตั้งตัวปลาในลักษณะปกติเมื่อปลาอยูในน้ำ มีสายพาน หรือลูกกลิ้ง ยางประกบตัวปลาทั้งสองดานเพื่อหมุนปอนปลาเขาสูเครื่อง ซึ่งสามารถปรับชองสายพานใหรัดตัวปลาดวยสปริงยืดหยุน และปรับขนาดชองรับปลาตามขนาดตัวปลาดวยการปรับชองสายพานดวยสกรูเกลียว เมื่อตัวปลา ถูกสายพานดูดเขาไปในเครื่องผานใบมีด ปลาจะถูกแลออกเปนซีก ซึ่งใบมีดแลปลาสามารถปรับใหมีหลายใบมีด เพื่อแลปลาใหได 2 ชิ้น หรือ 3 ชิ้น หรือ เลาะเนื้อปลาออกจากกางได จากนั้นปลาจะไหลออกมาจากเครื่องผาน ชองรับเขาสู่ภาชนะรับในระหวางการแลปลาจะปั้มน้ำหลอลื่นใหปลาไหลเขาสู่เครื่องแลปลาไดสะดวก งาย ตอการทําความสะอาด และเปนการลางเลือดปลา เครื่องจะออกแบบใหสามารถเปลี่ยนใบมีด หรือนําใบมีด ออกมาลับคมไดเมื่อใบมีดสึกหรอ
คุณสมบัติและสมรรถนะ
· สามารถแล่เนื้อปลาได้ 4-5 ตัวต่อนาที
· ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ขนาด 1 แรงม้า วางไวในกลองปองกันน้ำ
· พัฒนาโดยใชสแตนเลส ฟูดเกรด ปองกันสนิม
· ปองกัน อันตรายจากใบมีด
· มีกลองสวิตชควบคุมไฟฟา ที่ปองกันน้ำได้ มีระบบตัดไฟ ปองกันอันตรายจากไฟฟ้ารั่ว
· มีขนาดเหมาะสม กับปลาที่ใชในการผลิต เชน ปลาส้ม ปลานิล ปลาทับทิม ปลาตะเพียน
ราคาเริ่มต้นที่ 150,000 บาท/เครื่อง
พัฒนาภายใต้ โครงการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์เพื่อการผลิตระดับชุมชน
พัฒนาโดย ผศ.สำรวจ อินแบน
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยนครพนม เลขที่ 103 หมู่ 3 ถนนชยางกูร ต.ขามเฒ่า อ.เมือง จ.นครพนม 48000
หมายเลขโทรศัพท 061-9412127 E-mail: samruad_inban@yahoo.com
ผู้ประกอบการ กลุมแปรรูปเชิงธุรกิจสมปลาโด (รานเจดา) 55/2 หมู 1 บานไชยบุรี ตําบลไชยบุรี อําเภอทาอุเทน จังหวัดนครพนม
โทรศัพท์ 042-573018 มือถือ 081-9740791
เครื่องอบปลาแดดเดียว
เครื่องอบปลาแดดเดียว
Sun-Dried Fish Machine
ปลาแดดเดียวเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทำให้ผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค อีกทั้งในปัจจุบันทางผู้ผลิตไม่สามารถที่จะควบคุมคุณภาพได้เพราะการตากปลานั้นต้องอาศัยความร้อนจากรังสีดวงอาทิตย์และลมจากธรรมชาติ ซึ่งมีความแปรผันตามฤดูกาลและยังมีปัญหาความสะอาดจากแมลงรบกวน จึงเป็นสาเหตุให้คุณภาพและปริมาณการผลิตลดลง ดังนั้นการนำแหล่งกำเนิดความร้อนโดยพลังงานไฟฟ้าจึงเป็นทางเลือกหนึ่ง เพราะสามารถความคุมความร้อนได้ตามต้องการและให้ความร้อนได้รวดเร็ว ในประเทศไทยเครื่องอบแห้งแปรรูปอาหาร (Food Dryer Machine) ยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศอีกทั้งยังมีราคาที่สูงซึ่งไม่เหมาะกับผลิตภัณฑ์ OTOP ดังนั้นการสร้างเครื่องอบปลาโดยพลังงานไฟฟ้าซึ่งสามารถผลิตและประกอบได้อย่างง่ายๆ ในประเทศไทยจะสามารถช่วยลดการนำเข้าเครื่องจากต่างประเทศได้
คุณสมบัติและสมรรถนะ
· ตัวเครื่องจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนได้แก่ 1. ขาตั้ง 2. ตัวตู้อบ และ 3. ฝาครอบ โครงเครื่องและตู้อบทำจากสเตนเลส ตัวตู้อบทำจากกระจกเทมเปอร์เพื่อความสวยงามและทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจกขึ้นภายในตู้อบ
· ให้ความร้อนด้วย หลอดอินฟาเรดขนาด 1300 วัตต์ สามารถทำความร้อนและลดความร้อนได้ในเวลาอันสั้น ประหยัดไฟกว่าตัวให้ความร้อนชนิดอื่นๆเมื่อเทียบกับประสิทธิภาพการให้ความร้อน
· กระจายความร้อนด้วยพัดลม
· มีชุดวงจรควบคุมอุณหภูมิ โดยอุณหภูมิที่ตั้งไว้สำหรับตู้อบมีค่าประมาณ 50 - 60 องศาเซลเซียส
· สามารถนำไปประยุกต์อบเนื้อหมูหรือเนื้อวัวแดดเดียวได้
ราคาเริ่มต้นที่ 200,000 บาท/เครื่อง
พัฒนาภายใต้ โครงการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์เพื่อการผลิตระดับชุมชน
พัฒนาโดย ดร.คุณยุต เอี่ยมสอาด
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เลขที่ 50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ 086-3747111
ผู้ประกอบการ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนบ้านสาขลา อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ
คุณไพรินทร์ เทียนสุวรรณ โทรศัพท์ 084-9224655
http://kojieiji.com/ บริษัทผลิตขาย
เครื่องทำขนมทองม้วนแบบบล็อกแม่พิมพ์
เครื่องทำขนมทองม้วนแบบบล็อกแม่พิมพ์
การผลิตขนมทองมวนในปริมาณมากมักใช้เครื่องจักรเข้ามาช่วย ขอดี คือชวยทุ่นแรง ทำใหขนมที่ผลิตมีลักษณะและ มาตรฐานเดียวกัน ผลิตไดเป็นจำนวนมาก ลดการพึ่งพาแรงงานฝมือ ทําให การผลิตทําไดอยางมีประสิทธิภาพมากขึ้น อยางไรก็ตาม โดยทั่วไปเครื่องจักรที่ใชทําขนมทองมวนมักถูกออกแบบสําหรับขั้ นตอนการผลิต2 ขั้นตอนที่สําคัญคือ การอบแปง และ การมวนขึ้นรูปขนม ปจจุบันทั้งสองขั้นตอนดังกลาวใชเครื่องจักร แยกสวนจากกัน คือ เครื่องอบแปงเครื่องหนึ่งและเครื่องสํ าหรั บม วนขึ้ นรู ป อี กเครื่องหนึ่งทํ าให ขั้ นตอนการผลิ ตเสี ยเวลาและไมตอเนื่อง หากสามารถรวมทั้งสองขั้นตอนเขาไว ดวยกันได ก็จะชวยลดขั้นตอนการผลิตและการควบคุมกระบวนการการผลิตจะมีความตอเนื่อง นอกจากนี้ เครื่องจักรในทองตลาดมักผลิตได ครั้ง 1 มวน/ครั้งการทํางานทําใหขีดความสามารถในการผลิตเปนไปอยางจํากัด การเพิ่มผลผลิตหมายถึงการเพิ่มจํานวนเครื่องจักรและเพิ่มจํานวนแรงงานในการควบคุมเครื่อง ซึ่งหมายถึงตนทุนในการดําเนินการที่เพิ่มขึ้นตามาดวยเชนกัน หากมีเครื่องจักรที่สามารถผลิตขนมทองมวนไดครั้งละหลายมวนตอครั้งการทํางานก็จะชวยใหผูประกอบการสามารถเพิ่มผลผลิตและลดตนทุนลงไดอยางมาก
คุณสมบัติและสมรรถนะ
อยางนอย 5 ชั้น/ครั้งการทํางานใชความรอนจากแกส
รวมขั้นตอนการอบและมวนขึ้นรูปไวในเครื่องเดียวกันโดยใชหลักการบล็อกแมพิมพ
เครื่องจักรมีนวัตวกรรมที่สามารถตอยอดเพื่อผลิตในเชิงพาณิชยได
มีเปนเครื่องที่รวมขั้นตอนการอบและการมวนเขาไวในเครื่องเดียวกัน และสามารถผลิตขนมไดครั้งละหลายมวนตอครั้งการทํางาน
พัฒนาโดย ผูชวยศาสตราจารย ดร.กีรติ สุลักษณ
สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล สํานักวิชาวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
111 ต.สุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา 30000
ราคาเริ่มต้นที่ 60,000 บาท/เครื่อง
พัฒนาภายใต้ โครงการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์เพื่อการผลิตระดับชุมชน
ประจำปีงบประมาณ 2557
เครื่องกะเทาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์
เครื่องกะเทาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์
มะม่วงหิมพานต์ เป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่สามารถทํารายได้ให้กับเกษตรกร สามารถปลูกได้ในพื้นที่ที่แห้งแล้ง ในสภาพพื้นดินที่ไม่เหมาะสมทําการเกษตรอย่างอื่นๆ เช่นดินลูกรัง เป็นต้น การกะเทาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ปัจจุบันมีเครื่องมือใช้สําหรับกะเทาะหลายชนิด แต่ยังเป็นแบบที่ไม่สะดวก รวดเร็ว และยังต้องเปื้อนยางของเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งเป็นอันตราย ทําให้ยุ่งยากในการผลิต
ในปัจจุบันอุตสาหกรรมในด้านการผลิตอาหาร ต้องการความรวดเร็วและความคล่องตัวในการทํางาน เพื่อให้ทันต่อการบริโภค และด้วยเหตุที่เมล็ดมะม่วงหิมพานต์เป็นพืชเศรษฐกิจที่นิยมนําไปประกอบอาหาร ขนม และอื่นๆ อีกมากมายจึงจําเป็นต้องพัฒนาเครื่องมือกระเทาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ให้มีขนาดเล็กเหมาะที่จะใช้ในอุตสาหกรรมครอบครัวได้ และเป็นเครื่องมือสําหรับอุตสาหกรรมทั่วไปได้เช่นกัน สามารถเพิ่มปริมาณการผลิตได้สูง ราคาถูกการทํางานไม่ยุ่งยากและสามารถลดปัญหาจากการผลิตแบบเก่าๆ ได้
ขั้นตอนที่1 เครื่องมือจะทําการจับล็อคเมล็ ดมะม่วงหิมพานต์ไว้ในตําแหน่งที่ถูกต้อง ใบมีดจะถูกกดลงมาบนเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ โดยแรงกดที่เหมาะสม จากนั้นชิ้นส่วนที่จับเมล็ดมะม่วงหิมพานต์จะหมุน ทําให้ ใบมีดที่กดลงบนเมล็ดมะม่วงหิมพานต์กรีดลงบนเมล็ดมะม่วงหิมพานต์โดยรอบ(กําหนดแรงกดโดยสปริงด้วยแรงที่ออกแบบไว้
ขั้นตอนที่2 เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ จะถูกลําเลียงต่อไป ยังส่วนที่สอง คือส่ วนแกะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ส่วนนี้จะใช้กรงเล็บโลหะ เกาะรอยที่เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ในตําแหน่งที่ อุปกรณ์ส่วนที่หนึ่งได้กรีดเอาไว้ แล้วแกะเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ออกจากกัน จากนั้นเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ก็จะถูกลําเลียงไปยังส่วนอื่นต่อไป
พัฒนาโดย นายบุญรอด แสงอินทร์ วิทยาลัยสารพัดช่างอุตรดิตถ์
เลขที่ 63/209 หมู่ที่ 7 ซอย 4/2 ถนนศิลาอาสน์-เขื่อน ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000
โทร 055-416564, 089-6413878
ราคาเริ่มต้นที่ ............
พัฒนาภายใต้ โครงการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์เพื่อการผลิตระดับชุมชน
ประจำปีงบประมาณ 2557
เครื่องกดกล้วยแผ่นกึ่งอัตโนมัติ
เครื่องกดกล้วยแผ่นกึ่งอัตโนมัติ
กล้วยเป็นผลไม้ที่พบโดยทั่วไปทุกพื้นที่ในประเทศไทย สามารถนำมาแปรรูปเป็นสินค้าได้มากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดพิษณุโลก กล้วยแปรรูปถือว่าเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่สร้างชื่อเสียงและสร้างรายได้ให้กับชุมชนต่างๆ โดยกรรมวิธีในการแปรรูปกล้วยนั้นมีมากมายหลายรูปแบบ เช่น กล้วยตาก กล้วยฉาบ กล้วยทอด และกล้วยกวน เป็นต้น ซึ่งหนึ่งในสินค้าจากกล้วยแปรรูปที่มีชื่อเสียงในจังหวัดพิษณุโลก คือ “กล้วยม้วน” และจากข้อมูลกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พบว่า มีกลุ่มเกษตรกรอีกหลายจังหวัดที่มีการแปรรูปกล้วยม้วนเช่นเดียวกัน ซึ่งกระบวนการผลิตกล้วยม้วนในปัจจุบันนั้น จะใช้แผ่นไม้ที่มีน้ำหนักกดลงบนผลกล้วยเพื่อให้กล้วยมีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ ประมาณ 3 มิลลิเมตร ซึ่งผลิตกล้วยแผ่นได้ครั้งละ1 ลูกเท่านั้น กระบวนการผลิตดังกล่าวนอกจากใช้ระยะเวลานาน แล้วยังมีความจำเป็นต้องใช้ผู้ทำงานที่มีความชำนาญอีกด้วย
คุณลักษณะและสมรรถนะของเครื่อง
· มีกำลังการผลิต 3 - 4 ลูกต่อการกด 1 ครั้ง ได้กล้ายที่มีความหนา 3 มิลลิเมตร
· ใช้ไฟฟ้าประมาณ 1.5 kW
· ใช้ระบบนิวแมติกส์
· การควบคุมการทำงานเป็นแบบกึ่งอัตโนมัติ
หลักการทำงานและจุดเด่น
ระบบการทำงานของเครื่องกดกล้วยที่ได้พัฒนาขึ้น ใช้ระบบไฟฟ้า ควบคุมการทำงานแบบกึ่งอัตโนมัติ โดยกล้วยหลังจากปลอกเปลือกจะถูกวางบนสายพานที่มีถาดรองเคลื่อนที่เข้าไปยังเครื่องกด โดยสามารถกดได้ครั้งละ3 - 4 ลูก เมื่อกล้วยถูกกดแล้วจะเคลื่อนที่ออกจากเครื่องกด จากนั้นผู้ทำงานจะนำกล้วยที่กดแล้วจัดเรียงในถาดเพื่อทำการอบต่อไป
พัฒนาโดย นายเอกภูมิ บุญธรรม
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
156 หมู่ 5 ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
โทรศัพท์ 055-267000
โทรสาร 055-267058
ราคาเริ่มต้นที่ หากสนใจ สามารถติดต่อสอบถามเจ้าของสิ่งประดิษฐ์ได้โดยตรง
พัฒนาภายใต้ โครงการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์เพื่อการผลิตระดับชุมชน
ประจำปีงบประมาณ 2557
ผู้พัฒนา ผู้ประกอบการ
เครื่องเหลาหวาย
ผู้พัเครื่องเหลาหวาย
Hone Rattan Machine
เครื่องจักสานเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่ทรงคุณค่า และสามารถสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี การเหลาหวายนั้นถือได้ว่าเป็นขั้นตอนแรกของการเตรียมวัสดุในการทำเครื่องจักสานที่ต้องใช้ทักษะและแรงงานที่มีฝีมือ ซึ่งลักษณะการเหลาคล้ายการปอกผลไม้หรือเหลาดินสอ ทำให้ใช้เวลาค่อนข้างนานพอสมควร และคนที่สามารถทำงานด้านนี้เริ่มหายากในปัจจุบัน ดังนั้น หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จึงพัฒนา “เครื่องเหลาหวาย” ขึ้น ซึ่งมีแนวคิดคล้ายกับเครื่องกลึงของงานโลหะ โดยเปลี่ยนจากตัวโลหะมาเป็นหวายแทน และใช้ตัวเครื่องกลึง ที่มีแป้นหมุน 1 ด้าน มีตัวจำปาหรือตัวยึดอีก 1 ด้าน และมีใบมีดเป็นตัวปอกเหลา ทำให้ได้หวายที่มีขนาดสม่ำเสมอตลอดเส้น
คุณสมบัติและสมรรถนะ
· ส่วนประกอบหลัก 4 ส่วน คือ ชุดหนีบชิ้นงานเข้าเครื่อง, ใบมีดสำหรับเหลา, ชุดหนีบชิ้นงานออก และชุดควบคุมเครื่อง
· ตัวเครื่องทำจากโลหะเคลือบสี มีชุดจับชิ้นงานป้อนเข้าสู่ใบมีด ผ่านไปยังใบมีดซึ่งทำหน้าที่เหลาผิวหวาย และยังมีส่วนที่หวายออกจากเครื่อง โดยมีตัวชุดจับชิ้นงานออกเหมือนด้านหน้า ภายในตัวเครื่องใช้แรงของมอเตอร์ขนาดใหญ่ เป็นตัวเหลาหวาย
· สามารถปรับการทำงานรองรับขนาดของหวายได้หลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 มิลลิเมตร ไปจนถึงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 เซนติเมตร สามารถเหลาหวายได้ตลอดเส้นตั้งแต่ด้านหัวถึงด้านปลาย
· ทำงานได้ต่อเนื่องเส้นต่อเส้น อัตราความเร็วในการเหลาหวาย 2 - 3 เส้นต่อนาที (ที่ความยาวเส้นหวาย 5 เมตร)
· ตัวเครื่องสามารถปรับความเร็วของมอเตอร์ได้ เนื่องจากมีระบบเกียร์ทำให้การทำงานสะดวกมากขึ้น
· สามารถประยุกต์ใช้กับไม้เหลี่ยม เช่น ไม้ระแนง เป็นต้น
ราคาเริ่มต้นที่ 180,000 บาท/เครื่อง
พัฒนาภายใต้ โครงการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์เพื่อการผลิตระดับชุมชน
พัฒนาโดย นายทวีวัฒน์ อารีย์พงศา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 39 หมู่ 1 ถนนรังสิต-นครนายก (คลองหก) อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12110
โทรศัพท์ 081-6321198 Email: a_thaweewat@hotmail.com
ผู้ประกอบการ กลุ่มหัตถกรรมผลิตภัณฑ์หวาย 55/57 หมู่6 ต.บึงคำพร้อย อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี 12150
โทรศัพท์ : 081-4301068 โทรสาร : 02-9878115
ฒนา
ที่ปรึกษาด้านวิชาการ นายทวีวัฒน์ อารีย์พงศา ผู้จัดการหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
39 หมู่ 1 อาคารสำนักงานอธิการบดี (เดิม) ถนนรังสิต-นครนายก(คลองหก) อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12110
ผู้ประกอบการ
กลุ่มหัตถกรรมผลิตภัณฑ์หวาย นายไพเราะ ธรรมโชติ
55/517 ตำบลบึงคำพร้อย อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12150