อาหารแปรรูป
เครื่องขัดเปลือกมะนาวสำหรับดอง
ผู้พัฒนา รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ1 วิทยาลัยการอาชีพศรีสะเกษ
อาจารย์ที่ปรึกษา นายชัยวัตร ชาติมนตรี นายไพบูลย์ มีศิลป์ นายธิติวัฒน์ กุลพิชัยจิราวุฒิ ว่าที่ ร.อ.รุ่งสว่าง บุญหนา นายสายันต์ กุลรัตน์ นางสาววาสนา ยานารมย์
นักศึกษา นายบุญเลิศ ปัดชา นายพัชรกร ภานุวงศ์ นายศักดิ์สิทธิ์ ศรีโอสถ นายบุญเฉลิม คะติ นายสิทธิเดช ภักภูมิล นายจักรพงษ์ สว่างโสดา
เครื่องคั้นและบรรจุน้ำบูดูกึ่งอัตโนมัติ(RID64)
ผลิตภัณฑ์น้ำบูดู ถือได้ว่าเป็นอาหารพื้นเมืองที่ได้รับความนิยมในภาคใต้ ซึ่งน้ำบูดูได้มาจากการหมักปลาทะเลกับเกลือ เช่นเดียวกับการหมักน้ำปลาโดยอาศัยเอนไซม์และจุลินทรีย์จากปลาที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ โดยใช้เวลาในการหมัก 8-15 เดือน การผลิตบูดูและการรับประทานบูดูก็กลายเป็นวิถีวัฒนธรรมของคนภาคใต้ น้ำบูดูถือได้ว่าเป็นวัฒนธรรมด้านอาหารของคนภาคใต้ ได้รับความนิยมในการรับประทานเป็นอย่างแพร่หลาย ซึ่งน้ำบูดูเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถหาซื้อได้ง่าย มีรสชาติดีและคุณค่าทางโภชนาการสูง วิสาหกิจชุมชนกลุ่มน้ำบูดูบ้านบือราเป๊ะ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ได้ประกอบกิจการผลิตน้ำบูดูโดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการหมักจนถึงการบรรจุและจำหน่าย
ในปัจจุบันทางวิสาหกิจชุมชนกลุ่มน้ำบูดูบ้านบือราเป๊ะ ได้ใช้เครื่องมือการคั้นกากน้ำบูดูและการบรรจุน้ำบูดูในบรรจุภัณฑ์ด้วยเครื่องมือพื้นฐาน เช่น เครื่องบีบคั้นกากน้ำบูดูแบบมือหมุนอัด การบรรจุน้ำบูดูในขวดและในถุงพลาสติกด้วยกรวยบรรจุแบบพลาสติก ในการบวนการคั้นและบรรจุน้ำบูดูเพื่อให้หลักสุขอนามัยและให้ถูกต้องตามหลักสาธารณสุขนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีเครื่องบีบคั้นน้ำบูดูและเครื่องบรรจุน้ำบูดูเป็นระบบปิด ทั้งนี้เพื่อเป็นกระบวนการเข้าสู่การรับรองเครื่องหมายอาหารและยา ตลอดจนเครื่องหมายฮาลาล
ในขั้นตอนการบีบคั้นและการกรองน้ำบูดูแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นแบบเปิดนั้นมีโอกาสทำให้สิ่งปนเปื้อนสามารถปนและผสมกับน้ำบูดูได้ และกระบวนการบรรจุใส่ขวดและการบรรจุใส่ถุงพลาสติกแบบเปิดก็สามารถทำให้สิ่งปนเปื้อนเข่าได้เช่นกัน สำหรับสมาชิกผู้ปฏิบัติงานในขั้นตอนดังกล่าว หากทำงานเป็นเวลานานก็ก่อให้เกิดความความเหนื่อยล้าได้ เนื่องจากขั้นตอนและกิจกรรมการดำเนินงานยังไม่ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ ซึ่งทางกลุ่มพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการผลิตระดับชุมชน มีความเห็นว่าต้องมีการพัฒนาการดำเนินกิจกรรมในรูปแบบเครื่องจักรแทนที่แรงคน ทั้งนี้เพื่อความสะอาดถูกหลักสุขอนามัยและความรวดเร็วในการบวนการผลิต จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีเครื่องคั้นและบรรจุน้ำบูดูกึ่งอัตโนมัติเข้ามาสนับสนุนกลุ่มดังกล่าว เนื่องจากว่าในบางกิจกรรมสมาชิกไม่สามารถใช้กำลังกายเป็นระยะเวลานานได้ ดังนั้นกลุ่มน้ำบูดูบ้านบือราเป๊ะ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการนำเครื่องจักรมาแทนที่แรงงานคน ทั้งนี้เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตและคุณภาพ หรือลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นออก ทั้งนี้เพื่อให้สมาชิกของกลุ่มสามารถไปดำเนินกิจกรรมอื่นได้
อีกทั้งเป็นการเพิ่มองค์ความรู้ด้านการออกแบบและด้านการผลิตสำหรับกลุ่มพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการผลิตระดับชุมชน ดังได้กล่าวมานั้น ผู้เสนอโครงการจึงมีแนวคิดในการแก้ปัญหาและเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิตให้กับกลุ่มดังกล่าว เพื่อสร้างความมั่นคงให้ผู้ผลิตและสร้างคุณภาพชีวิตให้ผู้บริโภค ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของจังหวัดและประเทศในภาพรวม
เครื่องผลิตซอสพริกระบบตัวกลางส่งผ่านความร้อน(RID64)
พริกเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญและเป็นรายได้หลักของเกษตรกรในพื้นที่ อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ มีพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 1,500 ไร่ มีเกษตรกรที่เพาะปลูกพริกจำนวน 485 ราย มีผลผลิตเฉลี่ย 3,800 กิโลกรัม/ไร่ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 23,000 บาท/ไร่ ซึ่งเกษตรกรที่ปลูกพริกจะประสบปัญหาโรคและแมลง และปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ เนื่องจากมีปริมาณพริกในฤดูกาลผลิตออกสู่ตลาดในปริมาณมาก พ่อค้าคนกลาง เป็นผู้กำหนดราคาซื้อ ซึ่งทำให้เกษตรกรต้องขายในราคาที่ต่ำกว่าทุน จึงจำเป็นต้องเพิ่มศักยภาพของกลุ่มเกษตรกร ผู้ปลูกพริก ให้มีความสามารถในการผลิตและความสามารถในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น เพื่อทางกลุ่มสมาชิกสามารถเก็บไว้ขายในช่วงฤดูกาลที่มีพริกสดออกสู่ตลาดปริมาณน้อย ความต้องการบริโภคพริกในประเทศยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง เมื่อมีปริมาณพริกในตลาดลดลง ราคาพริกก็จะสูงขึ้น เกษตรกรจึงได้รวมกลุ่มกัน ภายใต้การส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ และจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหนองม่วงไข่ เพื่อร่วมกันพัฒนากลุ่มองค์กรเกษตรกรผู้ปลูกพริกและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การแปรรูปพริก เพื่อสร้างรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรกร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
แต่ในปัจจุบันทางกลุ่มสามารถผลิตพริกแปรรูปได้แก่ พริกดอง น้ำจิ้มไก่ น้ำพริกตาแดง ซอสพริก เป็นต้น แต่ในกระบวนการผลิตใช้หลักภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่มีกำลังผลิตที่ไม่มาก ซึ่งเหล่ากระบวนการผลิตถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น เช่น การต้ม ลวก นึ่ง ตากแห้ง การรมควันไฟ เป็นต้น ซึ่งปัจุจับันทางกลุ่มมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องจักรในกระบวนการผลิต เพื่อช่วยอำนวยความสะดวก แก้ไขปัญหาด้านกำลังผลิต และปัญหาการขาดแรงงาน หากทางกลุ่มได้รับการสนับสนุนด้านเทคโนโลยี และการสนับสนุนด้านเครื่องจักร อุปกรณ์ก็จะสามารถทำให้กลุ่มสมาชิกมีรายได้หล่อเลี้ยงครอบครัว และพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกกลุ่มเกษตรในพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้
เครื่องทำปลาส้มชนิดแผ่นกลมกึ่งอัตโนมัติ(RID64)
วิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาบ้านห้วยบง จดจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2549 รหัสทะเบียน 4-39-03-06/1-0007 มีจำนวนสมาชิก 20 คน ทำการแปรรูปปลาส้ม และปลาส้มชนิดแผ่นกลม โดยมีกำลังการผลิตปลาส้ม 100 กิโลกรัมต่อวัน ราคาขาย 120 บาท ต่อกิโลกรัม รายได้ขายปลาส้ม 360,000บาทต่อเดือน และปลาส้มชนิดแผ่นกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง ขนาด 60 มม. ความหนา 10 มม. จำนวน 300 กิโลกรัมต่อวัน ราคาขาย 120 บาทต่อกิโลกรัม รายได้ขายปลาส้มชนิดแผ่นกลม 1,080,000 บาทต่อเดือน ส้มไข่ปลา จำนวน 60 กิโลกรัมต่อวัน ราคาขาย 120 บาทต่อกิโลกรัม รายได้ขายส้มไข่ปลา 216,000 บาทต่อเดือน ส้มขี้ปลา จำนวน 60 กิโลกรัมต่อวัน ราคาขาย 40 บาทต่อกิโลกรัม รายได้ขายส้มขี้ปลา 72,000 บาทต่อเดือน ยอดจำน่ายผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาบ้านห้วยบง 1,728,000 บาทต่อเดือน จากการลงพื้นที่วันที่ 1 ธันวาคม 2563 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาบ้านห้วยบง มีความต้องการในการเพิ่มกำลังการผลิตปลาส้มชนิดแผ่นกลม และ พัฒนากระบวนการผลิตปลาส้มชนิดแผ่นกลมให้มีมาตรฐานให้มากขึ้น ปัญหาในกระบวนการผลิตปลาส้มชนิดแผ่นกลม ในกระบวนการปั้นปลาส้มชนิดแผ่นกลมด้วยมือ กำลังการผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของลูกค้า อีกทั้งกระบวนการผลิตยังใช้มือในการทำแผ่นกลมทำใช้กระบวนการผลิตไม่ได้มาตรฐาน รวมถึงมีการทางกลุ่มมีความต้องการเพิ่มกำลังการผลิตให้เพียงพอ ดังนั้นทีมนักวิจัยจึงมีแนวคิดในการออกแบบและพัฒนาเครื่องทำปลาส้มชนิดแผ่นกลมกึ่งอัตโนมัติ โดยเครื่องจักรที่ได้ออกแบบและพัฒนาช่วยในกระบวนการผลิตสามารถทำปลาส้มชนิดแผ่นกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง ขนาด 60 มม. ความหนา 10 มม. ได้จากเดิม 300 กิโลกรัมต่อวัน เป็น 600 กิโลกรัมต่อวัน สามารถเพิ่มกำลังกระบวนการผลิตปลาส้มชนิดแผ่นกลมให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ลดจำนวนพนักงานในกระบวนการปั้นปลาส้มแผ่นด้วยมือจาก 3 คน เหลือ 1 คน ปรับเปลี่ยนจากการปั้นแผ่นกลมด้วยมือมาเป็นเครื่องจักรทำให้กระบวนการมีมาตรฐานมากขึ้น เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีและสร้างเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ ในภาคการผลิตระดับชุมชนให้มีสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งานหรือผู้ประกอบการในระดับชุมชน