อื่นๆ

แพลตฟอร์มระบบยืนยันตัวตนและจัดการสถานที่ด้วย AI อัจฉริยะ(AUS64)

ศ, 09/04/2021 - 15:47 — bunsita
รายละเอียด: 

        จากสถานการณ์การแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ทั่วโลก มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทาให้ทุกประเทศประสบปัญหาทางด้านการรับมือและป้องกัน จากการระบาดรอบใหม่ที่เกิดขึ้นภายในประเทศ ส่งผลให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ หลายองค์กรไม่สามารถหยุดงานได้จาเป็นต้องเปิดดาเนินกิจการแบบเต็มรูปแบบ ทำให้ต้องเข้มงวดในการคัดกรองพนักงาน หรือผู้ติดต่อจากภายนอกเพื่อป้องกันเหตุที่อาจส่งผลให้องค์กรต้องหยุดกระบวนการผลิตหรือส่งผลกระทบทั้งโรงงาน เช่น มาตรการกาจัดพื้นที่ของผู้ป่วยภายนอก มาตรการตรวจวัดอุณหภูมิ มาตรการเอกสารคัดกรอง บันทึกการเดินทางไปสถานที่ต่าง ๆ เป็นต้น ทำให้เวลาในการตรวจสอบประวัติและกรอกข้อมูลดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสาคัญ แม้กระทั่งระบบการคัดกรองในปัจจุบันเองก็อาจเป็นแหล่งแพร่กระจายได้จากขั้นตอนการปฏิบัติงาน เช่น การแลกบัตร การเขียนกรอกเอกสารล้วนแล้วแต่เป็นความเสี่ยงที่อาจเกินขึ้นได้ จากเหตุผลที่กล่าวมาจึงมีแนวคิดในการพัฒนาแพลตฟอร์มระบบยืนยันตัวตนและจัดการสถานที่ด้วย AI อัจฉริยะ ลดความเสี่ยงจากการแพร่กระจายจากการปฏิบัติงานคัดกรอง โดยสามารถยืนยันตัวตน คัดกรองบุคคลที่จะเข้า-ออกองค์กร จำกัดพื้นที่ของบุคคลให้อยู่ในพื้นที่ที่กาหนดจากทางบริษัท เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากบุคคลภายนอกและภายใน ทำให้การทำงานสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และแพลตฟอร์มที่พัฒนาขึ้นยังสามารถนำไปปรับใช้กับงานด้าน Inspection ในโรงงานอุตสาหกรรมได้

 

งบปี พ.ศ.: 
2564
ภาพประกอบ: 
แพลตฟอร์มระบบยืนยันตัวตนและจัดการสถานที่ด้วย AI อัจฉริยะ(AUS64)
    แคตตาล็อกเทคโนโลยี
    ระดับ: 
    ต้นแบบเชิงพาณิชย์ / อุตสาหกรรม
    กลุ่มเป้าหมาย: 
    ประชาชนทั่วไป
    ภาพหน้าปก: 

    เครื่องฉีกหมูฝอยแบบกึ่งอัตโนมัติ(RID64)

    พฤ, 08/04/2021 - 15:36 — bunsita
    รายละเอียด: 

    วิสาหกิจชุมชนครัวข้าวแกง มหาสารคาม ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 121 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด  อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม  จดทะเบียนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2561 ภายใต้เลขทะเบียน 4-44-01-01/1-0015 ภายใต้การนำของ คุณรุ่งนภา ทองเชื้อ ดำเนินการเป็นกลุ่มผู้ผลิตและจำหน่าย ขนมไทย สาคูไส้หมู น้ำส้มคั้น หมูสวรรค์เผ็ด และหมูฝอย โดยจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ และวางขายหน้าร้านของทางกลุ่ม ซึ่งเป็นร้านขายข้าวราดแกงขึ้นชื่อของจังหวัดมหาสารคาม โดยกลุ่มลูกค้าที่มารับประทานอาหารที่ร้านนิยมซื้อผลิตภัณฑ์หมูฝอยของทางกลุ่มกลับไปรับประทานเองที่บ้าน หรือซื้อเพื่อเป็นของฝากเป็นจำนวนมาก ด้วยรสชาติที่อร่อย และการบอกต่อกันของกลุ่มลูกค้า ส่งผลให้ยอดการจำหน่ายผลิตภัณฑ์หมูฝอยของทางกลุ่มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

    อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าผลิตภัณฑ์หมูฝอยของทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนครัวข้าวแกง มหาสารคาม จะได้รับการตอบรับที่ดีมากจากกลุ่มลูกค้า แต่ทางกลุ่มวิสาหกิจก็ไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าต่อวันได้ทั้งหมด จึงส่งผลให้สูญเสียโอกาสทางการค้า และการขยายตลาดการจำหน่าย เนื่องจากกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์หมูฝอยของทางกลุ่มวิสาหกิจในปัจจุบัน ใช้แรงงานคนในทุกขั้นตอนของการผลิต และขั้นตอนที่ใช้เวลานานที่สุดคือ ขั้นตอนของการฉีกเนื้อหมูที่ผ่านการต้มแล้วให้กลายเป็นเส้น ก่อนการนำไปทอด โดยในปัจจุบันกำลังการผลิตของทางกลุ่มที่ผลิตได้อยู่ที่ประมาณ 2.5 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่น้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณความต้องการของลูกค้า ซึ่งทางกลุ่มได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการซื้อเครื่องจักรสำเร็จรูปจากท้องตลาดมาใช้ในกระบวนการฉีก แต่ลักษณะของเส้นหมูที่เครื่องจักรฉีกได้ไม่ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มวิสาหกิจ และกลุ่มผู้บริโภค จึงได้ขายเครื่องจักรที่ซื้อมาออกไป และกลับมาใช้แรงงานคนในการฉีกเช่นเดิม

    จากปัญหาดังกล่าว ทางคณะผู้ดำเนินโครงการได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลเบื้องต้นของทางกลุ่มวิสากิจชุมชนครัวข้าวแกง มหาสารคาม และได้พูดคุยเพื่อหาแนวทางการช่วยแก้ไขปัญหากำลังการผลิตไม่เพียงพอ โดยการออกแบบแนวคิดเพื่อสร้างเครื่องจักรต้นแบบ  “เครื่องฉีกหมูฝอยแบบกึ่งอัตโนมัติ” ที่มีกำลังการผลิต และตรงกับลักษณะของผลิตภัณฑ์ ที่ทางกลุ่มวิสาหกิจต้องการ และได้ให้ข้อมูลความจำเพาะมา เข้ามาช่วยในขั้นตอนของการฉีกเนื้อหมูที่ผ่านการต้มแล้วให้เป็นเส้น โดยเครื่องจักรที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นจะให้ลักษณะของเส้นหมูที่ผ่านการฉีกแล้วตรงตามความต้องการของกลุ่ม และมีกำลังการผลิตไม่ต่ำกว่า 10 กิโลกรัมต่อชั่วโมง

    งบปี พ.ศ.: 
    2564
    ภาพประกอบ: 
    เครื่องฉีกหมูฝอยแบบกึ่งอัตโนมัติ(RID64)
      แคตตาล็อกเทคโนโลยี
      ระดับ: 
      ต้นแบบเชิงพาณิชย์ / อุตสาหกรรม
      กลุ่มเป้าหมาย: 
      วิสาหกิจชุมชน
      ภาพหน้าปก: 

      เครื่องคัดพุทราแบบแฟลบ(RID64)

      พฤ, 08/04/2021 - 13:21 — bunsita
      รายละเอียด: 

       เครื่องคัดพุทราแบบแฟลบที่ได้นั้นสามารถเพิ่มกำลังการผลิตในการคัดผลผลิตลูกพุทราสดให้ได้หลายขนาดของลูกพุทราเพื่อให้สถานประกอบการได้วัตถุดิบที่ได้มาตรฐานและสร้างรายได้มากกว่าการขายผลผลิตในราคาคละผลผลิต ซึ่งจะเกิดช่องว่างและพ่อค้าคนกลางกดราคาเกษตรกร ซึ่งเครื่องที่ทางผู้ช่วยชาญตั้งใจพัฒนาขึ้นมา เพื่อให้เกษตรกรสามารถคัดลูกพุทราสดได้มากกว่า 6 ขนาดและลดแรงกระแทกขณะคัดวัตถุดิบ ดังนั้นวัตถุดิบที่ได้จะไม่ซ้ำ ไม่เกิดความเสียหายในขั้นตอนการคัดแยก ทำให้สินค้าสามารถเก็บรักษาได้นานยิ่งขึ้น และมีหลักการ การทำงานของเครื่องที่ง่ายเหมาะสำหรับ วิสาหกิจชุมชนเกษตรกรไม้ผลบ้านโพน อ.คำม่วง จ.กาฬสินธุ์ เพื่อสามารถพัฒนาสินค้าให้ได้คุณภาพและผลิตสินค้าได้ทันตามเวลาของลูกค้า ซึ่งเครื่องจักรต้นแบบที่พัฒนาสามรถตอบโจทย์ทางกลุ่มฯ สามารถใช้งานได้ง่ายเครื่องจักรไม่ซับซ้อน มีคู่มือการใช้งานที่ทุกท่านปฏิบัติงานได้โดยไม่มีอุปสรรค

      งบปี พ.ศ.: 
      2564
      ภาพประกอบ: 
      เครื่องคัดพุทราแบบแฟลบ(RID64)
        แคตตาล็อกเทคโนโลยี
        ระดับ: 
        ต้นแบบเชิงพาณิชย์ / อุตสาหกรรม
        กลุ่มเป้าหมาย: 
        วิสาหกิจชุมชน
        ภาพหน้าปก: 

        เครื่องเหลาไม้ไผ่สำหรับทำสุ่มโคมไฟ(RID64)

        พฤ, 08/04/2021 - 11:09 — bunsita
        รายละเอียด: 

        หลังจากสิ้นสุดโครงการจะได้เครื่องเหลาไม้ไผ่ ที่ผลิตเส้นไม้ไผ่ที่มีขนาดสม่ำเสมอ เส้นไม้ไผ่ไม่แข็ง ดัดโค้งได้ง่าย เหมาะสำหรับผลิตสุ่มโคมไฟ ช่วยของเสียในกระบวนการผลิต เนื่องจากไม้ไผ่ที่สม่ำเสมอไม่เท่ากันทำให้เกิดของเสียเยอะ ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มรายได้ ให้กับกลุ่มโอทอป ทำให้เด็ก คนชรา และกลุ่มชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยปกติกลุ่มโอทอปผลิตสุ่มไก่ จะมีรายได้ประมาณ 20,000 บาท/เดือน แต่เมื่อหันมาทำสุ่มโคมไฟส่งให้กับบริษัทที่มีคำสั่งซื้อเข้ามา จะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 30,000 - 40,000 บาท/เดือน

        เมื่อมีเครื่องเหลาไม่ไผ่ที่ได้ประสิทธิภาพ จะทำให้กลุ่มโอทอป สามารถผลิตสินค้าจำหน่ายได้แพร่หลายมากขึ้น นอกจากนี้การสร้างเครื่องจักนสามารถทดแทน และลดการนำเข้าเครื่องจักร โดยการใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตได้ในประเทศในการพัฒนาสร้างเครื่องจักร โดยเทคโนโลยีที่ใช้ของเครื่องจักรเป็นเทคโนโลยีที่ไม่สูงมาก เหมาะสำหรับชาวบ้าน ผลงานผลิตภัณฑ์ของกลุ่มสามารถนำไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องตกแต่ง เครื่องจักรสานแบบอื่น ๆ ได้หลากหลาย ทั้งที่ออกแบบเอง และผลิตตามแบบที่ลูกค้าต้องการ เครื่องจักรที่ออกแบบมาสามารถนำไปใช้กับชุมชนอื่น ๆ ได้อย่างหลากหลาย หรือจะเป็นต้นแบบเพื่อให้กลุ่มผู้ผลิตเครื่องจักรที่สนใจผลิตจำหน่ายในราคาที่ไม่สูงต่อไป

         

         

         

        งบปี พ.ศ.: 
        2564
        ภาพประกอบ: 
        เครื่องเหลาไม้ไผ่สำหรับทำสุ่มโคมไฟ(RID64)
          แคตตาล็อกเทคโนโลยี
          ระดับ: 
          ต้นแบบเชิงพาณิชย์ / อุตสาหกรรม
          กลุ่มเป้าหมาย: 
          วิสาหกิจชุมชน
          ภาพหน้าปก: 

          เครื่องควบคุมความตึงเทปแบบอัตโนมัติ(AUS64)

          จ, 05/04/2021 - 14:57 — bunsita
          รายละเอียด: 

          ปัจจุบันการควบคุม Torque จะทำการผลิตไปทีละชนิดของเทป ซึ่งบางชนิดมีปริมาณในกำรสั่งผลิตเพื่อจำหน่ายไม่เท่ากัน บางชนิดและบางขนาด ก็ผลิตไม่ทันตามความต้องการของลูกค้า ส่งผลให้บริษัทจำเป็นต้องมีการเพิ่มชั่วโมงในการทำงาน จากวันละ 8 ชม. เป็นการเพิ่มโอที 12 ชม. ในบางวันที่มียอดกำรสั่งผลิตเป็นจำนวนมาก ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น พนักงานเกิดความเหนื่อยล้าจากการทำงาน ต้องคอยนั่งควบคุมเครื่องจักรตลอดเวลา สินค้าเกิดความเสียหายอันเนื่องจากการผลิตที่ควบคุมความตึงไม่ได้ตามกำหนด ของเสียที่เกิดจากการผลิต ไม่แน่นตำมกำหนด และย่น เกิดความเสียหาย กว่า 40 % ทำให้ลูกค้าเกิดต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นมาก

          แนวทางในการแก้ปัญหา
          การพัฒนำขบวนการผลิตจะเป็นการพัฒนาเครื่องจักรให้มีความสะดวกสบายในการใช้งานในการกรอเทป ด้วยเครื่องกรอเทป ให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วขึ้น โดยพัฒนาจากเครื่องพื้นฐานเดิมที่ใช้งานอยู่นาพัฒนาชุดควบคุม Torque (ความตึงเทป) แบบอัตโนมัติ

          งบปี พ.ศ.: 
          2564
          ภาพประกอบ: 
          เครื่องควบคุมความตึงเทปแบบอัตโนมัติ(AUS64)
            แคตตาล็อกเทคโนโลยี
            ระดับ: 
            ต้นแบบเชิงพาณิชย์ / อุตสาหกรรม
            กลุ่มเป้าหมาย: 
            ภาคอุตสาหกรรม
            ภาพหน้าปก: 

            โครงการ ระบบสายพานลำเลียงผ้าเข้าสู่เครื่องรีดผ้า พร้อมการจัดเก็บผ้า และส่งมอบ(AUS64)

            จ, 05/04/2021 - 13:58 — bunsita
            รายละเอียด: 

                  เนื่องจากห้างฯ ได้พัฒนาเครื่องรีดผ้าแล้ว แต่ยังขาดการต่อยอดการใช้งาน จึงต้องการยกระดับการทำงาน ซึ่งสามารถรองรับความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภค และพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป จึงต้องการพัฒนาและสร้างระบบสายพานลำเลียงผ้าเข้าสู่เครื่องรีดผ้า พร้อมการจัดเก็บเสื้อผ้า และส่งมอบ หากลูกค้าไม่ต้องการรอรับกลับทันที จึงจำเป็นต้องมีสถานที่จัดเก็บให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันการสูญหาย ซึ่งต้องมีความถูกต้อง, แม่นยำ และปลอดภัย เนื่องจากเสื้อผ้าเป็นทรัพย์สินที่สำคัญของลูกค้า จึงไม่ควรปะปนกัน อีกทั้งยังคงความเรียบและสวยงามอยู่ เมื่อลูกค้ารับกลับไป ซึ่งสามารถสร้างความประทับใจ, ไว้วางใจ และความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้าได้ ดังนั้นร้านสะดวกซักจะหมดความกังวลกับการขาดรายได้ หากขาดสถานที่จัดเก็บเสื้อผ้าหลังรีด เพื่อฝากระหว่างที่ลูกค้าไม่สะดวก หรือแม้กระทั่งจำนวนของเสื้อผ้าที่ฝากไว้ หากสถานที่จัดเก็บเต็มก็จะไม่ใช่ปัญหาที่จะขาดรายได้อย่างต่อเนื่องอีกต่อไป ซึ่งร้านสามารถเพิ่มจำนวนลูกค้าใหม่ได้อย่างสม่ำเสมอ และยังคงสามารถรักษาฐานลูกค้าเดิมได้ในเวลาเดียวกันซึ่งเป็นผลจากการให้บริการเทคโนโลยีที่สามารถอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าซึ่งเปี่ยมด้วยคุณภาพและประสิทธิภาพ เพื่อการใช้ชีวิตที่ง่ายขึ้น โดยลดความแออัดจากการรอคอยภายในร้าน และยังคงสามารถสร้างรายได้อีกด้วย อีกทั้งยังสามารถสร้างการเคลื่อนไหวภายในร้านตลอดเวลา ร้านจึงดูไม่ร้าง เงียบ หรือเปลี่ยว แต่ไม่เกิดความแออัด ซึ่งสามารถสร้างความน่าสนใจต่อผู้ที่พบเห็น หรือนักลงทุน

            งบปี พ.ศ.: 
            2564
            ภาพประกอบ: 
            โครงการ ระบบสายพานลำเลียงผ้าเข้าสู่เครื่องรีดผ้า พร้อมการจัดเก็บผ้า และส่งมอบ(AUS64)
              แคตตาล็อกเทคโนโลยี
              ระดับ: 
              ต้นแบบเชิงพาณิชย์ / อุตสาหกรรม
              กลุ่มเป้าหมาย: 
              ภาคอุตสาหกรรม
              ภาพหน้าปก: 

              ระบบควบคุมการระบายความชื้นภายในห้องอบแห้งไม้ยางพาราแบบอัตโนมัติ(AUS64)

              จ, 05/04/2021 - 13:36 — bunsita
              รายละเอียด: 

              ปัจจุบันระบบห้องอบที่ใช้ในโรงงานใช้ไอน้ำอิ่มตัวที่แรงดันประมาณ 4 บรรยากาศ เป็นแหล่งพลังงานความร้อน โดยห้องอบแห้งนี้มีระบบควบคุมการทำงานโดยใช้มนุษย์ควบคุมเกือบจะทั้งหมดถึงแม้ว่าจะมีตู้ควบคุมการทำงาน กล่าวคือ เมื่อเริ่มต้นใช้งานห้องอบแห้งต้องทำการเปิดวาล์วระบายน้ำคอนเดนเสทที่ตกค้างในระบบท่อ จากนั้นจะทำการเปิดวาล์วจ่ายไอน้ำ เพื่อให้ไอน้ำทำการไล่น้ำคอนเดนเสทออกจากระบบให้หมดเหลือเพียงแค่ไอน้ำดี โดยเมื่อน้ำคอนเดนเสทถูกไล่ออกจากระบบเรียบร้อยแล้วผู้ควบคุมจะทำการเปิดวาล์วจ่ายไอน้ำเข้าสู่ห้องอบและปิดวาล์ววาล์วระบายน้ำคอนเดนเสท หลังจากนั้นจึงทำการเปิดสวิทช์พัดลมภายในห้องอบให้ทำงานเพื่อที่จะเริ่มการทำงานของระบบอบแห้ง ในส่วนของตู้ควบคุมการทำงานของห้องอบแห้งนอกจากจะมีสวิทช์เปิด ปิดการทำงานของพัดลมและหลอดไฟแสดงผลการทำงานแล้วนั้น ยังมีเครื่องควบคุมอุณหภูมิอยู่ 2 เครื่อง โดยเครื่องควบคุมอุณหภูมิแต่ละเครื่องจะทำการวัดค่าอุณหภูมิปกติภายในห้องอบแห้งหรือที่เรียกว่า “อุณหภูมิกระเปาะแห้ง (Dry bulb temperature)” และวัดค่าอุณหภูมิสำหรับวัดความชื้นหรือที่เรียกว่า “อุณหภูมิกระเปาะเปียก (Wet bulb temperature)” ซึ่งค่าอุณหภูมิกระเปาะแห้งและอุณหภูมิกระเปาะเปียกเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ในการหาค่าความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศดังเช่นเครื่องไฮโกรมิเตอร์

              งบปี พ.ศ.: 
              2564
              ภาพประกอบ: 
              ระบบควบคุมการระบายความชื้นภายในห้องอบแห้งไม้ยางพาราแบบอัตโนมัติ(AUS64)
                แคตตาล็อกเทคโนโลยี
                ระดับ: 
                ต้นแบบเชิงพาณิชย์ / อุตสาหกรรม
                กลุ่มเป้าหมาย: 
                ภาคอุตสาหกรรม
                ภาพหน้าปก: 

                โครงการพัฒนาระบบเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้ของโรงไฟฟ้าเผาขยะและชีวมวล และลดมลพิษทางอากาศด้วยการผสมก๊าซ Oxy-Hydrogen ที่ผลิตจากน้ำ(VCE64)

                จ, 05/04/2021 - 12:01 — bunsita
                รายละเอียด: 

                ในปัจจุบันเชื้อเพลิงฟอสซิลหายากและมีราคาที่สูงขึ้น รวมทั้งการตระหนักถึงปัญหาโลกร้อน และมลพิษทางอากาศที่มาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ทำให้คนหันมาใช้พลังงานทางเลือกและพลังงานธรรมชาติมากขึ้น โดยปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าชีวมวลเกิดขึ้นหลายแห่งในประเทศ แต่ก็ต้องประสบกับปัญหาการนำชีวมวลมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า แต่เกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้ต้องสูญเสียเชื้อเพลิงมากกว่าที่จำเป็น และยังก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศอีกด้วย

                          เนื่องจากก๊าซไฮโดรเจนเป็นก๊าซที่มีการเผาไหม้ที่ค่าความร้อนสูง ไฮโดรเจนสามารถเผาไหม้ที่อุณหภูมิถึง 2045° C ในขณะเดียวกันก๊าซมีเทนหรือก๊าซธรรมชาติจะเผาไหม้ที่อุณหภูมิเพียงแค่  1325° C ส่วนชีวมวลจะเผาไหม้ที่อุณหภูมิประมาณ 800° C ขึ้นอยู่กับประเภทของชีวมวลที่นำมาใช้ ดังนั้นไฮโดรเจนจึงเป็นก๊าซที่สามารถใช้ในการผลิตไอน้ำที่ค่าความร้อนสูงกว่าการใช้ชีวมวลและเชื้อเพลิงฟอสซิล จึงได้ทำการเติมไฮโดรเจนเข้าไปผสมกับการเผาไหม้ของชีวมวลในการต้มไอน้ำ ทำให้เกิดการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ ลดการใช้พลังงานและลดมลพิษ เนื่องจากไม่มีการปล่อยสารไฮโดรคาร์บอน คาร์บอนมอนอกไซด์ หรือการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

                 

                 

                งบปี พ.ศ.: 
                2564
                ภาพประกอบ: 
                โครงการพัฒนาระบบเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้ของโรงไฟฟ้าเผาขยะและชีวมวล และลดมลพิษทางอากาศด้วยการผสมก๊าซ Oxy-Hydrogen ที่ผลิตจากน้ำ(VCE64)
                  แคตตาล็อกเทคโนโลยี
                  ระดับ: 
                  ต้นแบบเชิงพาณิชย์ / อุตสาหกรรม
                  กลุ่มเป้าหมาย: 
                  ภาคอุตสาหกรรม
                  ภาพหน้าปก: 

                  โครงการพัฒนาสร้างระบบพลาสมาบำบัดน้ำเสียเพื่อการนำมาใช้ใหม่ (VCE64)

                  พฤ, 01/04/2021 - 15:40 — bunsita
                  รายละเอียด: 

                  ปัจจุบันปัญหามลพิษทางน้ำได้กลายเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทยเนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม และประเทศอุตสาหกรรม จึงมีผลผลิตทางการเกษตรและโรงงานอุตสาหกรรมทางการเกษตรมากมาย ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดปัญหามลพิษทางน้ำ ซึ่งทำให้เกิดการเน่าเสียและมีกลิ่นเหม็น การเกิดปัญหาการเน่าเสียของแหล่งน้ำตามมาซึ่งก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมา เช่น ปัญหาสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมปัญหาสุขภาพอนามัยที่ทำให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน และปัญหาเศรษฐกิจ เป็นต้น  ด้วยเหตุนี้ การบำบัดน้ำเสียด้วยพลาสม่าเป็นเทคโนโลยีที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดมลพิษกับสิ่งแวดล้อม เพราะไม่มีการใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย และยังสามารถนำน้ำที่ได้บำบัดน้ำเสียด้วยพลาสม่ากลับมาใช้ในการอุปโภคบริโภคและภาคการเกษตรได้

                  งบปี พ.ศ.: 
                  2564
                  ภาพประกอบ: 
                  เครื่องบำบัดน้ำเสียด้วยพลาสมาเพื่อนำน้ำกลับมาใช้ใหม่
                    แคตตาล็อกเทคโนโลยี
                    ระดับ: 
                    ต้นแบบเชิงพาณิชย์ / อุตสาหกรรม
                    กลุ่มเป้าหมาย: 
                    ภาคอุตสาหกรรม
                    ภาพหน้าปก: 

                    เครื่องผลิตยาหม่องสมุนไพรอัตโนมัติ

                    อ, 31/07/2018 - 16:12 — admin5
                    รายละเอียด: 

                    คัดเลือกขั้นตอนของการผลิตในส่วนของการต้มและเติมขวด รวมถึงการหมุนปิดฝา มาออกแบบและผลิต เครื่องเครื่องจักรอัตโนมัติ ให้สามารถผลิตได้ครั้งละเป็นจ านวนมาก แต่ละขวดมีน้ าหนักที่เท่ากันตาม มาตรฐานที่ก าหนด ลดการเปรอะเปื้อน 

                    งบปี พ.ศ.: 
                    2561
                      แคตตาล็อกเทคโนโลยี
                      ระดับ: 
                      ต้นแบบเชิงพาณิชย์ / อุตสาหกรรม
                      กลุ่มเป้าหมาย: 
                      วิสาหกิจชุมชน
                      ราคาเครื่องจักร: 
                      600000
                      ภาพหน้าปก: 
                      เนื้อหาแหล่งข่าว