- หน้าแรก
- แนะนำโครงการ
- โครงการสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า
- โครงการพัฒนาระบบอัตโนมัติ/สมาร์ทเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ของภาคการผลิตและบริการ
- โครงการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ เพื่อการผลิตระดับชุมชน
- โครงการประกวดสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา STI inventions contest 2025
- โครงการประกวดรางวัลเทคโนโลยียอดเยี่ยมด้านเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ (Machinery for Equipment and Machinery Awards; MA)
- ดาวน์โหลด
- กระดานสนทนา
- แผนที่เว็บไซต์
- ติดต่อเรา
โครงการพัฒนาระบบอัตโนมัติ/สมาร์ทเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของภาคการผลิตและบริการ (AUS)
โครงการพัฒนาระบบอัตโนมัติ/สมาร์ทเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของภาคการผลิตและบริการ
เครื่องบรรจุลำไยอบแห้งลงกล่องอัตโนมัติสำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปลำไยอบแห้ง (TPD65)
รายละเอียด:
หัวหน้าโครงการ : นายณัฐพงษ์ พุทธิกิตติพันธ์
คณะทำงานโครงการ (1) : นายกลิ้ง กาญจนสุวรรณ
ที่ปรึกษาด้านวิชาการ : อาจารย์ศุภกาล ตุ้ยเต็มวงศ์
ชื่อสถานประกอบการผู้พัฒนา : บริษัท เอไอ อินดัสทรีส์ จำกัด
ชื่อสถานประกอบการ : บริษัท ปิยะมงคล เค.บี.เอเชี่ยนฟรุ๊ต จำกัด
งบปี พ.ศ.:
2565 แพลตฟอร์มระบบยืนยันตัวตนและจัดการสถานที่ด้วย AI อัจฉริยะ(AUS64)
รายละเอียด:
จากสถานการณ์การแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ทั่วโลก มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทาให้ทุกประเทศประสบปัญหาทางด้านการรับมือและป้องกัน จากการระบาดรอบใหม่ที่เกิดขึ้นภายในประเทศ ส่งผลให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ หลายองค์กรไม่สามารถหยุดงานได้จาเป็นต้องเปิดดาเนินกิจการแบบเต็มรูปแบบ ทำให้ต้องเข้มงวดในการคัดกรองพนักงาน หรือผู้ติดต่อจากภายนอกเพื่อป้องกันเหตุที่อาจส่งผลให้องค์กรต้องหยุดกระบวนการผลิตหรือส่งผลกระทบทั้งโรงงาน เช่น มาตรการกาจัดพื้นที่ของผู้ป่วยภายนอก มาตรการตรวจวัดอุณหภูมิ มาตรการเอกสารคัดกรอง บันทึกการเดินทางไปสถานที่ต่าง ๆ เป็นต้น ทำให้เวลาในการตรวจสอบประวัติและกรอกข้อมูลดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสาคัญ แม้กระทั่งระบบการคัดกรองในปัจจุบันเองก็อาจเป็นแหล่งแพร่กระจายได้จากขั้นตอนการปฏิบัติงาน เช่น การแลกบัตร การเขียนกรอกเอกสารล้วนแล้วแต่เป็นความเสี่ยงที่อาจเกินขึ้นได้ จากเหตุผลที่กล่าวมาจึงมีแนวคิดในการพัฒนาแพลตฟอร์มระบบยืนยันตัวตนและจัดการสถานที่ด้วย AI อัจฉริยะ ลดความเสี่ยงจากการแพร่กระจายจากการปฏิบัติงานคัดกรอง โดยสามารถยืนยันตัวตน คัดกรองบุคคลที่จะเข้า-ออกองค์กร จำกัดพื้นที่ของบุคคลให้อยู่ในพื้นที่ที่กาหนดจากทางบริษัท เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากบุคคลภายนอกและภายใน ทำให้การทำงานสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และแพลตฟอร์มที่พัฒนาขึ้นยังสามารถนำไปปรับใช้กับงานด้าน Inspection ในโรงงานอุตสาหกรรมได้
งบปี พ.ศ.:
2564 กระบวนการผลิตแบบสมาร์ท ในการพาสเจอไรซ์อุตสาหกรรมนม ด้วยระบบ SCADA & IIOT(AUS64)
รายละเอียด:
การบริหารจัดการการผลิตให้มีประสิทธิภาพที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการแต่ละราย สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ใช้ในการบริหารจัดการผลิตได้ด้วยตนเอง ด้วยฐานข้อมูลแบบเรียลไทม์ ขณะเดียวกันภาครัฐยังให้การส่งเสริมตามหลักเกษตร 4.0 ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้ภาคเกษตรปรับตัวมาใช้เทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น
ซึ่งในอุตสาหกรรมการแปรรูปน้านมดิบจากเกษตรกร ยังจาเป็นต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ซึ่งกระบวนการฆ่าเชื้อหรือการเก็บรักษาคุณภาพของนมถือว่ามีความสาคัญ ปัจจุบันผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มที่ผู้บริโภคนิยมบริโภค คือ การพาสเจอไรส์ ซึ่งกระบวนการผลิตนี้โดยทั่วไป คือ การควบคุมระดับอุณหภูมิให้มีความคงที่ ตามเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งกระบวนการผลิตในแต่ละครั้ง ก็มีปัญหาที่ทาให้ระบบการทางานนั้นเกิดความผิดพลาด ยกตัวอย่างเช่น
1. อุปกรณ์ เกิดจากการใช้งานมานาน การสึกหร่อ ทาให้หน้าสัมผัสการทางานค้างหรืออุปกรณ์ชุดนั้นชารุดเกิดความเสียหาย
2. ห้องแช่เย็น เมื่อทาการผลิตนมและทาการพาสเจอไรส์แล้ว จะต้องนาเอาผลิตภัณฑ์ไปเก็บรักษาไว้ในห้องแช่เย็น หากอุณหภูมินั้นมีการเปลี่ยนแปลง คุณภาพของนมนั้นอาจเสียหายได้ จึงมีความจาเป็นต้องมีการควบคุมระดับอุณหภูมิให้คงที่ตลอด 24 ชั่วโมง
3. การเกิดปัญหาไฟฟ้าขัดข้องในพื้นที่ที่มีการผลิต อาจมีผลต่อขั้นตอนกระบวนการผลิต
จากตัวอย่างปัญหาที่เกิดขึ้น ทาให้เราไม่สามารถตรวจเช็คได้หรือตรวจสอบปัญหานั้นได้ วิธีการแก้ไขปัญหา คือ สร้างวิธีการแจ้งเตือนขึ้นมา เช่น เมื่ออุณหภูมิภายในห้องแช่เย็น เกิดการเปลี่ยนแปลง ระบบจะทาการแจ้งเตือนในแบบใดได้บ้าง
ทางทีมผู้พัฒนาจึงคิดทาการต่อยอด ระบบที่สามารถแจ้งเตือนเมื่อเกิดปัญหา โดยแจ้งเตือนผ่านระบบโทรศัพท์หรือใน Application LINE การแก้ไขปัญหานี้สามารถใช้งานได้ง่าย ก็คืออาจจะติดตั้งเซ็นเซอร์จากภายนอกเครื่องจักร หรือวัดอุณหภูมิจากภายในห้อง เมื่ออุณหภูมิเกิดการเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นเรื่อย ๆ หรือไม่ได้ค่าตามเกณฑ์ที่กาหนดไว้หรือสูงกว่า ระบบจะทาการแจ้งเตือนกลับมาใน Application LINE ทันที ซึ่งในระบบนี้ จะทาการเพิ่มเติมการเก็บข้อมูลของการผลิต การ steam การแสดงสถานะ การแจ้งเตือน ของเครื่องจักรทั้งหมด เพื่อใช้ในการอ้างอิงถึงประสิทธิภาพการทางานของเครื่องจักร เพื่อนาค่าที่ได้กลับไปพัฒนาให้เครื่องนี้ สามารถทางานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
งบปี พ.ศ.:
2564 เครื่องจ่ายสารละลายด้วยเทคโนโลยีแบบ Inline Injection(AUS64)
รายละเอียด:
พัฒนาเครื่อง Fertigation แบบ Inline-injection ให้จ่ายสารละลายได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น ด้วยการควบคุมการจ่ายสารละลายตาม demand ที่พืชต้องการในขณะนั้น โดยนำเอาข้อมูลเชิงวิชาการในเรื่องของ photosynthesis ที่ได้มาจาก Sensors ต่างๆ มาประมวลผล วัดค่าความต้องการน้ำของพืชแบบ real time. ทำให้เครื่องสามารถจ่ายสารละลายตามปริมาณการสังเคราะห์แสงของพืชในแต่ละวันที่ เพื่อไห้การจ่ายน้ำนั้นเป็นไปความความต้องการของพืชอย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น ส่งผลไห้ ลดการเกิดโรค,การไห้น้ำมากเกินไป,และลดต้นทุนค่าปุ๋ย ได้อย่างมาก. โดยเครื่องจ่ายสารละลาย 1 เครื่องสามารถ ควบคุมการจ่ายสารละลายไปยังแปลงปลูกพืช หรือ โรงเรือนได้ถึง 8 โรงเรือน และสามารถผสมสารหรือสูตรปุ๋ยได้มากสุดถึง 8สาร ซึ่งโดยปกติแล้วเกษตรต้องนำเข้าเทคโนโลยีดังกล่าวมาจากต่างประเทศ และมีความซับซ้อนสูง ใช้งานยาก ทางบริษัทจึงเร่งเห็นความสำคัญของการยกระดับเทคโนโลยีด้านเกษตรอุตสาหกรรมในประเทศ เพื่อทดแทนการนำเข้าเทคโนโลยี และให้เกษตรไทยสามารถเข้าถึงเทคโนโลยี Fertigation ได้ง่ายขึ้น
งบปี พ.ศ.:
2564 การพัฒนาต่อยอดสร้างเครื่องคัดแยกคุณภาพลำไยอบแห้ง ด้วยเทคโนโลยี Machine Vision(AUS64)
รายละเอียด:
ในโครงการนี้เป็นการพัฒนาสร้างเครื่องคุณภาพลำไยอบแห้งทั้งเปลือก ด้วยเทคโนโลยี Machine Vision ขึ้นมาใหม่ เพื่อใช้งานในอุตสาหกรรมลำไยอบแห้งทั้งเปลือก โดยเป็นการพัฒนาต่อยอดจากเครื่องเดิม ในด้านต่างๆดังนี้
- ด้านการออกแบบกลไกทางวิศวกรรม เพื่อให้ได้รูปแบบโครงสร้าง อุปกรณ์ และลักษณะกำรทำงานใหม่ ที่ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มขึ้น (เร็วขึ้น) มีความคงทน กำรติดตั้งและซ่อมบำรุงทำได้สะดวก
- ด้านการออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อควบคุมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างการส่งคำสั่งจากซอฟต์แวร์ไปควบคุมระบบกลไก ให้เป็นไปอย่างอัตโนมัติ
- ด้านการออกแบบซอฟต์แวร์ เพื่อใช้ประมวลผลภาพในการคัดแยกลำไยอบแห้งให้มีความแม่นยำเพิ่มขึ้น
งบปี พ.ศ.:
2564 เครื่องควบคุมความตึงเทปแบบอัตโนมัติ(AUS64)
รายละเอียด:
ปัจจุบันการควบคุม Torque จะทำการผลิตไปทีละชนิดของเทป ซึ่งบางชนิดมีปริมาณในกำรสั่งผลิตเพื่อจำหน่ายไม่เท่ากัน บางชนิดและบางขนาด ก็ผลิตไม่ทันตามความต้องการของลูกค้า ส่งผลให้บริษัทจำเป็นต้องมีการเพิ่มชั่วโมงในการทำงาน จากวันละ 8 ชม. เป็นการเพิ่มโอที 12 ชม. ในบางวันที่มียอดกำรสั่งผลิตเป็นจำนวนมาก ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น พนักงานเกิดความเหนื่อยล้าจากการทำงาน ต้องคอยนั่งควบคุมเครื่องจักรตลอดเวลา สินค้าเกิดความเสียหายอันเนื่องจากการผลิตที่ควบคุมความตึงไม่ได้ตามกำหนด ของเสียที่เกิดจากการผลิต ไม่แน่นตำมกำหนด และย่น เกิดความเสียหาย กว่า 40 % ทำให้ลูกค้าเกิดต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นมาก
แนวทางในการแก้ปัญหา
การพัฒนำขบวนการผลิตจะเป็นการพัฒนาเครื่องจักรให้มีความสะดวกสบายในการใช้งานในการกรอเทป ด้วยเครื่องกรอเทป ให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วขึ้น โดยพัฒนาจากเครื่องพื้นฐานเดิมที่ใช้งานอยู่นาพัฒนาชุดควบคุม Torque (ความตึงเทป) แบบอัตโนมัติ
งบปี พ.ศ.:
2564 การพัฒนาเครื่องทอดระบบสุญญากาศสำหรับผลิตภัณฑ์หมูยอทอดกรอบ(AUS64)
รายละเอียด:
บจก.ดีไลท์ 88 เป็นบริษัทที่ประกอบกิจการประเภทผลิตอาหาร สินค้าของบริษัท ได้แก่ ก๋วยจั๊บ เส้นแห้งและก๋วยจั๊บกึ่งสำเร็จรูป ภายใต้ยี่ห้อ “ จั๊บจั๊บ” ปัจจุบันมีกำลังการผลิตประมาณ วันละ 2,000 ซอง เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตหมูยออบแห้งคือเครื่องฟรีซดรายซึ่งสามารถอบได้ครั้งละ 8 กิโลกรัม หลังอบได้ ประมาณ 2.5 กิโลกรัม ใช้เวลาอบแห้งประมาณ 30 ชั่วโมง นำมาบรรจุในซองก๋วยจั๊บกึ่งสำเร็จรูปได้ ประมาณ 2,000 ซอง โดยความสามารถในการผลิตในวัถุดิบอื่นๆ เช่น เส้นกึ่งสำเร็จรูป, พริกผัด, หอมเจียว นั้นสามารถผลิตได้ที่ประมาณ 4,000 ซองต่อวัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเพิ่มกำลังการผลิตในส่วนหมูยออบแห้ง ซึ่งเป็นส่วนประกอบในก๋วยจั๊บกึ่งสำเร็จรูปที่ยังไม่เพียงพออยู่ประมาณวันละ 2,000 ซอง โดยทางบริษัทได้ ทำการทดสอบนำหมูยอทอดกรอบมาทดแทนหมูยออบแห้งแบบเดิม เพื่อให้เพียงพอต่อการผลิตก๋วยจั๊บกึ่ง สำเร็จรูปตามกำลังการผลิตของส่วนประกอบอื่นๆของก๋วยจั๊บกึ่งสำเร็จรูป ซึ่งจากการทดสอบพบว่าหมูยอ ทอดกรอบสามารถทดแทนได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันจำหน่ายซองละ 30 บาทคิดเป็นต้นทุน 20 บาท/ซองและ กำไร 10 บาท/ซอง รายได้ที่คิดว่าจะได้รับเมื่อได้เครื่องทอดสุญญากาศมาใช้ในกระบวนการผลิตคิดเป็น กำไร 20,000 บาทต่อวัน คิดเป็นกำไรเดือนละ 440,000 บาท (ทำงาน 22 วัน/เดือน) นอกจากนี้ บจก.ดีไลท์ 88 มีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่โดยพิจารณาอาหารพื้นบ้านที่ เมื่อได้มีการพัฒนาเครื่องทอดระบบ สุญญากาศจะสามารถทำให้กำลังการผลิตหมูยอทอดกรอบได้วันละ 500 ซอง (วันทำงาน 22 วัน/เดือน) คิด เป็นกำลังการผลิตเดือนละ 11,000 ซองๆละ 30 บาท ต้นทุนซองละ 20 บาท กำไรซองละ 10 บาท คิดเป็น กำไร110,000 บาท/เดือน พิจารณาภาพรวมกำไรจากการเพิ่มกำลังการผลิตก๋วยจับกึ่งสำเร็จรูปเดือนละ 440,000 บาท และ กำไรจากการขายหมูยอทอดกรอบเดือนละ 110,00 บาท รวมเป็นกำไรทั้งหมดเดือนละ 550,000 บาท (วัน ทำงาน 22 วัน/เดือน) เฉลี่ยกำไรวันละ 25,000 บาท สามารถคำนวณระยะเวลาคืนทุนได้เท่ากับ ระยะเวลาคืนทุน = 750,000/25,000 = 30 วัน
งบปี พ.ศ.:
2564 โครงการ ระบบสายพานลำเลียงผ้าเข้าสู่เครื่องรีดผ้า พร้อมการจัดเก็บผ้า และส่งมอบ(AUS64)
รายละเอียด:
เนื่องจากห้างฯ ได้พัฒนาเครื่องรีดผ้าแล้ว แต่ยังขาดการต่อยอดการใช้งาน จึงต้องการยกระดับการทำงาน ซึ่งสามารถรองรับความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภค และพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป จึงต้องการพัฒนาและสร้างระบบสายพานลำเลียงผ้าเข้าสู่เครื่องรีดผ้า พร้อมการจัดเก็บเสื้อผ้า และส่งมอบ หากลูกค้าไม่ต้องการรอรับกลับทันที จึงจำเป็นต้องมีสถานที่จัดเก็บให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันการสูญหาย ซึ่งต้องมีความถูกต้อง, แม่นยำ และปลอดภัย เนื่องจากเสื้อผ้าเป็นทรัพย์สินที่สำคัญของลูกค้า จึงไม่ควรปะปนกัน อีกทั้งยังคงความเรียบและสวยงามอยู่ เมื่อลูกค้ารับกลับไป ซึ่งสามารถสร้างความประทับใจ, ไว้วางใจ และความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้าได้ ดังนั้นร้านสะดวกซักจะหมดความกังวลกับการขาดรายได้ หากขาดสถานที่จัดเก็บเสื้อผ้าหลังรีด เพื่อฝากระหว่างที่ลูกค้าไม่สะดวก หรือแม้กระทั่งจำนวนของเสื้อผ้าที่ฝากไว้ หากสถานที่จัดเก็บเต็มก็จะไม่ใช่ปัญหาที่จะขาดรายได้อย่างต่อเนื่องอีกต่อไป ซึ่งร้านสามารถเพิ่มจำนวนลูกค้าใหม่ได้อย่างสม่ำเสมอ และยังคงสามารถรักษาฐานลูกค้าเดิมได้ในเวลาเดียวกันซึ่งเป็นผลจากการให้บริการเทคโนโลยีที่สามารถอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าซึ่งเปี่ยมด้วยคุณภาพและประสิทธิภาพ เพื่อการใช้ชีวิตที่ง่ายขึ้น โดยลดความแออัดจากการรอคอยภายในร้าน และยังคงสามารถสร้างรายได้อีกด้วย อีกทั้งยังสามารถสร้างการเคลื่อนไหวภายในร้านตลอดเวลา ร้านจึงดูไม่ร้าง เงียบ หรือเปลี่ยว แต่ไม่เกิดความแออัด ซึ่งสามารถสร้างความน่าสนใจต่อผู้ที่พบเห็น หรือนักลงทุน
งบปี พ.ศ.:
2564 ระบบควบคุมการระบายความชื้นภายในห้องอบแห้งไม้ยางพาราแบบอัตโนมัติ(AUS64)
รายละเอียด:
ปัจจุบันระบบห้องอบที่ใช้ในโรงงานใช้ไอน้ำอิ่มตัวที่แรงดันประมาณ 4 บรรยากาศ เป็นแหล่งพลังงานความร้อน โดยห้องอบแห้งนี้มีระบบควบคุมการทำงานโดยใช้มนุษย์ควบคุมเกือบจะทั้งหมดถึงแม้ว่าจะมีตู้ควบคุมการทำงาน กล่าวคือ เมื่อเริ่มต้นใช้งานห้องอบแห้งต้องทำการเปิดวาล์วระบายน้ำคอนเดนเสทที่ตกค้างในระบบท่อ จากนั้นจะทำการเปิดวาล์วจ่ายไอน้ำ เพื่อให้ไอน้ำทำการไล่น้ำคอนเดนเสทออกจากระบบให้หมดเหลือเพียงแค่ไอน้ำดี โดยเมื่อน้ำคอนเดนเสทถูกไล่ออกจากระบบเรียบร้อยแล้วผู้ควบคุมจะทำการเปิดวาล์วจ่ายไอน้ำเข้าสู่ห้องอบและปิดวาล์ววาล์วระบายน้ำคอนเดนเสท หลังจากนั้นจึงทำการเปิดสวิทช์พัดลมภายในห้องอบให้ทำงานเพื่อที่จะเริ่มการทำงานของระบบอบแห้ง ในส่วนของตู้ควบคุมการทำงานของห้องอบแห้งนอกจากจะมีสวิทช์เปิด ปิดการทำงานของพัดลมและหลอดไฟแสดงผลการทำงานแล้วนั้น ยังมีเครื่องควบคุมอุณหภูมิอยู่ 2 เครื่อง โดยเครื่องควบคุมอุณหภูมิแต่ละเครื่องจะทำการวัดค่าอุณหภูมิปกติภายในห้องอบแห้งหรือที่เรียกว่า “อุณหภูมิกระเปาะแห้ง (Dry bulb temperature)” และวัดค่าอุณหภูมิสำหรับวัดความชื้นหรือที่เรียกว่า “อุณหภูมิกระเปาะเปียก (Wet bulb temperature)” ซึ่งค่าอุณหภูมิกระเปาะแห้งและอุณหภูมิกระเปาะเปียกเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ในการหาค่าความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศดังเช่นเครื่องไฮโกรมิเตอร์
งบปี พ.ศ.:
2564