โครงการพัฒนาเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ เพื่อการผลิตระดับชุมชน (RID)

โครงการพัฒนาประดิษฐกรรมเพื่อชนบท (ชื่อเดิม)

เครื่องขึ้นรูปเกลียวเส้นเชือกจากกระดาษกล้วย

ส, 13/10/2012 - 00:37 — admin3
รายละเอียด: 

เครื่องขึ้นรูปเชือกเกลียวจากกระดาษกล้วย

ที่มาและความสำคัญ
ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้รับความสนใจและถูกให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก กล้วยเป็นพืชที่ลำต้นมีเส้นใยที่สามารถนำมาแปรรูปเป็นกระดาษเยื่อกล้วยได้ ซึ่งการแปรรูปกระดาษเยื่อกล้วยให้เป็นเส้นเชือกที่มีความแข็งแรง จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานแทนเชือกพลาสติกสังเคราะห์ได้ เป็นการส่งเสริมการใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ช่วยเพิ่มมูลค่าจากสิ่งไร้ค่า และยังช่วยส่งเสริมการสร้างอาชีพให้เกษตรกรอีกแนวทางหนึ่ง

คุณลักษณะ
ตัวเครื่องประกอบด้วย 4 ส่วน คือ ชุดขึ้นรูปเกลียวเชือก, ชุดลำเลียงเชือก, ชุดเก็บเส้นเชือก, และ ชุดควบคุมเครื่อง
การทำงานเริ่มจากติดตั้งม้วนกระดาษบนชุดขึ้นรูปเกลียวเชือก โดยร้อยกระดาษเข้ารูไกด์ประคอง ทำการเปิดสวิตช์ทำงานที่ชุดควบคุมเครื่อง พร้อมกับปรับความเร็วมอเตอร์ของชุดหมุนเชือกและชุดหมุนกระดาษ เมื่อกระดาษหมุนเป็นเส้นเชือก ให้ทำการดึงเชือกผ่านชุดลำเลียงเชือกโดยร้อยเข้ารูไกด์แบริ่งและรูไกด์ตัวนำเลื่อน จากนั้นม้วนเข้ากับแกนม้วนชุดเก็บเส้นเชือก เมื่อทำการปั่นเส้นเชือกเสร็จเรียบร้อยจึงปิดสวิตซ์

กำลังการผลิตของเครื่อง / กำลังไฟฟ้าที่ใช้
- สามารถผลิตเส้นเชือกได้ 300 เมตร/ชั่วโมง

ขนาดและน้ำหนักเครื่อง
- 2.2 x 1.60 x 1.25 เมตร , น้ำหนัก 75 กิโลกรัม

ราคาเครื่องเชิงพาณิชย์
เครื่องละ 27,500 บาท

หัวหน้าโครงการ
นายศุภเอก ประมูลมาก
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
39 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองหก อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12110

งบปี พ.ศ.: 
2553
    แคตตาล็อกเทคโนโลยี
    ภาพหน้าปก: 

    เครื่องประกอบลวดหนามแบบอัตโนมัติ

    ส, 13/10/2012 - 00:31 — admin3
    รายละเอียด: 

    เครื่องประกอบลวดหนามแบบอัตโนมัติ

    ที่มาและความสำคัญ
    การผลิตลวดหนามด้วยมือเป็นงานหัตถกรรมอย่างหนึ่งในชุมชนซึ่งต้องใช้เวลา และบุคลากรที่มีความชำนาญ รวมถึงต้องมีความระมัดระวังสูงเนื่องจากอาจเกิดอันตรายระหว่างการผลิตได้ง่าย ทำให้การผลิตลวดหนามด้วยมือยังผลิตได้น้อยไม่เพียงพอกับความต้องการของชุมชน การพัฒนาเครื่องผลิตลวดหนามแบบอัตโนมัติให้เหมาะสมกับชุมชนจึงเป็นทางเลือกหนึ่ง ที่จะช่วยให้การผลิตลวดหนามทำได้รวดเร็วขึ้น และลดการใช้แรงงานคนลง
    ลักษณะของเครื่อง
    เครื่องจักรจะทำการประกอบหนามและม้วนลวดหนามที่ผลิตได้อย่างอัตโนมัติ โดยมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ ชุดป้อนแกนลวด, ชุดประกอบหนาม, ชุดใบมีดตัดหนาม, ชุดลดความตึงของแกนลวด, ชุดกว้านพันแกนลวด, ชุดเรียงลวดหนามและชุดม้วนลวดหนาม โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้าชนิด 3 เฟต ขนาด 3 แรงม้า เป็นต้นกำลังในการขับเคลื่อนชุดกว้านลวด และ ขนาด 1 แรงม้า เป็นต้นกำลังในการขับเคลื่อนชุดประกอบหนาม

    กำลังการผลิตของเครื่อง
    - อัตราการผลิตลวดหนาม เฉลี่ยเท่ากับ 4.23 เมตรต่อนาที

    ขนาดและน้ำหนักของเครื่อง
    - 120 X 120 X 100 เซนติเมตร, น้ำหนักเครื่อง 350 กิโลกรัม

    ราคาเครื่องเชิงพาณิชย์
    เครื่องละ 250,000 บาท
    หัวหน้าโครงการ
    นายไพรทูล ไชยวงศา
    คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
    199 หมู่ที่ 3 ถนนพังโคน-วาริชภูมิ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร 47160

    งบปี พ.ศ.: 
    2553
      แคตตาล็อกเทคโนโลยี
      ภาพหน้าปก: 

      เครื่องผลิตฟองเต้าหู้โดยใช้เทคนิคบับเบิ้ลปั๊ม

      ส, 13/10/2012 - 00:29 — admin3
      รายละเอียด: 

      เครื่องผลิตฟองเต้าหู้ โดยใช้เทคนิคบับเบิ้ลปั๊ม

      ที่มาและความสำคัญ :
      การผลิตฟองเต้าหู้ด้วยเตาแบบดั้งเดิมมีปัญหาการขาดแคลนฟืนสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง และประสิทธิภาพความร้อนต่ำ ต้องใช้เวลานานในกระบวนการผลิต การพัฒนาเครื่องผลิตฟองเต้าหู้ให้มีประสิทธิภาพทางความร้อนสูงขึ้น โดยใช้เทคนิคบับเบิ้ลปั๊ม และใช้ก๊าซหุงต้มแทนการใช้ไม้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง จะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนไม้ฟืน ลดมลพิษจากการเผาไหม้ รักษาสภาพแวดล้อมในการผลิตให้สะอาด รวมถึงสามารถผลิตไอน้ำได้รวดเร็วและประหยัดพลังงานมากขึ้น

      ลักษณะของเครื่อง :
      ประกอบด้วยชุดเตาต้มผลิตไอน้ำบับเบิ้ลปั๊ม และชุดผลิตฟองเต้าหู้ การทำงานเริ่มจากเติมน้ำในถังพักที่ระดับ 20 เซนติเมตร จุดเตาแก๊ส ตั้งอุณหภูมิที่ชุดควบคุมที่ 140 0C เพื่อควบคุมการตัดแก๊ส ตัวเครื่องจะเริ่มทำงานโดยน้ำในถังเคลื่อนเข้าสู่ท่อน้ำซึ่งจะรับความร้อนจากก๊าซร้อนเดือดกลายเป็นไอพวยพุ่งออกจากท่อน้ำเข้าสู่ถัง โดยไอน้ำจะได้รับความร้อนจากก๊าซร้อนที่ผ่านทางท่อไฟอีกครั้งจนอุณหภูมิมากกว่า 100 0C ไอน้ำร้อนจะเคลื่อนออกจากชุดเตาต้มไปถ่ายเทความร้อนให้กับชุดผลิตฟองเต้าหู้ ที่มีน้ำถั่วเหลืองในถาด น้ำถั่วเหลืองเมื่อได้รับความร้อนจะจับตัวเป็นแผ่นจึงช้อนขึ้นผึ่งบนราว (เพื่อรออบแห้งเป็นฟองเต้าหู้แผ่น) หลังจบการทำงาน ปิดแก๊ส ทำความสะอาดเครื่อง

      ประสิทธิภาพ :
      กิจกรรม แบบดั้งเดิม แบบบับเบิ้ลปั๊ม
      ประสิทธิภาพความร้อนของเตา 45 % 75%
      เวลาการผลิตไอน้ำ 40 นาที 10 นาที
      ปริมาณเชื้อเพลิง ฟืน 500 กก. (500 บาท) แก๊ส 12 กก. (240 บาท)
      ระยะเวลาการผลิตแผ่นฟองเต้าหู้ (ถั่วเหลือ 18 กิโลกรัม ผลิตฟองเต้าหู้ได้10 กิโลกรัม) 8 ชั่วโมง 6 ชั่วโมง 30 นาที

      ขนาดเครื่อง :
      120 X 250 X 100 เซนติเมตร

      ราคาเครื่องเชิงพาณิชย์ : เครื่องละ 45,000 บาท

      หัวหน้าโครงการ
      นายพรประสิทธิ์ คงบุญ
      คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
      1 ถนนราชดำเนินนอก ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000

      1.ปล่องไอเสีย 2.ปล่องไอน้ำ
      3.ตัวถัง 4.ฝาครอบถังบรรจุน้ำ
      5.ถังบรรจุน้ำ 6.ท่อน้ำขนาด f 1 นิ้วพร้อมCheck Valve
      7. Ball Valve สำหรับถ่ายน้ำ 8.ชุดท่อไฟ 50 ท่อ
      9.ชุดท่อน้ำ 30 ท่อ 10.แผ่นปิดกั้นบังไฟ
      11.ท่อน้ำขนาด f 3/4 นิ้วพร้อม Check Valve 12.บังไฟ
      13.หัวแก็สขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 นิ้ว 14.ฐานรองหัวแก็ส
      15.ขารองแก็ส 16. Solenoid Valve ควบคุมแก็ส
      17.ถังแก็ส LPG ขนาด 30 กิโลกรัม

      งบปี พ.ศ.: 
      2553
        แคตตาล็อกเทคโนโลยี
        ภาพหน้าปก: 

        เครื่องล้างเมล็ดในการผลิตเมล็ดพันธุ์เป็นการค้า

        ส, 13/10/2012 - 00:28 — admin3
        รายละเอียด: 

        โครงการเครื่องล้างเมล็ดในการผลิตเมล็ดพันธุ์เป็นการค้า

        ที่มาและความสำคัญ
        พื้นที่ในเขตอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง มีเกษตรกรผู้ปลูก ฟักทอง แตงกวา และพืชผักอื่นๆ เพื่อจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืชให้กับบริษัทที่มาตั้งในชุมชน โดยขั้นตอนผลิตเมล็ดพันธุ์ยังคงใช้แรงงานคนและมีการขัดเมือกและล้างแยกกากใยในแม่น้ำลำคลอง หรือล้างเมล็ดที่บ้านโดยใช้อ่างพลาสติก ทำให้เกิดความยุ่งยากการผลิต และอาจเกิดปัญหากับแม่น้ำลำคลองได้ในอนาคต การพัฒนาเครื่องล้างเมล็ดให้สามารถขัดและล้างในเครื่องเดียวกันและสามารถหมุนเวียนน้ำใช้จึงเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าว
        ลักษณะเครื่อง
        เครื่องล้างเมล็ดแบ่งการทำงานออกเป็น 2 ส่วนคือ
        1) เครื่องขัดเมล็ด ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกำลังต่อเพลาขัดเมล็ดซึ่งพันด้วยผ้าตาข่าย หมุนขัดให้เมือก กากใยหลุดออกจากเมล็ด จากนั้นเมล็ดก็จะตกลงตะกร้าในอ่างล้าง
        2) เครื่องล้างเมล็ด ประกอบด้วยอ่างล้าง 1 อ่างและอ่างพักน้ำ 2 อ่าง ระบบน้ำในอ่างเป็นระบบน้ำหมุนวนผ่านตะแกรงกรอง 2 ครั้ง (ใช้น้ำครั้งละ 144 ลิตร)โดยมีปั๊มน้ำเป็นต้นกำลัง เมล็ดที่ตกลงตะกร้าในอ่างน้ำจะถูกน้ำพาเศษเมือกกากใยลอยไปกับน้ำ

        การใช้งาน โดยการเปิดสวิตซ์ให้เครื่องขัดและปั๊มน้ำทำงาน ทำการเทเมล็ดลงในกรวยของเครื่องขัด เครื่องจะทำการขัดเมล็ด แล้วตกลงตะกร้าในอ่างล้าง ทำการเขย่าตะกร้าเพื่อให้เมือก เศษกากใยหลุดออกจากตะกร้าลอยไปกับน้ำ ทำการยกตะกร้าขึ้นจะเหลือเฉพาะเมล็ดที่ผ่านการขัดล้างแล้ว พร้อมนำไปตากแดดให้แห้งเพื่อรอการจำหน่าย

        กำลังการผลิตของเครื่อง
        - สามารถขัดล้างเมล็ดแตงกวาหรือเมล็ดฟักทองได้เฉลี่ย 16 -18 กิโลกรัม/ชั่วโมง

        ขนาดและน้ำหนักเครื่อง
        - 105.30 X 105.30 X 65 เซนติเมตร, น้ำหนักเฉพาะตัวเครื่อง 25 กิโลกรัม

        ราคาเครื่องเชิงพาณิชย์ 15,000 บาท

        หัวหน้าโครงการ
        นายสมศักดิ์ แข็งแรง
        วิทยาลัยเทคนิคลำปาง ถ.ท่าคราน้อย อ.เมือง จ. ลำปาง 52100

        งบปี พ.ศ.: 
        2553
          แคตตาล็อกเทคโนโลยี
          ภาพหน้าปก: 

          เครื่องกรอด้ายสายสิญจน์

          ส, 13/10/2012 - 00:25 — admin3
          รายละเอียด: 

          ที่มาและความสำคัญ : การผลิตด้ายสายสิญจน์ เป็นการนำเส้นฝ้ายมารวมกันจำนวน 9 เส้น แล้วม้วนด้วยมือโดยใช้กระดาษแข็งหรือกระดาษลูกฟูกเป็นไส้แกนกลาง ทำให้เกิดความเมื่อยล้าในการทำงาน ปัญหาตามมาคือเกิดความล่าช้าผลิตได้ไม่ทันความต้องการของตลาด ลวดลายไม่สม่ำเสมอ ทำให้ไม่เป็นมาตรฐานของม้วนด้ายสายสิญจน์ การพัฒนาเครื่องกรอด้ายสายสิญจน์จึงเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาดังกล่าว

          ลักษณะของเครื่อง :เครื่องประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วน คือ ชุดส่งด้าย ชุดแขนเหวี่ยงด้าย ชุดจับยึดแกนกรอด้าย ชุดควบคุม และชุดส่งกำลัง เครื่องสามารถตั้งเวลาในการกรอด้ายสายสิญจน์ เพื่อกำหนดความยาวด้ายที่ต้องการได้ ซึ่งความยาว 100 เมตร ใช้เวลาในการกรอ 27 นาที โดยมีขั้นตอนการทำงานดังนี้
          1) นำม้วนด้ายฝ้ายจำนวน 9 ม้วนวางเรียงกันตรงส่วนที่เตรียมไว้สำหรับวางด้าย และร้อยด้ายผ่านรูทั้ง 9 รู แล้วรวมให้เป็นเส้นเดียว จากนั้นร้อยด้ายสายสิญจน์ไปตามแขนเหวี่ยงสำหรับกรอด้าย
          2) นำด้ายสายสิญจน์ที่ร้อยอยู่ที่แขนเหวี่ยงมัดให้ติดกันกับไส้แกนที่ยึดติดที่แกนกรอด้าย เพื่อเวลาที่แขนหมุนเหวี่ยงด้ายจะได้ไม่หลุด
          3) ตั้งเวลาในการกรอ 27 วินาที กดปุ่มเปิดให้เครื่องเริ่มทำการกรอด้ายสายสิญจน์ เมื่อครบกำหนดเวลาเครื่องจะหยุดอัตโนมัติ

          กำลังการผลิตของเครื่อง:สามารถกรอด้ายสายสิญจน์ (ความยาว 100 เมตร) ได้ 133 ม้วน/ชั่วโมง
          ขนาดเครื่องและน้ำหนักเครื่อง:- 120 X 120 X 100 เซนติเมตร, น้ำหนัก 70 กิโลกรัม

          ราคาเครื่องเชิงพาณิชย์ เครื่องละ 30,000 บาท

          หัวหน้าโครงการ นายเกรียงไกร ธารพรศรี
          คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
          12ถนนห้วยแก้ว ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300

          งบปี พ.ศ.: 
          2553
            แคตตาล็อกเทคโนโลยี
            ภาพหน้าปก: 

            เครื่องต้นแบบเครื่องอบข้าวฮางอินทรีย์แบบรางเขย่า

            ส, 13/10/2012 - 00:19 — admin3
            รายละเอียด: 

            นักวิจัย/สถาบัน

            งบปี พ.ศ.: 
            2552

            เอกสารประกอบ

            เอกสารเผยแพร่: 
            แคตตาล็อกเทคโนโลยี
            ภาพหน้าปก: 
            ภาพประกอบ: 

            เครื่องผสมคลุกเคล้าปลาส้มเพื่อยกระดับกระบวนการผลิตปลาส้มจากระดับชุมชนครัวเรือนดั้งเดิมสู่ระดับอุตสาหกรรมครัวเรือนขนาดเล็กหรือย่อม

            ส, 13/10/2012 - 00:16 — admin3
            รายละเอียด: 

            นักวิจัย/สถาบัน

            งบปี พ.ศ.: 
            2552

            เอกสารประกอบ

            เอกสารเผยแพร่: 
            แคตตาล็อกเทคโนโลยี
            ภาพหน้าปก: 
            ภาพประกอบ: 

            ถังเพาะเลี้ยงลูกหอยนางรมวัยอ่อนจากโรงเพาะฟัก

            ส, 13/10/2012 - 00:15 — admin3
            รายละเอียด: 

            นักวิจัย/สถาบัน

            งบปี พ.ศ.: 
            2552

            เอกสารประกอบ

            เอกสารเผยแพร่: 
            แคตตาล็อกเทคโนโลยี
            ภาพหน้าปก: 

            การผลิตน้ำส้มควันไม้พร้อมใช้โดยเครื่องแยกน้ำมันดิน

            ส, 13/10/2012 - 00:13 — admin3
            รายละเอียด: 

            นักวิจัย/สถาบัน

            งบปี พ.ศ.: 
            2552

            เอกสารประกอบ

            เอกสารเผยแพร่: 
            แคตตาล็อกเทคโนโลยี
            ภาพหน้าปก: 
            ภาพประกอบ: 

            เครื่องตัดสบู่ทรงกระบอก

            ส, 13/10/2012 - 00:10 — admin3
            รายละเอียด: 

            นักวิจัย/สถาบัน

            งบปี พ.ศ.: 
            2552

            เอกสารประกอบ

            เอกสารเผยแพร่: 
            แคตตาล็อกเทคโนโลยี
            ภาพหน้าปก: 
            ภาพประกอบ: 
            เนื้อหาแหล่งข่าว