โครงการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า (VCE)
โครงการพัฒนาสร้างรถตัดหญ้าแบบปรับใบมีดสำหรับสวนผลไม้ (VCE65)
ผู้เสนอโครงการ : รศ.ดร.ชินธันย์ อารีประเสริฐ
ผู้ประกอบการที่ร่วมโครงการ : บริษัท ดอลฟิน อินดัสทรีส์ จำกัด
ผู้ประกอบการที่ใช้งานเครื่องจักร : บริษัท ผินเพิ่มพูล จำกัด , บริษัทสวนป้าภา จำกัด , สวนผลไม้และพืชอื่นๆ และหน่วยงานราชการท้องถิ่น
ผู้ประสานงาน : นายกรีฑา สมเกียรติกุล
โครงการพัฒนาระบบตรวจสอบความผิดปกติของแผงโซลาร์เซลล์ด้วยภาพถ่ายจากอากาศยานไร้คนขับ (VCE65)
ผู้เสนอโครงการ (หัวหน้าโครงการ) : นายปรีชา เต็มพร้อม
ผู้ประกอบการที่ร่วมโครงการ : นายสมพงษ์ กีรติภราดร
ผู้ประกอบการที่ใช้งานเครื่องจักร : นายอำพล สารีเกษม
ที่ปรึกษาด้านวิชาการ : นายรัชพล แขมภูเขียว
ผู้ประสานงาน : นายณัฐพงษ์ ฉางแก้ว
โครงการพัฒนาสร้าง “เกวียน” หุ่นยนต์ทำไร่ (VCE65)
ผู้เสนอโครงการ (หัวหน้าโครงการ) : นายปรีชา เต็มพร้อม
ผู้ประกอบการที่ร่วมโครงการ : นายราชันท์ ฟักเมฆ
ผู้ประกอบการที่ใช้งานเครื่องจักร : นายธีรพงษ์ กาญจนกันติกุล
ที่ปรึกษาด้านวิชาการ : ผศ.ดร.สุรวุฒิ ยะนิล
ผู้ประสานงาน : นายราชันท์ ฟักเมฆ
โครงการพัฒนาระบบเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้ของโรงไฟฟ้าเผาขยะและชีวมวล และลดมลพิษทางอากาศด้วยการผสมก๊าซ Oxy-Hydrogen ที่ผลิตจากน้ำ(VCE64)
ในปัจจุบันเชื้อเพลิงฟอสซิลหายากและมีราคาที่สูงขึ้น รวมทั้งการตระหนักถึงปัญหาโลกร้อน และมลพิษทางอากาศที่มาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ทำให้คนหันมาใช้พลังงานทางเลือกและพลังงานธรรมชาติมากขึ้น โดยปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าชีวมวลเกิดขึ้นหลายแห่งในประเทศ แต่ก็ต้องประสบกับปัญหาการนำชีวมวลมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า แต่เกิดการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้ต้องสูญเสียเชื้อเพลิงมากกว่าที่จำเป็น และยังก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศอีกด้วย
เนื่องจากก๊าซไฮโดรเจนเป็นก๊าซที่มีการเผาไหม้ที่ค่าความร้อนสูง ไฮโดรเจนสามารถเผาไหม้ที่อุณหภูมิถึง 2045° C ในขณะเดียวกันก๊าซมีเทนหรือก๊าซธรรมชาติจะเผาไหม้ที่อุณหภูมิเพียงแค่ 1325° C ส่วนชีวมวลจะเผาไหม้ที่อุณหภูมิประมาณ 800° C ขึ้นอยู่กับประเภทของชีวมวลที่นำมาใช้ ดังนั้นไฮโดรเจนจึงเป็นก๊าซที่สามารถใช้ในการผลิตไอน้ำที่ค่าความร้อนสูงกว่าการใช้ชีวมวลและเชื้อเพลิงฟอสซิล จึงได้ทำการเติมไฮโดรเจนเข้าไปผสมกับการเผาไหม้ของชีวมวลในการต้มไอน้ำ ทำให้เกิดการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ ลดการใช้พลังงานและลดมลพิษ เนื่องจากไม่มีการปล่อยสารไฮโดรคาร์บอน คาร์บอนมอนอกไซด์ หรือการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม