กรุงเทพ
โครงการพัฒนาสร้างระบบทันตกรรมอัจฉริยะเพื่อความเสมอภาคด้านสุขภาพ(VCE64)
ปัจจุบันในประเทศไทยเริ่มมีการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศกับงานทันตกรรม (ทันตกรรมทางไกล, Tele-dentistry) ทำให้ผู้มีปัญหาช่องปากสามารถขอคำปรึกษา (Tele-consultation) โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปพบทันตแพทย์ แต่ยังมีข้อจำกัดอยู่เพียงการใช้ข้อความสนทนา ทำให้การให้คำปรึกษาทำได้อย่างจำกัด การพัฒนาสร้างระบบทันตกรรมอัจฉริยะ (Smart Dentistry) โดยเพิ่มการใช้อุปกรณ์เก็บภาพในช่องปาก (Intra-oral camera) เพื่อส่งภาพหรือวิดีโอ การสร้างระบบบันทึกข้อมูลแบบดิจิทัลและการประมวลผลโดยปัญญาประดิษฐ์ จะเพิ่มความแม่นยำของการให้คำปรึกษาและทำให้การนัดหมายมีความจำเพาะต่อความเชี่ยวชาญมากขึ้น
อย่างไรก็ตามปัจจุบันอุปกรณ์เก็บภาพช่องปากยังนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งต้องมีการโหลดแอพพลิเคชั่นที่มาพร้อมอุปกรณ์ก่อนใช้งาน การพัฒนาอุปกรณ์เก็บภาพในช่องปากพร้อมแอพพลิเคชั่น สร้างระบบการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลดิจิทัลที่เป็นของไทยเองจะช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากของประชาชน เพื่อความเสมอภาคด้านสุขภาพ (Health Equity) โดยยังมีความปลอดภัยในการจัดการรระบบข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคล
โครงการพัฒนาสร้างระบบพลาสมาบำบัดน้ำเสียเพื่อการนำมาใช้ใหม่ (VCE64)
ปัจจุบันปัญหามลพิษทางน้ำได้กลายเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทยเนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม และประเทศอุตสาหกรรม จึงมีผลผลิตทางการเกษตรและโรงงานอุตสาหกรรมทางการเกษตรมากมาย ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดปัญหามลพิษทางน้ำ ซึ่งทำให้เกิดการเน่าเสียและมีกลิ่นเหม็น การเกิดปัญหาการเน่าเสียของแหล่งน้ำตามมาซึ่งก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมา เช่น ปัญหาสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมปัญหาสุขภาพอนามัยที่ทำให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน และปัญหาเศรษฐกิจ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ การบำบัดน้ำเสียด้วยพลาสม่าเป็นเทคโนโลยีที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดมลพิษกับสิ่งแวดล้อม เพราะไม่มีการใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย และยังสามารถนำน้ำที่ได้บำบัดน้ำเสียด้วยพลาสม่ากลับมาใช้ในการอุปโภคบริโภคและภาคการเกษตรได้
เครื่องขึ้นรูปชิ้นงานสามมิติด้วยเม็ดพลาสติกอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม AUS 63
จากการที่รัฐบาลได้สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องที่ผ่านมา ก่อให้เกิดการขยายตัวทาง เศรษฐกิจของประเทศเพิ่มขึ้น การลงทุนขยายตัวมากขึ้น โดยอุตสาหกรรมก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมเครื่องจักร สำนักงาน และอุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทยอย่างสูง อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าการเติบโตของอุตสาหกรรมจะส่งผลดีต่อ เศรษฐกิจและการจ้างงานภายในประเทศ แต่การที่อุตสาหกรรมสนับสนุน ภายในประเทศยังไม่เข้มแข็งเพียงพอที่จะรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมโดยรวมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องจักรอัตโนมัติ ยังขาดเครื่องจักรที่สามารถทำการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้ประเทศไทยยังจำเป็นต้องพึ่งพา การนำเข้าเครื่องจักรกลและอุปกรณ์เป็นจำนวนมาก
ดังนั้น การส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพให้ออกแบบและพัฒนาเครื่องจักรกลหรืออุปกรณ์เทคโนโลยีขึ้นภายในประเทศ จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยยกระดับเทคโนโลยีและลดการ พึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศให้น้อยลงได้ โดยกำหนดเครื่องจักรกลหรืออุปกรณ์เทคโนโลยีเป้าหมายให้ผู้ประกอบการออกแบบและพัฒนาขึ้น อย่างเป็นระบบที่จะนำไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ที่มีตลาดรองรับและยังสามารถนำพลาสติกที่ใช้แล้วมาทำขึ้นรูปเป็นชิ้นงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
พัฒนาระบบหุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบอัตโนมัติ AUS 63
เทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน เครื่องจักรหรือระบบที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยย่อมสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ทั้งในด้านการช่วยเพิ่มผลผลิตในกระบวนการผลิตสินค้า ช่วยดูแลในเรื่องคุณภาพชีวิต ไปจนถึงการสร้างความสะดวกสบายต่างๆหนึ่งในเทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีผลลัพธ์ที่น่าสนใจ คือ หุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบอัตโนมัติ (Autonomous Mobile Robot)
หุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบอัตโนมัติ มีความสามารถในการเคลื่อนที่สู่จุดหมายได้อย่างแม่นยำ สามารถหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้ มีสมรรถนะในการบรรทุกของหนัก จึงสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานในกระบวนการผลิต เพื่อทำการขนถ่ายวัสดุไปยังสถานีการผลิตต่างๆ หรือนำไปทำการจัดเก็บในคลังจัดเก็บสินค้า
สำหรับการใช้งานหุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบอัตโนมัติในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่สำคัญของการใช้งานระบบหุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบอัตโนมัติ คือ แต่ละพื้นที่ แต่ละความต้องการของผู้ใช้งาน มีความต้องการไม่เหมือนกัน จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบให้เข้ากันได้ และเหมาะสมกับพื้นที่ สภาพแวดล้อม ความต้องการของผู้ใช้งานนั้นๆ ซึ่ง หุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบอัตโนมัติที่ใช้งานในประเทศส่วนใหญ่นั้นนำเข้าจากต่างประเทศ และไม่สามารถเข้าถึงฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เพื่อแก้ไขปัญหาตามความต้องการของผู้ใช้งานได้ นอกจากนี้ หุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบอัตโนมัติที่นำเข้าหุ่นยนต์จากต่างประเทศยังมีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้น บริษัท ทรอปปิคอลเทค จำกัด จึงมีแนวความคิดและนโยบายที่จะต้องพัฒนาหุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบอัตโนมัติ เพื่อแก้ปัญหาการใช้งานและปัญหาด้านราคาต่อไป
บริษัท ทรอปปิคอลเทค จำกัด เป็นองค์กรที่มีบุคลากรที่มีความมุ่งมั่น มากกว่า 50 คน ซึ่งกว่าครึ่งหนึ่ง เป็นวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มีความเชี่ยวชาญงานระบบไฟฟ้า ระบบควบคุมอัตโนมัติรวมถึงมีศักยภาพพัฒนางานตั้งแต่ | ศึกษาความต้องการ | ออกแบบ | พัฒนา | ให้คำปรึกษา | บริหารโครงการ | ติดตั้ง และ ทดสอบ | แก้ไขปัญหา ในระบบที่ง่ายจนถึงมีความซับซ้อนที่หลากหลาย มีแนวคิดมุ่งเน้นการใช้องค์ความรู้และความเชี่ยวชาญหลักด้านงานระบบไฟฟ้า ควบคุมอัตโนมัติ สำหรับงานโครงสร้างพื้นฐานวิกฤต (Critical Infrastructure) สาธารณูปโภค งานโรงงาน สถานประกอบการ และงานอุตสาหกรรม สำหรับอนาคต (Industrial 4.0) เพื่อสอดรับกับนโยบาย ประเทศไทย 4.0 โดยทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมการถ่ายทอดทางเทคนิค และเทคโนโลยี ด้านระบบไฟฟ้าควบคุมอัตโนมัติชั้นสูง จากงานโครงการขนาดใหญ่มาก (Mega Project) ในต่างประเทศมาสู่โครงการต่างๆ ในประเทศไทยและพื้นที่ใกล้เคียง
- « แรก
- ‹ หน้าก่อน
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- ถัดไป ›
- หน้าสุดท้าย »