กรุงเทพ
ตู้พลังงานแสงอาทิตย์เอนกประสงค์ (VCE60)
SOLAR PANAL (ตู้พลังงานแสงอาทิตย์เอนกประสงค์) นี้ได้พัฒนาและประยุกต์มาจากรถครัวสนามของกองทัพและรถปฐมพยาบาล นำมาประยุกต์พัฒนาใช้งานสนับสนุนในการประกอบอาหารหรืองานช่วยเหลือสาธารณะภัยช่วยปฐมพยาบาลช่วยเหลือประชาชนทั่วไป ตัวตู้สามารถเปิดได้ 3 ด้านโดยมีกระบอกไฮดรอลิคเป็นตัวค้ำยันสำหรับเปิด-ปิดผนังด้านข้างช่วยป้องกันอันตรายต่อการใช้งาน แผงโซล่าเซลที่ติดกับตู้เอนกประสงค์มีขนาด 5,980 KW. และมีแผงโซล่าเซลอิสระที่ตั้งเพิ่มอีก 920 W. (หรือแล้วแต่จะเพิ่มได้ตามความต้องการ)สามารถยื่นหดขยายออกเป็นหลังคาให้ร่มเงาต่อการใช้สอย และเก็บได้เรียบร้อย ด้านในมีอุปกรณ์ช่วยเหลือสามารถประยุกต์ใช้ในประกอบอาหาร หรือช่วยเหลือสาธารณะภัยปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ เป็นตู้อเนกประสงค์ ที่สามารถประยุกต์ทำงานได้หลากหลาย
เครื่องอบแห้งปั๊มความร้อนประหยัดพลังงาน (VCE60)
การพัฒนาเครื่องอบแห้งระบบปั๊มความร้อนประหยัดพลังงาน (heat pump dryer) ที่มีประสิทธิภาพในการอบแห้งสูงกว่าระบบอื่นๆ เนื่องจากเครื่องอบแห้งระบบปั๊มความร้อนทำงานโดยมีคอยล์ร้อน(Condenser Heating) ในการทำความร้อนเพื่อใช้ในการอบแห้งหรือระเหยน้ำออกจากวัตถุดิบ และมีคอยล์เย็น(Evaporator Condensing) เพื่อใช้ในการกลั่นน้ำออกจากอากาศที่มีความชื้น อากาศที่ออกมาจากคอยล์เย็นจะวนกลับไปยังคอยล์ร้อนและเข้าไปยังห้องอบแห้งอีกครั้ง ซึ่งเป็นอากาศที่มีความชื้นต่ำ มีความสามารถในการดึงน้ำออกจากวัตถุดิบสูง
วัตถุประสงค์
1. เพื่อถนอมวัตถุดิบสดให้สามารถเก็บไว้ได้ในระยะเวลาที่นานขึ้นและมีคุณภาพสูง เพื่อแก้ไขปัญหาวัตถุดิบราคาตก เนื่องจากสินค้าล้นตลาด
2. เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบในชุมชน
3. เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และสร้างความสามัคคี ให้กับคนในชุมชน
เอกสารประกอบ
เครื่องจักรอัตโนมัติสำหรับการปรุงอาหารและเครื่องดื่ม (VCE60)
พัฒนาเครื่องจักรอัตโนมัติเพื่อการปรุงอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage Machining Center) เพื่อสนับสนุนในธุรกิจแฟร์นไชน์และกิจการร้านอาหารในเครือของบริษัท และเพื่อการจำหน่ายแก่ผู้ที่สนใจ โดยร่วมกับหน่วยงานและสถาบันการศึกษาในการวิจัยพัฒนาและผลิตเครื่อง FMC ซึ่ง BBC จะเป็นผู้ร่วมลงทุนเพื่อสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Development) และดำเนินการหาช่องทางการตลาดเพื่อจัดจำหน่ายและให้บริการเช่าซื้อเครื่องจักร โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาและผลิตเครื่อง FMC ที่มีลักษณะเป็นโมดูล ดังนี้
1) โมดูล FMC-NRT (FMC Noodle Robot) สำหรับการปรุงรสก๋วยเตี๋ยว
2) โมดูล FMC-BRT (FMC Beverage Robot) สำหรับการทำเครื่องดื่ม
เครื่องคัดแยกแก้วบรรจุภัณฑ์ความเร็วสูง(VCE60)
เครื่องคัดแยกแก้วบรรจุภัณฑ์ความเร็วสูง
(Beverage Fault Rejection)
โครงการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้วยวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า ประจำปีงบประมาณ 2560
เครื่องคัดแยกแก้วบรรจุภัณฑ์เป็นการทำงานด้วยระบบอัตโนมัติซึ่งได้รับพัฒนาโดยใช้หลัวิศวกรรมในการออกแบบชิ้นส่วนทางกล และการนำซอฟต์แวร์ประยุกต์มาพัฒนาให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบและคัดแยกข้อบกพร่องของแก้วบรรจุภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการหลอมมาแล้ว ซึ่งการตรวจสอบและคัดแยกดังกล่าวจะช่วยลดความสูญเสียที่เกิดจากกระบวนการหลอมได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยลดความสูญเสียทางด้านพลังงาน
หลักการทำงานของเครื่องคือเครื่องจักรจะทำการตรวจสอบแก้วบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐานด้วยการทำงานของระบบเซ็นเซอร์ที่มีความไวสูง (Optical Inspection Systems) และนำข้อมูลที่ได้มาประมวลผลโดยเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานของโรงงาน จากนั้นแก้วบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานจะถูกแยกออกจากสายพานการผลิต ซึ่งการคัดแยกออกจากสายพานการผลิตเป็นการทำงานของเซ็นเซอร์ที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ทางกลที่มีความแม่นยำ ฟังก์ชั่นการทำงานสามารถเพิ่มหรือลดรูปแบบงานทีมีข้อบกพร่องด้วยผู้ใช้ได้เอง สามารถเก็บข้อมูลจำนวนการผลิตแบบต่อเนื่อง (Real time monitoring) เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการวิเคราะห์การผลิต
หุ่นยนต์กายภาพบำบัดแบบเคลื่อนที่ได้ (VCE60)
หุ่นยนต์กายภาพบำบัดแบบเคลื่อนที่ได้
(Walker Exoskeleton Robotic)
โครงการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้วยวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า ประจำปีงบประมาณ 2560
พัฒนาโดยการติดล้อหุ่นยนต์กายภาพบำบัดเคลื่อนที่ได้ที่ช่วยทรงตัวได้ด้านหลังของหุ่นยนต์กายภาพบำบัดแบบเคลื่อนที่ได้เพื่อความมั่นใจในการใช้งานและความปลอดภัยแก่ผู้ป่วยที่ใช้งานอีกทั้งยังมีจอแสดงผลที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลในการเดินว่ามีพัฒนาการอย่างไรบ้างและยังแก้ความเบื่อได้ด้วยการมีเกมที่ขยับตามการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยอีกด้วยส่งผลให้ผู้ป่วยลดความเครียดและสนุกไปกับมันทำให้อยากที่จะกายภาพบำบัดมากขึ้นหรือบ่อยขึ้น และยังแบ่งเบาหน้าที่ของนักกายภาพบำบัดในประเทศไทยได้อีกมากเนื่องจากจะลดราคาเช่าใช้งานให้ผู้ป่วยเข้าถึงได้มากยิ่งขึ้น
ผู้ร่วมโครงการ
ผู้เสนอโครงการ (หัวหน้าโครงการ)
ชื่อ-นามสกุล นายปรีชา เต็มพร้อม ตำแหน่ง นายกสมาคมเครื่องจักรกลไทย
สมาคมเครื่องจักรกลไทย
ผู้ประกอบการที่ร่วมโครงการ (ผู้ผลิตเท่านั้น)
ชื่อ-นามสกุล นาย อนุชิต นาคกล่อม ตำแหน่ง ผู้จัดการฝ่ายขาย
บริษัท เซ็นเซอร์นิกส์ จำกัด
เอกสารประกอบ
อาคารที่จอดรถอัจฉริยะแบบจอดได้หลายคันชนิดขนย้ายและประกอบด้วยหน่วยแยก
อาคารที่จอดรถอัจฉริยะแบบจอดได้หลายคัน
Intelligent Car Parking
ที่จอดรถอัจฉริยะแบบจอดได้หลายคันชนิดขนย้ายและประกอบด้วยหน่วยแยก ออกแบบและสร้างด้วยโครงเหล็กเพื่อสะดวก – ง่ายในการรื้อถอน - ขนย้าย และติดตั้ง ประหยัดพื้นที่อาคารโดยใช้ระบบเครื่องกลในการยก - ย้ายรถยนต์ในแนวสูงและแนวราบ แทนการใช้ลู่ผิวทางจราจรในการนำรถยนต์เข้าประจำที่จอด ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการขับวนหาที่ว่างเพื่อจอดรถยนต์ หรือนำรถยนต์ออกจากอาคารที่จอดรถ ปลอดภัยสำหรับทรัพย์สินและชีวิต เพราะไม่อนุญาตให้บุคคลใดต้องเดินเข้าไปในอาคาร ควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติ คีย์การ์ดหรือพนักงานควบคุมเท่านั้น พื้นที่ใช้งานของเครื่องจอดรถเล็กกว่าและงบการลงทุนประหยัดกว่าแบบอาคารจอดรถดั้งเดิม 3 – 4 เท่า ไม่กระทบต่อมลภาวะและสิ่งแวดล้อม
คุณสมบัติและสมรรถนะ
· อาคารจอดรถอัจฉริยะแบบจอดรถได้หลายคัน
2 – 5 ชั้น, แบบ 1 – 4 แถว ขึ้นอยู่กับพื้นที่หน้ากว้าง หรือลึกตามตัวอย่างต้นแบบที่เสนอเป็นแบบจอดรถได้ 13 คัน มีความสูง 2 ชั้น และมีจำนวนแถวในแนวยาว 7 แถว
· การควบคุมการทำงานของกลไกทั้งหมดจะใช้ระบบควบคุมแบบอัจฉริยะ
· ใช้โครงสร้างเหล็กที่สามารถถอดประกอบได้ง่าย
ราคาเริ่มต้นที่ 220,000 บาทต่อที่จอด ขึ้นอยู่กับจำนวนที่จอด (ราคารวมโครงสร้างอาคารพื้นฐานแล้ว)
ตัวอย่าง 13 ที่จอด ราคา 3,100,000 บาท (ไม่รวมลานพื้นคอนกรีตเดิมและอุปกรณ์เสริม)
รางวัลเทคโนโลยีและเครื่องจักรกลยอดเยี่ยม ประจำปี 2559
รางวัลชนะเลิศ สาขาพลังงาน สิ่งแวดล้อม และพัฒนาคุณภาพชีวิต
และรางวัลสุดยอดเทคโนโลยีและเครื่องจักรกลยอดเยี่ยม 2559 (Best of the Best Technology Awards 2016)
การพัฒนาเทคโนโลยีภายใต้โครงการ วิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า
พัฒนาโดย สมาคมเครื่องจักรกลไทย
โทรศัพท์ 0-2712-2096 โทรสาร 0-2712-2979
E-mail : thaimachinery2@gmail.com, Thaimachinery@yahoo.com
ร่วมกับ บริษัท คอนสโก เอ็นเตอร์ไพรเซส จำกัด
โทรศัพท์ 0-2726-6839 โทรสาร 0-2726-3147
E-mail : chukiat143@gmail.com