ประชาสัมพันธ์งาน บริการทดสอบด้านวัสดุโลหะ ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

จ, 02/09/2013 - 12:52 — admin5

การทดสอบแรงดึง เป็นการทดสอบพื้นฐานหนึ่งของสมบัติในวัสดุต่างๆ ปกติการทดสอบจะประเมินความแข็งแรงของวัสดุ โดยการใช้วิธีดึงจนขาดในช่วงเวลาหนึ่ง ที่อัตราความเร็วคงที่ ขณะเดียวกันสามารถใช้ชิ้นทดสอบแบบอื่นที่ทราบค่าพื้นที่หน้าตัดและความยาวเริ่มต้น โดยการทดสอบแรงดึงใช้ในการตรวจวัดพฤติกรรมเชิงกลของวัสดุภายใต้แรงดึงหรือการยืดในแนวแกนข้อมูลและการคำนวณในการทดสอบแรงดึงโดยทั่วไปได้แก่ ขีดจำกัดการยืดหยุ่น ร้อยละการยืด โมดูลัสความยืดหยุ่น ร้อยละการลดลงของพื้นที่หน้าตัด เป็นต้น การทดสอบแรงดึงสามารถทำได้โดยวิธีในมาตรฐาน ASTM ได้แก่ASTMD2343สำหรับวัสดุไฟเบอร์ASTMD412สำหรับวัสดุยางASTM D638สำหรับวัสดุพลาสติกASTMD897สำหรับวัสดุกาวASTMD987สำหรับวัสดุกระดาษและASTME8/E8M-11สำหรับวัสดุโลหะ

การทดสอบและประเมินระบบรางรถไฟ การศึกษาเกี่ยวกับความเสียหายระบบรางรถไฟเป็นสิ่งจำเป็นที่นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรจะต้องทำความเข้าใจถึงปัญหาเนื่องจากการเปลี่ยนภาระแรงกระทำซ้ำที่เรียกว่าการแตกหักจากความล้า มีความสำคัญในการทำนายอายุความล้าของชิ้นส่วนโครงสร้างต่างๆ โดยพิจารณาการเกิดความเสียหายและการเกิดรอยแตกร้าวที่ผิวสัมผัสระหว่าง ล้อกับรางรถไฟ การทดสอบคุณสมบัติเชิงกลร่วมกับการวิเคราะห์ทางโปรแกรมสำเร็จรูปที่เรียกว่าการวิเคราะห์วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์พบว่า ความแรงต้านภายในตกค้างระหว่างล้อและเพลาในต่ำแหน่งที่ผิวสัมผัสมากที่สุดจะก่อให้เกิดความแรงต้านภายในตกค้าง ทำให้มีการพัฒนาการปรับปรุงเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้การศึกษาและทดสอบความต้านความล้าของเหล็กกล้ารางรถไฟที่มีจำหน่ายในท้องตลาด จะประเมินค่าคุณสมบัติเชิงกลวัสดุ และการวิเคราะห์ด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์เพื่อหาแรงต้านภายในเนื้อเหล็ก ดังนั้นการทดสอบคุณสมบัติเชิงกลก่อนประเมินการเปลี่ยนหรือซ่อมแซมรางรถไฟจึงมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะ การทดสอบแรงดึง การทดสอบความแข็ง และการทดสอบความล้า 

ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามและขอรับบริการได้ที่โครงการฟิสิกส์และวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถนนพระราม 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400