เจ้าหน้าที่ กปว. พร้อม ทีมนักวิจัย TGI ลงพื้นที่ิตามโครงการเครื่องทอดขนมลาพื้นบ้านระบบเติมแป้งกึ่งอัตโนมัติ ณ ต.หูล่อง อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช
เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2567 เจ้าหน้าที่กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) พร้อมสถาบันไทย - เยอรมัน ลงพื้นที่ตรวจติดตาม “โครงการเครื่องทอดขนมลาพื้น
บ้านระบบเติมแป้งกึ่งอัตโนมัติ” ภายใต้ “โครงการพัฒนาเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ เพื่อการผลิตระดับชุมชน” ที่ได้รับข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการให้ปรับปรุงแก้ไข โดยมีรายละเอียดผลการติดตามโครงการ ดังนี้
โครงการเครื่องทอดขนมลาพื้นบ้านระบบเติมแป้งกึ่งอัตโนมัติ พัฒนาโดย นายวิทยา โพธิ์ถาวร จากวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี ดำเนินการติดตั้งและทดสอบการใช้งาน ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรศรีสมบูรณ์หอยราก ตำบลหูล่อง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีผลิตภัณฑ์คือ ขนมลา เรียกว่า "ลาหอยราก" ขายในช่วงเทศกาลเดือนสิบ และทำเป็นของฝากจากเมืองนครศรีธรรมราชที่มีจำหน่ายตลอดปี
เดิมในการทอดขนมลาจะใช้กระป๋องเจาะรูบรรจุแป้งแล้วโรยเส้นลงในกระทะขนาดใหญ่ โดยโรยวนไปมา จนได้เป็นแผ่นลารูปวงกลมที่ขนาดและความหนาพอเหมาะ ซึ่งจะใช้แรงงานคน ทำให้เกิดความเมื่อยล้าจากการยกแขนและเอี้ยวลำตัวไปมาเพื่อวนแป้งให้ทั่วกระทะใบใหญ่ที่มีความร้อนเป็นเวลานาน ทั้งนี้เครื่องทอดขนมลาพื้นบ้านฯ สามารถทุ่นแรงในกระบวนการดังกล่าวได้ และยังช่วยให้การโรยเส้นสะอาดและถูกสุขลักษณะมากขึ้นทดแทนการใช้กระป๋องที่ใช้อยู่เดิม โดยมีหลักการทำงาน คือ แป้งทำขนมลาจะถูกบรรจุลงถังที่ติดตั้งไว้ด้านบนของตัวเครื่อง แล้วไหลผ่านท่อลำเลียงมายังหัวโรยแป้งที่มีถาดรองน้ำแป้งด้านล่าง โดยหัวโรยแป้งจะเลื่อนมาในตำแหน่งที่ตรงกับกระทะด้วยระบบกลไกขับ จากนั้นจะทำงานขนานกับกระทะพร้อมหมุนรอบตัวเองด้วยมอเตอร์เพื่อปล่อยแป้งเป็นลายลักษณะก้นหอย ลงสู่กระทะทอดซึ่งอาศัยพลังงานความร้อนจากแก๊สหุงต้มและมีชุดควบคุมการทำงานด้วยระบบไฟฟ้า
จากผลการติดตามการดำเนินงาน พบว่าผู้พัฒนาได้ดำเนินการปรับปรุง แก้ไขเครื่องจักร เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามคำแนะนำของคณะกรรมการเป็นที่เรียบร้อย ดังนี้
1) ย้ายการติดตั้งถังบรรจุแป้งไว้ด้านบน พร้อมที่กวนแป้งเพื่อให้สามารถปล่อยแป้งไหลลงมายังหัวโรยแป้งโดยไม่ตกตะกอน
2) ทำแผ่นรองด้านล่างหัวโรยแป้ง เพื่อไม่ให้น้ำแป้งส่วนเกินหยดเลอะในกระทะหรือหกไปด้านนอก
3) ปรับปรุงหัวโรยแป้งให้เป็นสแตนเลส
1) ย้ายการติดตั้งถังบรรจุแป้งไว้ด้านบน พร้อมที่กวนแป้งเพื่อให้สามารถปล่อยแป้งไหลลงมายังหัวโรยแป้งโดยไม่ตกตะกอน
2) ทำแผ่นรองด้านล่างหัวโรยแป้ง เพื่อไม่ให้น้ำแป้งส่วนเกินหยดเลอะในกระทะหรือหกไปด้านนอก
3) ปรับปรุงหัวโรยแป้งให้เป็นสแตนเลส
----------------------------------------------
วันที่กิจกรรม:
Sun, 02/06/2024 - 17:00
สถานที่:
ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรศรีสมบูรณ์หอยราก ต.หูล่อง อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช