ระบบหุ่นยนต์มือจับชิ้นงานอัจฉริยะแบบอ่อนนุ่มสำหรับแล็บทางการแพทย์ AUS 63
จากสถานการณ์วิกฤตการแพร่ระบาดใหญ่ทั่วโลกของไวรัส COVID-19 ที่ทั่วทั้งโลกต้องเผชิญกับวิกฤตหลายด้านทั้งการสาธารณสุขการถดถอยทางเศรษฐกิจ รวมถึงวิถีการใช้ชีวิตของผู้คนที่ต้องปรับเปลี่ยนไปให้รับกับสถานการณ์การแพร่ระบาดใหญ่ในรอบ 100 ปี ของโลก ประเทศไทยจึงยังต้องปรับตัวโดย การสร้างความเข้มแข็งจากภายใน เชื่อมไทยสู่ประชาคมโลก ควบคู่กับการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีหลักคือ พอประมาณ มีเหตุผล และ มีภูมิคุ้มกัน ซึ่งภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงคงหนีไม่พ้นด้านการแพทย์และสาธารณะสุข และเนื่องจากในปัจจุบันการนำแขนกลหุ่นยนต์มาใช้เพื่อยกระดับระบบออโตเมชั่นในงานต่างๆได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ และยังสามารถนำมาใช้ไม่เพียงในงานอุตสาหกรรมการผลิตเท่านั้นแต่ในงานบริการและงานด้านการวิจัยทางการแพทย์ได้ด้วยเช่นกัน ประโยชน์ของการใช้ระบบออโตเมชั่นและหุ่นยนต์คือความแม่นยำและความคงที่ของการปฏิบัติงาน ช่วยให้งานที่ได้รับมีคุณภาพสูงขึ้นและลดความผิดพลาดของการปฏิบัติงาน และสามารถลดการทำงานที่ซ้ำๆของมนุษย์ลงและไปทำงานชนิดอื่นที่สร้างมูลค่าได้มากกว่า ลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายโรคและการหยุดชะงักของการปฏิบัติงานเนื่องจากขาดคนปฏิบัติงานในสภาวะที่มีโรคระบาดอีกด้วย ในประเทศไทยงานหยิบจับสิ่งของหรือชิ้นส่วนต่างๆตามห้องทดลองทางการแพทย์ ห้องจัดเก็บสารเคมีนั้นปัจจุบันยังใช้มนุษย์เป็นผู้หยิบจับเนื่องจากอุปกรณ์หยิบจับที่มีในท้องตลาดยังขาดความยืดหยุ่น กล่าวคือ ชิ้นงานต่างๆจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ในการหยิบจับเฉพาะชิ้นซึ่งไม่สามารถใช้ร่วมกันได้โดยง่าย ทำให้ยากต่อการเปลี่ยนมาใช้ระบบอัตโนมัติอย่างสมบูรณ์ มีข้อจำกัดที่ต้องเปลี่ยนเครื่องมือไปมาหรือยังต้องใช้มนุษย์เข้ามาร่วมทำงาน จึงเป็นที่มาความต้องการสร้างระบบหุ่นยนต์มือจับชิ้นงานอัจฉริยะแบบอ่อนนุ่มสำหรับแล็บทางการแพทย์ (IGR) มาใช้เพื่อแก้ปัญหาข้างต้น โดยระบบสามารถหยิบจับชิ้นงานได้หลายลักษณะและรูปทรง อีกทั้งวัสดุอ่อนนุ่มยังช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดจากการชนหรือขูดระหว่างชิ้นงานและอุปกรณ์หยิบจับ ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน นอกจากนั้นยังสามารถควบคุมรูปทรงของการบีบและแรงในการบีบได้เป็นผู้หยิบจับเนื่องจากอุปกรณ์หยิบจับที่มีในท้องตลาดยังขาดความยืดหยุ่น กล่าวคือ ชิ้นงานต่างๆจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ในการหยิบจับเฉพาะชิ้นซึ่งไม่สามารถใช้ร่วมกันได้โดยง่าย ทำให้ยากต่อการเปลี่ยนมาใช้ระบบอัตโนมัติอย่างสมบูรณ์ มีข้อจำกัดที่ต้องเปลี่ยนเครื่องมือไปมาหรือยังต้องใช้มนุษย์เข้ามาร่วมทำงาน จึงเป็นที่มาความต้องการสร้างระบบหุ่นยนต์มือจับชิ้นงานอัจฉริยะแบบอ่อนนุ่มสำหรับแล็บทางการแพทย์ (IGR) มาใช้เพื่อแก้ปัญหาข้างต้น โดยระบบสามารถหยิบจับชิ้นงานได้หลายลักษณะและรูปทรง อีกทั้งวัสดุอ่อนนุ่มยังช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดจากการชนหรือขูดระหว่างชิ้นงานและอุปกรณ์หยิบจับ ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน นอกจากนั้นยังสามารถควบคุมรูปทรงของการบีบและแรงในการบีบได้ |