ธนาคารปูม้าชุมชนควบคุมด้วยระบบ IoT RID62

พฤ, 29/08/2019 - 10:14 — admin5
รายละเอียด: 

ได้รับการสนับสนุนงบประมาณโครงการ  จากสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ร่วมกับ สถาบันไทย – เยอรมัน

ธนาคารปูม้าชุมชนควบคุมด้วยระบบ IoT

พัฒนาโดย : นายเกียรติศักดิ์  เส้งพัฒน์  (089-195-7867)

หน่วยงาน : วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี

คุณสมบัติและสมรรถนะของเครื่อง

1. ถังอนุบาลธนาคารปูม้าทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตรจำนวน 3 ถัง  

2. ถังอนุบาลธนาคารปูม้าทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร  จำนวน 8 ถัง

3. พลังงานที่ใช้จากโซล่าเซลล์ ขนาด 330 วัตต์ และระบบระบบกักเก็บพลังงานแบบแบตเตอร์รี่แบบ deep cycle

4. ระบบควบคุมการทำงานแบบอัตโนมัติด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์และระบบ IOT3)  มีระบบตรวจสอบค่า PH น้ำและความความเค็มอัตโนมัติ

ความเป็นมา

          ธนาคารปูม้าชุมชนบ้านแหลมโพธิ์ หมู่ที่ 5 ตำบลพุมเรียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มจำนวนปูม้าในระบบนิเวศ  โดยความร่วมมือของชุมชนในการนำแม่ปูม้าไข่นอกกระดองมาฝากเลี้ยงในถังและกระชัง เพื่อให้แม่ปูสลัดไข่สู่ทะเลต่อไป ซึ่งจากการศึกษาพบว่าในการจัดการธนาคารปูม้าประสบปัญหาหลายประการ ดังนี้  

1) การใช้ถังเลี้ยงแม่ปูม้าซึ่งดัดแปลงจากถังคลอรีนที่มีขนาดใหญ่ทำให้เปลืองเนื้อที่ใช้งาน  

2) รูปแบบการเลี้ยงในกระจังมักประสบปัญหาอัตรารอดของลูกปูม้าต่ำ เนื่องจากมีการหลุดจากกระชังรวมถึงการนำไปปล่อยสู่ทะเลโดยตรงทำให้โดนศัตรูทางธรรมชาติจับกิน เช่น ปลาทะเล และ

3) เกิดไฟฟ้าดับบ่อยครั้งทำให้ขาดพลังงานไฟฟ้าในการเติมอากาศส่งผลให้ลูกปูม้าที่อยู่ในระยะฟักเป็นตัวได้ตายจำนวนมาก ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวส่งผลให้จำนวนปูม้าในธรรมชาติไม่สามารถเพิ่มขึ้น

 

          ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์ต่อการบริหารจัดการธนาคารปูม้า โดยการออกแบบบ่ออนุบาลปูม้าแบบคอนโดสำหรับติดตั้งบริเวณชายฝั่ง ใช้พลังงานทั้งหมดจากโซล่าเซลล์ร่วมกับระบบกักเก็บพลังงานสำหรับ การเติมอากาศและการสูบน้ำ นอกจากนี้มีการเพิ่ม การตรวจวัด รายงานสภาพน้ำและอุณหภูมิอัตโนมัติด้วยระบบไร้สาย มีระบบการปล่อยตัวลูกปูเมื่อมีขนาดที่เหมาะสม(1.0-1.4 เซนติเมตร) (ประมาณ 1 เดือนหลังจากแม่ปูสลัดไข่) โดยขั้นตอนสำหรับการปล่อยลูกปูอัตโนมัตินั้นระบบต้องรอการ ตรวจวัดสภาพความเค็มของน้ำต้องอยู่ในช่วง 25 – 32 ppt และอุณหภูมิของน้ำไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส โดยรับ-ส่งข้อมูลแบบไร้สายระบบ IoT เมื่อค่าที่วัดได้มีค่าเหมาะสมจึงสั่งให้ระบบปล่อยลูกปูสู่ป่าชายเลน เพื่อให้ลูกปูม้ามีแหล่งหลบภัยทางธรรมชาติก่อนกลับสู่ทะเลต่อไปทั้งนี้เพื่อเพิ่มอัตรารอดเพิ่มขึ้น และที่สำคัญมีระบบกรองบำบัดน้ำเพื่อให้น้ำมีความสะอาดและลดเชื้อโรค โดยกระบวนการและขั้นตอนทั้งหมดดังกล่าวจะทั้งนี้นวัตกรรมดังกล่าวจะส่งผลให้มีปูม้าในธรรมชาติสูงขึ้น สามารถเพิ่มรายได้และความมั่นคงในอาชีพของชุมชนและสามารถขยายผลในธนาคารปูม้าทั่วประเทศในภาพรวมต่อไป

จุดเด่นของของธนาคารปูม้าชุมชนควบคุมด้วยระบบ IoT

1)  สามารถเพิ่มจำนวนปูม้าในระบบนิเวศ ส่งผลต่อรายได้ของชุมชนและห่วงโซ่อาหารปูม้าในภาพรวม

2)  ลดพื้นที่การใช้สอย รวมถึงเพิ่มอัตรารอดของลูกปูม้าสูงขึ้น

3)  ประยุกต์เทคโนโลยีทางการเกษตรร่วมกับเทคโนโลยี IoT สอดคล้องกับนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0

4)  ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ไม่น้อยกว่า 2000 KWh/ปี และลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 1400 kgCO2e

5)  สามารถประยุกต์สู่อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำประเภทอื่น เช่น ธนาคารหมึกไข่ ลูกเต่าทะเล เป็นต้น

หลักการทำงานของเครื่อง

1)  สูบน้ำและพักไว้ที่ถังที่ 1

2)  สั่งปล่อยน้ำถังที่ 1 ให้กับถังปูม้าจำนวน 8 ถัง ทั้งถังอนุบาลลูกปูจำนวน  1 ถัง

3)  นำปูม้าที่มีไข่หน้าท้องใสในถังปูม้าจำนวน 8 ถัง รอให้ปูสลัดไข่ออกจากหน้าท้อง

4)  ระบบทำการตรวจสอบความเค็มของน้ำรวมถึงค่า PH และทำการสั่งปล่อยปูอัตโนมัติหรือเลิกสั่งการด้วยระบบโทรศัพท์มือถือ

ขนาดมิติและน้ำหนักของเครื่อง

          ขนาดมิติ เครื่องจักรมีขนาด 1x1.2x1.8 เมตร(กxยxส) และมีขนาดของชุดโครงสร้างชุดโซล่าเซลล์ 1.25x1x1.6 เมตร(กxยxส) โดยมีพื้นที่สำหรับพื้นที่ติดตั้ง และทำงานไม่น้อยกว่า 3x3x2เมตร  (กxยxส)และน้ำหนักของเครื่อง 100 กิโลกรัม

ราคาเชิงพาณิชย์

ราคาขาย 120,000 บาท/เครื่อง

การใช้งาน /การดูแลรักษา

1)  การใช้งาน

1.1)  สูบน้ำและพักไว้ที่ถังที่ 1

1.2)  สั่งปล่อยน้ำถังที่ 1 ให้กับถังปูม้าจำนวน 8 ถัง ทั้งถังอนุบาลลูกปูจำนวน  1 ถัง

1.3)  นำปูม้าที่มีไข่หน้าท้องใสในถังปูม้าจำนวน 8 ถัง รอให้ปูสลัดไข่ออกจากหน้าท้อง

1.4)  ระบบทำการตรวจสอบความเค็มของน้ำรวมถึงค่า PH และทำการสั่งปล่อยปูอัตโนมัติหรือเลิกสั่งการด้วยระบบโทรศัพท์มือถือ

2)  ข้อควรระวัง/คำเตือน ในการใช้งาน

           2.1)  ควรตรวจสอบระบบไฟฟ้าไม่ให้ดับซึ่งจะทำให้ลูกปูม้าตายได้

   2.2)  ควรวางในพื้นที่ที่ใกล้กับป่าโกงกางเพื่อให้ลูกปูม้ามีแหล่งหลบภัย  ตามธรรมชาติ

3)  การบำรุงรักษา

   3.1)  ควรมีการตรวจสอบและบำรุงรักษาปีละครั้ง

3.2)  ควรมีการเคลือบผิววัสดุด้วยนาโนเพื่อป้องกันสนิมและฝุ่น

 
 

 

 

 

 

 

 

 

งบปี พ.ศ.: 
2562
ภาพประกอบ: 
ธนาคารปูม้าชุมชนควบคุมด้วยระบบ IoT RID62

เอกสารประกอบ

เอกสารเผยแพร่: 
แคตตาล็อกเทคโนโลยี
ระดับ: 
ระดับงานวิจัย
กลุ่มเป้าหมาย: 
เกษตรกร
ราคาเครื่องจักร: 
120000
ภาพหน้าปก: