- หน้าแรก
- แนะนำโครงการ
- โครงการสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า
- โครงการพัฒนาระบบอัตโนมัติ/สมาร์ทเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ของภาคการผลิตและบริการ
- โครงการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ เพื่อการผลิตระดับชุมชน
- โครงการประกวดสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา STI inventions contest 2025
- โครงการประกวดรางวัลเทคโนโลยียอดเยี่ยมด้านเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ (Machinery for Equipment and Machinery Awards; MA)
- ดาวน์โหลด
- กระดานสนทนา
- แผนที่เว็บไซต์
- ติดต่อเรา
เครื่องกดกล้วยแผ่นกึ่งอัตโนมัติ
รายละเอียด:
เครื่องกดกล้วยแผ่นกึ่งอัตโนมัติ
กล้วยเป็นผลไม้ที่พบโดยทั่วไปทุกพื้นที่ในประเทศไทย สามารถนำมาแปรรูปเป็นสินค้าได้มากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดพิษณุโลก กล้วยแปรรูปถือว่าเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่สร้างชื่อเสียงและสร้างรายได้ให้กับชุมชนต่างๆ โดยกรรมวิธีในการแปรรูปกล้วยนั้นมีมากมายหลายรูปแบบ เช่น กล้วยตาก กล้วยฉาบ กล้วยทอด และกล้วยกวน เป็นต้น ซึ่งหนึ่งในสินค้าจากกล้วยแปรรูปที่มีชื่อเสียงในจังหวัดพิษณุโลก คือ “กล้วยม้วน” และจากข้อมูลกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม พบว่า มีกลุ่มเกษตรกรอีกหลายจังหวัดที่มีการแปรรูปกล้วยม้วนเช่นเดียวกัน ซึ่งกระบวนการผลิตกล้วยม้วนในปัจจุบันนั้น จะใช้แผ่นไม้ที่มีน้ำหนักกดลงบนผลกล้วยเพื่อให้กล้วยมีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ ประมาณ 3 มิลลิเมตร ซึ่งผลิตกล้วยแผ่นได้ครั้งละ1 ลูกเท่านั้น กระบวนการผลิตดังกล่าวนอกจากใช้ระยะเวลานาน แล้วยังมีความจำเป็นต้องใช้ผู้ทำงานที่มีความชำนาญอีกด้วย
คุณลักษณะและสมรรถนะของเครื่อง
· มีกำลังการผลิต 3 - 4 ลูกต่อการกด 1 ครั้ง ได้กล้ายที่มีความหนา 3 มิลลิเมตร
· ใช้ไฟฟ้าประมาณ 1.5 kW
· ใช้ระบบนิวแมติกส์
· การควบคุมการทำงานเป็นแบบกึ่งอัตโนมัติ
หลักการทำงานและจุดเด่น
ระบบการทำงานของเครื่องกดกล้วยที่ได้พัฒนาขึ้น ใช้ระบบไฟฟ้า ควบคุมการทำงานแบบกึ่งอัตโนมัติ โดยกล้วยหลังจากปลอกเปลือกจะถูกวางบนสายพานที่มีถาดรองเคลื่อนที่เข้าไปยังเครื่องกด โดยสามารถกดได้ครั้งละ3 - 4 ลูก เมื่อกล้วยถูกกดแล้วจะเคลื่อนที่ออกจากเครื่องกด จากนั้นผู้ทำงานจะนำกล้วยที่กดแล้วจัดเรียงในถาดเพื่อทำการอบต่อไป
พัฒนาโดย นายเอกภูมิ บุญธรรม
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
156 หมู่ 5 ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
โทรศัพท์ 055-267000
โทรสาร 055-267058
ราคาเริ่มต้นที่ หากสนใจ สามารถติดต่อสอบถามเจ้าของสิ่งประดิษฐ์ได้โดยตรง
พัฒนาภายใต้ โครงการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์เพื่อการผลิตระดับชุมชน
ประจำปีงบประมาณ 2557
ผู้พัฒนา ผู้ประกอบการ
งบปี พ.ศ.:
2557