สิ่งแวดล้อม
เครื่องบำบัดน้ำเสีย
รางวัลที่1 สาขาพลังงานสิ่งแวดล้อมและพัฒนาคุณภาพชีวิต
เอกสารประกอบ
โครงการพัฒนาสร้างเรือดูดเลนแบบพื้นฐาน
ผู้พัฒนา
เอกสารประกอบ
โครงการพัฒนาสร้างระบบเผากำจัดควันเพื่อธุรกิจอาหาร (The support heating unit for smokeless food business)
ผู้พัฒนา
เอกสารประกอบ
ระบบปรับปรุงคุณภาพขยะพลาสติก
โครงการพัฒนาสร้างระบบปรับปรุงคุณภาพขยะพลาสติก
ดำเนินการโดย สมาคมเครื่องจักรกลไทย
ระยะเวลาของโครงการ 10 เดือน
หัวหน้าโครงการ นางสาวชญาภา กาญจนาการุณวงศ์
บริษัทที่ร่วมโครงการ บริษัท วิศวกรรมบริการบำรุงรักษา จำกัด
เครื่องปรับปรุงคุณภาพขยะพลาสติก ประกอบด้วย
- ชุดสายพานลำเลียง - ขยะพลาสติกจากบ่อฝังกลบที่ผ่านการล้างทำความสะอาดแล้วยังคงมีเศษดิน หิน วัตถุหนักปะปนอยู่บ้าง ชุดสายพานลำเลียงจะลำเลียงขยะพลาสติกไปเข้าสู่ขั้นตอนการคัดแยกวัสดุปนเปื้อนต่างๆ ออกให้มากที่สุด ก่อนป้อนเข้าสู่เครื่องรีไซเคิลต่อไป
- เครื่อง Shredder - สายพานลำเลียงจำลำเลียงขยะพลาสติกมายังเครื่อง Shredder เพื่อย่อยพลาสติกให้มีขนาดเล็กลง เพื่อให้สะดวกต่อการแยกวัสดุปนเปื้อนที่อาจแทรกอยู่ตาซอกมุมต่างๆ ของพลาสติก เครื่อง Shredder มีลักษณะเป็นกระบะ ด้านในมีใบจักรวางเรียงกันบนเพลาหมุน แต่ละเพลาจะวางขนาดกันและหมุนในทิศทางตรงกันข้าม เพื่อดูดพลาสติกที่จะถูกป้อนจากด้านบนมาฉีกให้เป็นเศษพลาสติก และตกลงสู่สายพานลำเลียงด้านล่าง
- เครื่องคัดแยกด้วยอากาศ - ทำหน้าที่คัดแยกเศษวัสดุปนเปื้อนเบื้องต้น โดยการลำเลียงขยะเข้าสู่เครื่องที่ด้านบนและปล่อยให้ตกลงสู่ด้านล่างของเครื่อง และใช้โบลเวอร์ดูดอากาศภายในออก วัสดุที่มีน้ำหนักมากจะตกลงสู่ด้านล่างเครื่อง ในขยะที่ขยะพลาสติกซึ่งผ่านการฉีกย่อยให้เป็นชิ้นเล็กจะมีน้ำหนักเบาและถูกดูดโดยโบลเวอร์เพื่อเข้าสู่เครื่องเป่าลมร้อน
- สู่เครื่องเป่าลมร้อน - ด้านในเครื่องประกอบด้วยตะแกรงหมุนซึ่งจะหมุนด้วยความเร็วต่ำ ขยะพลาสติกซึ่งถูกดูดด้วยโบลเวอร์จากเครื่องคัดแยกด้วยอากาศ จะผ่านไซโคลนด้านบน และตกลงสู่ตะแกรงในห้องเครื่อง ขยะพลาสติกนี้จะถูกให้ความร้อนจากท่ออากาศร้อนที่ปล่อยเข้าสู่ห้องเครื่องเพื่อทำให้แห้ง ขยะพลาสติกในตะแกรงด้านบนจะเคลื่อนที่ตกลงสู่ตะแกรงด้านล่างๆ และเข้าสู่สายพานลำเลียงด้านล่าง เพื่อลำเลียงเข้าสู่ระบบรีไซเคิลต่อไป
เครื่องส่งข้อมูลการบริหารจัดการน้ำและระบบโทรมาตรลุ่มน้ำ กฟผ.
ผลงานของ
นายรัฐวิชญ์ พุฒิพัฒนาศักดิ์
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
เอกสารประกอบ
เครื่องล้างถังอัตโนมัติ
โครงการพัฒนาสร้างเครื่องล้างถังอัตโนมัติ
ดำเนินการโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ระยะเวลาของโครงการ10 เดือน
หัวหน้าโครงการ นายวรรณภพ กล่อมเกลี้ยง
บริษัทที่ร่วมโครงการ บริษัท อาโอบะ เทคนอส จำกัด
การล้างถังด้วยระบบปิดอัตโนมัติเกิดจากการสร้างโฟมฟองอากาศจากสารเคมีอัดเข้าถัง เพื่อแช่ผลิตภัณฑ์ภายในถัง จากนั้นใช้ระบบการหมุนเวียนของสารเคมีในการล้างโดยอาศัยแรงดันจากปั๊มดึงเข้าเครื่องไฮโดรไซโครนเพื่อแยกตะกอนของเสียออกกจากสารเคมี นำสารเคมีกลับไปหมุนเวียนล้างถังต่อไป สุดท้ายใช้ ระบบการเป่าลมเข้าถังเพื่อทำให้ถังแห้ง
รายละเอียดของเครื่องที่จะพัฒนา
- Air compressor สำหรับสร้างลมเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตโฟมและขั้นตอนหลังการล้างถัง เพื่อทำให้ภายในถังแห้ง
- Hydro cyclone สำหรับแยกระหว่างของเหลวกับตะกอนของแข็งออกจากตะกอนที่ได้จากการล้าง
- Foam generator สำหรับสร้างโฟม เพื่อใช้ในการทำความสะอาด
- Centrifugal pump สำหรับเพิ่มแรงดันของเหลวในการทำความสะอาด
- Diaphragm pumps สำหรับดูดตะกอนออกจากตัวถัง เพื่อนำไปเข้า Hydro cyclone
- Screw pump สำหรับดึงตะกอนของแข็งออกจาก Hydro cyclone แล้วนำไปเก็บที่ storage tank
- 3D nozzle สำหรับฉีดทำความสะอาดภายในถัง
- Lift สำหรับเปิด-ปิดฝาถัง
ลักษณะโครงสร้าง |
ชื่อเครื่องจักร-อุปกรณ์ |
||
เส้นสีม่วง |
Foam Generator |
หมายเลข 1 |
Screw Pump |
เส้นสีเขียว |
Chemical |
หมายเลข 2 |
Air Compressor |
เส้นสีฟ้า |
Air |
หมายเลข 3 |
Diaphragm Pump |
เส้นสีน้าเงิน |
Waste |
หมายเลข 4 |
Centrifugal Pump |
|
Sludge |
หมายเลข 5 |
Hydro Cyclone |
|
|
หมายเลข 6 |
Lift |
|
|
หมายเลข 7 |
Foam Generator |
|
|
หมายเลข 8 |
3D Nozzle |
ภาพแสดง อุปกรณ์สำหรับเครื่องล้างถังอัตโนมัติ
ที่มา: ข้อเสนอโครงการพัฒนาสร้างเครื่องล้างถังอัตโนมัติ(มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี)