พลาสติกและปิโตรเคมี
เครื่องบริการหัวฉีดแก๊สโซลีน
ผู้พัฒนา รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ3 วิทยาลัยเทคนิคกาญจนบุรี
อาจารย์ที่ปรึกษา นายวัลลภ มากมี นายพินิต แก้วพระ นายกิตติพงษ์ ตันติศุภชัย นายรัชศักดิ์ สระทองอ่อน นายโสภณ ส้มเขียวหวาน นายศตวรรษ พรไชย
นักศึกษา นายเกียรติศักดิ์ นายวรพล ปลื้มโต๊ะสะอาด นายณัฐวุฒิ นิลโอโล
เครื่องรีไซเคิลพลาสติก ระบบอัตโนมัติ
รางวัลเทคโนโลยียอดเยี่ยมด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ ประจำปี 2564
รางวัลชนะเลิศ สาขาพลังงาน สิ่งแวดล้อม และพัฒนาคุณภาพชีวิต
"เครื่องรีไซเคิลพลาสติก ระบบอัตโนมัติ"
พัฒนาโดย บริษัท รักษ์69 จำกัด 111/1 ม.2 ต.พงสวาย อ.เมือง
ติดต่อ 032-348-228-9 และ 089-696-6961 https://rux69.com/
เครื่องขึ้นรูปงานสามมิติประสิทธิภาพสูง ด้วยวัสดุกึ่งเหลวควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์(ต่อยอด)
การทํางานของเครื่องจักร เริ่มจากการใส่เส้นพลาสติกวิศวกรรมเข้าไปในหัวฉีด ทําการเปิดเครื่อง เพื่ออุ่นหัวฉีด ให้ร้อน และทําการอุ่นถาดความร้อน ทิ้งไว้สักพักเพื่อให้อุณหภูมิภายในสูงขึ้นนําโปรแกรม GCode ที่ได้ทํามา ก่อนหน้านี้ เข้าสู่เครื่องด้วยคอมพิวเตอร์ หรือ SD Card ทําการเลือกโปรแกรมทํางานหัวฉีดจะเคลื่อนที่โดย พ่นพลาสติกที่หลอมเหลวออกมาบนถาด แล้วค่อยๆ ก่อตัวกันขึ้นไปจากล่างถึงด้านบนจนเสร็จ เมื่อเสร็จแล้วจึง นําชิ้นงานออกจากฐาน นําออกมาตกแต่ง
โครงการพัฒนาสร้างเครื่องขึ้นรูปชิ้นงานสามมิติความละเอียดสูงด้วยเรซินเหลว โดยกระบวนการทางแสง (TPD)
ผู้พัฒนา
นายธวัชชัย อาทรกิจ
บริษัท บางกอก บลูโอเชี่ยน จำกัด
เอกสารประกอบ
เครื่องฉีดพลาสติกขนาดเล็ก(VCE60)
เครื่องฉีดพลาสติกขนาดเล็ก
(Small Plastic Injection Machine)
โครงการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้วยวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า ประจำปีงบประมาณ 2560
พัฒนาเครื่องฉีดพลาสติกขนาดเล็กที่เหมาะสมกับระบบอุตสาหกรรม SME หรือการผลิตชิ้นงานต้นแบบที่มีจำนวนไม่มากแต่มีความหลากหลายรูปแบบ เพื่อรองรับกับการพัฒนาสู่ไปสู่ยุค Industry 4.0 โดยที่ใช้ชิ้นส่วนหลักในการผลิตและประกอบในประเทศเพื่อลดการนำเข้าเทคโนโลยี และช่วยพัฒนานักวิจัยและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในงานให้มีความรู้และสามารถพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมขึ้นใช้ในประเทศได้
เอกสารประกอบ
เครื่องบรรจุและปิดผนึกซองคู่พริกป่นและน้ำตาลด้วยฟิล์มพลาสติก
เครื่องบรรจุและปิดผนึกซองคู่พริกป่นและน้ำตาลด้วยฟิล์มพลาสติก
ที่มาและความสำคัญ
ปัจจุบันเครื่องบรรจุและปิดผนึกเครื่องปรุงแบบซองคู่ที่มีจำหน่ายและใช้งานอยู่ยังมีราคาสูง ทำให้กลุ่ม OTOP หรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชน สูญเสียโอกาสในการส่งผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพออกจำหน่ายในตลาด ดังนั้นการพัฒนาเครื่องบรรจุและปิดผนึกซองคู่พริกป่นและน้ำตาลด้วยฟิล์มพลาสติก ที่มีหลักการทำงานง่ายๆ ไม่ซับซ้อน จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถเพิ่มโอกาสให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีความหลากหลายในการแข่งขัน และสามารถผลิตสินค้าจำหน่ายในชุมชนพื้นที่ใกล้เคียงได้มากขึ้น
คุณลักษณะ
ส่วนประกอบสำคัญของเครื่อง
1. ส่วนบรรจุ มี 2 กรวย สำหรับบรรจุพริกป่น(1.26 กรัม/ซอง) และน้ำตาล(5.12 กรัม/ซอง)
2. ส่วนตวง มีใบปิด/เปิดช่องตวง เพื่อเติมพริกป่นและน้ำตาลตามปริมาณที่ต้องการ
3. ส่วนปิดผนึก มีชุดห่อฟิล์มพลาสติก ชุดฮีทเตอร์ปิดผนึกในแนวตั้งและแนวนอน ชุดตัดฟิล์ม
4. ส่วนตึงฟิล์ม มีแกนเพลาใส่ม้วนฟิล์ม และชุดลูกกลิ้งตึงฟิล์มก่อนลำเลียงสู่ชุดปิดผนึก
ขั้นตอนการทำงาน เริ่มจากใส่น้ำตาลและพริกป่นในกรวยเติม แล้วดึงแผ่นฟิล์มพลาสติกเข้าสู่ชุดปิดผนึก ถาดหมุนจะปล่อยปริมาณน้ำตาลและพริกลงไปในซองพลาสติก ด้วยระบบการทำงานแบบอัตโนมัติ เครื่องจะทำการปิดผนึกและบรรจุ ระบบหมุนของชุดปิดผนึกจะดึงซองคู่ที่บรรจุสำเร็จแล้วไปยังใบมีดตัด เพื่อทำการตัดแยกชิ้นซองคู่ เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการปิดผนึกและบรรจุ
กำลังการผลิตของเครื่อง / กำลังไฟฟ้าที่ใช้
- สามารถบรรจุและปิดผนึกได้ 2,180 ซอง/ชั่วโมง
ขนาดและน้ำหนักของเครื่อง
- ขนาดของเครื่อง 55 x 70 x 154 เซนติเมตร, น้ำหนักของเครื่อง 120 กิโลกรัม
ราคาเครื่องเชิงพาณิชย์
เครื่องละ 100,000 บาท
หัวหน้าโครงการ
นายอนินท์ มีมนต์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
39 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองหก อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12110