โครงการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า (VCE)
ระบบหุ่นยนต์พ่นสีอัตโนมัติ
โครงการพัฒนาสร้างระบบหุ่นยนต์พ่นสีอัตโนมัติ
ดำเนินการโดย สถาบันไทย-เยอรมัน
ระยะเวลาของโครงการ 12 เดือน
หัวหน้าโครงการ นายเอกสิทธิ์ สุโขธนัง
บริษัทที่ร่วมโครงการบริษัท แอดวานซ์ไดนามิคแอนด์โรโบติคซิสเทมเทค จำกัด
คุณสมบัติของเครื่องที่จะทำการพัฒนา
คุณสมบัติทั่วไป |
เครื่องที่จะพัฒนา |
1.กำลังการผลิต |
พื้นที่ทำงานพ่นสี: 600x600x500 mm. อาจลดลงโดยขึ้นอยู่กับชนิดของหัวพ่นสี (Spray Gun) และความเร็วการพ่นสี ขึ้นอยู่กับรูปร่าง และขนาดชิ้นงาน |
2.อัตราใช้พลังงาน |
…...................... |
3.ประเภทเทคโนโลยีที่ใช้ |
Multi-axis servo robot ชนิด Traverse RobotและระบบควบคุมMulti-body Manipulator Painting Robot Controller (Motion Control + PC Base) |
4.ระดับโอกาศการผลิตแบบครบวงจร/การบูรณาการเครื่องจักร |
ทำได้สูง |
5.ระบบความปลอดภัย (Safety) |
Full safety system ด้วยโปรแกรม sensor และระบบป้องกันทางไฟฟ้า เป็นหุ่นยนต์ชนิด Traverse Robot แบบ 5แกน interpolation ทำงานพ่นสีกับ Rotary Servo Actuator Unit 3แกน (สำหรับวางชิ้นงาน) |
6.จุดเด่นทางเทคนิคที่สำคัญ |
ต่ำ เมื่อเทียบกับคนงาน และหุ่นยนต์แขนกลของต่างประเทศ |
7.ค่าใช้จ่าย (operating cost) |
…............. |
8.จุดคุ้มทุน IRP / Payback period |
550,000 ถึง 1,700,000 บาท ขึ้นอยู่กับขนาด และชิ้นงานพ่นสี |
9.ราคาเชิงพาณิชย์ |
……………… |
ภาพที่ 13.1 แสดง แบบวาด AHR Robot
ที่มา: ข้อเสนอโครงการพัฒนาสร้างระบบหุ่นยนต์พ่นสีอัตโนมัติ(สถาบันไทย-เยอรมัน)
ระบบปรับปรุงคุณภาพขยะพลาสติก
โครงการพัฒนาสร้างระบบปรับปรุงคุณภาพขยะพลาสติก
ดำเนินการโดย สมาคมเครื่องจักรกลไทย
ระยะเวลาของโครงการ 10 เดือน
หัวหน้าโครงการ นางสาวชญาภา กาญจนาการุณวงศ์
บริษัทที่ร่วมโครงการ บริษัท วิศวกรรมบริการบำรุงรักษา จำกัด
เครื่องปรับปรุงคุณภาพขยะพลาสติก ประกอบด้วย
- ชุดสายพานลำเลียง - ขยะพลาสติกจากบ่อฝังกลบที่ผ่านการล้างทำความสะอาดแล้วยังคงมีเศษดิน หิน วัตถุหนักปะปนอยู่บ้าง ชุดสายพานลำเลียงจะลำเลียงขยะพลาสติกไปเข้าสู่ขั้นตอนการคัดแยกวัสดุปนเปื้อนต่างๆ ออกให้มากที่สุด ก่อนป้อนเข้าสู่เครื่องรีไซเคิลต่อไป
- เครื่อง Shredder - สายพานลำเลียงจำลำเลียงขยะพลาสติกมายังเครื่อง Shredder เพื่อย่อยพลาสติกให้มีขนาดเล็กลง เพื่อให้สะดวกต่อการแยกวัสดุปนเปื้อนที่อาจแทรกอยู่ตาซอกมุมต่างๆ ของพลาสติก เครื่อง Shredder มีลักษณะเป็นกระบะ ด้านในมีใบจักรวางเรียงกันบนเพลาหมุน แต่ละเพลาจะวางขนาดกันและหมุนในทิศทางตรงกันข้าม เพื่อดูดพลาสติกที่จะถูกป้อนจากด้านบนมาฉีกให้เป็นเศษพลาสติก และตกลงสู่สายพานลำเลียงด้านล่าง
- เครื่องคัดแยกด้วยอากาศ - ทำหน้าที่คัดแยกเศษวัสดุปนเปื้อนเบื้องต้น โดยการลำเลียงขยะเข้าสู่เครื่องที่ด้านบนและปล่อยให้ตกลงสู่ด้านล่างของเครื่อง และใช้โบลเวอร์ดูดอากาศภายในออก วัสดุที่มีน้ำหนักมากจะตกลงสู่ด้านล่างเครื่อง ในขยะที่ขยะพลาสติกซึ่งผ่านการฉีกย่อยให้เป็นชิ้นเล็กจะมีน้ำหนักเบาและถูกดูดโดยโบลเวอร์เพื่อเข้าสู่เครื่องเป่าลมร้อน
- สู่เครื่องเป่าลมร้อน - ด้านในเครื่องประกอบด้วยตะแกรงหมุนซึ่งจะหมุนด้วยความเร็วต่ำ ขยะพลาสติกซึ่งถูกดูดด้วยโบลเวอร์จากเครื่องคัดแยกด้วยอากาศ จะผ่านไซโคลนด้านบน และตกลงสู่ตะแกรงในห้องเครื่อง ขยะพลาสติกนี้จะถูกให้ความร้อนจากท่ออากาศร้อนที่ปล่อยเข้าสู่ห้องเครื่องเพื่อทำให้แห้ง ขยะพลาสติกในตะแกรงด้านบนจะเคลื่อนที่ตกลงสู่ตะแกรงด้านล่างๆ และเข้าสู่สายพานลำเลียงด้านล่าง เพื่อลำเลียงเข้าสู่ระบบรีไซเคิลต่อไป
เครื่องทดสอบหาค่าความหนืดมูนนี่
โครงการพัฒนาสร้างเครื่องทดสอบหาค่าความหนืดมูนนี่
ดำเนินการโดย สถาบันไทย-เยอรมัน
ระยะเวลาของโครงการ 6 เดือน
หัวหน้าโครงการ นายเอกสิทธิ์ สุโขธนัง
บริษัทที่ร่วมโครงการบริษัท เจริญทัศน์ จำกัด
การวัดความหนืด Mooney Viscosity เป็นการทดสอบที่มีความสำคัญต่อการระบุคุณสมบัติของยางแท่งอย่างหนึ่ง โดยค่าความหนืดที่วัดได้จะสัมพันธ์กับน้ำหนักโมเลกุลของยาง ยิ่งยางมีน้ำหนักโมเลกุลสูง ก็จะมีค่า Mooney Viscosity สูงตามไปด้วย นอกจากนี้ค่า Mooney Viscosity ยังสามารถใช้บอกถึงการเกิด Storage Hardening ได้อีกด้วย โดยการเกิด Storage Hardening จะทำให้ความหนืดของยางแท่งมีค่าสูงขึ้น
เครื่องทดสอบวัดค่าความหนืดมูนนี่ มีหลักการทำงานคล้ายกับ เครื่องผสมพอลิเมอร์แบบปิด (CT Internal Mixer) ที่ทางบริษัทฯ ได้พัฒนา และออกวางจำหน่ายแล้ว กล่าวคือ อุปกรณ์ทั้งสองชนิดมีการควบคุมอุปกรณ์ของห้องผสมและดาย ในลักษณะใกล้เคียงกัน และมีการวัดค่าแรงบิดในขณะที่ทำการผสม / ทดสอบ ในลักษณะเดียวกันคือ การใช้อุปกรณ์ LOADCELL เป็นเซนเซอร์วัดค่าแรง แล้วนำค่าแรงที่วัดได้มาคูณค่าระยะทาง ก็จะได้ค่าแรงบิดออกมา และโปรแกรมจะแปลงค่าแรงบิดเป็นค่าความหนืดมูนนี่
ภาพที่ 12.1 แสดง ส่วนประกอบสำคัญของเครื่องทดสอบหาค่าความหนืดมูนนี่
ที่มา: ข้อเสนอโครงการพัฒนาสร้างเครื่องทดสอบหาค่าความหนืดมูนนี่(สถาบันไทย-เยอรมัน)
เครื่องทดสอบความแข็ง
โครงการพัฒนาสร้างเครื่องทดสอบความแข็ง
ดำเนินการโดย สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
ระยะเวลาของโครงการ 9 เดือน
หัวหน้าโครงการ นายพลพร จาติเสถียร
บริษัทที่ร่วมโครงการบริษัท อินทนนท์อินดัสเทรียล ซัพพลาย จำกัด
เครื่องทดสอบความแข็ง (Hardness Testing Machine) เป็นเครื่องมือสำหรับวัดความแข็งของวัสดุหรือชิ้นงานต่างๆ โดยค่าความแข็งนี้ถือเป็นคุณสมบัติทางกลของวัสดุที่สำคัญมากอย่างหนึ่งและถูกใช้ในการควบคุมคุณภาพของวัสดุและชิ้นส่วน โดยเฉพาะ เหล็ก ชิ้นส่วนยานยนต์ชิ้นงานอบชุบ เป็นต้น
ภาพที่1 แสดง เครื่องทดสอบความแข็งแบบ Rockwell (Rockwell Hardness Testing Machine)
ที่มา: ข้อเสนอโครงการพัฒนาสร้างเครื่องทดสอบความแข็ง(สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย)
ภาพที่2 แสดง หลักการวัดความแข็งของวัสดุ
ที่มา: ข้อเสนอโครงการพัฒนาสร้างเครื่องทดสอบความแข็ง(สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย)
เครื่องล้างถังอัตโนมัติ
โครงการพัฒนาสร้างเครื่องล้างถังอัตโนมัติ
ดำเนินการโดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ระยะเวลาของโครงการ10 เดือน
หัวหน้าโครงการ นายวรรณภพ กล่อมเกลี้ยง
บริษัทที่ร่วมโครงการ บริษัท อาโอบะ เทคนอส จำกัด
การล้างถังด้วยระบบปิดอัตโนมัติเกิดจากการสร้างโฟมฟองอากาศจากสารเคมีอัดเข้าถัง เพื่อแช่ผลิตภัณฑ์ภายในถัง จากนั้นใช้ระบบการหมุนเวียนของสารเคมีในการล้างโดยอาศัยแรงดันจากปั๊มดึงเข้าเครื่องไฮโดรไซโครนเพื่อแยกตะกอนของเสียออกกจากสารเคมี นำสารเคมีกลับไปหมุนเวียนล้างถังต่อไป สุดท้ายใช้ ระบบการเป่าลมเข้าถังเพื่อทำให้ถังแห้ง
รายละเอียดของเครื่องที่จะพัฒนา
- Air compressor สำหรับสร้างลมเพื่อใช้ในกระบวนการผลิตโฟมและขั้นตอนหลังการล้างถัง เพื่อทำให้ภายในถังแห้ง
- Hydro cyclone สำหรับแยกระหว่างของเหลวกับตะกอนของแข็งออกจากตะกอนที่ได้จากการล้าง
- Foam generator สำหรับสร้างโฟม เพื่อใช้ในการทำความสะอาด
- Centrifugal pump สำหรับเพิ่มแรงดันของเหลวในการทำความสะอาด
- Diaphragm pumps สำหรับดูดตะกอนออกจากตัวถัง เพื่อนำไปเข้า Hydro cyclone
- Screw pump สำหรับดึงตะกอนของแข็งออกจาก Hydro cyclone แล้วนำไปเก็บที่ storage tank
- 3D nozzle สำหรับฉีดทำความสะอาดภายในถัง
- Lift สำหรับเปิด-ปิดฝาถัง
ลักษณะโครงสร้าง |
ชื่อเครื่องจักร-อุปกรณ์ |
||
เส้นสีม่วง |
Foam Generator |
หมายเลข 1 |
Screw Pump |
เส้นสีเขียว |
Chemical |
หมายเลข 2 |
Air Compressor |
เส้นสีฟ้า |
Air |
หมายเลข 3 |
Diaphragm Pump |
เส้นสีน้าเงิน |
Waste |
หมายเลข 4 |
Centrifugal Pump |
|
Sludge |
หมายเลข 5 |
Hydro Cyclone |
|
|
หมายเลข 6 |
Lift |
|
|
หมายเลข 7 |
Foam Generator |
|
|
หมายเลข 8 |
3D Nozzle |
ภาพแสดง อุปกรณ์สำหรับเครื่องล้างถังอัตโนมัติ
ที่มา: ข้อเสนอโครงการพัฒนาสร้างเครื่องล้างถังอัตโนมัติ(มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี)
ระบบโอโซนสำหรับบ่อเลี้ยงกุ้งแบบหนาแน่นและปลอดเชื้อ
โครงการพัฒนาสร้างระบบโอโซนสำหรับบ่อเลี้ยงกุ้งหนาแน่นและปลอดเชื้อ
ดำเนินการโดย สถาบันไทย-เยอรมัน
ระยะเวลาของโครงการ 12 เดือน
หัวหน้าโครงการ นายเอกสิทธิ์ สุโขธนัง
บริษัทที่ร่วมโครงการ บริษัท มานพ แมคคานิคอล แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
นวัตกรรมบ่อเลี้ยงกุ้งแบบหนาแน่นและปลอดเชื้อ เป็นระบบที่แก้ปัญหาให้กับธุรกิจประมงที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบน้ำมาโดยตลอด ดังนั้นโดยวิธีการเริ่มต้นเราต้องทำน้ำสะอาดโดยปราศจากเชื้อโรคก่อนแล้วมีการเติมออกซิเจนเข้าไปในน้ำโดยจบในระบบเดียวกันทั้งฆ่าเชื้อโรคแล้วให้ออกซิเจนในเวลาเดียวกัน เพื่อให้กุ้งเติบโตได้เร็ว ส่วนขั้นตอนต่อมาจัดทำเป็นระบบปิดให้มีการไหลเวียนของน้ำตลอดเวลา และจัดให้มีการเลี้ยงแยกตั้งแต่กุ้งอนุบาลไปจนถึงกุ้งใหญ่แต่จะเลี้ยงเป็นระบบวนลูปทั้งระบบเพื่อให้ได้กุ้งแต่ละช่วงเวลาที่มีความสมบูรณ์เต็มที่ โดยไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่มากแต่เน้นไปที่สามารถจับกุ้งขายได้ตลอดทุกเดือนมีรายได้ตลอด และลดความเสี่ยงในการที่จะเลี้ยงกุ้งกลางแจ้งซึ่งอาจเจอกับปัญหาหลายอย่างที่อาจมากับน้ำ หรือในอากาศก็ได้ ในระบบนี้เราสามารถนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยได้หลาย อาทิเช่น ระบบควบคุมอุณหภูมิน้ำในสภาวะที่ทำให้กุ้งโตได้ดีที่สุด, ควบคุมระบบฆ่าเชื้อและให้ออกซิเจนเพื่อให้กุ้งไม่ติดเชื้อและออกซิเจนไปเลี้ยงในพื้นที่อย่างเพียงพอ,ระบบจับกุ้งโดยอัตโนมัติหรือระบบให้อาหารกุ้งในแต่ช่วงอายุด้วยระบบอัตโนมัติ เป็นต้น ซึ่งเมื่อเทียบกับระบบดั้งเดิมที่มีความเสี่ยงสูงควบคุมอะไรไม่ได้ทำให้ขาดทุนได้ง่าย และเปลืองพื้นที่ในการใช้งาน ควบคุมระบบให้อาหารยากกว่า ทำให้สิ้นเปลืองเยอะแต่ให้ประสิทธิภาพต่ำ
โดยวิธีการเริ่มต้นเราต้องทำน้ำสะอาดโดยปราศจากเชื้อโรคก่อนแล้วมีการเติมออกซิเจนเข้าไปในน้ำฆ่าเชื้อโรคแล้วให้ออกซิเจนในเวลาเดียวกัน เพื่อให้กุ้งเติบโตได้เร็ว ส่วนขั้นตอนต่อมาจัดทำเป็นระบบปิดให้มีการไหลเวียนของน้ำตลอดเวลา และจัดให้มีการเลี้ยงแยกตั้งแต่กุ้งอนุบาลไปจนถึงกุ้งใหญ่แต่จะเลี้ยงเป็นระบบวนลูปทั้งระบบเพื่อให้ได้กุ้งแต่ละช่วงเวลาที่มีความสมบูรณ์เต็มที่ ในระบบนี้เราสามารถนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยได้หลากหลาย อาทิเช่น ระบบควบคุมอุณหภูมิน้ำในสภาวะที่ทำให้กุ้งโตได้ดีที่สุด, ควบคุมระบบฆ่าเชื้อและให้ออกซิเจนเพื่อให้กุ้งไม่ติดเชื้อและออกซิเจนไปเลี้ยงในพื้นที่อย่างเพียงพอ,ระบบจับกุ้งโดยอัตโนมัติหรือระบบให้อาหารกุ้งในแต่ช่วงอายุด้วยระบบอัตโนมัติ เป็นต้น
ผลงานเครื่องต้นแบบเชิงพาณิชย์พร้อมคุณลักษณะ
(1) ระบบโครงสร้างขนาดบ่อเลี้ยง คอนกรีต 3 ขั้นตอน
- ขั้นที่ 1 ขนาด 2x2x1 เมตร เลี้ยงกุ้งรุ่นหรือกุ้งอนุบาล 30 วัน
- ขั้นที่ 2 ขนาด 2x2x1.5 เมตร เลี้ยงกุ้งรุ่น 30 วัน
- ขั้นที่ 3 ขนาด 2x2x1.8 เมตร เลี้ยงกุ้งขุนพร้อมจับ 30 วัน
(2) ระบบการทำน้ำสะอาด
- ระบบสร้างโอโชน 10 กรัมต่อชั่วโมง จำนวน 2 ชุด
- มอเตอร์สร้างระบบการไหลสร้างน้ำสะอาดขนาด 5 HP
- ระบบ UV ขนาดความยาว 1.5 เมตร 130 วัตต์ จำนวน 4-8 หลอด (ขึ้นอยู่กับระยะส่งรอการคำนวณ)
- ระบบมอเตอร์ระบบการไหลเวียนของน้ำ 5 HP
- ระบบสร้างออกซิเจนสำหรับบ่อเลี้ยงจำนวน 3 ชุด (บ่อเลี้ยงละ 1 ชุด)
- ระบบกรองไขมัน โปรตีน สิ่งปฏิกูล จำนวน 3 ชุด (บ่อเลี้ยงละ 1 ชุด)
(3) ระบบบ่อพักน้ำและการเลี้ยงสาหร่าย
- บ่อคอนกรีต 6x0.5x1 เมตร
- ระบบกรอง และระบบฆ่าเชื้อด้วยจุลินทรีย์ จำนวน 1 ชุด
- ระบบการเลี้ยงสาหร่ายไส้ไก่ เพื่อสร้างระบบนิเวศในบ่อเพื่อย่อยสลายแอมโมเนียที่เกิดจากระบบการเลี้ยงกุ้งในบ่อ
ระบบปรับอากาศที่ใช้พลังงานจากความร้อนแสงอาทิตย์เป็นพลังงานหลัก
โครงการพัฒนาสร้างระบบปรับอากาศที่ใช้พลังงานจากความร้อนแสงอาทิตย์เป็นพลังงานหลัก
ดำเนินการโดย สถาบันไทย-เยอรมัน
ระยะเวลาของโครงการ12 เดือน
หัวหน้าโครงการ นายเอกสิทธิ์ สุโขธนัง
บริษัทที่ร่วมโครงการ บริษัท สยาม เอส แอนด์ เอ็นอี เอ็นจิเนิยริ่ง จำกัด
เครื่องต้นแบบเชิงพาณิชย์พร้อมคุณลักษณะ
- ระบบทำความเย็นเป็นชนิดดูดซึม (Absorption Refrigeration) โดยใช้ลิเธียมโบรไมด์–น้ำ เป็นสารทำความเย็น โดยมีค่า COP เท่ากับ 0.15-0.2.5 โดยประมาณขึ้นกับอุณหภูมิของ generator
- มีความสามารถทำความเย็นสูงสุดเท่ากับ 5-8 TR หรือ 1.5-2 kW-hr โดยประมาณ
- ใช้พลังงานความร้อนร่วมกับ LPG เป็นแหล่งพลังงานความร้อนสำรองในกรณีที่พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ไม่เพียงพอ
- ห้องปรับอากาศขนาด 2x2.4x4 เมตร
สร้างระบบปรับอากาศที่ใช้พลังงานจากความร้อนแสงอาทิตย์เป็นพลังงานหลักที่มีความสามารถ ในการทำความเย็น 10 TR โดยประมาณ หรือค่า COP ประมาณ 0.3-0.5 โดยประมาณ โดยใช้พลังงานความร้อนร่วมกับ LPG เป็นแหล่งพลังงานความร้อนสำรอง และพลังงานไฟฟ้าสำรองจากแผงโซล่าเซล โดยอุปกรณ์ต่างๆ อยู่บนฐานที่สามารถเคลื่อนที่เพื่อนำไปใช้งานในที่ต่างๆได้
หลักของระบบทำความเย็นแบบดูดซึม
ในการพัฒนาระบบทำความเย็นแบบดูดซึมในระยะแรกก่อนปี 1960 เป็นระบบดุดซึมแบบชั้นเดียว โดยใช้สารลิเธียมโบไมด์เป็นสารดูดซึมและใช้น้ำเป็นสารทำความเย็น ต่อมามีการพัฒนาประสิทธิภาพของระบบให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยการพัฒนาระบบดูดซึมแบบสองชั้น (Double Effect Absorption Chiller)
ภาพที่ 1 แสดง เครื่องทำความเย็นระบบดูดซึมแบบสองชั้นของ YORK
ภาพที่ 2 แสดงระบบทำความเย็นแบบดูดซึมพลังงานแสงอาทิตย์แบบใช้รางพาราโบลิก
ที่มา: ข้อเสนอโครงการพัฒนาสร้างระบบปรับอากาศที่ใช้พลังงานจากความร้อนแสงอาทิตย์เป็นพลังงานหลัก(สถาบันไทย-เยอรมัน)
เครื่องจ่ายวัคซีน
โครงการพัฒนาสร้างเครื่องจ่ายวัคซีน
ดำเนินการโดย สมาคมเครื่องจักรกลไทย
ระยะเวลาของโครงการ 10 เดือน
หัวหน้าโครงการ นายวุตตินันต์ พรหมมาศ
บริษัทที่ร่วมโครงการ บริษัท เจ.อาร์.แอล. สยาม จำกัด (จ.สมุทรปราการ)
เทคโนโลยีหลัก (Core Technology)
- ความแม่นยำในการจ่ายวัคซีน,ยา
- Intelligence Software Control
- โปรแกรมการควบคุมเวลาในการจ่ายวัคซีน,ยา
ขนาดและราคาจำหน่าย ของเครื่องจักร เครื่องมือ และ อุปกรณ์
-
ขนาดเล็ก: 20x20x150CM
ราคา จำหน่ายโดยประมาณ: 9,000 บาท
-
ขนาดใหญ่สุด: 40x40x200CM
ราคา จำหน่ายโดยประมาณ: 15,000 บาท
ภาพที่ 1 แสดง แผนผังแสดงการทำงานของเครื่องจ่ายวัคซีน
ที่มา: ข้อเสนอโครงการพัฒนาสร้างเครื่องจ่ายวัคซีน(สมาคมเครื่องจักรกลไทย)
ระบบชี้วัดการเจริญเติบโตของสัตว์ปีกในอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อไก่
โครงการพัฒนาสร้างระบบชี้วัดการเจริญเติบโตของสัตว์ปีกในอุตสาหกรรมการผลิตไก่เนื้อ
ดำเนินการโดย สมาคมเครื่องจักรกลไทย
ระยะเวลาของโครงการ 10 เดือน
หัวหน้าโครงการ นางสาวชญาภา กาญจนาการุณวงศ์
บริษัทที่ร่วมโครงการ บริษัท อกรินโนเวท จำกัด (จ. สมุทรปราการ)
เทคโนโลยีหลัก (Core Technology)
- โครงสร้างกระทัดรัด ง่ายต่อการติดตั้ง และมีกลไกรับน้ำหนักที่ช่วยลดอาการบาดเจ็บของไก่
- ระบบควบคุมซอฟต์แวร์อัจฉริยะ
- โปรแกรมการเก็บค่าน้ำหนักในแต่ละช่วงอายุของไก่
เป็นการพัฒนาสร้าง เครื่องมือ และอุปกรณ์ ขึ้นใหม่โดยกระบวนการวิศวกรรมย้อนรอย โดยศึกษาเครื่องต้นแบบ ยี่ห้อ Agrologic ของประเทศอิสราเอล
ขนาดและราคาจำหน่าย ของเครื่องจักร เครื่องมือ และ อุปกรณ์
-
ขนาดเล็ก: 30x30x200CM (2จุดวัด)
ราคาจำหน่ายโดยประมาณ: 15,000 บาท
-
ขนาดใหญ่สุด: 30x30x200CM (4จุดวัด)
ราคาจำหน่ายโดยประมาณ: 30,000 บาท
ภาพที่ 1 แสดง แผนผังแสดงการทำงานของระบบควบคุมระบบชี้วัดการเจริญเติบโตของสัตว์ปีกในอุตสาหกรรมการผลิตไก่เนื้อ
ที่มา: ข้อเสนอโครงการพัฒนาสร้างระบบชี้วัดการเจริญเติบโตของสัตว์ปีกในอุตสาหกรรมการผลิตไก่เนื้อ (สมาคมเครื่องจักรกลไทย)