สป.อว พร้อม MTEC ร่วมลงพื้นที่ติดตามโครงการสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า

อ, 18/06/2024 - 13:54 — admin2

เมื่อวันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม 2567 นำโดยนายจิรวัฒน์ วงษ์สมาน นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ ร่วมกับคณะกรรมการฯ ตรวจประเมินโครงการจำนวน 2 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการพัฒนาสร้างเครื่องผลิตสีน้ำขนาดเล็กกำลังการผลิต 250 ลิตรต่อชั่วโมง และโครงการพัฒนาสร้างเอไอแพลตฟอร์มสำหรับงานด้านเทคโนโลยีการผสมของเหลว โดยสมาคมเครื่องจักรกลไทย ซึ่งเป็นการพัฒนาผลงานร่วมกับ บริษัท มิสซิเบิล เทคโนโลยี จำกัด ในฐานะสถานประกอบการร่วมโครงการ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบและสร้างเครื่องผสมของเหลวในกลุ่มความหนืดสูง เช่น สี และกาว ซึ่งนอกจากกำลังของเครื่องผสมที่รองรับความหนืดได้อย่างดี โดยเครื่องผลิตสีน้ำขนาดเล็กกำลังการผลิต 250 ลิตรต่อชั่วโมง เป็นการออกแบบระบบการกวนที่สร้าง mixing condition จากการ flow ของส่วนผสมทั้ง 2 ส่วนที่ผู้พัฒนานำเทคโนโลยีการวิเคราะห์ flow analysis มาร่วมใช้กับกระบวนการออกแบบกลไกทางกล ช่วยให้การทำงานของถังกวนเป็นไปได้อย่างน่าพอใจ โดยระบบการทำงานของถังกวนที่ส่งมอบในโครงการ ประกอบด้วยชุดถังกวนจำนวน 3 ชุด ติดตั้งระบบแบบต่อเนื่องกัน ชุดแรกเป็นถังพัก มีระบบกวนเพื่อรักษาสภาพของของเหลวไม่ให้ตกตะกอนหรือนอนก้น ส่วนถังที่ 2 เป็นถังผสมหลัก ติดตั้งระบบใบกวนให้มีความเหมาะสมต่อการทำงาน และมีการควบคุมอัตราการผสมต่าง ๆ ในถังผสมหลักนี้ และถังที่ 3 เป็นถังพักของเหลวที่ผสมเสร็จแล้ว ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมต่อการนำไปใช้งานในขั้นตอนต่อไป จากผลการออกแบบที่เพียงพอต่อการใช้งาน ด้วยการทดสอบการกวนด้วยน้ำและการจำลองการผสมที่ batch ขนาดประมาณ 250 ลิตร ที่ปริมาตรของภาชนะ 1 ลูกบาศก์เมตร พบว่าได้ผลที่ดีที่สุด

โครงการพัฒนาสร้างเอไอแพลตฟอร์มสำหรับงานด้านเทคโนโลยีการผสมของเหลว เป็นการทำงานที่เชื่อมโยงกันกับผลงานเครื่องผลิตสีน้ำขนาดเล็กกำลังการผลิต 250 ลิตรต่อชั่วโมง โดยกระบวนการออกแบบเอไอแพลตฟอร์ม เป็นการพัฒนาขึ้นจากประสบการณ์ของสถานประกอบการที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและคำนึงถึงความต้องการของลูกค้า เมื่อต้องการใช้งานเครื่องมือสำหรับการกวนของเหลวที่จำเป็นต้องวิเคราะห์การไหลของของเหลวที่จะผสม การกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ผ่าน platform ที่มี user interface เพื่อช่วยให้การระบุเงื่อนไขต่าง ๆ ได้ครบถ้วน ทั้งปริมาณ และคุณลักษณะต่าง ๆ การสร้าง mesh สำหรับกระบวนการจำลองการไหล การเลือกใช้ software การจำลองและประมวลผลที่อยู่เบื้องหลังของระบบเอไอที่นำเสนอ พร้อมด้วยผลการศึกษาและวิเคราะห์ที่มีมาก่อนของสถานประกอบการเอง ซึ่งมีส่วนในการตรวจสอบความถูกต้องจากผลการคำนวณทุกครั้ง เพื่อให้ได้ผสลัพธ์ที่ถูกต้องและแม่นยำแก่ลูกค้า เป็นส่วนสำคัญและช่วยให้รูปแบบการนำเสนอข้อมูลไปขยายผลต่อไป และสอดคล้องกับแนวทางของสถานประกอบการที่ต้องการขยายผลให้มากที่สุด เพื่อรองรับการขยายตัวทางธุรกิจของภาคการผลิตเครื่องจักรสำหรับด้านการผสมของเหลวต่อไปในอนาคต

วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม 2567 นายจิรวัฒน์ วงษ์สมาน ร่วมกับคณะผู้แทนจาก MTEC ลงพื้นที่ตรวจติดตามการใช้งานรถตักขนย้ายทะลายปาล์ม ณ สหกรณ์นิคมอ่าวลึก จังหวัดกระบี่ โดยเป็นเครื่องจักรที่มีการออกแบบและพัฒนาจากทีมวิจัยงานพัฒนาเครื่องจักรกล ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ซึ่งมอบให้สหกรณ์นิคมอ่าวลึกนำไปใช้งานเพื่อขยายผลในพื้นที่ปฏิบัติงานของสหกรณ์ ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2560 พบว่าเครื่องจักรสามารถใช้งานได้ปกติ ด้วยจุดเด่นเครื่อง คือมีสมรรถนะและความคล่องตัวในการใช้งานจากการเลือกใช้ platform สำหรับรถตักขนาดเล็ก ที่ผ่านการปรับแต่งด้วยการติดตั้งช่วงยืดให้กับแขนตัก หรือ front loader ส่วนหน้า เพื่อยืดออกไปได้ไกลสุดที่ระยะ 4.5 เมตร โดยมีวัตถุประสงค์ในการนำไปทำกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ ยก/เททะลายปาล์ม ทะลายเปล่า หรือใช้ขนย้ายวัตถุอื่น ๆ ที่ระยะเอื้อมได้สูงเป็นพิเศษ ทั้งนี้จากผลการติดตามงานพบว่าได้รับความพึงพอใจแก่ผู้ใช้งานเป็นอย่างดี

วันอังคารที่ 4 มิถุนายน 2567 คณะผู้แทนจาก สป.อว. นำโดย ดร. ชาญวิทย์ ตรีเดช ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ผธท.) ดร.สมบัติ สมศักดิ์ และนายจิรวัฒน์ วงษ์สมาน นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ พร้อมนายธนาภรณ์ โกราษฎร์ วิศวกรอาวุโส ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ พร้อมด้วยคณะทำงานในโครงการสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า เยี่ยมชมกระบวนการผลิตปลอกกระสุนและเครื่องกระสุน ณ บริษัท เนแรค อาร์มส อินดัสตรี จำกัด อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี โดยเข้าพบผู้บริหารและคณะผู้แทนบริษัทฯ ให้การต้อนรับและนำเสนอกระบวนการทำงานและการผลิตผลงานด้านยุทธภัณฑ์ของบริษัทฯ ซึ่งเทคโนโลยีการผลิตเครื่องกระสุน เน้นไปที่กระบวนการขึ้นรูปปลอกกระสุนที่ผลิตจากทองเหลือง การประกอบเข้ากับส่วนประกอบต่าง ๆ พร้อมชมการสาธิตการทำงานของกระสุนปืนที่ผ่านการผลิตของบริษัทฯ จากการเยี่ยมชมในครั้งนี้เป็นไปตามการเชิญของผู้แทนบริษัทฯ เพื่อต้องการนำเสนอเทคโนโลยีด้านการป้องกันประเทศ สู่การสร้างโอกาสการขยายความร่วมมือพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตตามแนวทางการดำเนินงานของกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โครงการสร้างเครื่องจักรด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่าต่อไป

 

วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน 2567 ผู้แทนคณะทำงานในโครงการสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า ร่วมกับคณะกรรมการ ผู้แทนจาก MTEC ลงพื้นที่ตรวจประเมินผลงานโครงการพัฒนาสร้าง ABOT หุ่นยนต์เก็บเกี่ยวพืชไร่ ณ บริษัท ที.ซี.เวลดิ้ง ออโตเมชั่น จำกัด อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โดยมีผู้แทนจากสมาคมเครื่องจักรกลไทยนำคณะกรรมการเยี่ยมชมการทดสอบการทำงานของผลงานดังกล่าว ด้วยการเดินระบบเครื่องบนแปลงข้าวโพดสาธิต ขนาดพื้นที่ประมาณ 20 ตารางเมตร ผลงานดังกล่าวถูกออกแบบให้ขับเคลื่อนด้วยต้นกำลังจากมอเตอร์ไฟฟ้า ด้วยแนวคิดการลดการใช้พลังงานจากเครื่องยนต์แบบเดิม การทำงานเดินและหนีบต้นข้าวโพดให้ล้มเพื่อรีดเอาฝักข้าวโพดออกจากลำต้นด้วยระบบเฟืองรีดบดไปยังลำต้นให้ฝักหลุดและตกลงบนสายพาน จากนั้นข้าวโพดถูกลำเลียงเพื่อส่งต่อเข้าสู่ท้ายกระบะเพื่อรวบรวมวัตถุดิบต่อไป การทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้ามีทั้งหมด 9 ตัว แบ่งเป็น 2 ตัวเพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนควบคุมล้อสายพานทั้ง 2 ด้าน อีก 6 ตัวมีการทำงานเป็น 3 ชุด เพื่อรีดลำต้นเข้าสู่การบดและเพื่อการขับสายพานลำเลียง และส่วนมอเตอร์สุดท้ายทำหน้าที่บีบอัดลำต้นเพื่อให้ฝักข้าวโพดร่องออก

 

และวันพุธที่ 12 มิถุนายน 2567 ผู้แทนคณะทำงานในโครงการสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า ร่วมกับคณะกรรมการ ผู้แทนจาก MTEC ลงพื้นที่ตรวจประเมินโครงการพัฒนาสร้างเครื่องกัดและเจาะ EDM แบบ 5 แกน ณ บริษัท แคดแคม (ประเทศไทย) จำกัด ถนนพระรามที่ 2  โดยมีผู้แทนจากสมาคมเครื่องจักรกลไทยนำคณะกรรมการเยี่ยมชมการทดสอบการทำงานของผลงานดังกล่าวที่มีระบบ 5 แกน เป็นการนำฐานเครื่องกัดเจาะ 3 แกนที่มีอยู่เดิมและเสื่อมสภาพแล้วมาสู่กระบวนการพัฒนาเพิ่มเติม (retrofit) เพื่อคืนสภาพให้การขับเคลื่อนของเครื่องจักรสามารถใช้ทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือการคืนสภาพของเครื่องจักรเป็นการเปลี่ยนชุด motor ขับเคลื่อนใหม่ทั้งหมด ทั้งระบบไฟฟ้า และ PLC controller ชุดใหม่ให้รองรับการควบคุม coordinate ต่าง ๆ พร้อมติดตั้งแกน A และ B เพิ่มเติมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถมากขึ้นเป็นจำนวน 5 แกน โดยเครื่องมือเดิมเป็นหัวกัด milling/drilling พื้นฐาน ถูกพัฒนาปรับให้มีการทำงานร่วมกันของระบบเจาะ 2 แบบ ทั้ง drilling m/c แบบเดิม และ EDM drilling tool ที่สามารถทำงานได้มากกว่าข้อจำกัดในระบบ drill แบบพื้นฐาน ทั้งนี้ผู้พัฒนามีความเชี่ยวชาญด้านระบบ CNC 5-6 แกน ร่วมกับการพัฒนา software สำหรับกระบวนการออกแบบแม่พิมพ์อยู่แล้ว จึงเป็นการพัฒนาผลงานที่อยู่บนพื้นฐาน retrofitting และ reverse engineering ได้อย่างเหมาะสม และคาดว่าจะสามารถขยายผลไปสู่เชิงพาณิชย์ได้ต่อไป

 

 

 

วันที่กิจกรรม: 
Wed, 26/06/2024 - 17:00
ภาพประกอบ: 
สป.อว พร้อม MTEC ร่วมลงพื้นที่ติดตามโครงการสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า