เครื่องขอดเกล็ดปลาแป๊ะกัง RID63
จจุบันประเทศไทยได้มีการทำประมงอย่างแพร่หลายขยายมูลค่าจากธุรกิจในระดับครัวเรือนหรือธุรกิจขนาดเล็กเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ของจังหวัดสมุทรสงคราม ถูกส่งจำหน่ายไปยังตลาดแห่งใหญ่ๆ รวมทั้งมีการรับซื้อจากแหล่งท่าเรือประมงเพื่อนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าและนำไปขายตามเว็บไซต์ออนไลน์เป็นธุรกิจออนไลน์ที่ปัจจุบันคนนิยมทำกันเป็นอย่างมาก แหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทยบางจังหวัดทำเป็นผลิตภัณฑ์ของฝากจากต่างจังหวัดซึ่งทำให้ราคานั้นเพิ่มขึ้นไปอีกเท่าตัวหนึ่ง ส่วนใหญ่ผู้คนจะไม่ค่อยซื้อบริโภคปลาแป๊ะกังในรูปแบบสดเพราะเก็บรักษาได้ไม่นานปลาก็จะเน่าเสีย ซึ่งการเก็บรักษานั้นทำด้วยการนำล้างทำความสะอาดและต้องแช่เย็นทันทีและมีระยะเวลาการเก็บรักษาได้ไม่นาน ท่าเรือประมงบางแหล่งมีการติดต่อรับซื้อจากโรงงานทำน้ำปลาเป็นจำนวนหลายตันในช่วงฤดูที่ปลาชุกชุม เพื่อนำไปตุนกักเก็บไว้ทำเป็นผลิตภัณฑ์ เพราะปลาแป๊ะกังนั้นสามารถดองเค็มถูกแปรรูปไปเป็นผลิตภัณฑ์น้ำปลาได้แต่ต้องใช้ระยะเวลาดองเค็มเป็นปีๆ สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการแปรรูปอาหารก็คือการยกระดับมาตรฐานการผลิตและการควบคุมกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพปลอดภัยต่อผู้บริโภค รวมทั้งการเพิ่มปริมาณการผลิตให้พอเพียงต่อความต้องการ ชาวบ้านในพื้นที่ดอนหอยหลอดที่ทำประมงส่วนใหญ่มีปัญหาการใช้แรงงานคนในการขอดเกล็ดปลา เนื่องจากปลาแป๊ะกังเป็นปลาเนื้ออ่อนนิ่มและเกล็ดอ่อน ทำให้ต้องขอดเกล็ดปลาออกด้วยมือเท่านั้น และยังไม่มีเครื่องจักรในการขอดเกล็ดปลาออก (ในท้องตลาดมีแต่เครื่องขอดเกล็ดปลาเนื้อแข็ง เช่น ปลานิล ปลาช่อน เป็นต้น เท่านั้น) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจึงมีความคิดอยากได้เครื่องขอดเกล็ดปลาแป๊ะกังที่อำนวยความสะดวกในการผลิตได้อย่างรวดเร็ว