ก.วิทย์ ร่วมกับ ม.เกษตร ยก ‘หุ่นยนต์ล้างโซล่าเซลล์’ แถลงข่าวความสำเร็จโครงการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า

พฤ, 08/02/2018 - 10:25 — admin5

สส ๑๘๐๑๒๕ 0024 0

         เมื่อเวลา 09.00 น. (วันที่ 25 มกราคม 2561) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดแถลงข่าวความสำเร็จการพัฒนาเครื่องจักรต้นแบบภายใต้โครงการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า กับระบบล้างแผงเซลล์แสงอาทิตย์ (Automatic Cleaning System for Solar Panel) หรือหุ่นยนต์ที่จะช่วยทำความสะอาดแผงเซลล์แสงอาทิตย์ และลดการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ รวมถึงจะช่วยแก้ไขปัญหาด้านแรงงานในประเทศ โดยงานแถลงข่าวในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นางวนิดา บุญนาคค้า ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี และนายธนาภรณ์ โกราษฎร์ วิศวกรอาวุโส ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ร่วมแถลงข่าวเสวนา พร้อมด้วย ดร.วรพงษ์ สว่างศรี อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ดร.ไพรีพินาศ พิมพิสาร อาจารย์พิเศษ คณะพาณิชยนาวีนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ อาคาร 5 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

สส ๑๘๐๑๒๕ 0024 0

สส ๑๘๐๑๒๕ 0024 0สส ๑๘๐๑๒๕ 0024 0

          นางวนิดา บุญนาคค้า ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี กล่าวถึงความเป็นมาว่า โครงการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า เป็นการใช้กระบวนการทางวิศวกรรมเข้ามาช่วยพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ โดยมีภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัย มารวมกันพัฒนาไอเดีย ดึงจากต้นแบบหลายๆที่ มาถอดแบบและพัฒนาทำเป็นเครื่องจักรหนึ่งเดียวในโลก โดยทุนสนับสนุนของโครงการ

          "ต้องบอกว่าหุ่นยนต์ล้างแผงเซลล์แสงอาทิตย์ เราไปเห็นงานที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเขาพัฒนามาหลายเวอร์ชั่น ทำเหมือนเครื่องดูดฝุ่นที่สามารถวิ่งล้างแผงเซลล์แสงอาทิตย์ได้โดยไม่ต้องกำหนดทิศทางและไม่ใช้น้ำ เลยคิดว่าเราน่าจะเอาแบบตัวนี้มาพัฒนา เพราะบ้านเราแผงเซลล์แสงอาทิตย์จะเป็นคำตอบของพลังงานในอนาคต”

สส ๑๘๐๑๒๕ 0024 0 สส ๑๘๐๑๒๕ 0024 0สส ๑๘๐๑๒๕ 0024 0

          หลักการทำงานของหุ่นยนต์ทำความสะอาดแผงเซลล์แสงอาทิตย์เป็นในลักษณะ Centralized Control ซึ่งใช้ ไมโครคอนโทรลเลอร์เป็นหลัก โดยจะติดตั้งบนแผงวงจรรวมเพื่อง่ายต่อการติดตั้ง อุปกรณ์ทั้งหมดมีรายละเอียดดังนี้ 

           - แผงวงจรขับกระแสมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง ใช้ควบคุมทิศทางและความเร็วการหมุนของมอเตอร์สองล้อ ด้านหน้า โดยแผงวงจรหนึ่งชุดสามารถขับมอเตอร์หนึ่งตัว หลักการควบคุมความเร็วการหมุนจะใช้ระบบ ควบคุมแบบวงจรปิด (Closed loop system) เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถเคลื่อนให้มีความเร็วคงที่ แม้ว่า แผงเซลล์แสงอาทิตย์จะมีความลาดเอียง

           - เซนเซอร์ตรวจจับวัตถุแบบอินฟาเรดใช้ตรวจหาขอบของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ เพื่อป้องกันหุ่นยนต์ ร่วงหล่น

           - มอเตอร์แปรงทำความสะอาด สามารถปรับความเร็วแปรงหมุนได้ ในกรณีที่ยก/เคลื่อนย้ายหุ่นยนต์หรือ ในขณะบังคับเลี้ยว  

          โครงสร้างภายในและส่วนประกอบของระบบทำความสะอาดแผงเซลล์แสงอาทิตย์อัตโนมัติ เป็นชิ้นส่วน มาตรฐานที่สามารถหาซื้อได้ง่ายในประเทศไทย ทำให้ระบบทำความสะอาดแผงเซลล์แสงอาทิตย์อัตโนมัติที่ออกแบบ สามารถสร้างและซ่อมบำรุงได้ง่าย นอกจากนั้นฝาครอบระบบทำความสะอาดแผงเซลล์แสงอาทิตย์อัตโนมัติยังมีที่จับ เพื่อให้สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกยิ่งขึ้น

วันที่กิจกรรม: 
Fri, 02/02/2018 - 17:00
ภาพประกอบ: 
ก.วิทย์ ร่วมกับ ม.เกษตร ยก ‘หุ่นยนต์ล้างโซล่าเซลล์’ แถลงข่าวความสำเร็จโครงการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า