อาหารแปรรูป

อาหารแปรรูป

ชุดอุปกรณ์สนับสนุนการแปรรูปมังคุดและผลิตผลทางการเกษตร (VCE66)

อ, 26/09/2023 - 11:12 — admin3
รายละเอียด: 

ผู้พัฒนา
พรีเมี่ยม โรโบติก จำกัด
ที่อยู่ 4/14 แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร

งบปี พ.ศ.: 
2566
    แคตตาล็อกเทคโนโลยี
    ระดับ: 
    ต้นแบบเชิงพาณิชย์ / อุตสาหกรรม
    กลุ่มเป้าหมาย: 
    ภาคอุตสาหกรรม
    ราคาเครื่องจักร: 
    890000
    ภาพหน้าปก: 

    เครื่องขัดเปลือกมะนาวสำหรับดอง

    ศ, 25/11/2022 - 13:56 — admin5
    รายละเอียด: 

    ผู้พัฒนา รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ1 วิทยาลัยการอาชีพศรีสะเกษ

    อาจารย์ที่ปรึกษา นายชัยวัตร ชาติมนตรี นายไพบูลย์ มีศิลป์ นายธิติวัฒน์ กุลพิชัยจิราวุฒิ ว่าที่ ร.อ.รุ่งสว่าง บุญหนา นายสายันต์ กุลรัตน์ นางสาววาสนา ยานารมย์

    นักศึกษา นายบุญเลิศ ปัดชา นายพัชรกร ภานุวงศ์ นายศักดิ์สิทธิ์ ศรีโอสถ นายบุญเฉลิม คะติ นายสิทธิเดช ภักภูมิล นายจักรพงษ์ สว่างโสดา

    งบปี พ.ศ.: 
    2565
      แคตตาล็อกเทคโนโลยี
      ภาพหน้าปก: 

      เครื่องห่อขนมจีบกึ่งอัตโนมัติ

      ศ, 11/11/2022 - 10:41 — admin5
      รายละเอียด: 

      ผู้พัฒนา บริษัท เอ็นซี เบเกอรี่ อีควิปเมนท์ จำกัด

      78 ถนนร่มเกล้า1 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง 

      งบปี พ.ศ.: 
      2565
        แคตตาล็อกเทคโนโลยี
        ภาพหน้าปก: 

        เครื่องฉีดไส้อเนกประสงค์ NC Smart รุ่น Pro

        พฤ, 10/11/2022 - 11:14 — admin5
        รายละเอียด: 

        ผู้พัฒนา บริษัท เอ็นซี เบเกอรี่ อีควิปเมนท์ จำกัด

        78 ถ.ร่มเกล้า1 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง

        งบปี พ.ศ.: 
        2564
          แคตตาล็อกเทคโนโลยี
          ภาพหน้าปก: 

          เครื่องคั้นและบรรจุน้ำบูดูกึ่งอัตโนมัติ(RID64)

          พฤ, 08/04/2021 - 15:49 — bunsita
          รายละเอียด: 

                         ผลิตภัณฑ์น้ำบูดู ถือได้ว่าเป็นอาหารพื้นเมืองที่ได้รับความนิยมในภาคใต้ ซึ่งน้ำบูดูได้มาจากการหมักปลาทะเลกับเกลือ เช่นเดียวกับการหมักน้ำปลาโดยอาศัยเอนไซม์และจุลินทรีย์จากปลาที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ โดยใช้เวลาในการหมัก 8-15 เดือน การผลิตบูดูและการรับประทานบูดูก็กลายเป็นวิถีวัฒนธรรมของคนภาคใต้ น้ำบูดูถือได้ว่าเป็นวัฒนธรรมด้านอาหารของคนภาคใต้ ได้รับความนิยมในการรับประทานเป็นอย่างแพร่หลาย ซึ่งน้ำบูดูเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถหาซื้อได้ง่าย มีรสชาติดีและคุณค่าทางโภชนาการสูง วิสาหกิจชุมชนกลุ่มน้ำบูดูบ้านบือราเป๊ะ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ได้ประกอบกิจการผลิตน้ำบูดูโดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการหมักจนถึงการบรรจุและจำหน่าย

          ในปัจจุบันทางวิสาหกิจชุมชนกลุ่มน้ำบูดูบ้านบือราเป๊ะ ได้ใช้เครื่องมือการคั้นกากน้ำบูดูและการบรรจุน้ำบูดูในบรรจุภัณฑ์ด้วยเครื่องมือพื้นฐาน เช่น เครื่องบีบคั้นกากน้ำบูดูแบบมือหมุนอัด การบรรจุน้ำบูดูในขวดและในถุงพลาสติกด้วยกรวยบรรจุแบบพลาสติก ในการบวนการคั้นและบรรจุน้ำบูดูเพื่อให้หลักสุขอนามัยและให้ถูกต้องตามหลักสาธารณสุขนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีเครื่องบีบคั้นน้ำบูดูและเครื่องบรรจุน้ำบูดูเป็นระบบปิด ทั้งนี้เพื่อเป็นกระบวนการเข้าสู่การรับรองเครื่องหมายอาหารและยา ตลอดจนเครื่องหมายฮาลาล

          ในขั้นตอนการบีบคั้นและการกรองน้ำบูดูแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นแบบเปิดนั้นมีโอกาสทำให้สิ่งปนเปื้อนสามารถปนและผสมกับน้ำบูดูได้ และกระบวนการบรรจุใส่ขวดและการบรรจุใส่ถุงพลาสติกแบบเปิดก็สามารถทำให้สิ่งปนเปื้อนเข่าได้เช่นกัน สำหรับสมาชิกผู้ปฏิบัติงานในขั้นตอนดังกล่าว หากทำงานเป็นเวลานานก็ก่อให้เกิดความความเหนื่อยล้าได้ เนื่องจากขั้นตอนและกิจกรรมการดำเนินงานยังไม่ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ ซึ่งทางกลุ่มพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการผลิตระดับชุมชน มีความเห็นว่าต้องมีการพัฒนาการดำเนินกิจกรรมในรูปแบบเครื่องจักรแทนที่แรงคน ทั้งนี้เพื่อความสะอาดถูกหลักสุขอนามัยและความรวดเร็วในการบวนการผลิต จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีเครื่องคั้นและบรรจุน้ำบูดูกึ่งอัตโนมัติเข้ามาสนับสนุนกลุ่มดังกล่าว เนื่องจากว่าในบางกิจกรรมสมาชิกไม่สามารถใช้กำลังกายเป็นระยะเวลานานได้ ดังนั้นกลุ่มน้ำบูดูบ้านบือราเป๊ะ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการนำเครื่องจักรมาแทนที่แรงงานคน ทั้งนี้เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตและคุณภาพ หรือลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นออก ทั้งนี้เพื่อให้สมาชิกของกลุ่มสามารถไปดำเนินกิจกรรมอื่นได้

          อีกทั้งเป็นการเพิ่มองค์ความรู้ด้านการออกแบบและด้านการผลิตสำหรับกลุ่มพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการผลิตระดับชุมชน ดังได้กล่าวมานั้น ผู้เสนอโครงการจึงมีแนวคิดในการแก้ปัญหาและเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิตให้กับกลุ่มดังกล่าว เพื่อสร้างความมั่นคงให้ผู้ผลิตและสร้างคุณภาพชีวิตให้ผู้บริโภค ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของจังหวัดและประเทศในภาพรวม

           

           

          งบปี พ.ศ.: 
          2564
          ภาพประกอบ: 
          เครื่องคั้นและบรรจุน้ำบูดูกึ่งอัตโนมัติ(RID64)
            แคตตาล็อกเทคโนโลยี
            ระดับ: 
            ต้นแบบเชิงพาณิชย์ / อุตสาหกรรม
            กลุ่มเป้าหมาย: 
            วิสาหกิจชุมชน
            ภาพหน้าปก: 

            เครื่องผลิตซอสพริกระบบตัวกลางส่งผ่านความร้อน(RID64)

            พฤ, 08/04/2021 - 14:24 — bunsita
            รายละเอียด: 

            พริกเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญและเป็นรายได้หลักของเกษตรกรในพื้นที่ อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ มีพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 1,500 ไร่ มีเกษตรกรที่เพาะปลูกพริกจำนวน 485 ราย มีผลผลิตเฉลี่ย 3,800 กิโลกรัม/ไร่ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 23,000 บาท/ไร่ ซึ่งเกษตรกรที่ปลูกพริกจะประสบปัญหาโรคและแมลง และปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ เนื่องจากมีปริมาณพริกในฤดูกาลผลิตออกสู่ตลาดในปริมาณมาก พ่อค้าคนกลาง เป็นผู้กำหนดราคาซื้อ ซึ่งทำให้เกษตรกรต้องขายในราคาที่ต่ำกว่าทุน จึงจำเป็นต้องเพิ่มศักยภาพของกลุ่มเกษตรกร ผู้ปลูกพริก ให้มีความสามารถในการผลิตและความสามารถในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น เพื่อทางกลุ่มสมาชิกสามารถเก็บไว้ขายในช่วงฤดูกาลที่มีพริกสดออกสู่ตลาดปริมาณน้อย ความต้องการบริโภคพริกในประเทศยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง เมื่อมีปริมาณพริกในตลาดลดลง ราคาพริกก็จะสูงขึ้น เกษตรกรจึงได้รวมกลุ่มกัน ภายใต้การส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ และจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหนองม่วงไข่ เพื่อร่วมกันพัฒนากลุ่มองค์กรเกษตรกรผู้ปลูกพริกและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การแปรรูปพริก เพื่อสร้างรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรกร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

            แต่ในปัจจุบันทางกลุ่มสามารถผลิตพริกแปรรูปได้แก่ พริกดอง น้ำจิ้มไก่ น้ำพริกตาแดง ซอสพริก  เป็นต้น แต่ในกระบวนการผลิตใช้หลักภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่มีกำลังผลิตที่ไม่มาก ซึ่งเหล่ากระบวนการผลิตถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น เช่น การต้ม ลวก นึ่ง ตากแห้ง การรมควันไฟ เป็นต้น ซึ่งปัจุจับันทางกลุ่มมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องจักรในกระบวนการผลิต เพื่อช่วยอำนวยความสะดวก แก้ไขปัญหาด้านกำลังผลิต และปัญหาการขาดแรงงาน หากทางกลุ่มได้รับการสนับสนุนด้านเทคโนโลยี และการสนับสนุนด้านเครื่องจักร อุปกรณ์ก็จะสามารถทำให้กลุ่มสมาชิกมีรายได้หล่อเลี้ยงครอบครัว และพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกกลุ่มเกษตรในพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้

            งบปี พ.ศ.: 
            2564
            ภาพประกอบ: 
            เครื่องผลิตซอสพริกระบบตัวกลางส่งผ่านความร้อน(RID64)
            เครื่องผลิตซอสพริกระบบตัวกลางส่งผ่านความร้อน(RID64)
              แคตตาล็อกเทคโนโลยี
              ระดับ: 
              ต้นแบบเชิงพาณิชย์ / อุตสาหกรรม
              กลุ่มเป้าหมาย: 
              วิสาหกิจชุมชน
              ภาพหน้าปก: 

              เครื่องทำปลาส้มชนิดแผ่นกลมกึ่งอัตโนมัติ(RID64)

              พฤ, 08/04/2021 - 13:38 — bunsita
              รายละเอียด: 

              วิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาบ้านห้วยบง จดจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2549  รหัสทะเบียน 4-39-03-06/1-0007 มีจำนวนสมาชิก 20 คน ทำการแปรรูปปลาส้ม และปลาส้มชนิดแผ่นกลม โดยมีกำลังการผลิตปลาส้ม 100 กิโลกรัมต่อวัน ราคาขาย 120 บาท ต่อกิโลกรัม รายได้ขายปลาส้ม  360,000บาทต่อเดือน และปลาส้มชนิดแผ่นกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง ขนาด 60 มม. ความหนา 10 มม. จำนวน 300 กิโลกรัมต่อวัน ราคาขาย 120 บาทต่อกิโลกรัม รายได้ขายปลาส้มชนิดแผ่นกลม 1,080,000 บาทต่อเดือน ส้มไข่ปลา จำนวน 60 กิโลกรัมต่อวัน ราคาขาย 120 บาทต่อกิโลกรัม รายได้ขายส้มไข่ปลา 216,000 บาทต่อเดือน ส้มขี้ปลา จำนวน 60 กิโลกรัมต่อวัน ราคาขาย 40 บาทต่อกิโลกรัม รายได้ขายส้มขี้ปลา 72,000 บาทต่อเดือน   ยอดจำน่ายผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาบ้านห้วยบง 1,728,000 บาทต่อเดือน จากการลงพื้นที่วันที่ 1 ธันวาคม 2563 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลาบ้านห้วยบง มีความต้องการในการเพิ่มกำลังการผลิตปลาส้มชนิดแผ่นกลม และ พัฒนากระบวนการผลิตปลาส้มชนิดแผ่นกลมให้มีมาตรฐานให้มากขึ้น ปัญหาในกระบวนการผลิตปลาส้มชนิดแผ่นกลม ในกระบวนการปั้นปลาส้มชนิดแผ่นกลมด้วยมือ กำลังการผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของลูกค้า อีกทั้งกระบวนการผลิตยังใช้มือในการทำแผ่นกลมทำใช้กระบวนการผลิตไม่ได้มาตรฐาน รวมถึงมีการทางกลุ่มมีความต้องการเพิ่มกำลังการผลิตให้เพียงพอ ดังนั้นทีมนักวิจัยจึงมีแนวคิดในการออกแบบและพัฒนาเครื่องทำปลาส้มชนิดแผ่นกลมกึ่งอัตโนมัติ โดยเครื่องจักรที่ได้ออกแบบและพัฒนาช่วยในกระบวนการผลิตสามารถทำปลาส้มชนิดแผ่นกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง ขนาด 60 มม. ความหนา 10 มม. ได้จากเดิม 300 กิโลกรัมต่อวัน เป็น 600 กิโลกรัมต่อวัน สามารถเพิ่มกำลังกระบวนการผลิตปลาส้มชนิดแผ่นกลมให้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ลดจำนวนพนักงานในกระบวนการปั้นปลาส้มแผ่นด้วยมือจาก 3 คน เหลือ 1 คน ปรับเปลี่ยนจากการปั้นแผ่นกลมด้วยมือมาเป็นเครื่องจักรทำให้กระบวนการมีมาตรฐานมากขึ้น เป็นการพัฒนาเทคโนโลยีและสร้างเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ ในภาคการผลิตระดับชุมชนให้มีสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งานหรือผู้ประกอบการในระดับชุมชน

               

              งบปี พ.ศ.: 
              2564
              ภาพประกอบ: 
              เครื่องทำปลาส้มชนิดแผ่นกลมกึ่งอัตโนมัติ(RID64)
                แคตตาล็อกเทคโนโลยี
                ระดับ: 
                ต้นแบบเชิงพาณิชย์ / อุตสาหกรรม
                กลุ่มเป้าหมาย: 
                วิสาหกิจชุมชน
                ภาพหน้าปก: 

                ตู้อบและรมควันปลาเม็งระบบอัตโนมัติ(RID64)

                พฤ, 08/04/2021 - 11:39 — bunsita
                รายละเอียด: 

                “ปลาเม็ง” ภาคกลางเรียกว่า ปลาจีด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Heteropneustes fossilis (Bloch) เป็นปลาน้ำจืดที่ชนิดไม่มีเกล็ด ลำตัวมีสีดำ คล้ายกับปลาดุก แต่จะแตกต่างกันตรงที่ความยาวของฐานครีบหลังปลาเม็งเป็นปลาที่มี อวัยวะพิเศษสำหรับช่วยในการหายใจ จึงสามารถอาศัยในแหล่งน้ำที่มีออกซิเจนต่ำ ขนาดที่พบโดยทั่วไปจะมีความยาว ประมาณ 20 เซนติเมตร และมีรายงานว่าเคยพบขนาดความยาวสูงสุดถึง 30 เซนติเมตร เป็นปลาที่ค่อนข้างหายากและมีแนวโน้มที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์  มีการแพร่กระจายและถิ่นที่อยู่อาศัยตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ทั่วไป ในประเทศอินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย และอินโดจีน ในปัจจุบันเฉพาะภาคใต้พบมากที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปลาเม็งจัดเป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งและถือเป็นปลาประจำท้องถิ่นของจังหวัดสุราษฎร์ธานี  ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยเฉพาะในอำเภอบ้านนาเดิม บ้านนาสาร พระแสงและเคียนซา นิยมเลี้ยงกันมากในพื้นที่ริมแม่น้ำตาปีและร่องปาล์มน้ำมัน ปลาเม็งนับวันจะหายากหรือมีปริมาณลดน้อยถอยลง เพราะปลาที่เลี้ยงนั้น ส่วนมากจะได้ลูกพันธุ์ปลาเม็งจากแหล่งน้ำธรรมชาติ แต่แหล่งน้ำธรรมชาติอันเป็นที่ อยู่อาศัยของสัตว์น้ำต่างๆ ก็เสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ ในปัจจุบัน ปลาเม็งในแหล่งน้ำธรรมชาติได้ถูกจับด้วยวิธีทำการประมงต่าง ๆ เพื่อสนองต่อความต้องการ ของตลาด ร้านอาหารและโรงแรมต่างๆ เป็นผลทำให้ปลาเม็งในแหล่งน้ำธรรมชาติลดจำนวนอย่างรวดเร็ว

                เพราะปลาเม็งเป็นปลาที่มีรสชาติดี มีลักษณะเฉพาะที่มีเนื้อเหนียวเป็นเส้น ไม่เปื่อยยุ่ย และมีรสชาติหอมหวาน ทำให้ปัจจุบันเป็นที่ต้องการของตลาดนักกินเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะยำปลาเม็ง และต้มโคล้งปลาเม็ง อาหารขึ้นชื่อของ จ.สุราษฎร์ธานี โดยราคาปลาเม็งสดมีราคา กิโลกรัมละ 400-600  บาท และหากแปรรูปเป็นปลาเม็งตากแห้ง ปลารมควันจะทำให้ มีราคาประมาณ 2,400-3,500 บาทต่อกิโลกรัม โดยเมื่อนำมาทำอาหารเช่น ยำปลาเม็งตามภาพที่ 2 ซึ่งใช้เนื้อปลาเม็งเพียง 1 ขีดขายในราคา 400 บาท  โดยกระบวนการแปรรูปปลาเม็งสดเป็นปลาเม็งตากแห้ง ปลารมควันดั้งเดิม มีกระบวนการโดยการนำมาปลาเม็งสด มาใส่เกลือเพื่อให้ปลาตาย หลังจากนั้นนำมาเสียบไม้นำไปตากแดด และนำไปรมควันบนตระแกรงเหล็กโดยใช้เชื้อเพลิงจากเปลือกกะลามะพร้าวหรือไม้ยางพารา

                 

                งบปี พ.ศ.: 
                2564
                ภาพประกอบ: 
                ตู้อบและรมควันปลาเม็งระบบอัตโนมัติ(RID64)
                  แคตตาล็อกเทคโนโลยี
                  ระดับ: 
                  ต้นแบบเชิงพาณิชย์ / อุตสาหกรรม
                  กลุ่มเป้าหมาย: 
                  วิสาหกิจชุมชน
                  ภาพหน้าปก: 

                  เครื่องตากแห้งกะปิแบบโรตารี่ใช้พลังงานความร้อนร่วมระบบกึ่งอัตโนมัติ(RID64)

                  พฤ, 08/04/2021 - 10:45 — bunsita
                  รายละเอียด: 

                  จากสภาพและปัญหาดังกล่าวหากได้มีการสร้างเครื่องจักร เครื่องมือ หรืออุปกรณ์เพื่อใช้แก้ปัญหาในการประกอบอาชีพของชุมชนได้ตามความต้องการของชุมชนและตามชนิดของการผลิตผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดก็จะเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนสามารถนำไปใช้ประกอบอาชีพและสร้างรายได้ทำให้อยู่ดีกินดี เศรษฐกิจทั้งในระดับชุมชน ระดับประเทศก็จะดีตามไปด้วยเช่นกัน ดังนั้นทางคณะผู้วิจัยจึงได้มีแนวคิดในการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการผลิตระดับชุมชนให้กับกลุ่มเกษตรกรแปรรูปอาหารทะเลตำบลท่าเคย ต.ท่าเคย อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี ได้แก่ เครื่องตากแห้งกะปิแบบโรตารี่ใช้พลังงานความร้อนร่วมระบบกึ่งอัตโนมัติ สำหรับเป็นต้นแบบในการผลิตกะปิเพื่อการจำหน่ายเชิงพาณิชย์ได้อย่างมีคุณภาพและสามารถผลิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีแม้สภาพภูมิอากาศไม่อำนวย โดยเฉพาะเครื่องจักรที่ผลิตขึ้นสามารถนำไปแก้ปัญหาในกระบวนการผลิตขั้นตอนที่ 1 ในการตากกุ้งเคย และกระบวนการผลิตขั้นตอนที่ 3 ในการตากแห้งกะปิสดซึ่งถือเป็นกระบวนการผลิตที่สำคัญที่สุดที่จะส่งผลต่อทั้งคุณภาพและรายได้ ทั้งนี้คณะผู้วิจัยมีแนวคิดที่จะสร้างเครื่องจักรต้นแบบสำหรับผลิตกะปิ

                  โดยมีรายละเอียดและหลักการทำงานโดยสังเขป ดังนี้

                  1. ใช้พลังงานความร้อนร่วม คือ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในขณะที่มีแสงแดดปกติและใช้ความร้อนจากเชื้อเพลิงแก๊สแบบอินฟาเรดขณะที่ไม่มีแสงแดดหรือในช่วงฤดูฝน

                  2. ภายในตัวเครื่องจะมีชั้นวางสำหรับตากกะปิแบบตาข่ายจำนวน 4 แผง ที่มีระบบหมุนเพื่อสลับแผงตากกะปิให้อยู่ด้านบนและด้านล่างสลับกันเพื่อให้กะปิแต่ละแผงได้รับความร้อนในปริมาณที่เท่ากันและป้องกันน้ำเคยหยดลงสู่แผงล่าง

                  3. แผงตากกะปิสามารถพลิกสลับด้านก่อนขึ้นสู่ตำแหน่งบนและพลิกกลับอีกด้านเมื่อเลื่อนลงสู่ตำแหน่งล่างโดยมีระบบกลไกภายในตัวเครื่องเป็นตัวควบคุมและเมื่อพลิกสลับด้านจะมีกลไกในการล็อคตำแหน่งป้องการการพลิกของแผง 

                  4. มีเซนเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้นในตัวเครื่องเพื่อส่งสัญญาณไปยังมอเตอร์เพื่อให้ปรับลดหรือเพิ่มความเร็วรอบในการหมุนของแผงตากกะปิโ

                  5. มีระบบโซล่าเซลล์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ในระบบการเปิด-ปิดพัดลม

                  6. ด้านล่างของเครื่องจะทำเป็นแบบลาดเอียงเพื่อให้น้ำเคยที่หยดจากการตากกะปิไหลรวมลงสู่ภาชนะเพื่อนำไปใช้ประโยชน์เป็นน้ำปลาหรือน้ำเคยสำหรับประกอบในการทำอาหาร

                  งบปี พ.ศ.: 
                  2564
                  ภาพประกอบ: 
                  เครื่องตากแห้งกะปิแบบโรตารี่ใช้พลังงานความร้อนร่วมระบบกึ่งอัตโนมัติ(RID64)
                    แคตตาล็อกเทคโนโลยี
                    ระดับ: 
                    ต้นแบบเชิงพาณิชย์ / อุตสาหกรรม
                    กลุ่มเป้าหมาย: 
                    ภาคอุตสาหกรรม
                    ภาพหน้าปก: 

                    โครงการพัฒนาสร้างเครื่องระเหยข้นแบบบังคับให้หมุนเวียน(VCE64)

                    จ, 05/04/2021 - 11:51 — bunsita
                    รายละเอียด: 

                    การระเหยของเหลวด้วยการให้ความร้อนสมัยใหม่หันมาใช้ระบบท่อ Shell and tube เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนความร้อน ในของเหลวบางชนิดเมื่อได้รับความร้อนระดับหนึ่งมีการตกผลึก หรือเป็นตะกรัน ทำให้ท่อแลกเปลี่ยนความร้อนเครื่องระเหยข้นแบบแนวนอนอุดตันทำให้ยากต่อการทำงานและซ่อมแซมรักษา ใช้เวลามากในการกลับมาทำงานแต่เครื่องระเหยข้นแบบท่อแนวตั้งใช้หลักการไหลเวียนของของเหลวด้วยความเร็วที่สูงจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำและ ไม่ให้ของเหลวระเหยเดือดระหว่างภายในท่อ ทำให้ลดการเกิดภาวะการตกผลึก หรือ ตะกรัน และอุดตันในท่อ ทำให้ไม่ต้องหยุดการทำงานเพื่อซ่อมแซมรักษาและนำพลังงานความร้อนที่ได้จากการระเหยบังคับกลับมาเข้าสู่ระบบหมุนเวียนใหม่เพื่อช่วยการทำความร้อนให้กับระบบ  ซึ่งเป็นการช่วยการประหยัดพลังงานและต้นทุนในการสร้างความร้อนให้น้อยลงโดยใช้การดูดแบบสุญญากาศเข้ามาเป็นตัวดึงความร้อนจากการระเหยกลับเข้ามาสู่ในระบบใหม่อีกครั้ง         

                     

                    งบปี พ.ศ.: 
                    2564
                    ภาพประกอบ: 
                    โครงการพัฒนาสร้างเครื่องระเหยข้นแบบบังคับให้หมุนเวียน(VCE64)
                      แคตตาล็อกเทคโนโลยี
                      ระดับ: 
                      ต้นแบบเชิงพาณิชย์ / อุตสาหกรรม
                      กลุ่มเป้าหมาย: 
                      ภาคอุตสาหกรรม
                      ภาพหน้าปก: 
                      เนื้อหาแหล่งข่าว