แพร่
เครื่องผลิตคราฟโซดาระบบกึ่งอัตโนมัติ (RID66)
ความเป็นมาของการพัฒนา “เครื่องผลิตคราฟโซดาระบบกึ่งอัตโนมัติ” วิสาหกิจชุมชนฮักแป้ ออแกนิค ฟาร์ม ตำบลร้องกวาง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ มีผลิตภัณฑ์หลักคือ เครื่องดื่มน้ำผลไม้หลากรสชาติ ผลิตภัณฑ์ได้แก่ คราฟโซดาอัดแก๊สกลิ่นกล้วย ในกระบวนการผลิตคราฟโซดาของทางกลุ่ม มีขั้นตอนการหมักวัตถุดิบในถังพลาสติก ซึ่งไม่สามารถควบคุมคุณภาพได้ เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ เนื่องจากต้องมีการเปิดฝาถังหลายครั้งเพื่อสังเกต ทำให้เกิดการปนเปื้อนได้ง่าย เครื่องจักรต้นแบบที่พัฒนาขึ้นจะช่วยลดการปนเปื้อนในกระบวนการผลิตและช่วยยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี
ผู้พัฒนา: นายสมนึก วันละ และคณะ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 2 วิทยาลัยเทคนิคแพร่
ชื่อสถานประกอบการ: วิสาหกิจชุมชนฮักแป้ ออแกนิค ฟาร์ม
ที่ตั้งสถานประกอบการ: เลขที่ 317 หมู่ 2 ต.ร้องกวาง อ.ร้องกวาง จ.แพร่ 54140
เอกสารประกอบ
เครื่องผลิตซอสพริกระบบตัวกลางส่งผ่านความร้อน(RID64)
พริกเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญและเป็นรายได้หลักของเกษตรกรในพื้นที่ อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่ มีพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 1,500 ไร่ มีเกษตรกรที่เพาะปลูกพริกจำนวน 485 ราย มีผลผลิตเฉลี่ย 3,800 กิโลกรัม/ไร่ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 23,000 บาท/ไร่ ซึ่งเกษตรกรที่ปลูกพริกจะประสบปัญหาโรคและแมลง และปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ เนื่องจากมีปริมาณพริกในฤดูกาลผลิตออกสู่ตลาดในปริมาณมาก พ่อค้าคนกลาง เป็นผู้กำหนดราคาซื้อ ซึ่งทำให้เกษตรกรต้องขายในราคาที่ต่ำกว่าทุน จึงจำเป็นต้องเพิ่มศักยภาพของกลุ่มเกษตรกร ผู้ปลูกพริก ให้มีความสามารถในการผลิตและความสามารถในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น เพื่อทางกลุ่มสมาชิกสามารถเก็บไว้ขายในช่วงฤดูกาลที่มีพริกสดออกสู่ตลาดปริมาณน้อย ความต้องการบริโภคพริกในประเทศยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง เมื่อมีปริมาณพริกในตลาดลดลง ราคาพริกก็จะสูงขึ้น เกษตรกรจึงได้รวมกลุ่มกัน ภายใต้การส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ และจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหนองม่วงไข่ เพื่อร่วมกันพัฒนากลุ่มองค์กรเกษตรกรผู้ปลูกพริกและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การแปรรูปพริก เพื่อสร้างรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรกร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
แต่ในปัจจุบันทางกลุ่มสามารถผลิตพริกแปรรูปได้แก่ พริกดอง น้ำจิ้มไก่ น้ำพริกตาแดง ซอสพริก เป็นต้น แต่ในกระบวนการผลิตใช้หลักภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่มีกำลังผลิตที่ไม่มาก ซึ่งเหล่ากระบวนการผลิตถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น เช่น การต้ม ลวก นึ่ง ตากแห้ง การรมควันไฟ เป็นต้น ซึ่งปัจุจับันทางกลุ่มมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องจักรในกระบวนการผลิต เพื่อช่วยอำนวยความสะดวก แก้ไขปัญหาด้านกำลังผลิต และปัญหาการขาดแรงงาน หากทางกลุ่มได้รับการสนับสนุนด้านเทคโนโลยี และการสนับสนุนด้านเครื่องจักร อุปกรณ์ก็จะสามารถทำให้กลุ่มสมาชิกมีรายได้หล่อเลี้ยงครอบครัว และพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกกลุ่มเกษตรในพื้นที่ให้มีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้