การแพทย์และเวชกรรม

โครงการพัฒนาสร้างเครื่องบำบัดอาการบวมน้ำเหลือง

พฤ, 26/04/2018 - 14:11 — admin5
รายละเอียด: 

งบปี พ.ศ.: 
2561
    แคตตาล็อกเทคโนโลยี
    ราคาเครื่องจักร: 
    70000
    ภาพหน้าปก: 

    หุ่นยนต์กายภาพบำบัดแบบเคลื่อนที่ได้ (VCE60)

    พ, 04/10/2017 - 10:50 — admin5
    รายละเอียด: 

    หุ่นยนต์กายภาพบำบัดแบบเคลื่อนที่ได้

         (Walker Exoskeleton Robotic)

    โครงการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้วยวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า ประจำปีงบประมาณ 2560

     

     

    พัฒนาโดยการติดล้อหุ่นยนต์กายภาพบำบัดเคลื่อนที่ได้ที่ช่วยทรงตัวได้ด้านหลังของหุ่นยนต์กายภาพบำบัดแบบเคลื่อนที่ได้เพื่อความมั่นใจในการใช้งานและความปลอดภัยแก่ผู้ป่วยที่ใช้งานอีกทั้งยังมีจอแสดงผลที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลในการเดินว่ามีพัฒนาการอย่างไรบ้างและยังแก้ความเบื่อได้ด้วยการมีเกมที่ขยับตามการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยอีกด้วยส่งผลให้ผู้ป่วยลดความเครียดและสนุกไปกับมันทำให้อยากที่จะกายภาพบำบัดมากขึ้นหรือบ่อยขึ้น และยังแบ่งเบาหน้าที่ของนักกายภาพบำบัดในประเทศไทยได้อีกมากเนื่องจากจะลดราคาเช่าใช้งานให้ผู้ป่วยเข้าถึงได้มากยิ่งขึ้น

     

    ผู้ร่วมโครงการ 

     ผู้เสนอโครงการ (หัวหน้าโครงการ) 

           ชื่อ-นามสกุล  นายปรีชา  เต็มพร้อม   ตำแหน่ง  นายกสมาคมเครื่องจักรกลไทย           

           สมาคมเครื่องจักรกลไทย                                                                                     

      ผู้ประกอบการที่ร่วมโครงการ (ผู้ผลิตเท่านั้น) 

           ชื่อ-นามสกุล  นาย อนุชิต  นาคกล่อม  ตำแหน่ง  ผู้จัดการฝ่ายขาย 

           บริษัท เซ็นเซอร์นิกส์ จำกัด             

     

    งบปี พ.ศ.: 
    2560
    ภาพประกอบ: 
    หุ่นยนต์กายภาพบำบัดแบบเคลื่อนที่ได้ (VCE60)
    แคตตาล็อกเทคโนโลยี
    ระดับ: 
    ทดลองตลาด
    กลุ่มเป้าหมาย: 
    ภาคอุตสาหกรรม
    ราคาเครื่องจักร: 
    1500000
    ภาพหน้าปก: 

    เตียงพยาบาลพักฟื้นผู้ป่วย

    ศ, 19/06/2015 - 13:47 — admin5
    รายละเอียด: 

    .1.      เตียงพยาบาลและพักฟื้นผู้ป่วย

    บริษัทผู้ผลิต  บริษัท เบลเมกส์ไทย  จำกัด

    บริษัทผู้ใช้     โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ

     

    Home Like Design โดยออกแบบผสมผสานระหว่างการใช้งานด้านการแพทย์และความสวยงาม ด้วยระบบการปรับเตียงด้วยรีโมทคอนโทรล สามารถผ่อนแรงของผู้ดูแล ให้เหมาะสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่ไม่สะดวกในการเคลื่อนไหวร่างกายด้วยตนเอง โดยออกแบบฟังก์ชั่นการใช้งานให้ใช้งานได้ประโยชน์จริง มีรูปแบบที่สวยงาม รวมถึงใช้วัสดุเกรดสูงที่ผลิตในประเทศได้ โดยมีแนวทางการออกแบบให้มีความเป็นมิตรและไม่สร้างความเครียดให้กับผู้ใช้งาน

     

    คุณลักษณะของเครื่อง

    ·       โครงสร้างกรอบเตียงผลิตจากอลูมิเนียม

    ·       มีแผงกั้นข้างเตียง 4 ชิ้น สามารถปรับได้ 2 ระดับ และเก็บเข้าใต้เตียงได้เพื่อความสวยงาม และความสะดวกในการลุกออกจากเตียง

    ·       สามารถปรับเอนหลัง 0-80 องศา

    ·       สามารถปรับเอนขา 0-35 องศา

    ·       ปรับท่าหัวสูง-เท้าต่ำ (anti - trendelenburg)

    ·       ปรับท่าหัวต่ำ-เท้าสูง (trendelenburg)

    ·       ระยะปรับสูง-ต่ำ 40-75 cm

    ·       ขนาดของเตียง 98 x 220 cm

    ·       ความสามารถในการรับน้ำหนัก 250 kg

    ·       ระบบซ่อนล้อเตียงด้วยรีโมทคอนโทรล

    ·       มีระบบสำรองไฟ

    ·       มีระบบไฟใต้เตียง ที่ติดทันทีเมื่อผู้ใช้ปรับเตียงให้ลงสุด เพื่อสะดวกและมองเห็นทางได้ในความมืด

    รายละเอียดข้อกำหนด ( Specification )

    ค่า/หน่วย

    1.มิติ  (ขนาด / น้ำหนัก)   

       1.1 ขนาดเตียงผู้ป่วย    

       1.2 น้ำหนักรวมประมาณ

     

    100x200 ซ.ม.

    150 kg

    2.กำลังงานด้าน Input

       2.1  ระบบไฟฟ้าป้อนระบบ             

       2.2  แรงดันจ่ายออกให้มอเตอร์          

       2.3  กระแสไฟฟ้าที่ใช้                        

       2.4  Max Load                                 

       2.5  Duty Cycle ;2min ON/ 2 min 18Min

       2.6  IP Class                                

     

     220AC

    24 VDC

    8 Amp.

    6000N

    10%

    IP66

    3.ความสามารถในการทำงานของเครื่องที่สามารถชี้วัดเชิงปริมาณ

        3.1 ปรับความสูงต่ำ      

        3.2 ปรับยกปลายเท้า    

        3.3 ปรับยกหลัง            

        3.4 ปรับเอียงหน้า-หลัง 

        3.5 รองรับน้ำหนักสูงสุด

     

    45-75 ซ.ม.

    0 - 45 องศา

    0 - 80 องศา

    -15,0,+15  องศา

    250 KGs.

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    สรุปผลการดำเนินงาน

    1.       เริ่มจัดทำแบบ (Drawing) ให้ตรงตามสเปค หรือคุณสมบัติของเตียงผู้ป่วยที่ได้กำหนดไว้ 

              (ดำเนินการแล้วเสร็จ 100 %)

              ทางบริษัทฯ ได้ดำเนินการจัดทำแบบตามสเปคที่กำหนด และได้มีการแก้ไขอยู่หลายครั้ง เนื่องจากปัญหาดังที่ได้กล่าวไว้ใน     หัวข้อปัญหาอุปสรรค และแนวทางการแก้ไข ซึ่งได้ทำการแก้ไขแล้วเสร็จในบางส่วน โดยเฉพาะในส่วนของการออกแบบ เนื่องจากงานทางด้านการออกแบบ สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงานทางด้าน   วิศวกรรม จึงส่งผลให้ท้ายที่สุดสามารถผลิตแบบได้ตามต้องการ

    2.       วิเคราะห์ปัญหาของแบบเพื่อหาแนวทางความเป็นไปได้ของชิ้นงานก่อนสรุปแบบเพื่อใช้ในการผลิต

              (ดำเนินการแล้วเสร็จ 100 %)

              หลังจากได้แบบงานที่ต้องการแล้ว จึงทำการถอดแบบ เพื่อจำลองกลไกการทำงานของชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำโครงสร้างพื้นเตียง โครงสร้างเตียง ฯลฯ นั้นมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดโดยการใช้เครื่องพิมพ์สามมิติก่อนที่จะดำเนินการสั่งผลิตชิ้นส่วนนั้นๆไม่เพียงเท่านี้บริษัทฯ ได้ทำการปรึกษาหารือกับทางผู้ผลิต เพื่อผลิตชิ้นงานตัวอย่างบางส่วนที่ต้องอาศัยเครื่องมือ ความรู้ ความชำนาญเป็นพิเศษ ก่อนที่จะผลิตจริง ซึ่งปัญหาและความยุ่งยากในส่วนนี้มีอยู่  3 ส่วนด้วยกัน คือ ชิ้นส่วนหลักที่เป็นอลูมิเนียม , ชิ้นส่วนงานไม้ , อุปกรณ์ที่เป็นมอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้มีความสำคัญอย่างมากสำหรับการผลิตเตียงผู้ป่วย จึงต้องอาศัยการปรึกษาหารือกับผู้ผลิต เพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพและสมบูรณ์แบบที่สุด

    3.       ถอดแบบแต่ละส่วนเพื่อจัดเตรียมหาวัตถุดิบ  (ดำเนินการแล้วเสร็จ 100 %)

              ในขั้นตอนนี้เป็นการดำเนินการถอดแบบจากชิ้นงานสามมิติ ให้อยู่ในรูปแบบสองมิติ เพื่อนำไปให้ผู้ผลิตทำการเสนอราคาแม่พิมพ์และราคาชิ้นงาน ซึ่งปัญหาในส่วนนี้มีไม่มากนัก

    4.       ชิ้นส่วนหลักที่เป็นอลูมิเนียม  (ดำเนินการแล้วเสร็จ 100 %)

              ทางบริษัทฯ ทำการติดต่อกับผู้ผลิตหลายราย  แต่เมื่อทำการเปรียบเทียบราคา และความน่าเชื่อถือของการผลิตแล้ว สรุปได้ว่า  P&L Manufacturing Co.,Ltd เสนอราคาได้เหมาะสมและมีกำลังเพียงพอต่อการผลิต

    5.       ชิ้นส่วนงานที่เป็นไม้จริง  (ดำเนินการแล้วเสร็จ 100 %)

              บริษัทฯ ได้ติดต่อกับผู้ผลิตรายย่อย 2-3  ราย และสามารถได้ผู้ผลิตไม้เพื่อทำเตียงได้สำเร็จ

    6.       ชิ้นส่วนงานที่เป็นงานพลาสติก  (ดำเนินการแล้วเสร็จ 100 %)

              ในส่วนงานพลาสติกเป็นส่วนที่มีจำนวนชิ้นงานค่อนข้างสูง ค่าใช้จ่ายในการเปิดแม่พิมพ์จึงมีมูลค่ามาก ทางบริษัทฯ จึงจำเป็นต้องใช้ชิ้นงานจากเครื่องพิมพ์สามมิติมาใช้งานในการผลิตเตียงต้นแบบ

    7.       ชิ้นส่วนงานเหล็ก (ดำเนินการแล้วเสร็จ 100 %)

              ชิ้นงานเหล็กเป็นชิ้นงานที่สามารถผลิต ได้รวดเร็วกว่าชิ้นงานอื่น ซึ่งทางบริษัทฯ มีผู้ผลิตที่ร่วมงานด้วยหลายราย จึงไม่เป็นปัญหาหากต้องการดำเนินการผลิต

    8.       อุปกรณ์มอเตอร์เตียงและระบบขับเคลื่อน (ดำเนินการแล้วเสร็จ 100 %)

              อุปกรณ์มอเตอร์ได้มีการดำเนินการปรึกษาหารือในส่วนของ สเปค ฟังก์ชั่นการทำงาน รูปแบบการใช้งานของเตียง ฯลฯ  โดยมทีมงาน Timotion Technology Co.,Ltd มาช่วยดำเนินการ

     

    ปัญหาอุปสรรค และแนวทางการแก้ไข

    1.       ปัญหาในการออกแบบชิ้นงานในคอมพิวเตอร์

    ปัญหา การออกแบบชิ้นงานต้องอาศัยประสบการณ์จริงจะต้องมีประสบการณ์ในการออกแบบ และใช้งานเตียงผู้ป่วย มาก่อน เพราะหากแบบที่ออกมาสวยงาม แต่ฟังก์ชันการทำงาน  หรือวัสดุที่ไม่สามารถผลิตได้จะต้องมีการปรับแก้ไขอย่างมากรวมไปถึงหากไม่มีการลองชิ้นงานจริง จะทำให้ไม่ทราบปัญหาที่เกิดขึ้น

    แนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยการตรวจสอบการทำงานจากสินค้าจริงที่มีอยู่ในท้องตลาด และการใช้เครื่องมือในการจำลองชิ้นงานให้ขนาดเท่าของจริง ซึ่งทางบริษัทฯ ได้เห็นความสำคัญของการใช้เครื่องพิมพ์ สามมิติ มาช่วยวิเคราะห์และปรับปรุงฟังก์ชันการทำงานทำให้สามารถแก้ไขปัญหาของการออกแบบชิ้นงานได้ดียิ่งขึ้น มากกว่าการจำลองและเขียนแบบเพียงอย่างเดียว

    2.       ปัญหาในเรื่องของงานทำแม่พิมพ์อลูมิเนียม

    ปัญหา กระบวนการในการจัดทำแม่พิมพ์รีดอลูมิเนียม เป็นปัญหาอีกอย่างหนึ่ง เพราะการออกแบบชิ้นงานโดยที่ไม่ทราบกระบวนการรีดของอลูมิเนียม จะทำให้ชิ้นงานที่รีดออกมามีปัญหา บางชิ้นรีดได้ บางชิ้นรีดไม่ได้ ต้องมีความรู้ในการออกแบบ ซึ่งช่วงแรกของการออกแบบต้องมีการปรับแก้ไข

    แนวทางในการแก้ไขปัญหา แก้ไขโดยเข้าไปขอคำปรึกษาและแนวทางในการออกแบบแม่พิมพ์อลูมิเนียมกับทางผู้ผลิต โดยตรงซึ่งคือทีมงานของ P&L Manufacturing Co.,Ltd

    3.       ปัญหาในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโปรแกรมและการทำงานของมอเตอร์

    ปัญหา  เรื่องของค่าใช้จ่าย ในการพัฒนาโปรแกรมมีมูลค่าถึง USD. 3,500.00  ซึ่งสูงมาก ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น

    แนวทางในการแก้ไขปัญหา  ลดวัสดุอุปกรณ์บางรายการที่ซับซ้อน โดยปรึกษากับทางทีมงานออกแบบมอเตอร์ ทีมงาน Timotion Technology Co.,Ltd ประเทศไต้หวัน เพื่อปรับแก้ฟังก์ชันที่ซับซ้อนและยุ่งยากในบางจุด ซึ่งสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ แต่ยังถือว่าไม่มากนัก

    งบปี พ.ศ.: 
    2558
      แคตตาล็อกเทคโนโลยี
      ราคาเครื่องจักร: 
      140000
      ภาพหน้าปก: 

      เครื่องไฟส่องรักษาเด็กตัวเหลือง 360 องศา ชนิดหลอด แอลอีดี

      พฤ, 21/08/2014 - 10:40 — admin5
      รายละเอียด: 

      เครื่องไฟส่องรักษาเด็กตัวเหลือง 360 องศา ชนิดหลอดแอลอีดี

                เครื่องส่องไฟเด็กตัวเหลือง 360 องศา ชนิดหลอดแอลอีดี ใช้หลักการแสงสีฟ้าในการรักษาที่ช่วงความยาวคลื่นประมาณ 415-475 นาโนเมตร ซึ่งจะให้การรักษาที่ดีที่สุดโดยเด็กจะต้องถอดเสื้อผ้าออกหมดและปิดตาเด็กไว้เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่ตา และสารสีเหลืองจะเป็นตัวดูดซึมและจะช่วยเปลี่ยนสารสีเหลืองให้เป็นชนิดที่ละลายน้ำและถูกขับออกจากร่างกายผ่านทางน้ำดีออกทางอุจจาระ และผ่านไตออกทางปัสสาวะ ดังนั้น ถ้าเด็กได้รับแสงสีฟ้าอย่างทั่วถึงก็จะทำให้ดูดซึมในปริมาณที่มากและจะขับออกจากร่างกายได้เร็วจึงเริ่มมีการใช้แสงสีฟ้าในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ส่องด้านบน, ส่องด้านบนแบบโค้ง, ส่องด้านบนส่องด้านล่าง, ส่องรอบตัว 360 องศา และเริ่มเปลี่ยนรูปแบบมาใช้หลอดแอลอีดี ซึ่งแทบไม่มีความร้อนและอายุหลอดนานกว่าทำให้คงความเข้มของแสงได้นานกว่าหลอดแบบเดิม จากวิวัฒนาการการรักษาที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจึงทำให้หลักการรักษาที่คิดว่าน่าจะดีที่สุด คือการให้การรักษาแบบ 360 องศา แล้วใช้หลอดแอลอีดีซึ่งจะการรักษาที่รวดเร็วและไม่มีอุณหภูมิความร้อนสะสมที่ตัวเด็กและยังไม่ทำให้ความเข้มของแสงสีฟ้าลดลงตามชั่วโมงของหลอด เพราะหลอดแอลอีดีมีอายุการใช้งานที่นานถึง 20,000 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ

       

      คุณลักษณะและสมรรถนะของเครื่องจักร

      1. สามารถปรับขึ้น-ลงได้ 20 เซนติเมตร

      2. ใช้หลอดแอลอีดีทั้งหมด 14 หลอดซึ่งใช้ไฟหลอดละ 9 วัตต์ เท่ากับ 126 วัตต์

      3. สามารถปรับความเข้มของพลังงานแสงสีฟ้าได้ตั้งแต่ 0-100% ที่แรงดัน 85-265 โวลต์

      4. สามารถตั้งค่าวงจรควบคุมโพรบวัดอุณหภูมิภายในร่างกายเด็กให้มีค่าการคลาดเคลื่อน +/- 0.1 องศาเซลเซียส

      5. สามารถตั้งค่าควบคุมอุณหภูมิเด็กไม่ให้สูงเกินหรือต่ำเกินไป ซึ่งจะมีระบบตัดการทำงานทั้งหมด

      6. สามารถตั้งเวลาการให้แสงรักษาได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะมากเป็นวันหรือละเอียดเป็นนาทีก็ได้

      7. ค่าความเข้มของพลังงานแสงสีฟ้าที่ปรับได้ทำให้สามารถกำหนดการรักษาได้ดีขึ้นกว่าเก่า

      8. มีถาดรองรับปัสสาวะและอุจจาระช่วยสะดวกเวลาเด็กขับถ่ายออกมาพร้อมสารสีเหลือง

      9. มีชุดหลอดไฟสีขาวไว้สำหรับกรณีดูพยาธิสภาพของเด็กหรือเวลาต้องการทำหัตถการกับเด็ก โดยระบบจะหยุดนับเวลาที่ตั้งไว้สำหรับส่องไฟรักษาเด็ก เมื่อเปิดทำงานก็ถึงจะนับต่อ

      10. จากประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น ทำให้ได้การรักษาที่รวดเร็วกว่าระบบเดิมที่ใช้อยู่ ประมาณ 3-4 เท่า

      11. สามารถรักษาเด็กได้ผลที่ดีกว่าเก่า ลดการนอนรักษาที่โรงพยาบาลหลายคืน ทำให้สามารถรักษาเด็กได้มากขึ้นกว่าเดิม

      12. ในอนาคตเมื่อสามารถต่อเป็นระบบ Central Monitor และเชื่อมต่อเป็นWIFI ก็จะสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยสามารถดูเด็กได้ตลอดเวลาหลายๆเครื่องพร้อมกัน โดยนานๆจะลุกไปดูเด็กซักที หรือพ่อแม่สามารถดูผ่านมือถือได

       

      พัฒนาโดย                      สถาบันไทย-เยอรมัน

                                          700/1 หมู่ 1 นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ถนนบางนาตราด กม. 57

                                          ตำบลคลองตำหรุ อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20000                             

                                          โทรศัพท์ : 038-215088-44

                                          โทรสาร : 038-743464

                                          ลูกค้าสัมพันธ์ : 02-784464

                                   Email: Marketing@tgi.or.th

       

       

       

      ร่วมกับ                            บริษัท สกายแล็บ-เมด จำกัด                                  

                                          502/495 หมู่ 3 แขวงสีกัน เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ 10210

      ‎                                    โทรศัพท์ 02-9292927, 081-4506531

                                          โทรสาร 02-9292927                               

                                   Email:  skylab-med@hotmail.com

                                         

       

      ราคาเริ่มต้นที่  หากสนใจสามารถติดต่อสอบถามทางบริษัทได้โดยตรง

      พัฒนาภายใต้ โครงการพัฒนาสินค้าเทคโนโลยีเพื่อผลักดันสู่ตลาด AEC

      ประจำปีงบประมาณ 2557

       

      งบปี พ.ศ.: 
      2557
        แคตตาล็อกเทคโนโลยี
        ภาพหน้าปก: 

        เครื่องสกัดน้ำมันหอมระเหยจากพืชสมุนไพร โดยใช้คาร์บอนไดออกไซด์เหลวที่สภาวะเหนือจุดวิกฤต

        พ, 17/10/2012 - 12:20 — admin5
        รายละเอียด: 

        ผู้พัฒนา

        งบปี พ.ศ.: 
        2555
          แคตตาล็อกเทคโนโลยี
          ภาพหน้าปก: 

          เครื่องวัดการกระจายน้ำหนักที่เท้า

          พ, 17/10/2012 - 11:35 — admin5
          รายละเอียด: 

          ผู้พัฒนา

          งบปี พ.ศ.: 
          2554
            แคตตาล็อกเทคโนโลยี
            ภาพหน้าปก: 

            เครื่องล้างอุปกรณ์การแพทย์ด้วยระบบอัลตราโซนิกส์ร่วมกับเตาแม่เหล็กไฟฟ้า

            พ, 17/10/2012 - 11:35 — admin5
            รายละเอียด: 

            ผู้พัฒนา

            งบปี พ.ศ.: 
            2554
              แคตตาล็อกเทคโนโลยี
              ภาพหน้าปก: 

              เตียงพยาบาลป้องกันแผลกดทับด้วยระบบควบคุมอัตโนมัติ

              พ, 17/10/2012 - 11:34 — admin5
              รายละเอียด: 

              ผู้พัฒนา

              งบปี พ.ศ.: 
              2554

              เอกสารประกอบ

              เอกสารเผยแพร่: 
              แคตตาล็อกเทคโนโลยี
              ภาพหน้าปก: 

              เครื่องล้างตัวกรองสำหรับการฟอกเลือด (ไตเทียม)

              พ, 17/10/2012 - 11:32 — admin5
              รายละเอียด: 

              ผู้พัฒนา

              งบปี พ.ศ.: 
              2554
              ภาพประกอบ: 
              เครื่องล้างตัวกรองสำหรับการฟอกเลือด (ไตเทียม)
                แคตตาล็อกเทคโนโลยี
                ภาพหน้าปก: 

                เครื่องผสมน้ำยาสำหรับเครื่องฟอกเลือด(ไตเทียม)

                พ, 17/10/2012 - 11:32 — admin5
                รายละเอียด: 

                ผู้พัฒนา

                งบปี พ.ศ.: 
                2554
                ภาพประกอบ: 
                ถังเอ (กรด )
                  แคตตาล็อกเทคโนโลยี
                  ภาพหน้าปก: 
                  เนื้อหาแหล่งข่าว