สุราษฎร์ธานี

เครื่องคัดขนาดปลาหมอความแม่นยำสูงระบบกึ่งอัตโนมัติ (RID65)

อ, 05/04/2022 - 11:30 — admin2
รายละเอียด: 

ผู้พัฒนา
หัวหน้าโครงการ               :  นายเกียรติศักดิ์  เส้งพัฒน์
คณะทำงานโครงการ (1)      :  นางธัญนันท์  พรหมบัลลังก์
คณะทำงานโครงการ (2)      :  นายเฉลิมศักดิ์   ตันติเจริญวิวัฒน์
คณะทำงานโครงการ (3)      :  นายภูดินันท์  รอดเกิด

 

งบปี พ.ศ.: 
2565
    แคตตาล็อกเทคโนโลยี
    ภาพหน้าปก: 

    เครื่องบรรจุกะปิด้วยกรรมวิธีขัดน้ำระบบกึ่งอัตโนมัติ (RID65)

    อ, 05/04/2022 - 11:15 — admin2
    รายละเอียด: 

    ผู้พัฒนา
    หัวหน้าโครงการ              :  ดร.ธวัชไชย ลิ้มสุวรรณ
    คณะทำงานโครงการ (1)   :  นายชาญชัย แฮวอู
    คณะทำงานโครงการ (2)   :  นายศชยางกูร ไชยวงศ์
    คณะทำงานโครงการ (3)   :  นายศิวณัฐ เป็ดสุวรรณ์

     

    งบปี พ.ศ.: 
    2565
      แคตตาล็อกเทคโนโลยี
      ภาพหน้าปก: 

      เครื่องล้างขมิ้นชันเพื่อการแปรรูปสำหรับชุมชน(RID64)

      พฤ, 08/04/2021 - 14:56 — bunsita
      รายละเอียด: 

      จากการศึกษาความต้องการของวิสาหกิจชุมชนขมิ้นชันปลอดสารพิษ ต.เขาวง อ.บ้านตาขุน พบว่า หลังจากปลูกขมิ้น 10 เดือนถึง 1 ปีแล้ว ชุมชนจะทำการเก็บขมิ้น สังเกตได้จากการที่ต้นขมิ้นล้มลง ถ้าไม่เก็บตอนนั้นขมิ้นก็จะฝ่อสารก็จะลดลง หลังจากเก็บแล้วเราก็ต้องนำมาคัดหัว หัวที่ไม่สมบูรณ์ก็ทิ้งไป นำหัวสมบูรณ์นำมาล้างทำความสะอาดแล้วก็นำมาลวกน้ำร้อน เป็นเวลา 7 นาที ถ้ามากกว่านั้นก็ไม่ได้ จากนั้นก็นำมาตากผึ่งให้แห้งแล้วนำมาซอย หลังจากซอยเสร็จก็นำไปเข้าตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ ความร้อนไม่เกิน 50 องศา อบเป็นเวลา 30 นาที ถ้าจะเก็บหลังจากตากก็เก็บไว้ก่อนแต่หากจะใช้เมื่อไรก็นำมาอบ แล้วนำไปบด  การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากขมิ้นชันของชุมชนเขาวงที่ถือเป็น Signature product คือ ขมิ้นชันรับประทาน ขมิ้นชันแคปซูล ขมิ้นชันแบบผง ละลายน้ำ  และผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น สบู่เหลวขมิ้นชัน เจลล้างหน้าขมิ้นชัน สบู่เหลวอาบน้ำ สบู่ก้อน แชมพูขมิ้นชัน โลชั่นขมิ้นชัน ครีมบำรุงผิวหน้า ผงขัดหน้าทำจากสมุนไพรบด ยาหม่องขมิ้นไพล สเปย์แก้ปวด สกัดจากไพล ขมิ้น กานพลู และสมุนไพรคลายเส้นอื่นๆ และผงขมิ้นชัน

      ซึ่งในขั้นตอนการล้างทำความสะอาดขมิ้นชัน ยังต้องใช้แรงงานคนช่วยกันล้าง ด้วยการเอาขมิ้นใส่กะละมัง หรือภาชนะ และทำการล้าง จะต้องล้างแต่ละครั้งประมาณ 5 น้ำ ใช้เวลานาน โดยอัตราการล้าง 20 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ซึ่งต้องล้างวันละประมาณ 50 กิโลกรัม ใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง อีกทั้งยังทำให้ผู้ล้างรู้สึกเมื่อยล้าที่ต้องยืน หรือนั่งล้างเป็นเวลานานๆ อีกด้วย โดยขมิ้นชันสด 10 กิโลกรัม สามารถทำขมิ้นชันแห้ง 1 กิโลกรัม และบางช่วงเวลาลูกค้ามีความต้องการขมิ้นชันแห้งจำนวนมาก ทำให้ไม่สามารถผลิตขมิ้นชันแห้งได้ทันตามที่ลูกค้าต้องการ ทำให้ทางวิสาหกิจชุมชนต้องสุญเสียโอกาสและรายได้ที่จะตามมาอีกด้วย

      ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดพัฒนาเครื่องล้างขมิ้นชันเพื่อให้สามารถล้างขมิ้นชันได้สะอาด รวดเร็ว สามารถรองรับการผลิตในจำนวนมาก ซึ่งตัวเครื่องจะออกแบบให้ทำงานง่ายเหมาะสมสำหรับสมาชิกในกลุ่มฯซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงและผู้สูงอายุที่มาช่วยงาน ซึ่งจะให้การทำงาน 2 ขั้นตอน คือขั้นตอนแรกเป็นขั้นตอนการล้างทำความสะอาดขมิ้น และขั้นตอนที่สองเป็นขั้นตอนการเอียงถังเพื่อเทเอาขมิ้นและน้ำออกจากถังตามความต้องการของสมาชิกในกลุ่มฯ

      งบปี พ.ศ.: 
      2564
      ภาพประกอบ: 
      เครื่องล้างขมิ้นชันเพื่อการแปรรูปสำหรับชุมชน(RID64)
        แคตตาล็อกเทคโนโลยี
        ระดับ: 
        ต้นแบบเชิงพาณิชย์ / อุตสาหกรรม
        กลุ่มเป้าหมาย: 
        วิสาหกิจชุมชน
        ภาพหน้าปก: 

        ตู้อบและรมควันปลาเม็งระบบอัตโนมัติ(RID64)

        พฤ, 08/04/2021 - 11:39 — bunsita
        รายละเอียด: 

        “ปลาเม็ง” ภาคกลางเรียกว่า ปลาจีด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Heteropneustes fossilis (Bloch) เป็นปลาน้ำจืดที่ชนิดไม่มีเกล็ด ลำตัวมีสีดำ คล้ายกับปลาดุก แต่จะแตกต่างกันตรงที่ความยาวของฐานครีบหลังปลาเม็งเป็นปลาที่มี อวัยวะพิเศษสำหรับช่วยในการหายใจ จึงสามารถอาศัยในแหล่งน้ำที่มีออกซิเจนต่ำ ขนาดที่พบโดยทั่วไปจะมีความยาว ประมาณ 20 เซนติเมตร และมีรายงานว่าเคยพบขนาดความยาวสูงสุดถึง 30 เซนติเมตร เป็นปลาที่ค่อนข้างหายากและมีแนวโน้มที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์  มีการแพร่กระจายและถิ่นที่อยู่อาศัยตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ทั่วไป ในประเทศอินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย และอินโดจีน ในปัจจุบันเฉพาะภาคใต้พบมากที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปลาเม็งจัดเป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งและถือเป็นปลาประจำท้องถิ่นของจังหวัดสุราษฎร์ธานี  ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยเฉพาะในอำเภอบ้านนาเดิม บ้านนาสาร พระแสงและเคียนซา นิยมเลี้ยงกันมากในพื้นที่ริมแม่น้ำตาปีและร่องปาล์มน้ำมัน ปลาเม็งนับวันจะหายากหรือมีปริมาณลดน้อยถอยลง เพราะปลาที่เลี้ยงนั้น ส่วนมากจะได้ลูกพันธุ์ปลาเม็งจากแหล่งน้ำธรรมชาติ แต่แหล่งน้ำธรรมชาติอันเป็นที่ อยู่อาศัยของสัตว์น้ำต่างๆ ก็เสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ ในปัจจุบัน ปลาเม็งในแหล่งน้ำธรรมชาติได้ถูกจับด้วยวิธีทำการประมงต่าง ๆ เพื่อสนองต่อความต้องการ ของตลาด ร้านอาหารและโรงแรมต่างๆ เป็นผลทำให้ปลาเม็งในแหล่งน้ำธรรมชาติลดจำนวนอย่างรวดเร็ว

        เพราะปลาเม็งเป็นปลาที่มีรสชาติดี มีลักษณะเฉพาะที่มีเนื้อเหนียวเป็นเส้น ไม่เปื่อยยุ่ย และมีรสชาติหอมหวาน ทำให้ปัจจุบันเป็นที่ต้องการของตลาดนักกินเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะยำปลาเม็ง และต้มโคล้งปลาเม็ง อาหารขึ้นชื่อของ จ.สุราษฎร์ธานี โดยราคาปลาเม็งสดมีราคา กิโลกรัมละ 400-600  บาท และหากแปรรูปเป็นปลาเม็งตากแห้ง ปลารมควันจะทำให้ มีราคาประมาณ 2,400-3,500 บาทต่อกิโลกรัม โดยเมื่อนำมาทำอาหารเช่น ยำปลาเม็งตามภาพที่ 2 ซึ่งใช้เนื้อปลาเม็งเพียง 1 ขีดขายในราคา 400 บาท  โดยกระบวนการแปรรูปปลาเม็งสดเป็นปลาเม็งตากแห้ง ปลารมควันดั้งเดิม มีกระบวนการโดยการนำมาปลาเม็งสด มาใส่เกลือเพื่อให้ปลาตาย หลังจากนั้นนำมาเสียบไม้นำไปตากแดด และนำไปรมควันบนตระแกรงเหล็กโดยใช้เชื้อเพลิงจากเปลือกกะลามะพร้าวหรือไม้ยางพารา

         

        งบปี พ.ศ.: 
        2564
        ภาพประกอบ: 
        ตู้อบและรมควันปลาเม็งระบบอัตโนมัติ(RID64)
          แคตตาล็อกเทคโนโลยี
          ระดับ: 
          ต้นแบบเชิงพาณิชย์ / อุตสาหกรรม
          กลุ่มเป้าหมาย: 
          วิสาหกิจชุมชน
          ภาพหน้าปก: 

          เครื่องตากแห้งกะปิแบบโรตารี่ใช้พลังงานความร้อนร่วมระบบกึ่งอัตโนมัติ(RID64)

          พฤ, 08/04/2021 - 10:45 — bunsita
          รายละเอียด: 

          จากสภาพและปัญหาดังกล่าวหากได้มีการสร้างเครื่องจักร เครื่องมือ หรืออุปกรณ์เพื่อใช้แก้ปัญหาในการประกอบอาชีพของชุมชนได้ตามความต้องการของชุมชนและตามชนิดของการผลิตผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดก็จะเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนสามารถนำไปใช้ประกอบอาชีพและสร้างรายได้ทำให้อยู่ดีกินดี เศรษฐกิจทั้งในระดับชุมชน ระดับประเทศก็จะดีตามไปด้วยเช่นกัน ดังนั้นทางคณะผู้วิจัยจึงได้มีแนวคิดในการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการผลิตระดับชุมชนให้กับกลุ่มเกษตรกรแปรรูปอาหารทะเลตำบลท่าเคย ต.ท่าเคย อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี ได้แก่ เครื่องตากแห้งกะปิแบบโรตารี่ใช้พลังงานความร้อนร่วมระบบกึ่งอัตโนมัติ สำหรับเป็นต้นแบบในการผลิตกะปิเพื่อการจำหน่ายเชิงพาณิชย์ได้อย่างมีคุณภาพและสามารถผลิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีแม้สภาพภูมิอากาศไม่อำนวย โดยเฉพาะเครื่องจักรที่ผลิตขึ้นสามารถนำไปแก้ปัญหาในกระบวนการผลิตขั้นตอนที่ 1 ในการตากกุ้งเคย และกระบวนการผลิตขั้นตอนที่ 3 ในการตากแห้งกะปิสดซึ่งถือเป็นกระบวนการผลิตที่สำคัญที่สุดที่จะส่งผลต่อทั้งคุณภาพและรายได้ ทั้งนี้คณะผู้วิจัยมีแนวคิดที่จะสร้างเครื่องจักรต้นแบบสำหรับผลิตกะปิ

          โดยมีรายละเอียดและหลักการทำงานโดยสังเขป ดังนี้

          1. ใช้พลังงานความร้อนร่วม คือ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในขณะที่มีแสงแดดปกติและใช้ความร้อนจากเชื้อเพลิงแก๊สแบบอินฟาเรดขณะที่ไม่มีแสงแดดหรือในช่วงฤดูฝน

          2. ภายในตัวเครื่องจะมีชั้นวางสำหรับตากกะปิแบบตาข่ายจำนวน 4 แผง ที่มีระบบหมุนเพื่อสลับแผงตากกะปิให้อยู่ด้านบนและด้านล่างสลับกันเพื่อให้กะปิแต่ละแผงได้รับความร้อนในปริมาณที่เท่ากันและป้องกันน้ำเคยหยดลงสู่แผงล่าง

          3. แผงตากกะปิสามารถพลิกสลับด้านก่อนขึ้นสู่ตำแหน่งบนและพลิกกลับอีกด้านเมื่อเลื่อนลงสู่ตำแหน่งล่างโดยมีระบบกลไกภายในตัวเครื่องเป็นตัวควบคุมและเมื่อพลิกสลับด้านจะมีกลไกในการล็อคตำแหน่งป้องการการพลิกของแผง 

          4. มีเซนเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้นในตัวเครื่องเพื่อส่งสัญญาณไปยังมอเตอร์เพื่อให้ปรับลดหรือเพิ่มความเร็วรอบในการหมุนของแผงตากกะปิโ

          5. มีระบบโซล่าเซลล์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ในระบบการเปิด-ปิดพัดลม

          6. ด้านล่างของเครื่องจะทำเป็นแบบลาดเอียงเพื่อให้น้ำเคยที่หยดจากการตากกะปิไหลรวมลงสู่ภาชนะเพื่อนำไปใช้ประโยชน์เป็นน้ำปลาหรือน้ำเคยสำหรับประกอบในการทำอาหาร

          งบปี พ.ศ.: 
          2564
          ภาพประกอบ: 
          เครื่องตากแห้งกะปิแบบโรตารี่ใช้พลังงานความร้อนร่วมระบบกึ่งอัตโนมัติ(RID64)
            แคตตาล็อกเทคโนโลยี
            ระดับ: 
            ต้นแบบเชิงพาณิชย์ / อุตสาหกรรม
            กลุ่มเป้าหมาย: 
            ภาคอุตสาหกรรม
            ภาพหน้าปก: 

            ธนาคารปูม้าชุมชนควบคุมด้วยระบบ IoT RID62

            พฤ, 29/08/2019 - 10:14 — admin5
            รายละเอียด: 

            ได้รับการสนับสนุนงบประมาณโครงการ  จากสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี

            สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

            ร่วมกับ สถาบันไทย – เยอรมัน

            ธนาคารปูม้าชุมชนควบคุมด้วยระบบ IoT

            พัฒนาโดย : นายเกียรติศักดิ์  เส้งพัฒน์  (089-195-7867)

            หน่วยงาน : วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี

            คุณสมบัติและสมรรถนะของเครื่อง

            1. ถังอนุบาลธนาคารปูม้าทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตรจำนวน 3 ถัง  

            2. ถังอนุบาลธนาคารปูม้าทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร  จำนวน 8 ถัง

            3. พลังงานที่ใช้จากโซล่าเซลล์ ขนาด 330 วัตต์ และระบบระบบกักเก็บพลังงานแบบแบตเตอร์รี่แบบ deep cycle

            4. ระบบควบคุมการทำงานแบบอัตโนมัติด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์และระบบ IOT3)  มีระบบตรวจสอบค่า PH น้ำและความความเค็มอัตโนมัติ

            ความเป็นมา

                      ธนาคารปูม้าชุมชนบ้านแหลมโพธิ์ หมู่ที่ 5 ตำบลพุมเรียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มจำนวนปูม้าในระบบนิเวศ  โดยความร่วมมือของชุมชนในการนำแม่ปูม้าไข่นอกกระดองมาฝากเลี้ยงในถังและกระชัง เพื่อให้แม่ปูสลัดไข่สู่ทะเลต่อไป ซึ่งจากการศึกษาพบว่าในการจัดการธนาคารปูม้าประสบปัญหาหลายประการ ดังนี้  

            1) การใช้ถังเลี้ยงแม่ปูม้าซึ่งดัดแปลงจากถังคลอรีนที่มีขนาดใหญ่ทำให้เปลืองเนื้อที่ใช้งาน  

            2) รูปแบบการเลี้ยงในกระจังมักประสบปัญหาอัตรารอดของลูกปูม้าต่ำ เนื่องจากมีการหลุดจากกระชังรวมถึงการนำไปปล่อยสู่ทะเลโดยตรงทำให้โดนศัตรูทางธรรมชาติจับกิน เช่น ปลาทะเล และ

            3) เกิดไฟฟ้าดับบ่อยครั้งทำให้ขาดพลังงานไฟฟ้าในการเติมอากาศส่งผลให้ลูกปูม้าที่อยู่ในระยะฟักเป็นตัวได้ตายจำนวนมาก ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวส่งผลให้จำนวนปูม้าในธรรมชาติไม่สามารถเพิ่มขึ้น

             

                      ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์ต่อการบริหารจัดการธนาคารปูม้า โดยการออกแบบบ่ออนุบาลปูม้าแบบคอนโดสำหรับติดตั้งบริเวณชายฝั่ง ใช้พลังงานทั้งหมดจากโซล่าเซลล์ร่วมกับระบบกักเก็บพลังงานสำหรับ การเติมอากาศและการสูบน้ำ นอกจากนี้มีการเพิ่ม การตรวจวัด รายงานสภาพน้ำและอุณหภูมิอัตโนมัติด้วยระบบไร้สาย มีระบบการปล่อยตัวลูกปูเมื่อมีขนาดที่เหมาะสม(1.0-1.4 เซนติเมตร) (ประมาณ 1 เดือนหลังจากแม่ปูสลัดไข่) โดยขั้นตอนสำหรับการปล่อยลูกปูอัตโนมัตินั้นระบบต้องรอการ ตรวจวัดสภาพความเค็มของน้ำต้องอยู่ในช่วง 25 – 32 ppt และอุณหภูมิของน้ำไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส โดยรับ-ส่งข้อมูลแบบไร้สายระบบ IoT เมื่อค่าที่วัดได้มีค่าเหมาะสมจึงสั่งให้ระบบปล่อยลูกปูสู่ป่าชายเลน เพื่อให้ลูกปูม้ามีแหล่งหลบภัยทางธรรมชาติก่อนกลับสู่ทะเลต่อไปทั้งนี้เพื่อเพิ่มอัตรารอดเพิ่มขึ้น และที่สำคัญมีระบบกรองบำบัดน้ำเพื่อให้น้ำมีความสะอาดและลดเชื้อโรค โดยกระบวนการและขั้นตอนทั้งหมดดังกล่าวจะทั้งนี้นวัตกรรมดังกล่าวจะส่งผลให้มีปูม้าในธรรมชาติสูงขึ้น สามารถเพิ่มรายได้และความมั่นคงในอาชีพของชุมชนและสามารถขยายผลในธนาคารปูม้าทั่วประเทศในภาพรวมต่อไป

            จุดเด่นของของธนาคารปูม้าชุมชนควบคุมด้วยระบบ IoT

            1)  สามารถเพิ่มจำนวนปูม้าในระบบนิเวศ ส่งผลต่อรายได้ของชุมชนและห่วงโซ่อาหารปูม้าในภาพรวม

            2)  ลดพื้นที่การใช้สอย รวมถึงเพิ่มอัตรารอดของลูกปูม้าสูงขึ้น

            3)  ประยุกต์เทคโนโลยีทางการเกษตรร่วมกับเทคโนโลยี IoT สอดคล้องกับนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0

            4)  ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ไม่น้อยกว่า 2000 KWh/ปี และลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 1400 kgCO2e

            5)  สามารถประยุกต์สู่อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำประเภทอื่น เช่น ธนาคารหมึกไข่ ลูกเต่าทะเล เป็นต้น

            หลักการทำงานของเครื่อง

            1)  สูบน้ำและพักไว้ที่ถังที่ 1

            2)  สั่งปล่อยน้ำถังที่ 1 ให้กับถังปูม้าจำนวน 8 ถัง ทั้งถังอนุบาลลูกปูจำนวน  1 ถัง

            3)  นำปูม้าที่มีไข่หน้าท้องใสในถังปูม้าจำนวน 8 ถัง รอให้ปูสลัดไข่ออกจากหน้าท้อง

            4)  ระบบทำการตรวจสอบความเค็มของน้ำรวมถึงค่า PH และทำการสั่งปล่อยปูอัตโนมัติหรือเลิกสั่งการด้วยระบบโทรศัพท์มือถือ

            ขนาดมิติและน้ำหนักของเครื่อง

                      ขนาดมิติ เครื่องจักรมีขนาด 1x1.2x1.8 เมตร(กxยxส) และมีขนาดของชุดโครงสร้างชุดโซล่าเซลล์ 1.25x1x1.6 เมตร(กxยxส) โดยมีพื้นที่สำหรับพื้นที่ติดตั้ง และทำงานไม่น้อยกว่า 3x3x2เมตร  (กxยxส)และน้ำหนักของเครื่อง 100 กิโลกรัม

            ราคาเชิงพาณิชย์

            ราคาขาย 120,000 บาท/เครื่อง

            การใช้งาน /การดูแลรักษา

            1)  การใช้งาน

            1.1)  สูบน้ำและพักไว้ที่ถังที่ 1

            1.2)  สั่งปล่อยน้ำถังที่ 1 ให้กับถังปูม้าจำนวน 8 ถัง ทั้งถังอนุบาลลูกปูจำนวน  1 ถัง

            1.3)  นำปูม้าที่มีไข่หน้าท้องใสในถังปูม้าจำนวน 8 ถัง รอให้ปูสลัดไข่ออกจากหน้าท้อง

            1.4)  ระบบทำการตรวจสอบความเค็มของน้ำรวมถึงค่า PH และทำการสั่งปล่อยปูอัตโนมัติหรือเลิกสั่งการด้วยระบบโทรศัพท์มือถือ

            2)  ข้อควรระวัง/คำเตือน ในการใช้งาน

                       2.1)  ควรตรวจสอบระบบไฟฟ้าไม่ให้ดับซึ่งจะทำให้ลูกปูม้าตายได้

               2.2)  ควรวางในพื้นที่ที่ใกล้กับป่าโกงกางเพื่อให้ลูกปูม้ามีแหล่งหลบภัย  ตามธรรมชาติ

            3)  การบำรุงรักษา

               3.1)  ควรมีการตรวจสอบและบำรุงรักษาปีละครั้ง

            3.2)  ควรมีการเคลือบผิววัสดุด้วยนาโนเพื่อป้องกันสนิมและฝุ่น

             
             

             

             

             

             

             

             

             

            งบปี พ.ศ.: 
            2562
            ภาพประกอบ: 
            ธนาคารปูม้าชุมชนควบคุมด้วยระบบ IoT RID62

            เอกสารประกอบ

            เอกสารเผยแพร่: 
            แคตตาล็อกเทคโนโลยี
            ระดับ: 
            ระดับงานวิจัย
            กลุ่มเป้าหมาย: 
            เกษตรกร
            ราคาเครื่องจักร: 
            120000
            ภาพหน้าปก: 
            เนื้อหาแหล่งข่าว