โรงเรือนเลี้ยงไหมประสิทธิภาพสูงที่ควบคุมการทำงานด้วยระบบควบคุมอัตโนมัติ RID63

พ, 01/07/2020 - 15:29 — admin5
รายละเอียด: 

ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตไหมและผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีและมีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งของโลก มีแรงงานในอุตสาหกรรมจำนวนมากและในแต่ละปีมีการส่งออกไหมและผลิตภัณฑ์ได้มูลค่ามากกว่าพันล้านบาท และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ จากข้อมูลของกรมศุลการกร ประมวลผลโดยกลุ่มเศรษฐกิจการตลาด สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ กรมหม่อนไหมพบว่า ปริมาณการนำเข้ารังไหม เส้นไหม ผ้าไหม และผลิตภัณฑ์ไหม (ม.ค.-ธ.ค.2556) เท่ากับ 7,420,109 ตัน หรือคิดเป็นมูลค่า 1,335,790,987บาท และปริมาณการส่งออกรังไหม เส้นไหม ผ้าไหม และผลิตภัณฑ์ไหม (ม.ค.-ธ.ค.2556) เท่ากับ 3,321,749 บาท หรือคิดเป็นมูลค่า 873,266,248 บาท โดยปริมาณการนำเข้ามากกว่าปริมาณการส่งออกคิดเป็นร้อยละ 123.38 ซึ่งคิดเป็นปริมาณที่ค่อนข้างมาก อาจจะกล่าวได้ว่าขาดดุลการค้าค่อนข้างมาก หากพิจารณาปริมาณการผลิตไหมหัตถกรรม ปี 2556 ในประเทศไทย พบว่า จำนวนของเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมภายในประเทศทั้งหมด 69,157 ราย โดยคิดเป็นพื้นที่ปลูกหม่อนเท่ากับ 40,053 ไร่ และปริมาณเส้นไหมที่สามารถผลิตได้ทั้งประเทศเท่ากับ 290,883 กิโลกรัม ซึ่งปริมาณดังกล่าวยังไม่เพียงพอกับความต้องการของคนในประเทศ และต่างประเทศด้วยเช่นกัน และสำหรับข้อมูลปริมาณการผลิตไหมหัตถกรรม ปี 2556 ในจังหวัดสุรินทร์ จากข้อมูลของกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า จังหวัดสุรินทร์ถือเป็นจังหวัดอันดับต้นของประเทศที่มีปริมาณการผลิตไหมหัตถกรรมค่อนข้างสูง มีปริมาณเส้นไหมที่ผลิตได้เท่ากับ 52,914 กิโลกรัม โดยมีจำนวนเกษตรกรทั้งจังหวัดเท่ากับ 10,198 รายในทุกอำเภอของจังหวัด และมีพื้นที่ในการปลูกหม่อนเท่ากับ 5,611 ไร่ โดยปริมาณเส้นไหมที่ผลิตได้คิดเป็นร้อยละ 18.19 ของปริมาณการผลินเส้นไหมได้ทั้งประเทศ 

จากการลงสำรวจพื้นที่บ้านพญาราม หมู่ที่ 9 ตำบลเพี้ยราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งบ้านพญาราม ได้จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหมพญาราม และได้ส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ดังแสดงในรูปที่ 1 โดยมีนางโยธกา บุญมาก เป็นประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยมีแรงบันดาลใจจากการที่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงมีน้ำพระหฤทัยสนับสนุนกลุ่มทอผ้าทั่วทุกภาค จึงได้มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขึ้นมาโดยมีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเพื่อนำเส้นไหมมาทอ เริ่มการทอผ้าไหมด้วยกี่กระทบแบบโบราณและเป็นแบบกี่กระตุกในปัจจุบัน ลวดลายดั้งเดิมโดยได้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษ ซึ่งวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหมพญาราม มีการรวมกลุ่มเกษตรกรและจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ปัจจุบันมีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 151 ราย มีหม่อนแปลงรวม จำนวน 110 ไร่ และแปลงรายเดี่ยว จำนวน 100 ไร่ รวมทั้งสิ้น 210 ไร่ ดำเนินกิจกรรมปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ทอผ้า แปรรูปผลิตภัณฑ์จากหม่อนไหม ผลิตไข่ไหม ผลิตไหมวัยตัวอ่อนเพื่อจำหน่าย และผลิตเครื่องมืออุปกรณ์ในการสาวไหมและทอสำหรับไว้ให้ชาวบ้านพร้อมทั้งสมาชิกในกลุ่มได้ใช้งาน 

 

 

รูปที่ 1 โรงเรือนเลี้ยงตัวหนอนไหมและลักษณะการเลี้ยงไหมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 

ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมพญารามบ้านพญาราม หมู่ที่ ตำบลเพี้ยราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ 

 

ดังนั้นจากปัญหาที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ดังนั้นโครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาโรงเรือนเลี้ยงตัวหนอนไหมประสิทธิภาพสูงที่มีการควบคุมอุณหภูมิ และความชื้นภายในโรงเรือนที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงไหมทั้ง วัย และเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของตัวหนอนไหมในฤดูกาลที่มีอุณหภูมิสูง เปรียบเทียบกับโรงเลี้ยงไหมที่มีการใช้อยู่เดิม ส่งผลทำให้ปริมาณการผลิตเส้นไหมและผ้าไหมของโรงงานเพิ่มสูงมากขึ้น ก่อให้เกิดผลกำไรเพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน 

 

งบปี พ.ศ.: 
2563
    แคตตาล็อกเทคโนโลยี
    ภาพหน้าปก: