กระทรวงวิทย์ฯ ร่วมกับ มก. ประกาศความสำเร็จหลังพัฒนาต้นแบบเครื่องจักรอัตโนมัติ สำหรับการปรุงอาหารและเครื่องดื่ม ภายใต้โครงการพัฒนาสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า

พฤ, 29/11/2018 - 14:44 — admin5

  28 พฤศจิกายน 2561 ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ (วิทยาเขตบางเขน) กรุงเทพฯ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แถลงข่าวความสำเร็จการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักรอัตโนมัติสำหรับการปรุงอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณ ภายใต้โครงการพัฒนาสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า โดยมีศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นหน่วยงานบริหารจัดการโครงการ ร่วมกับมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์และสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ บริษัท บางสมบุญ จำกัด ในการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักรอัตโนมัติสำหรับการปรุงอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งเป็นเครื่องจักรกลที่สามารถช่วยสนับสนุนในธุรกิจแฟรนไชน์และกิจการร้านอาหาร ให้สามารถทำงานได้สะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

capture 20181128 142429

          นางวนิดา บุญนาคค้า ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้กล่าวถึงความสำเร็จในครั้งนี้ว่า “เป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาสร้างเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ ตลอดจนเทคโนโลยีและนวัตกรรม ภายใต้หลักการ “วิศวกรรมย้อนรอย” ซึ่งสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้สนับสนุนการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี การสร้างเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ เพื่อทดแทนการนำเข้าและช่วยลดดุลการค้าของประเทศมาอย่างต่อเนื่อง มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้สามารถพัฒนาเครื่องจักร/เครื่องมือ/อุปกรณ์ ที่ทันสมัยจากต่างประเทศตามความต้องการของผู้ใช้ในประเทศ ด้วยคุณภาพ ราคาที่สามารถแข่งขันได้”

capture 20181128 143227

          รศ.ดร.ธัญญะ เกียรติวัฒน์ รองอธิการบดีวิทยาเขตศรีราชา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า "ในภาพจะเห็นได้ว่าสามารถจัดการออกแบบระบบควบคุม ออกแบบระบบการป้อนโดยใช้คอมพิวเตอร์ แนวคิดตรงนี้ จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานกับระบบต่างๆในการผลิต หรือแม้กระทั่งในเรื่องของอาหารในระดับโรงแรม 5ดาว การควบคุมการผสมทำให้รสชาดคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง"

capture 20181128 143520

          ทางด้านผู้ประกอบการ นางนงพุธ ชื่นชม กรรมการบริหารของ บจก. บางสมบุญ เล่าว่า "การขยายธุรกิจแฟรนไชส์ การควบคุมความคงที่ของรสชาดอาหารถือเป็นเรื่องที่ยาก เพราะฉะนั้นเครื่องนี้จะช่วยทำให้เกิดความแม่นยำของรสชาด และยังสามารถลดการใช้แรงงานคนในการปรุงอาหารด้วย ต้องขอขอขอบคุณกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ช่วยกันสนับสนุนและพัฒนาเครื่องจักรอัตโนมัติสำหรับการปรุงอาหารนี้"

o9bc5da7f333ee22b8efab8d5393bfa71 16311129 181128 0040o9bc5da7f333ee22b8efab8d5393bfa71 16311129 181128 0040o9bc5da7f333ee22b8efab8d5393bfa71 16311129 181128 0040o9bc5da7f333ee22b8efab8d5393bfa71 16311129 181128 0040

          สำหรับเครื่องจักรอัตโนมัติสำหรับการปรุงอาหารและเครื่องดื่ม มีหลักในการทำงาน คือ สามารถป้อนเครื่องปรุงทั้งชนิดผงและของเหลว ลงสู่ภาชนะที่กำหนดได้โดยอ้างอิงปริมาณจากสูตรจากต้นตำรับ เครื่องปรุงอาหารระบบอัตโนมัติจะมีส่วนหลักทั้งหมดสองส่วน คือส่วนป้อนวัตถุดิบที่เป็นผงและส่วนป้อนเครื่องปรุงที่เป็นของเหลว เครื่องปรุงที่เป็นผงจะถูกบรรจุอยู่ในถังบรรจุซึ่งมีใบกวน คอยกวนวัตถุดิบ ในส่วนล่างของถังบรรจุจะติดตั้งส่วนตวงวัดเครื่องปรุง และวัตถุดิบจะถูกป้อนลงสู่ภาชนะบรรจุโดยใช้กระบอกลมในการผลักส่วนตวงวัดเครื่องปรุง วัตถุดิบจะหล่นลงสู่ภาชนะบรรจุโดยแรงโน้มถ่วงของโลก สำหรับเครื่องปรุงที่เป็นของเหลวจะถูกบรรจุใน กระบอกบรรจุ ในส่วนฝาปิดด้านบนของกระบอกจะมีท่อสวมต่อสำหรับป้อนความดันเข้าสู่กระบอกบรรจุ ของเหลว เพื่อช่วยในการลำเลียงของเหลวไปตามระบบ และในส่วนด้านล่างของกระบอกจะมีท่อต่อลำเลียง วัตถุดิบเพื่อรอป้อนเข้าสู่ภาชนะ โดยควบคุมการจ่าย และควบคุมปริมาณวัตถุดิบของเหลวผ่านวาล์ว ซึ่งจะควบคุมการเปิดปิด โดยระบบลมผ่านวาล์วควบคุมการจ่ายลม ซึ่งอุปกรณ์และ ส่วนประกอบทั้งหมดจะถูกติดตั้งบนรถเข็นสำหรับขายอาหาร เพื่อให้สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก และตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

S 13705277S 13705277S 13705277

          คณะผู้ดำเนินงานวิจัยได้ทำการทดสอบความสามารถในการทำงานของเครื่องโดยการทดสอบกับเครื่องปรุงจริงที่ได้รับจากร้านก๋วยเตี๋ยวต้มยำแซ่บ ซึ่งเป็นสูตรต้นตำรับ โดยมี เครื่องปรุงชนิดผง 4 ชนิด ได้แก่ กุ้งแห้ง ถั่วลิสงคั่วป่น พริกแห้งป่น น้ำตาลทราย และเครื่องปรุงของเหลว 3 ชนิด ได้แก่ น้ำปลา น้ำส้มสายชู และน้ำเชื่อม โดยทดสอบเดินเครื่องและปรับค่าให้ใกล้เคียงสูตรที่ได้รับจากต้น ตำรับ และพิจารณาผลที่ได้ในแง่ของความแม่นยำ และความคลาดเคลื่อน พบว่ามีความแม่นยำถึง 92-99% ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ผู้ประกอบการพึ่งพอใจ และถือได้ว่าเป็นไปตามความต้องการ ของผู้ประกอบการและเจ้าของสูตร ทั้งในเรื่องของความคงที่ของรสชาติของก๋วยเตี๋ยวต้มยำ และระยะเวลาใน การทำก๋วยเตี๋ยวต้มยำในแต่ละชามจนพร้อมเสิร์ฟให้แก่ลูกค้า

o9bc5da7f333ee22b8efab8d5393bfa71 16311129 181128 0040o9bc5da7f333ee22b8efab8d5393bfa71 16311129 181128 0040o9bc5da7f333ee22b8efab8d5393bfa71 16311129 181128 0040o9bc5da7f333ee22b8efab8d5393bfa71 16311129 181128 0040

http://www.most.go.th/main/th/news/sort-by-strategic/strategic1/34-news-gov/7739-prmost28-11-61

วันที่กิจกรรม: 
Fri, 23/11/2018 - 17:00
ภาพประกอบ: 
กระทรวงวิทย์ฯ ร่วมกับ มก. ประกาศความสำเร็จหลังพัฒนาต้นแบบเครื่องจักรอัตโนมัติ สำหรับการปรุงอาหารและเครื่องดื่ม ภายใต้โครงการพัฒนาสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า