เครื่องรีดเส้นใยสับปะรด

พฤ, 12/06/2014 - 16:45 — admin5
รายละเอียด: 

เครื่องสกัดแยกใยสับปะรดประสิทธิภาพสูงอัตโนมัติพร้อมใช้ 

 

                                การพัฒนาเครื่องผลิตใยสับปะรดอัตโนมัติ เป็นการพัฒนาต่อยอดจากเครื่องผลิตใยสับปะรดของอินเดีย โดยมีกำลังผลิตเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 80 เท่าเทียบกับการใช้แรงงานคน ซึ่งแรงงานคนสามารถสกัดเส้นใยสับปะรดได้เพียงวันละ 100-200 กรัมต่อแรงงาน 5 คนต่อวัน เมื่อเปลี่ยนมาเป็นเครื่องอัตโนมัติจะมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 3 กิโลกรัมต่อชั่วโมง สามารถผลิตเส้นใยสับปะรดได้ถึงวันละไม่น้อยกว่า 24 กิโลกรัมของใยสับปะรดแห้ง (ทำงาน 8 ชั่วโมง) หรือ 720 กิโลกรัมต่อเดือน นับว่าเป็นเครื่องที่มีกำลังการผลิตสูงที่สุดที่เคยมี และเป็นระบบอัตโนมัติเครื่องแรก ปัจจุบันมียอดการสั่งเส้นใยสับปะรดถึง 1,500 - 2,000 กิโลกรัมต่อเดือน ซึ่งหากใช้แรงงานจะสามารถทำได้แค่เดือนละไม่เกิน 10 กิโลกรัม แต่ถ้าเปลี่ยนมาเป็นระบบอัตโนมัติจะสามารถตอบสนองคำสั่งซื้อได้ เนื่องจากเพิ่มปริมาณการผลิตและสามารถลดการใช้แรงงานไปได้มหาศาล นอกจากนี้ การทำงานของเครื่องจักรจะมีความแน่นอน สามารถควบคุมขนาดของเส้นใยสับปะรดให้คงที่ได้ และมีความปลอดภัยกับผู้ใช้มากขึ้น

 

หลักการทำงานและจุดเด่น         

เครื่องสกัดแยกใยสับปะรดฯ ประกอบด้วย โครงเครื่อง โต๊ะวางใบสับปะรด แผงยึดใบสับปะรด ชุดจับใบสับปะรด ชุดบดใบสับปะรด ชุดใบตี ถังเก็บเศษ โดยมีการทำงานดังนี้

1. เสียบใบสับปะรดที่เตรียมไว้กับแผงยึดใบสับปะรด แล้วแขวนไว้เพื่อเตรียมนำเข้าเครื่อง

2. วางแผงใบสับปะรดบนโต๊ะวางใบสับปะรด ยึดใบสับปะรดด้วยชุดจับใบสับปะรด แล้วกดปุ่ม “Start” เครื่องจะ feed ปลายใบสับปะรดเข้าชุดบดใบสับปะรด เพื่อให้ใบสับปะรดแบนและแผ่ออกด้วยความเร็วที่ตั้งไว้ด้วยตัวควบคุมความเร็วมอเตอร์ แล้วเลื่อนเข้าสู่ชุดใบตี

3. ใบตีจะตีแยกใยสับปะรดด้วยการขับของมอเตอร์ต้นกำลัง โดยเศษจะหล่นลงถังเก็บเศษ

4. ชุดจับใบสับปะรดจะเลื่อนเข้ามาจนสุดระยะแล้วจะวิ่งกลับสู่ตำแหน่งเริ่มต้นเพื่อรีดเศษออกจากใย เมื่อชุดจับเลื่อนถึงตำแหน่งเริ่มต้นแล้ว ปลดตัวล็อกของชุดจับใบสับปะรดออก นำแผงยึดใบสับปะรดที่สกัดแยกใยเสร็จแล้วออกจากเครื่อง แขวนแผงใยสับปะรดผึ่งลมบนราวแขวน แล้ววางแผงใบสับปะรดบนโต๊ะวางใบสับปะรดเพื่อสกัดแยกใยแผงต่อไป

 

พัฒนาโดย                      นายวีรพล ยิ้มสินสมบูรณ์

                                    วิทยาลัยพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพะเยา เลขที่ 19 หมู่ 2 ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา 56000

                                    โทรศัพท์ 0–5446–6666 ต่อ 3406 – 3408

                                    โทรสาร 0–5446–6704

                                    Email: yveerapol@hotmail.com

 

ราคาเริ่มต้นที่  450,000 บาท/เครื่อง

พัฒนาภายใต้ โครงการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ เพื่อการผลิตระดับชุมชน

ประจำปีงบประมาณ 2557

https://maps.app.goo.gl/zfTGNmNCx2R1jzZHA

งบปี พ.ศ.: 
2557
    แคตตาล็อกเทคโนโลยี
    ภาพหน้าปก: