กระทรวงวิทย์ฯ แถลงข่าวความสำเร็จการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจักรต้นแบบ 3 เครื่อง ฝีมือคนไทย ภายใต้ความร่วมมือระหว่างภาครัฐร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา

จ, 02/10/2017 - 14:29 — sysadmin

26 กันยายน 2560 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จัดงานแถลงข่าว ผลสำเร็จการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจักรต้นแบบ โดยการสนับสนุนงบประมาณภายใต้โครงการพัฒนาสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า จำนวน 3 เครื่อง

ตอบสนองนโยบายรัฐบาลที่ต้องการเห็นการผลักดันงานวิจัยและพัฒนาไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ โดยส่งเสริมความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย หน่วยงานวิจัยของรัฐ และภาคเอกชน ในรูปแบบเกลียว 3 ประสาน หรือที่เรียกว่าโมเดล Triple Helix ณ อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กทม.

 

DSC07744  DSC07739

DSC07723  DSC07732

         ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวว่ากระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ให้ทุนภายใต้โครงการ “วิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า” เพื่อทำ Reverse Engineering ซึ่งเป็นกระบวนการวิเคราะห์โครงสร้างและฟังก์ชันการทำงานของเครื่องจักรกลที่เราสนใจ จากนั้นนำองค์ความรู้ที่เรามีอยู่ทั้งด้านวิศวกรรมเครื่องกล คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ ร่วมกับศาสตร์ทางด้านชีววิทยา เคมี และฟิสิกส์ โดยนำศาสตร์เหล่านี้มาผสมผสานสร้างเครื่องจักรกลต้นแบบที่ดีขึ้นกว่าเดิมและตอบโจทย์อุตสาหกรรมในประเทศ ซึ่งกระบวนการทำ Reverse Engineering เป็นการย่นระยะเวลาในการพัฒนาเทคโนโลยีได้ดี หลายประเทศเริ่มต้นจากการทำ Reverse Engineering จนสามารถก้าวกระโดดกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำได้อย่างรวดเร็ว เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลีใต้ ซึ่งความสำเร็จในการพัฒนาเครื่องจักรกลต้นแบบที่นำมาแถลงข่าวในวันนี้มี 3 ผลงาน ประกอบไปด้วยเครื่องจักรกลที่ช่วยสนับสนุนภาคการเกษตร 2  ผลงาน และเครื่องจักรกลด้านการก่อสร้างอีก 1 ผลงาน

DSC07750  DSC07768

DSC07708  DSC07764

 

         1) เครื่องนับจำนวนลูกกุ้งจากบ่ออนุบาลโดยวิธีการประมวลผลภาพ เป็นการประมวลผลการดำเนินการทางภาพถ่ายเพื่อหาจำนวนลูกกุ้ง การประมวลผลภาพจะเห็นบริเวณตับลูกกุ้ง ซึ่งใช้เป็นตัวแทนของตัวกุ้ง 1 ตัว เครื่องดังกล่าวเหมาะสำหรับการนับลูกกุ้งที่มีขนาดยาวประมาณ 8-12 มิลลิเมตร กล้องสามารถตรวจจับภาพลูกกุ้งด้วยความเร็ว 0.05 นาทีต่อครั้ง มีความแม่นยำของการประมวลผลสูงถึงร้อยละ 98 และมีระบบแบตเตอรี่สำรองเพื่อความสะดวกต่อการใช้งานนอกพื้นที่

         2) เครื่องคัดแยกมะขามปนเปื้อนอัตโนมัติด้วยระบบรังสียูวีและการวิเคราะห์ภาพ เป็นระบบการตรวจสอบไข่แมลงในมะขามที่ผ่านการแปรรูป ด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต (รังสียูวี) ช่วงความยาวคลื่นตั้งแต่ 350 นาโนเมตร ถึง 400 นาโนเมตร และไม่เป็นอันตรายต่อสายตามนุษย์

        3) เครื่องเจาะด้วยคลื่นไมโครเวฟ (ใช้ในงานเจาะคอนกรีต) ใช้ทฤษฎีในการเจาะและตัดเข้าไปในวัสดุที่แข็งและเป็นวัสดุที่ไม่นำไฟฟ้า โดยการใช้ส่วนปลายของ coaxial เป็น concentrator รวมความร้อนเป็น hot spot ซึ่งอยู่ใน near-field region เมื่อกดส่วนปลายของ concentrator สัมผัสกับผิววัสดุ จะเกิดการเจาะและตัดในเวลาเดียวกัน

DSC07705  DSC07707

DSC07759  DSC07758

 

วันที่กิจกรรม: 
Mon, 25/09/2017 - 17:00
ภาพประกอบ: 
กระทรวงวิทย์ฯ แถลงข่าวความสำเร็จการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจักรต้นแบบ 3 เครื่อง ฝีมือคนไทย ภายใต้ความร่วมมือระหว่างภาครัฐร่วมกับสถาบันอุดมศึกษา